ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.เตรียมออกประกาศผ่อนคลายกฎระเบียบลงทุนต่างประเทศในเดือน พ.ย.นี้ นางธาริษา วัฒนเกส รักษาการผู้ว่าการธนาคาร
แห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ภายในเดือน พ.ย.นี้ ธปท.จะออกประกาศผ่อนคลายกฎระเบียบให้นักลงทุนไทยสามารถนำเงินออกไปลงทุน
ต่างประเทศได้มากขึ้น ซึ่งบางมาตรการได้ส่งเรื่องไปให้ ก.คลังพิจารณาแล้ว โดยจะนำหลักเกณฑ์เดิมที่ใช้บังคับอยู่กลับมาทบทวนว่า สิ่งที่เคยปิดไว้
ในขณะนั้นเพราะมีความกังวล แต่มาถึงขณะนี้ความกังวลที่เคยมีได้ปรับตัวดีขึ้นแล้วจนสามารถที่จะเปิดกว้างได้มากขึ้นหรือไม่ (มติชน, โพสต์ทูเดย์)
2. ธปท.จะให้ ฝ.กฎหมายของ ธปท.และกองทุนฟื้นฟูฯพิจารณากรณีร้องทุกข์กล่าวโทษอดีต นรม.และภรรยาเกี่ยวกับที่ดิน
นางธาริษา วัฒนเกส รักษาการผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า จะให้ฝ่ายกฎหมายของ ธปท.และกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและ
พัฒนาระบบสถาบันการเงิน พิจารณาอย่างรอบคอบ กรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) แนะนำให้
ธปท.ร้องทุกข์กล่าวโทษคุณหญิงพจมาน ชินวัตรและ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีต นรม.ที่ร่วมประมูลซื้อที่ดินของกองทุนฟื้นฟูฯ ด้าน ผอ.ฝ่ายคดี ธปท.
กล่าวว่า ต้องรอการตรวจสอบและตัดสิน การจะดำเนินการฟ้องหรือไม่ ขึ้นอยู่กับกองทุนฟื้นฟูฯ เพราะตามกฎหมายกองทุนฟื้นฟูฯ เป็นนิติบุคคล
ไม่เกี่ยวกับ ธปท. (โพสต์ทูเดย์)
3. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ต.ค.49 ปรับตัวดีขึ้นทุกรายการสูงสุดในรอบ 7 เดือน เนื่องจากปัจจัยบวกหลายด้าน
ผอ.ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา ปรับตัวดีขึ้นทุกรายการ และ
สูงสุดในรอบ 7 เดือน นับตั้งแต่เดือน เม.ย.49 เนื่องจากปัจจัยบวกหลายด้าน ทั้งราคาน้ำมันในประเทศปรับตัวลดลงต่อเนื่อง
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับเพิ่มประมาณการเศรษฐกิจปี 49 จากร้อยละ 4-5 เป็นร้อยละ 4.5-5 และปี 50 ขยายตัวร้อยละ
4.5-5.5 จากเดิมร้อยละ 4-5 รวมถึงสถานการณ์การเมืองมีเสถียรภาพมากขึ้น การส่งออกขยายตัวต่อเนื่อง จึงทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค
เดือน ต.ค.49 อยู่ที่ 83.5 จากเดือน ก.ย.อยู่ที่ 82.1 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม อยู่ที่ 77.7 จากเดือน ก.ย.ที่ 76.4
ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสในการหางานทำ อยู่ที่ 78.4 จากเดือน ก.ย.ที่ 77.3 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต อยู่ที่ 94.4
จากเดือน ก.ย.ที่ 92.7 และดีที่สุดในรอบ 8 เดือน อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยลบกระทบต่อความเชื่อมั่นทั้งปัญหาน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ผู้บริโภคยัง
วิตกกังวลต่อปัญหาค่าครองชีพ เพราะราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงปัญหาดอกเบี้ยที่ยังทรงตัวในระดับสูง และปัญหาความไม่สงบของ
3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งหากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว ก็จะกระทบต่อผู้ประกอบการ (สยามรัฐ, มติชน, เดลินิวส์, ไทยรัฐ,
โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน)
4. ธ.ไทยพาณิชย์ประเมินเศรษฐกิจไทยปี 50 จะขยายตัวประมาณร้อยละ 4-4.5 ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธ.ไทยพาณิชย์ กล่าวในการ
