ทรรศนะ : อำนาจมืดกับความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้
เจะอามิง โตะตาหยง
อดีตส.ส.นราธิวาส รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์
“
เจ้าหน้าที่รัฐต้องไม่สร้างอาณาจักรแห่งความกลัวของตนเองให้ประชาชนเห็น ถึงแม้จะตกอยู่ในภาวะอันตราย ต้องครองสติให้ได้ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ประชาชน
“
สถานการณ์ความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และบางอำเภอในจังหวัดสงขลา เกิดเหตุความรุนแรงอย่างต่อเนื่องเป็นระยะ ๆ จะหนัก เบาบางบ้าง แล้วแต่เหตุการณ์ในห้วงเวลานั้น
ความรุนแรงเริ่ม เปล่ง แสงขึ้น ในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี เริ่มใช้นโยบายการปราบปรามยาเสพติด และผู้มีอิทธิพลขึ้นในประเทศ จนเป็นที่กล่าวขานว่า ประชาชนถูกฆ่า ตัดตอน กันมากมายจะเท็จหรือจริงอย่างไร ไม่มีคำตอบ และไร้คำชี้แจงจากรัฐบาล
ข้อกล่าวหาจากภาคประชาชน และผู้คนทั้งประเทศ ที่รัฐบาลไม่มีคำตอบให้ เสมือนหนึ่งการกล่าวหาเป็นจริง สร้างความไม่พอใจเกิดขึ้นในหมู่ญาติของผู้เสียชีวิต กับรัฐบาลทั่วทั้งประเทศ
แม้กระทั้งการกล่าวขาน ว่าผู้บริสุทธิ์ เสียชีวิตกับนโยบายในครั้งนั้นด้วยจำนวนไม่น้อยทีเดียว การปราบปรามยาเสพติด และผู้มีอิทธิพล เป็นสิ่งที่รัฐควรกระทำโดยอาศัยหลักและกรอบของกฎหมาย นำสู่กระบวนการยุติธรรม
การใช้นโยบายของรัฐ ที่สำคัญต้องไม่ลุแก่อำนาจ กับการแก้ปัญหาของประเทศชาติ จนในที่สุดกลับกลายเป็นปัญหา มาทิ่มแทงรัฐเอง เหมือนที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ที่รัฐเองกลับต้องมาแก้กันในภายหลัง จากเงื่อนไขที่รัฐสร้างขึ้นมาเอง ที่รัฐบาลนี้ต้องตระหนักคิด
ปัญหาทั้งหลายในประเทศในขณะนี้ เกิดจากการกำหนดนโยบายที่ผิดพลาดของรัฐบาล ก่อนหน้านี้ เฉกเช่นเดียวกับการแก้ปัญหาภาคใต้ ก็ไม่ได้มีความแตกต่างกัน
ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ได้แตกต่างไปจากภูมิภาคอื่น ผู้คนเสียชีวิต จากเหตุการณ์ เช่นเดียวกัน แต่กลับกลายเป็นเงื่อนไข อันโอฉะ ของฝ่ายตรงข้าม ที่สามารถนำเอาสถานการณ์ที่เกิดขึ้น พลิกมาเป็นโอกาส ดึงผู้คนมาเป็นแนวร่วม กลับไปต่อต้านรัฐ ปลูกกระแสเรียกร้องความเป็นธรรมที่เกิดขึ้นในสังคม ให้สอดคล้องกับความรู้สึกของประชาชน เพื่อต้องการประชาชนเป็นเกราะกำบัง มีผลต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน
ในขณะที่ฝ่ายรัฐเอง ยังไม่สามารถดึงใจ หรือครองใจประชาชนกลับมาได้ การรุกในการแก้ปัญหา ฝ่ายรัฐ ยังติดยึดระบบระเบียบราชการมาก ทำให้มีความเทอะทะ ไม่คล่องตัว ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ ในความรู้สึกของประชาชน เสมือนรัฐไม่มีความจริงใจเหมือนเดิม
