กรุงเทพ--11 ส.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ผู้อ่านบางท่านอาจยังจำได้ว่าเมื่อเดือนกันยายนปีที่ผ่านมา สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงจาการ์ตาได้จัดงานเฉลิมฉลองครบรอบ 55 ปีความสัมพันธ์ไทย-อินโดนีเซียอย่างยิ่งใหญ่ โดยการนำโขนรามเกียรติ์จากประเทศไทยไปแสดงร่วมกับการแสดงรามายณะแบบชวา ของอินโดนีเซียทั้งที่กรุงจาการ์ตา และเมืองยอกยาการ์ตา ซึ่งได้สร้างความชื่นชมและประทับใจให้แก่ผู้ชมชาวอินโดนีเซียและชาวต่างชาติเป็นจำนวนมาก
และในเดือนมิถุนายน ศกนี้ สถานทูตก็ได้รับเชิญจากผู้ว่าราชการจังหวัดบาหลีให้ส่งการแสดงโขนของไทยเข้าร่วมเทศกาลรามายณะนานาชาติ โดยเป็นกิจกรรมหนึ่งของเทศกาลศิลปะบาหลี หรือ Bali Art Festival ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี จึงเป็นโอกาสให้สถานทูตได้นำโขนรามเกียรติ์จากกรมศิลปากรไปสร้างชื่อในแดนอิเหนาอีกครั้งหนึ่ง
เทศกาลรามายาณะนานาชาติปีนี้ จัดขึ้นที่โรงละครในศูนย์วัฒนธรรมบาหลี มีคณะนาฏศิลป์จากประเทศต่างๆ ส่งการแสดงเข้าร่วม ได้แก่ อินโดนีเซียส่งการแสดงรามายณะทั้งแบบชวาและบาหลี อินเดีย กัมพูชา ชุมชนอินเดียในสหรัฐฯ และสิงคโปร์ และจากกรมศิลปากรของไทย โดยการแสดงของไทยได้รับคัดเลือกให้แสดงเป็นประเทศแรกในคืนวันเปิดเทศกาลเมื่อวันจันทน์ที่ 26 มิถุนายน 2549
สถานทูตให้ความสำคัญอย่างมากในการนำโขนรามเกียรติ์ของไทยไปแสดงประชันกับการแสดงรามายณะของประเทศต่างๆ โดยเฉพาะอินเดียซึ่งเป็นต้นกำเนิดของมหากาพย์รามายณะ และบาหลีซึ่งได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งวัฒนธรรมและนาฏดุริยางคศิลป์ ท่านทูตอัจฉรา เสรีบุตรจึงได้ติดต่อกับท่านอธิบดีอารักษ์ สังหิตกุล เพื่อเตรียมคัดเลือกการแสดงและเห็นว่าการแสดงตอน “ลักนางสีดา-ยกรบ” เป็นตอนสำคัญของเรื่องและมีตัวละครที่สำคัญ คือ พระ นาง ยักษ์ ลิง อย่างครบถ้วน ซึ่งสามารถนำเสนอการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ของไทยให้แก่ชาวอินโดนีเซียและชาวต่างชาติได้เป็นอย่างดี
การแสดงโขนรามเกียรติ์ของไทยไม่ได้สร้างความผิดหวังให้แก่ผู้ชมชาวอินโดนีเซียแม้แต่น้อย เพราะเมื่อปี่พาทย์เริ่มโหมโรงและบรรเลงเพลงสำเนียงชวา โดยเฉพาะการโชว์ระนาดเพลง “บุหรง
กรากาตั้ว” หรือ “นกกระตั้ว” ซึ่งเป็นเพลงท้องถิ่นที่คุ้นหูของชาวอินโดนีเซีย ผู้ชมทั้งเด็กและผู้ใหญ่ก็เริ่มคึกคัก ปรบมือไปตามจังหวะเพลงอย่างสนุกสนาน ทำให้ผู้คนที่อยู่ภายนอกพยายามที่จะเข้ามาภายในโรงละครจนที่นั่งจำนวน 500 ที่นั่งแทบไม่พอที่จะรองรับ
เมื่อแสงไฟภายในโรงละครดับลง เหลือแต่ไฟบนเวที ผู้ชมต่างนั่งเงียบเหมือนต้องมนต์สะกด สายตาทุกคู่ต่างจับจ้องมองการแสดงและลีลาการร่ายรำอันอ่อนช้อย เครื่องแต่งกายที่งดงาม ด้วยความชื่นชมในท่วงท่าอันสง่างามและคงความเป็นเอกลักษณ์แบบไทยของตัวละคร และประการสำคัญคือทุกคนสามารถติดตามการแสดงได้อย่างเข้าใจ เพราะเป็นเรื่องราวที่ทราบกันดีอยู่แล้ว เนื่องจากเป็นเรื่องที่ชาวบาหลีซึ่งนับถือศาสนาฮินดูรู้จักกันอย่างแพร่หลายกันทั่วไป
