คำถาม : เป็นผู้ส่งออกรายใหม่ อยากทราบว่าจะเลือกใช้ท่าเรืออย่างไรดี
คำตอบ การเลือกใช้ท่าเรืออย่างเหมาะสมเพื่อขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งออกเพราะทำให้ประหยัดเวลาและลดค่าใช้จ่ายลงได้ ผู้ส่งออกจึงควรพิจารณาอย่างรอบคอบ โดยดูจากทำเลที่ตั้งของโรงงานประกอบกับเส้นทางการเดินเรือของท่าเรือแต่ละแห่ง ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
* ท่าเรือแหลมฉบัง เป็นท่าเรือสำคัญที่สุดของไทยในฐานะประตูสู่ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก(อาทิ ประเทศในแถบเอเชียตะวันออก ทวีปออสเตรเลีย และทวีปอเมริกา) ด้วยปริมาณการขนส่งสินค้าเข้าออกระหว่างประเทศสูงถึง 3.5 ล้าน TEUs (Twenty-Feet Equivalent Units หรือเทียบเท่าตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 20 ฟุต) ในปี 2547 คิดเป็นสัดส่วนราวร้อยละ 70 ของการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศทั้งหมดของไทย ทั้งนี้ ปัจจุบันการท่าเรือแห่งประเทศไทยอยู่ระหว่างการขยายท่าเรือแหลมฉบังในระยะที่ 2 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2552 ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพการให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศได้สูงถึง 10.8 ล้าน TEUs ต่อปี
* ท่าเรือกรุงเทพ เป็นท่าเรือสำคัญในเขตภาคกลางในฐานะประตูสู่ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเช่นเดียวกับท่าเรือแหลมฉบัง ด้วยศักยภาพในการรองรับการขนส่งสินค้าราว 1 ล้าน TEUs ต่อปี ขณะที่ปริมาณการขนส่งสินค้าผ่านเข้าออกจริงสูงถึงกว่า 1.3 ล้าน TEUs ทำให้ภาครัฐมีนโยบายที่จะลดปริมาณการขนส่งสินค้าผ่านท่าเรือกรุงเทพให้เหลือไม่เกิน 6 แสน TEUs ต่อปี พร้อมทั้งมุ่งพัฒนาให้ท่าเรือกรุงเทพเป็นศูนย์กลางของธุรกิจขนส่งระหว่างประเทศและเป็นศูนย์รวมของหน่วยงานให้บริการด้านการส่งออกและนำเข้า เพื่อผลักดันให้ผู้ส่งออกและผู้นำเข้าหันไปใช้ท่าเรือแหลมฉบังแทน ซึ่งจะช่วยลดปัญหาความแออัดบริเวณท่าเรือและลดปัญหาจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร
* ท่าเรือเชียงแสน เป็นท่าเรือสำคัญในภาคเหนือในฐานะประตูสู่จีนตอนใต้ โดยใช้เส้นทางเดินเรือตามลำน้ำโขงจากอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ไปยังมณฑลยูนนานของจีน ก่อนขนส่งและกระจายสินค้าต่อไปยังมณฑลอื่น ๆ ซึ่งช่วยลดระยะเวลาและต้นทุนการขนส่งสินค้าจากไทยไปจีนได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะสินค้าที่ผลิตในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เทียบกับการต้องขนส่งสินค้ากลับมาลงเรือที่กรุงเทพฯ ปัจจุบันการขนส่งสินค้าผ่านท่าเรือเชียงแสนมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่เป็นสินค้าเกษตร โดยเฉพาะลำไยอบแห้ง และยางพารา อย่างไรก็ตามการที่ท่าเรือเชียงแสนมีข้อจำกัดด้านสถานที่ตั้ง การท่าเรือแห่งประเทศไทยจึงสร้างท่าเรือเชียงแสนแห่งใหม่ขึ้นในบริเวณใกล้เคียง โดยมุ่งเพิ่มขนาดของท่าเรือและสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อรองรับความต้องการที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในระยะข้างหน้า คาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการได้ในปี 2551
* ท่าเรือระนอง เป็นท่าเรือสำคัญบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามันในฐานะประตูสู่ประเทศในแถบเอเชียใต้ตะวันออกกลาง ทวีปแอฟริกา และทวีปยุโรป ปัจจุบันการท่าเรือแห่งประเทศไทยกำลังพัฒนาท่าเรือระนอง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการรองรับความต้องการใช้ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น มีกำหนดแล้วเสร็จภายในปี 2548 ทั้งนี้ เป็นที่คาดว่าการขนส่งสินค้าจากไทยไปยังประเทศในภูมิภาคดังกล่าวโดยผ่านท่าเรือระนองจะช่วยลดทั้งระยะเวลา ระยะทาง และต้นทุนการขนส่งลงได้มาก เมื่อเทียบกับการขนส่งสินค้าผ่านท่าเรือบริเวณอ่าวไทย
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มีนาคม 2549--