ฝ่ายปกครองต้องทำหน้าที่เป็นหลักในการทำงานมวลชน รุกและคลุกในพื้นที่ชนบท มิใช่รอแต่ประชาชนมาพบที่ทำงาน เหมือนพวกเทวดา ยังนี้ต้องเปลี่ยนความคิด ต้องไม่วางตัวเป็นเจ้าคุณ มูลนาย ต้องสร้างความใกล้ชิด เพื่อให้เข้าถึงประชาชนจริง ๆ สร้างกิจกรรมในชุมชน โดยต้องมีความเข้าใจ ในกิจกรรม ที่กำหนดขึ้นต้องไม่กระทบกับวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของประชาชน ที่มีความแตกต่าง กันทั้งทางด้านศาสนา วัฒนธรรม และความเป็นอยู่
เจ้าหน้าที่รัฐต้องไม่สร้างอาณาจักรแห่งความกลัวของตนเองให้ประชาชนเห็น ถึงแม้จะตกอยู่ในภาวะอันตราย ต้องครองสติให้ได้ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ประชาชน
ความหวาดผวาของประชาชนต่อสถานการณ์ในภาคใต้ เสมือนกับตกอยู่ในอำนาจมืด ชีวิตยังหาทางสว่างให้กับตัวเองไม่ได้ อนาคตที่ฝากฝังไว้กับรัฐ ก็ยังคลุมเครือ ริบหรี่กับอนาคต ในวันข้างหน้ายิ่งนัก ไม่รู้อีกกี่วัน กี่เดือน หรือกี่ปี ที่ยังต้องทนทุกข์อยู่ในสภาพเช่นนี้ นี่คือความรู้สึกของประชาชนทุกหมู่เหล่า ในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ชีวิตและความหวังของประชาชนยังฝากไว้กับภาครัฐ ความรู้สึกจะดีขึ้นก็ต่อเมื่อ ภาครัฐสามารถควบคุมสถานการณ์ ไม่ให้มีการฆ่ารายวัน ที่รัฐต้องหามาตราการให้ดีที่สุด
สิ่งที่สำคัญ รัฐต้องไม่เมื่อยล้า หรือล้าช้ากับการแก้ปัญหาภาคใต้ ใช้คนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ สร้างความเป็นเอกภาพ ในระบบของภาครัฐ ก่อนนำไปสู่นโยบายในภาครัฐกับการแก้ปัญหาภาคใต้ ถือเป็นความสำคัญยิ่งในขณะนี้..
//////////////////////////////////////////
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 6 ธ.ค. 2549--จบ--
เจะอามิง โตะตาหยง
อดีตส.ส.นราธิวาส รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์
“
เจ้าหน้าที่รัฐต้องไม่สร้างอาณาจักรแห่งความกลัวของตนเองให้ประชาชนเห็น ถึงแม้จะตกอยู่ในภาวะอันตราย ต้องครองสติให้ได้ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ประชาชน
“
สถานการณ์ความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และบางอำเภอในจังหวัดสงขลา เกิดเหตุความรุนแรงอย่างต่อเนื่องเป็นระยะ ๆ จะหนัก เบาบางบ้าง แล้วแต่เหตุการณ์ในห้วงเวลานั้น
ความรุนแรงเริ่ม เปล่ง แสงขึ้น ในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี เริ่มใช้นโยบายการปราบปรามยาเสพติด และผู้มีอิทธิพลขึ้นในประเทศ จนเป็นที่กล่าวขานว่า ประชาชนถูกฆ่า ตัดตอน กันมากมายจะเท็จหรือจริงอย่างไร ไม่มีคำตอบ และไร้คำชี้แจงจากรัฐบาล
