กระทรวงพาณิชย์ ขอรายงานความเคลื่อนไหวดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปและดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนพฤษภาคม 2549 โดยสรุปจากการสำรวจราคาสินค้าและบริการทั่วประเทศจำนวน 373 รายการ ครอบคลุมหมวดอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่ม เคหสถาน การตรวจรักษา บริการส่วนบุคคล ยานพาหนะ การขนส่ง การสื่อสาร การบันเทิง การอ่าน การศึกษา ฯลฯ เพื่อนำมาคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ได้ผลดังนี้
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนพฤษภาคม 2549
ในปี 2545 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เท่ากับ 100 และเดือนพฤษภาคม 2549 เท่ากับ 115.1 สำหรับเดือนเมษายน 2549 เท่ากับ 114.3
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนพฤษภาคม 2549 เมื่อเทียบกับ
2.1 เดือนเมษายน 2549 สูงขึ้นร้อยละ 0.7
2.2 เดือนพฤษภาคม 2548 สูงขึ้นร้อยละ 6.2
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนพฤษภาคม 2549 เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2549 สูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลง คือร้อยละ 0.7 (เมษายน 2549 สูงขึ้นร้อยละ 1.2) ซึ่งเป็นแนวโน้มที่แสดงว่าแรงกดดันต่อเงินเฟ้อในระยะสั้นเริ่มอ่อนตัวลง ปัจจัยสำคัญมาจากดัชนีหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 0.9 สาเหตุหลักยังคงเป็นราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น ส่งผลให้ค่าโดยสารสาธารณะสูงขึ้นร้อยละ 5.0 สำหรับหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ในเดือนนี้สูงขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.3
" ดัชนีราคาหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 0.9 สาเหตุหลักมาจากการขึ้นของดัชนีราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ 2.8 ส่งผลให้มีการปรับค่าธรรมเนียมรถไฟทำให้ดัชนีรายการนี้สูงขึ้นร้อยละ 40.0 นอกจากนี้ ค่าโดยสารประเภทอื่นมีการปรับขึ้นด้วย เช่น รถเมล์เล็กในท้องถิ่น รถจักรยานยนต์รับจ้าง เป็นต้น ประกอบกับค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษา ในเดือนนี้สูงขึ้นร้อยละ 0.6 รวมทั้งหมวดค่าใช้จ่ายของใช้ส่วนบุคคลสูงขึ้นร้อยละ 0.5 จากการสูงขึ้นของราคา ครีมนวดผม สบู่ถูตัว ครีมบำรุงผิว และผ้าอนามัย
" ดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 0.3 เป็นอัตราที่ชะลอตัวลงจากเดือนเมษายน 2549 ค่อนข้างมาก (เมษายน 2549 สูงขึ้นร้อยละ 2.0) สาเหตุสำคัญมาจากราคาผักสดลดลงร้อยละ 1.7 เนื่องจากฝนตก อากาศเริ่มเย็นทำให้ผลผลิตผักต่าง ๆ มีมากขึ้น แต่สินค้าที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่ ผลไม้สด น้ำอัดลม ปลาและสัตว์น้ำ ข้าวสารเหนียวและขนมปังปอนด์
4. ถ้าพิจารณาเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2548 ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 6.2 (เมษายน 2549 สูงขึ้นร้อยละ 6.0) ทั้งนี้เนื่องจากเป็นการสูงขึ้นของสินค้าบางตัวที่สูงกว่าปกติคือ ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 32.0 นอกจากนี้ยังมีสินค้าและบริการอื่นที่ราคาสูงขึ้นได้แก่ ค่าโดยสารสาธารณะ ค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษา น้ำตาลทราย น้ำอัดลมและผักสด
5. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ (คำนวณจากรายการสินค้าและบริการ 266 รายการ) คือ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศที่หักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสด และสินค้ากลุ่มพลังงานจำนวน 107 รายการ ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 24 ของสัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนพฤษภาคม 2549 เท่ากับ 104.7 เมื่อเทียบกับ