สัมมนา “เศรษฐกิจปีกุน รับมืออย่างไรให้ทันเกม” ว่า เศรษฐกิจไทยปี 50 จะขยายตัวประมาณร้อยละ 4-4.5 โดยมีแรงส่งจากการใช้จ่ายภาครัฐที่
ก.คลังได้จัดทำ งปม.ขาดดุล และโครงการลงทุนภาครัฐมีแนวโน้มเบิกจ่ายเร็วขึ้นในช่วงกลางปี 50 รายได้เกษตรกรยังดีจากราคาสินค้าเกษตรที่
สูงขึ้น เพราะผลกระทบจากอุทกภัยและการส่งออก ทั้งนี้ ปัจจัยที่ต้องจับตาในปี 50 คือ 1) อัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวน โดยเฉพาะการเคลื่อนย้าย
เงินทุนระยะสั้น และแนวโน้มเงินหยวน 2) การนำหลักเกณฑ์การกำกับดูแลบาเซิล 2 มาใช้ในปี 51 ที่ทำให้ ธ.พาณิชย์ต้องดำรงเงินกองทุนต่อ
สินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น 3) การจัดตั้งสถาบันประกันเงินฝาก 4) การเปลี่ยนแปลงที่สืบเนื่องจากการปฏิรูปการเมือง คือ การก่อสร้างโครงการ
เมกะโปรเจกต์ 5) การเจรจาเอฟทีเอที่ยังค้างอยู่ 6) กฎหมายการกระจายอำนาจให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปี 42 และติดตามการ
กีดกันการค้าระหว่างประเทศ (แนวหน้า)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองของ สรอ. สูงขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 9 พ.ย. 49
นาย Frank Nothaft รองประธานบริษัทสินเชื่อจำนอง Freddie Mac เปิดเผยว่า อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองเมื่อสัปดาห์ที่แล้วสูงขึ้นหลังจากที่
ก. แรงงานรายงานว่าตัวเลขการว่างงานในเดือน ต.ค. ลดลงอยู่ที่ร้อยละ 4.4 ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน พ.ค. 44 ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อ
จำนองระยะเวลา 30 ปีเมื่อสัปดาห์ที่แล้วอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 6.33 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6.31 เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า เช่นเดียวกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้
จำนองระยะเวลา 15 ปีอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 6.04 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6.02 เมื่อสัปดาห์ก่อน ส่วนอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อจำนองระยะเวลา
1 ปีที่ปรับได้ (One-year Adjustable Rate Mortgages — ARM) เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกันอยู่ที่ร้อยละ 5.55 สูงขึ้นจากร้อยละ 5.53 เมื่อ
สัปดาห์ที่แล้ว ขณะที่ ก.พาณิชย์รายงานเมื่อวันที่ 27 ต.ค. ว่าตัวเลข GDP ในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 เพียงร้อยละ
1.6 น้อยกว่าไตรมาสที่ 2 และไตรมาสแรกที่เศรษฐกิจเติบโตถึงร้อยละ 2.6 และ 5.6 ตามลำดับ ขณะเดียวกันการลงทุนในตลาดบ้านใน
ไตรมาสที่ 3 ลดลงประมาณร้อยละ 17.4 ทั้งนี้เมื่อปีที่แล้วอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะเวลา 30 ปี 15 ปี และ ARM อยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ
6.36 5.89 และร้อยละ 5.12 ตามลำดับ ส่วนอัตราค่าธรรมเนียมสินเชื่อจำนองต่างก็เพิ่มขึ้นเช่นกันโดยระยะเวลา 30 ปี และ 15 ปีอยู่ที่
ร้อยละ 0.6 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.4 เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า ส่วน ARM อยู่ที่ร้อยละ 0.8 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.6 เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า (รอยเตอร์)
2. ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ.ลดลงในเดือน พ.ย.49 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 9 พ.ย.49
University of Michigan เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ.(Consumer sentiment index) ในเดือน พ.ย.49
ว่าอยู่ที่ระดับ 92.3 ลดลงจากระดับ 93.6 ในเดือนก่อนหน้า ต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าดัชนีจะทรงตัวที่ระดับ 93.6
ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ แม้ราคาน้ำมันจะปรับตัวลดลงก็ยังไม่สามารถช่วยให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน พ.ย.ปรับตัว
เพิ่มขึ้นได้ โดยราคาขายปลีกน้ำมันเฉลี่ยในช่วงสัปดาห์ที่แล้วอยู่ที่แกลลอนละ 2.23 ดอลลาร์ สรอ. ลดลง 3.5 เซนต์จากสัปดาห์ก่อนหน้า และ
ลดลง 50 เซนต์จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน
(Index of current conditions) ลดลงที่ระดับ 106.5 จากระดับ 107.3 ในเดือนก่อนหน้า ขณะที่ดัชนีความคาดหวังของผู้บริโภค
(Consumer expectations index) ลดลงที่ระดับ 83.2 จากระดับ 84.8 ส่วนดัชนีความคาดหวังเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อในช่วงเวลา 1 ปี
และดัชนีความคาดหวังเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อในช่วงมากกว่า 5 ปี ลดลงที่ระดับ 3.0 จากระดับ 3.1 ในเดือนก่อนหน้าทั้ง 2 ดัชนี อนึ่ง การที่
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลงในช่วงปีนี้ บ่งชี้ถึงการชะลอตัวของการใช้จ่ายผู้บริโภค ซึ่งมีสัดส่วนเป็น 2 ใน 3 ของระบบเศรษฐกิจ
สรอ. เนื่องจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเป็นปัจจัยหลักที่ใช้ชี้วัดการใช้จ่ายของผู้บริโภค (รอยเตอร์)
3. สินค้าคงคลังของผู้ค้าส่งใน สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ในเดือน ก.ย.49 เมื่อเทียบกับเดือนส.ค.49 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ
9 พ.ย.49 สินค้าคงคลังของผู้ค้าส่งใน สรอ.ในเดือน ก.ย.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับเดือน ส.ค.49 สูงกว่าที่ผลสำรวจโดยรอยเตอร์
คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.5 ต่อเดือน หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ต่อเดือนในเดือน ส.ค.49 โดยส่วนใหญ่เป็นสินค้าคงทนที่มีอายุการ
ใช้งานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปซึ่งสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 ต่อเดือน ในขณะที่สินค้าไม่คงทนเช่น อาหารและเสื้อผ้าลดลงร้อยละ 0.4 ในเดือนเดียว
กัน ส่วนรถยนต์ที่ยังไม่ได้ขายเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 1.9 มีมูลค่ารวม 37.34 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ในเดือน ก.ย.49 หลังจากลดลงร้อยละ 0.9
ในเดือน ส.ค.49 ทั้งนี้ยอดค้าส่งโดยรวมลดลงร้อยละ 1.2 ในเดือน ก.ย.49 ลดลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน พ.ย.48 และลดลงมากที่สุดนับ
ตั้งแต่เดือน เม.ย.46 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ในเดือน ส.ค.49 โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากยอดค้าส่งน้ำมันที่ลดลงถึงร้อยละ 7.1 ในเดือน
ก.ย.49 หลังจากลดลงร้อยละ 2.8 ในเดือน ส.ค.49 อย่างไรก็ดี มูลค่าของน้ำมันที่ยังไม่ได้จำหน่ายกลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 คิดเป็นเงิน