นอกจากผู้ชมจำนวนมากจะดื่มด่ำและอิ่มเอมไปกับการแสดงโขนรามเกียรติ์ ซึ่งบรรดานักแสดงจากกรมศิลปากรได้ตั้งใจนำเสนออย่างเต็มที่ไม่ว่าจะเป็นการร้องพากย์ การบรรเลงดนตรีไทย และลีลาการแสดงอย่างครบสูตรแล้ว ระหว่างการแสดงผู้ชมชาวบาหลีซึ่งมีเลือดศิลปินบางคนถึงกับยกมือเลียนแบบท่าจีบและตั้งวงตามผู้แสดงบนเวที เข้าทำนอง “ลักจำ” ขณะที่เด็กผู้ชายบางคนชี้ชวนกันดู “ท่าเกา” ของเหล่าวานรและทำตามกันอย่างสนุกสนาน
ฉากที่ได้รับการสนใจจากผู้ชมมากที่สุดเห็นจะเป็น “ฉากการต่อตัวยกรบ” ซึ่งมีความอลังการและวิจิตรพิสดารอย่างที่สุด ถือเป็นท่าสุดยอดของการแสดงโขน สามารถเรียกเสียงปรบมือจากผู้ชมอย่างกึกก้องและยาวนาน เมื่อผสมผสานกับแสงแฟลชของกล้องถ่ายรูปจากทั้งคนดูและสื่อมวลชน ก็ยิ่งสะท้อนความวิจิตรงดงามของเครื่องแต่งกายให้ส่งประกายเจิดจรัสและระยิบระยับมากยิ่งขึ้น กล่าวได้ว่าเวลาการแสดง 80 นาทีผ่านไปอย่างรวดเร็ว สามารถตรึงผู้ชมให้อยู่กับที่ได้ จนกระทั่งการแสดงฉากสุดท้ายสิ้นสุดลง ผู้ชมจึงพร้อมกันปรบมืออย่างกึกก้องไปทั่วทั้งโรงละคร
คุณณัฐพล ณ สงขลา เจ้าหน้าที่สถานทูต เล่าว่าการแสดงโขนรามเกียรติ์ของไทยครั้งนี้ ได้สร้างความชื่นชมประทับใจแก่ผู้ชมทั้งชาวอินโดนีเซีย ชาวต่างชาติ ตลอดทั้งคณะนักแสดงจากประเทศต่างๆ ที่เข้าร่วมเทศกาลรามายณะนานาชาติดังกล่าว นอกจากนี้ สื่อมวลชนชาวอินโดนีเซียได้ให้ความสนใจไม่แพ้กัน มีการลงข่าวหน้าหนึ่งในหนังสือพิมพ์รายวันของบาหลีและอินโดนีเซีย พร้อมนี้สถานีโทรทัศน์ TVRI ในบาหลีก็ได้ออกอากาศเผยแพร่ภาพการแสดงโขนของไทยด้วย โดยได้ออกข่าวชื่นชมว่าเป็นการแสดงที่อ่อนช้อย เครื่องแต่งกายงดงาม และดนตรีไพเราะ
ด้วยความสำเร็จจากการแสดงโขนของไทยในคืนแรก ทำให้ผู้จัดได้แพร่ภาพเพื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์งานเทศกาลฯ ในสื่อต่างๆ อย่างกว้างขวาง ส่งผลให้การแสดงของประเทศอื่นๆ ในคืนต่อๆ มามีผู้เข้าชมและคึกคักยิ่งขึ้น การนำโขนของไทยไปเผยแพร่ในเทศกาลรามายณะนานาชาติครั้งนี้ ถือว่าบรรลุวัตถุประสงค์ในการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยให้เป็นที่รู้จักในอินโดนีเซียอย่างกว้างขวาง รวมทั้งเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ในระดับประชาชนต่อประชาชน จึงเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยในบาหลีและชุมชนไทยในอินโดนีเซีย โดยเฉพาะคุณพีระพนธ์ ประยูรวงศ์ กงสุลกิตติมศักดิ์ประจำเมืองเดนปาซาร์ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของเกาะบาหลี เจ้าหน้าที่สถานกงสุลฯ ตลอดจนชุมชนไทยในบาหลีที่มาร่วมให้กำลังใจคณะนาฏศิลป์ไทยอย่างอบอุ่นข้างเวทีการแสดง