5.1 เดือนเมษายน 2549 สูงขึ้นร้อยละ 0.6
5.2 เดือนพฤษภาคม 2548 สูงขึ้นร้อยละ 2.7
--สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กรมการค้าภายใน--
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนพฤษภาคม 2549
ในปี 2545 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เท่ากับ 100 และเดือนพฤษภาคม 2549 เท่ากับ 115.1 สำหรับเดือนเมษายน 2549 เท่ากับ 114.3
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนพฤษภาคม 2549 เมื่อเทียบกับ
2.1 เดือนเมษายน 2549 สูงขึ้นร้อยละ 0.7
2.2 เดือนพฤษภาคม 2548 สูงขึ้นร้อยละ 6.2
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนพฤษภาคม 2549 เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2549 สูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลง คือร้อยละ 0.7 (เมษายน 2549 สูงขึ้นร้อยละ 1.2) ซึ่งเป็นแนวโน้มที่แสดงว่าแรงกดดันต่อเงินเฟ้อในระยะสั้นเริ่มอ่อนตัวลง ปัจจัยสำคัญมาจากดัชนีหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 0.9 สาเหตุหลักยังคงเป็นราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น ส่งผลให้ค่าโดยสารสาธารณะสูงขึ้นร้อยละ 5.0 สำหรับหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ในเดือนนี้สูงขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.3
" ดัชนีราคาหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 0.9 สาเหตุหลักมาจากการขึ้นของดัชนีราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ 2.8 ส่งผลให้มีการปรับค่าธรรมเนียมรถไฟทำให้ดัชนีรายการนี้สูงขึ้นร้อยละ 40.0 นอกจากนี้ ค่าโดยสารประเภทอื่นมีการปรับขึ้นด้วย เช่น รถเมล์เล็กในท้องถิ่น รถจักรยานยนต์รับจ้าง เป็นต้น ประกอบกับค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษา ในเดือนนี้สูงขึ้นร้อยละ 0.6 รวมทั้งหมวดค่าใช้จ่ายของใช้ส่วนบุคคลสูงขึ้นร้อยละ 0.5 จากการสูงขึ้นของราคา ครีมนวดผม สบู่ถูตัว ครีมบำรุงผิว และผ้าอนามัย
" ดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 0.3 เป็นอัตราที่ชะลอตัวลงจากเดือนเมษายน 2549 ค่อนข้างมาก (เมษายน 2549 สูงขึ้นร้อยละ 2.0) สาเหตุสำคัญมาจากราคาผักสดลดลงร้อยละ 1.7 เนื่องจากฝนตก อากาศเริ่มเย็นทำให้ผลผลิตผักต่าง ๆ มีมากขึ้น แต่สินค้าที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่ ผลไม้สด น้ำอัดลม ปลาและสัตว์น้ำ ข้าวสารเหนียวและขนมปังปอนด์
4. ถ้าพิจารณาเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2548 ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 6.2 (เมษายน 2549 สูงขึ้นร้อยละ 6.0) ทั้งนี้เนื่องจากเป็นการสูงขึ้นของสินค้าบางตัวที่สูงกว่าปกติคือ ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 32.0 นอกจากนี้ยังมีสินค้าและบริการอื่นที่ราคาสูงขึ้นได้แก่ ค่าโดยสารสาธารณะ ค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษา น้ำตาลทราย น้ำอัดลมและผักสด
5. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ (คำนวณจากรายการสินค้าและบริการ 266 รายการ) คือ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศที่หักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสด และสินค้ากลุ่มพลังงานจำนวน 107 รายการ ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 24 ของสัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนพฤษภาคม 2549 เท่ากับ 104.7 เมื่อเทียบกับ
5.1 เดือนเมษายน 2549 สูงขึ้นร้อยละ 0.6
5.2 เดือนพฤษภาคม 2548 สูงขึ้นร้อยละ 2.7
--สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กรมการค้าภายใน--