10.44 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
4. ธ.กลางอังกฤษปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ไปอยู่ที่ร้อยละ 5.0 รายงานจากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
เมื่อวันที่ 9 พ.ย.49 ธ.กลางอังกฤษปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งที่ 2 ในรอบ 3 เดือน อีกร้อยละ 0.25 ไปอยู่ที่ร้อยละ 5.0 ซึ่ง
เป็นระดับสูงสุดในรอบ 5 ปี โดยให้เหตุผลว่ามีแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อและปริมาณเงินหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะที่การใช้จ่ายของ
ผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงง่ายและอัตราการว่างงานมีเพิ่มสูงขึ้น แต่ที่น่าประหลาดใจคือไม่มีการพูดถึงการปรับเพิ่มค่าจ้างรอบใหม่ในการประชุม
ครั้งนี้ ทั้งนี้ หนึ่งในปัจจัยหลักที่สร้างความกังวลให้กับคณะกรรมการนโยบายการเงิน (MPC) คือ การเพิ่มขึ้นของราคาพลังงานที่จะผลักดันให้ผู้ใช้
แรงงานมีความต้องการปรับค่าจ้างแรงงาน อันจะส่งผลให้ภาวะเงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม สำหรับระยะยาวแล้วมีสัญญาณเกี่ยวกับเรื่องนี้
เพียงเล็กน้อย เพราะปัจจุบันผู้บริโภคก็ต้องเผชิญกับรายได้สุทธิที่ไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากค่าสาธารณูปโภคด้านพลังงานและ
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 10 พ.ย. 49 9 พ.ย. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 36.716 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 36.5293/36.8260 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.12063 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 743.85/23.87 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,850/10,950 10,650/10,750 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 56.72 55.74 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 3 พ.ย. 49 25.29*/23.84* 25.29*/23.84* 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.เตรียมออกประกาศผ่อนคลายกฎระเบียบลงทุนต่างประเทศในเดือน พ.ย.นี้ นางธาริษา วัฒนเกส รักษาการผู้ว่าการธนาคาร
แห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ภายในเดือน พ.ย.นี้ ธปท.จะออกประกาศผ่อนคลายกฎระเบียบให้นักลงทุนไทยสามารถนำเงินออกไปลงทุน
ต่างประเทศได้มากขึ้น ซึ่งบางมาตรการได้ส่งเรื่องไปให้ ก.คลังพิจารณาแล้ว โดยจะนำหลักเกณฑ์เดิมที่ใช้บังคับอยู่กลับมาทบทวนว่า สิ่งที่เคยปิดไว้
ในขณะนั้นเพราะมีความกังวล แต่มาถึงขณะนี้ความกังวลที่เคยมีได้ปรับตัวดีขึ้นแล้วจนสามารถที่จะเปิดกว้างได้มากขึ้นหรือไม่ (มติชน, โพสต์ทูเดย์)
2. ธปท.จะให้ ฝ.กฎหมายของ ธปท.และกองทุนฟื้นฟูฯพิจารณากรณีร้องทุกข์กล่าวโทษอดีต นรม.และภรรยาเกี่ยวกับที่ดิน
นางธาริษา วัฒนเกส รักษาการผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า จะให้ฝ่ายกฎหมายของ ธปท.และกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและ
พัฒนาระบบสถาบันการเงิน พิจารณาอย่างรอบคอบ กรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) แนะนำให้
ธปท.ร้องทุกข์กล่าวโทษคุณหญิงพจมาน ชินวัตรและ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีต นรม.ที่ร่วมประมูลซื้อที่ดินของกองทุนฟื้นฟูฯ ด้าน ผอ.ฝ่ายคดี ธปท.