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ผู้อ่านบางท่านอาจยังจำได้ว่าเมื่อเดือนกันยายนปีที่ผ่านมา สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงจาการ์ตาได้จัดงานเฉลิมฉลองครบรอบ 55 ปีความสัมพันธ์ไทย-อินโดนีเซียอย่างยิ่งใหญ่ โดยการนำโขนรามเกียรติ์จากประเทศไทยไปแสดงร่วมกับการแสดงรามายณะแบบชวา ของอินโดนีเซียทั้งที่กรุงจาการ์ตา และเมืองยอกยาการ์ตา ซึ่งได้สร้างความชื่นชมและประทับใจให้แก่ผู้ชมชาวอินโดนีเซียและชาวต่างชาติเป็นจำนวนมาก
และในเดือนมิถุนายน ศกนี้ สถานทูตก็ได้รับเชิญจากผู้ว่าราชการจังหวัดบาหลีให้ส่งการแสดงโขนของไทยเข้าร่วมเทศกาลรามายณะนานาชาติ โดยเป็นกิจกรรมหนึ่งของเทศกาลศิลปะบาหลี หรือ Bali Art Festival ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี จึงเป็นโอกาสให้สถานทูตได้นำโขนรามเกียรติ์จากกรมศิลปากรไปสร้างชื่อในแดนอิเหนาอีกครั้งหนึ่ง
เทศกาลรามายาณะนานาชาติปีนี้ จัดขึ้นที่โรงละครในศูนย์วัฒนธรรมบาหลี มีคณะนาฏศิลป์จากประเทศต่างๆ ส่งการแสดงเข้าร่วม ได้แก่ อินโดนีเซียส่งการแสดงรามายณะทั้งแบบชวาและบาหลี อินเดีย กัมพูชา ชุมชนอินเดียในสหรัฐฯ และสิงคโปร์ และจากกรมศิลปากรของไทย โดยการแสดงของไทยได้รับคัดเลือกให้แสดงเป็นประเทศแรกในคืนวันเปิดเทศกาลเมื่อวันจันทน์ที่ 26 มิถุนายน 2549
สถานทูตให้ความสำคัญอย่างมากในการนำโขนรามเกียรติ์ของไทยไปแสดงประชันกับการแสดงรามายณะของประเทศต่างๆ โดยเฉพาะอินเดียซึ่งเป็นต้นกำเนิดของมหากาพย์รามายณะ และบาหลีซึ่งได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งวัฒนธรรมและนาฏดุริยางคศิลป์ ท่านทูตอัจฉรา เสรีบุตรจึงได้ติดต่อกับท่านอธิบดีอารักษ์ สังหิตกุล เพื่อเตรียมคัดเลือกการแสดงและเห็นว่าการแสดงตอน “ลักนางสีดา-ยกรบ” เป็นตอนสำคัญของเรื่องและมีตัวละครที่สำคัญ คือ พระ นาง ยักษ์ ลิง อย่างครบถ้วน ซึ่งสามารถนำเสนอการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ของไทยให้แก่ชาวอินโดนีเซียและชาวต่างชาติได้เป็นอย่างดี
การแสดงโขนรามเกียรติ์ของไทยไม่ได้สร้างความผิดหวังให้แก่ผู้ชมชาวอินโดนีเซียแม้แต่น้อย เพราะเมื่อปี่พาทย์เริ่มโหมโรงและบรรเลงเพลงสำเนียงชวา โดยเฉพาะการโชว์ระนาดเพลง “บุหรง
กรากาตั้ว” หรือ “นกกระตั้ว” ซึ่งเป็นเพลงท้องถิ่นที่คุ้นหูของชาวอินโดนีเซีย ผู้ชมทั้งเด็กและผู้ใหญ่ก็เริ่มคึกคัก ปรบมือไปตามจังหวะเพลงอย่างสนุกสนาน ทำให้ผู้คนที่อยู่ภายนอกพยายามที่จะเข้ามาภายในโรงละครจนที่นั่งจำนวน 500 ที่นั่งแทบไม่พอที่จะรองรับ
เมื่อแสงไฟภายในโรงละครดับลง เหลือแต่ไฟบนเวที ผู้ชมต่างนั่งเงียบเหมือนต้องมนต์สะกด สายตาทุกคู่ต่างจับจ้องมองการแสดงและลีลาการร่ายรำอันอ่อนช้อย เครื่องแต่งกายที่งดงาม ด้วยความชื่นชมในท่วงท่าอันสง่างามและคงความเป็นเอกลักษณ์แบบไทยของตัวละคร และประการสำคัญคือทุกคนสามารถติดตามการแสดงได้อย่างเข้าใจ เพราะเป็นเรื่องราวที่ทราบกันดีอยู่แล้ว เนื่องจากเป็นเรื่องที่ชาวบาหลีซึ่งนับถือศาสนาฮินดูรู้จักกันอย่างแพร่หลายกันทั่วไป