-พห-
คำตอบ การเลือกใช้ท่าเรืออย่างเหมาะสมเพื่อขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งออกเพราะทำให้ประหยัดเวลาและลดค่าใช้จ่ายลงได้ ผู้ส่งออกจึงควรพิจารณาอย่างรอบคอบ โดยดูจากทำเลที่ตั้งของโรงงานประกอบกับเส้นทางการเดินเรือของท่าเรือแต่ละแห่ง ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
* ท่าเรือแหลมฉบัง เป็นท่าเรือสำคัญที่สุดของไทยในฐานะประตูสู่ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก(อาทิ ประเทศในแถบเอเชียตะวันออก ทวีปออสเตรเลีย และทวีปอเมริกา) ด้วยปริมาณการขนส่งสินค้าเข้าออกระหว่างประเทศสูงถึง 3.5 ล้าน TEUs (Twenty-Feet Equivalent Units หรือเทียบเท่าตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 20 ฟุต) ในปี 2547 คิดเป็นสัดส่วนราวร้อยละ 70 ของการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศทั้งหมดของไทย ทั้งนี้ ปัจจุบันการท่าเรือแห่งประเทศไทยอยู่ระหว่างการขยายท่าเรือแหลมฉบังในระยะที่ 2 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2552 ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพการให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศได้สูงถึง 10.8 ล้าน TEUs ต่อปี
* ท่าเรือกรุงเทพ เป็นท่าเรือสำคัญในเขตภาคกลางในฐานะประตูสู่ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเช่นเดียวกับท่าเรือแหลมฉบัง ด้วยศักยภาพในการรองรับการขนส่งสินค้าราว 1 ล้าน TEUs ต่อปี ขณะที่ปริมาณการขนส่งสินค้าผ่านเข้าออกจริงสูงถึงกว่า 1.3 ล้าน TEUs ทำให้ภาครัฐมีนโยบายที่จะลดปริมาณการขนส่งสินค้าผ่านท่าเรือกรุงเทพให้เหลือไม่เกิน 6 แสน TEUs ต่อปี พร้อมทั้งมุ่งพัฒนาให้ท่าเรือกรุงเทพเป็นศูนย์กลางของธุรกิจขนส่งระหว่างประเทศและเป็นศูนย์รวมของหน่วยงานให้บริการด้านการส่งออกและนำเข้า เพื่อผลักดันให้ผู้ส่งออกและผู้นำเข้าหันไปใช้ท่าเรือแหลมฉบังแทน ซึ่งจะช่วยลดปัญหาความแออัดบริเวณท่าเรือและลดปัญหาจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร
* ท่าเรือเชียงแสน เป็นท่าเรือสำคัญในภาคเหนือในฐานะประตูสู่จีนตอนใต้ โดยใช้เส้นทางเดินเรือตามลำน้ำโขงจากอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ไปยังมณฑลยูนนานของจีน ก่อนขนส่งและกระจายสินค้าต่อไปยังมณฑลอื่น ๆ ซึ่งช่วยลดระยะเวลาและต้นทุนการขนส่งสินค้าจากไทยไปจีนได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะสินค้าที่ผลิตในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เทียบกับการต้องขนส่งสินค้ากลับมาลงเรือที่กรุงเทพฯ ปัจจุบันการขนส่งสินค้าผ่านท่าเรือเชียงแสนมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่เป็นสินค้าเกษตร โดยเฉพาะลำไยอบแห้ง และยางพารา อย่างไรก็ตามการที่ท่าเรือเชียงแสนมีข้อจำกัดด้านสถานที่ตั้ง การท่าเรือแห่งประเทศไทยจึงสร้างท่าเรือเชียงแสนแห่งใหม่ขึ้นในบริเวณใกล้เคียง โดยมุ่งเพิ่มขนาดของท่าเรือและสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อรองรับความต้องการที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในระยะข้างหน้า คาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการได้ในปี 2551
* ท่าเรือระนอง เป็นท่าเรือสำคัญบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามันในฐานะประตูสู่ประเทศในแถบเอเชียใต้ตะวันออกกลาง ทวีปแอฟริกา และทวีปยุโรป ปัจจุบันการท่าเรือแห่งประเทศไทยกำลังพัฒนาท่าเรือระนอง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการรองรับความต้องการใช้ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น มีกำหนดแล้วเสร็จภายในปี 2548 ทั้งนี้ เป็นที่คาดว่าการขนส่งสินค้าจากไทยไปยังประเทศในภูมิภาคดังกล่าวโดยผ่านท่าเรือระนองจะช่วยลดทั้งระยะเวลา ระยะทาง และต้นทุนการขนส่งลงได้มาก เมื่อเทียบกับการขนส่งสินค้าผ่านท่าเรือบริเวณอ่าวไทย
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มีนาคม 2549--
-พห-