กล่าวว่า ต้องรอการตรวจสอบและตัดสิน การจะดำเนินการฟ้องหรือไม่ ขึ้นอยู่กับกองทุนฟื้นฟูฯ เพราะตามกฎหมายกองทุนฟื้นฟูฯ เป็นนิติบุคคล
ไม่เกี่ยวกับ ธปท. (โพสต์ทูเดย์)
3. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ต.ค.49 ปรับตัวดีขึ้นทุกรายการสูงสุดในรอบ 7 เดือน เนื่องจากปัจจัยบวกหลายด้าน
ผอ.ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา ปรับตัวดีขึ้นทุกรายการ และ
สูงสุดในรอบ 7 เดือน นับตั้งแต่เดือน เม.ย.49 เนื่องจากปัจจัยบวกหลายด้าน ทั้งราคาน้ำมันในประเทศปรับตัวลดลงต่อเนื่อง
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับเพิ่มประมาณการเศรษฐกิจปี 49 จากร้อยละ 4-5 เป็นร้อยละ 4.5-5 และปี 50 ขยายตัวร้อยละ
4.5-5.5 จากเดิมร้อยละ 4-5 รวมถึงสถานการณ์การเมืองมีเสถียรภาพมากขึ้น การส่งออกขยายตัวต่อเนื่อง จึงทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค
เดือน ต.ค.49 อยู่ที่ 83.5 จากเดือน ก.ย.อยู่ที่ 82.1 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม อยู่ที่ 77.7 จากเดือน ก.ย.ที่ 76.4
ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสในการหางานทำ อยู่ที่ 78.4 จากเดือน ก.ย.ที่ 77.3 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต อยู่ที่ 94.4
จากเดือน ก.ย.ที่ 92.7 และดีที่สุดในรอบ 8 เดือน อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยลบกระทบต่อความเชื่อมั่นทั้งปัญหาน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ผู้บริโภคยัง
วิตกกังวลต่อปัญหาค่าครองชีพ เพราะราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงปัญหาดอกเบี้ยที่ยังทรงตัวในระดับสูง และปัญหาความไม่สงบของ
3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งหากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว ก็จะกระทบต่อผู้ประกอบการ (สยามรัฐ, มติชน, เดลินิวส์, ไทยรัฐ,
โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน)
4. ธ.ไทยพาณิชย์ประเมินเศรษฐกิจไทยปี 50 จะขยายตัวประมาณร้อยละ 4-4.5 ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธ.ไทยพาณิชย์ กล่าวในการ
สัมมนา “เศรษฐกิจปีกุน รับมืออย่างไรให้ทันเกม” ว่า เศรษฐกิจไทยปี 50 จะขยายตัวประมาณร้อยละ 4-4.5 โดยมีแรงส่งจากการใช้จ่ายภาครัฐที่
ก.คลังได้จัดทำ งปม.ขาดดุล และโครงการลงทุนภาครัฐมีแนวโน้มเบิกจ่ายเร็วขึ้นในช่วงกลางปี 50 รายได้เกษตรกรยังดีจากราคาสินค้าเกษตรที่
สูงขึ้น เพราะผลกระทบจากอุทกภัยและการส่งออก ทั้งนี้ ปัจจัยที่ต้องจับตาในปี 50 คือ 1) อัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวน โดยเฉพาะการเคลื่อนย้าย
เงินทุนระยะสั้น และแนวโน้มเงินหยวน 2) การนำหลักเกณฑ์การกำกับดูแลบาเซิล 2 มาใช้ในปี 51 ที่ทำให้ ธ.พาณิชย์ต้องดำรงเงินกองทุนต่อ
สินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น 3) การจัดตั้งสถาบันประกันเงินฝาก 4) การเปลี่ยนแปลงที่สืบเนื่องจากการปฏิรูปการเมือง คือ การก่อสร้างโครงการ
เมกะโปรเจกต์ 5) การเจรจาเอฟทีเอที่ยังค้างอยู่ 6) กฎหมายการกระจายอำนาจให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปี 42 และติดตามการ
กีดกันการค้าระหว่างประเทศ (แนวหน้า)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองของ สรอ. สูงขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 9 พ.ย. 49
นาย Frank Nothaft รองประธานบริษัทสินเชื่อจำนอง Freddie Mac เปิดเผยว่า อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองเมื่อสัปดาห์ที่แล้วสูงขึ้นหลังจากที่
ก. แรงงานรายงานว่าตัวเลขการว่างงานในเดือน ต.ค. ลดลงอยู่ที่ร้อยละ 4.4 ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน พ.ค. 44 ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อ