นอกจากผู้ชมจำนวนมากจะดื่มด่ำและอิ่มเอมไปกับการแสดงโขนรามเกียรติ์ ซึ่งบรรดานักแสดงจากกรมศิลปากรได้ตั้งใจนำเสนออย่างเต็มที่ไม่ว่าจะเป็นการร้องพากย์ การบรรเลงดนตรีไทย และลีลาการแสดงอย่างครบสูตรแล้ว ระหว่างการแสดงผู้ชมชาวบาหลีซึ่งมีเลือดศิลปินบางคนถึงกับยกมือเลียนแบบท่าจีบและตั้งวงตามผู้แสดงบนเวที เข้าทำนอง “ลักจำ” ขณะที่เด็กผู้ชายบางคนชี้ชวนกันดู “ท่าเกา” ของเหล่าวานรและทำตามกันอย่างสนุกสนาน
ฉากที่ได้รับการสนใจจากผู้ชมมากที่สุดเห็นจะเป็น “ฉากการต่อตัวยกรบ” ซึ่งมีความอลังการและวิจิตรพิสดารอย่างที่สุด ถือเป็นท่าสุดยอดของการแสดงโขน สามารถเรียกเสียงปรบมือจากผู้ชมอย่างกึกก้องและยาวนาน เมื่อผสมผสานกับแสงแฟลชของกล้องถ่ายรูปจากทั้งคนดูและสื่อมวลชน ก็ยิ่งสะท้อนความวิจิตรงดงามของเครื่องแต่งกายให้ส่งประกายเจิดจรัสและระยิบระยับมากยิ่งขึ้น กล่าวได้ว่าเวลาการแสดง 80 นาทีผ่านไปอย่างรวดเร็ว สามารถตรึงผู้ชมให้อยู่กับที่ได้ จนกระทั่งการแสดงฉากสุดท้ายสิ้นสุดลง ผู้ชมจึงพร้อมกันปรบมืออย่างกึกก้องไปทั่วทั้งโรงละคร
คุณณัฐพล ณ สงขลา เจ้าหน้าที่สถานทูต เล่าว่าการแสดงโขนรามเกียรติ์ของไทยครั้งนี้ ได้สร้างความชื่นชมประทับใจแก่ผู้ชมทั้งชาวอินโดนีเซีย ชาวต่างชาติ ตลอดทั้งคณะนักแสดงจากประเทศต่างๆ ที่เข้าร่วมเทศกาลรามายณะนานาชาติดังกล่าว นอกจากนี้ สื่อมวลชนชาวอินโดนีเซียได้ให้ความสนใจไม่แพ้กัน มีการลงข่าวหน้าหนึ่งในหนังสือพิมพ์รายวันของบาหลีและอินโดนีเซีย พร้อมนี้สถานีโทรทัศน์ TVRI ในบาหลีก็ได้ออกอากาศเผยแพร่ภาพการแสดงโขนของไทยด้วย โดยได้ออกข่าวชื่นชมว่าเป็นการแสดงที่อ่อนช้อย เครื่องแต่งกายงดงาม และดนตรีไพเราะ
ด้วยความสำเร็จจากการแสดงโขนของไทยในคืนแรก ทำให้ผู้จัดได้แพร่ภาพเพื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์งานเทศกาลฯ ในสื่อต่างๆ อย่างกว้างขวาง ส่งผลให้การแสดงของประเทศอื่นๆ ในคืนต่อๆ มามีผู้เข้าชมและคึกคักยิ่งขึ้น การนำโขนของไทยไปเผยแพร่ในเทศกาลรามายณะนานาชาติครั้งนี้ ถือว่าบรรลุวัตถุประสงค์ในการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยให้เป็นที่รู้จักในอินโดนีเซียอย่างกว้างขวาง รวมทั้งเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ในระดับประชาชนต่อประชาชน จึงเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยในบาหลีและชุมชนไทยในอินโดนีเซีย โดยเฉพาะคุณพีระพนธ์ ประยูรวงศ์ กงสุลกิตติมศักดิ์ประจำเมืองเดนปาซาร์ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของเกาะบาหลี เจ้าหน้าที่สถานกงสุลฯ ตลอดจนชุมชนไทยในบาหลีที่มาร่วมให้กำลังใจคณะนาฏศิลป์ไทยอย่างอบอุ่นข้างเวทีการแสดง
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-