จำนองระยะเวลา 30 ปีเมื่อสัปดาห์ที่แล้วอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 6.33 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6.31 เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า เช่นเดียวกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้
จำนองระยะเวลา 15 ปีอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 6.04 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6.02 เมื่อสัปดาห์ก่อน ส่วนอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อจำนองระยะเวลา
1 ปีที่ปรับได้ (One-year Adjustable Rate Mortgages — ARM) เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกันอยู่ที่ร้อยละ 5.55 สูงขึ้นจากร้อยละ 5.53 เมื่อ
สัปดาห์ที่แล้ว ขณะที่ ก.พาณิชย์รายงานเมื่อวันที่ 27 ต.ค. ว่าตัวเลข GDP ในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 เพียงร้อยละ
1.6 น้อยกว่าไตรมาสที่ 2 และไตรมาสแรกที่เศรษฐกิจเติบโตถึงร้อยละ 2.6 และ 5.6 ตามลำดับ ขณะเดียวกันการลงทุนในตลาดบ้านใน
ไตรมาสที่ 3 ลดลงประมาณร้อยละ 17.4 ทั้งนี้เมื่อปีที่แล้วอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะเวลา 30 ปี 15 ปี และ ARM อยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ
6.36 5.89 และร้อยละ 5.12 ตามลำดับ ส่วนอัตราค่าธรรมเนียมสินเชื่อจำนองต่างก็เพิ่มขึ้นเช่นกันโดยระยะเวลา 30 ปี และ 15 ปีอยู่ที่
ร้อยละ 0.6 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.4 เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า ส่วน ARM อยู่ที่ร้อยละ 0.8 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.6 เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า (รอยเตอร์)
2. ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ.ลดลงในเดือน พ.ย.49 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 9 พ.ย.49
University of Michigan เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ.(Consumer sentiment index) ในเดือน พ.ย.49
ว่าอยู่ที่ระดับ 92.3 ลดลงจากระดับ 93.6 ในเดือนก่อนหน้า ต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าดัชนีจะทรงตัวที่ระดับ 93.6
ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ แม้ราคาน้ำมันจะปรับตัวลดลงก็ยังไม่สามารถช่วยให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน พ.ย.ปรับตัว
เพิ่มขึ้นได้ โดยราคาขายปลีกน้ำมันเฉลี่ยในช่วงสัปดาห์ที่แล้วอยู่ที่แกลลอนละ 2.23 ดอลลาร์ สรอ. ลดลง 3.5 เซนต์จากสัปดาห์ก่อนหน้า และ
ลดลง 50 เซนต์จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน
(Index of current conditions) ลดลงที่ระดับ 106.5 จากระดับ 107.3 ในเดือนก่อนหน้า ขณะที่ดัชนีความคาดหวังของผู้บริโภค
(Consumer expectations index) ลดลงที่ระดับ 83.2 จากระดับ 84.8 ส่วนดัชนีความคาดหวังเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อในช่วงเวลา 1 ปี
และดัชนีความคาดหวังเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อในช่วงมากกว่า 5 ปี ลดลงที่ระดับ 3.0 จากระดับ 3.1 ในเดือนก่อนหน้าทั้ง 2 ดัชนี อนึ่ง การที่
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลงในช่วงปีนี้ บ่งชี้ถึงการชะลอตัวของการใช้จ่ายผู้บริโภค ซึ่งมีสัดส่วนเป็น 2 ใน 3 ของระบบเศรษฐกิจ
สรอ. เนื่องจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเป็นปัจจัยหลักที่ใช้ชี้วัดการใช้จ่ายของผู้บริโภค (รอยเตอร์)
3. สินค้าคงคลังของผู้ค้าส่งใน สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ในเดือน ก.ย.49 เมื่อเทียบกับเดือนส.ค.49 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ
9 พ.ย.49 สินค้าคงคลังของผู้ค้าส่งใน สรอ.ในเดือน ก.ย.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับเดือน ส.ค.49 สูงกว่าที่ผลสำรวจโดยรอยเตอร์
คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.5 ต่อเดือน หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ต่อเดือนในเดือน ส.ค.49 โดยส่วนใหญ่เป็นสินค้าคงทนที่มีอายุการ
ใช้งานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปซึ่งสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 ต่อเดือน ในขณะที่สินค้าไม่คงทนเช่น อาหารและเสื้อผ้าลดลงร้อยละ 0.4 ในเดือนเดียว
กัน ส่วนรถยนต์ที่ยังไม่ได้ขายเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 1.9 มีมูลค่ารวม 37.34 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ในเดือน ก.ย.49 หลังจากลดลงร้อยละ 0.9
ในเดือน ส.ค.49 ทั้งนี้ยอดค้าส่งโดยรวมลดลงร้อยละ 1.2 ในเดือน ก.ย.49 ลดลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน พ.ย.48 และลดลงมากที่สุดนับ
ตั้งแต่เดือน เม.ย.46 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ในเดือน ส.ค.49 โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากยอดค้าส่งน้ำมันที่ลดลงถึงร้อยละ 7.1 ในเดือน
ก.ย.49 หลังจากลดลงร้อยละ 2.8 ในเดือน ส.ค.49 อย่างไรก็ดี มูลค่าของน้ำมันที่ยังไม่ได้จำหน่ายกลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 คิดเป็นเงิน
10.44 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
4. ธ.กลางอังกฤษปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ไปอยู่ที่ร้อยละ 5.0 รายงานจากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
เมื่อวันที่ 9 พ.ย.49 ธ.กลางอังกฤษปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งที่ 2 ในรอบ 3 เดือน อีกร้อยละ 0.25 ไปอยู่ที่ร้อยละ 5.0 ซึ่ง
เป็นระดับสูงสุดในรอบ 5 ปี โดยให้เหตุผลว่ามีแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อและปริมาณเงินหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะที่การใช้จ่ายของ
ผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงง่ายและอัตราการว่างงานมีเพิ่มสูงขึ้น แต่ที่น่าประหลาดใจคือไม่มีการพูดถึงการปรับเพิ่มค่าจ้างรอบใหม่ในการประชุม
ครั้งนี้ ทั้งนี้ หนึ่งในปัจจัยหลักที่สร้างความกังวลให้กับคณะกรรมการนโยบายการเงิน (MPC) คือ การเพิ่มขึ้นของราคาพลังงานที่จะผลักดันให้ผู้ใช้
แรงงานมีความต้องการปรับค่าจ้างแรงงาน อันจะส่งผลให้ภาวะเงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม สำหรับระยะยาวแล้วมีสัญญาณเกี่ยวกับเรื่องนี้
เพียงเล็กน้อย เพราะปัจจุบันผู้บริโภคก็ต้องเผชิญกับรายได้สุทธิที่ไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากค่าสาธารณูปโภคด้านพลังงานและ
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 10 พ.ย. 49 9 พ.ย. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 36.716 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 36.5293/36.8260 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.12063 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 743.85/23.87 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,850/10,950 10,650/10,750 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 56.72 55.74 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 3 พ.ย. 49 25.29*/23.84* 25.29*/23.84* 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--