ข้อกล่าวหาจากภาคประชาชน และผู้คนทั้งประเทศ ที่รัฐบาลไม่มีคำตอบให้ เสมือนหนึ่งการกล่าวหาเป็นจริง สร้างความไม่พอใจเกิดขึ้นในหมู่ญาติของผู้เสียชีวิต กับรัฐบาลทั่วทั้งประเทศ
แม้กระทั้งการกล่าวขาน ว่าผู้บริสุทธิ์ เสียชีวิตกับนโยบายในครั้งนั้นด้วยจำนวนไม่น้อยทีเดียว การปราบปรามยาเสพติด และผู้มีอิทธิพล เป็นสิ่งที่รัฐควรกระทำโดยอาศัยหลักและกรอบของกฎหมาย นำสู่กระบวนการยุติธรรม
การใช้นโยบายของรัฐ ที่สำคัญต้องไม่ลุแก่อำนาจ กับการแก้ปัญหาของประเทศชาติ จนในที่สุดกลับกลายเป็นปัญหา มาทิ่มแทงรัฐเอง เหมือนที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ที่รัฐเองกลับต้องมาแก้กันในภายหลัง จากเงื่อนไขที่รัฐสร้างขึ้นมาเอง ที่รัฐบาลนี้ต้องตระหนักคิด
ปัญหาทั้งหลายในประเทศในขณะนี้ เกิดจากการกำหนดนโยบายที่ผิดพลาดของรัฐบาล ก่อนหน้านี้ เฉกเช่นเดียวกับการแก้ปัญหาภาคใต้ ก็ไม่ได้มีความแตกต่างกัน
ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ได้แตกต่างไปจากภูมิภาคอื่น ผู้คนเสียชีวิต จากเหตุการณ์ เช่นเดียวกัน แต่กลับกลายเป็นเงื่อนไข อันโอฉะ ของฝ่ายตรงข้าม ที่สามารถนำเอาสถานการณ์ที่เกิดขึ้น พลิกมาเป็นโอกาส ดึงผู้คนมาเป็นแนวร่วม กลับไปต่อต้านรัฐ ปลูกกระแสเรียกร้องความเป็นธรรมที่เกิดขึ้นในสังคม ให้สอดคล้องกับความรู้สึกของประชาชน เพื่อต้องการประชาชนเป็นเกราะกำบัง มีผลต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน
ในขณะที่ฝ่ายรัฐเอง ยังไม่สามารถดึงใจ หรือครองใจประชาชนกลับมาได้ การรุกในการแก้ปัญหา ฝ่ายรัฐ ยังติดยึดระบบระเบียบราชการมาก ทำให้มีความเทอะทะ ไม่คล่องตัว ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ ในความรู้สึกของประชาชน เสมือนรัฐไม่มีความจริงใจเหมือนเดิม
ฝ่ายปกครองต้องทำหน้าที่เป็นหลักในการทำงานมวลชน รุกและคลุกในพื้นที่ชนบท มิใช่รอแต่ประชาชนมาพบที่ทำงาน เหมือนพวกเทวดา ยังนี้ต้องเปลี่ยนความคิด ต้องไม่วางตัวเป็นเจ้าคุณ มูลนาย ต้องสร้างความใกล้ชิด เพื่อให้เข้าถึงประชาชนจริง ๆ สร้างกิจกรรมในชุมชน โดยต้องมีความเข้าใจ ในกิจกรรม ที่กำหนดขึ้นต้องไม่กระทบกับวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของประชาชน ที่มีความแตกต่าง กันทั้งทางด้านศาสนา วัฒนธรรม และความเป็นอยู่
เจ้าหน้าที่รัฐต้องไม่สร้างอาณาจักรแห่งความกลัวของตนเองให้ประชาชนเห็น ถึงแม้จะตกอยู่ในภาวะอันตราย ต้องครองสติให้ได้ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ประชาชน
ความหวาดผวาของประชาชนต่อสถานการณ์ในภาคใต้ เสมือนกับตกอยู่ในอำนาจมืด ชีวิตยังหาทางสว่างให้กับตัวเองไม่ได้ อนาคตที่ฝากฝังไว้กับรัฐ ก็ยังคลุมเครือ ริบหรี่กับอนาคต ในวันข้างหน้ายิ่งนัก ไม่รู้อีกกี่วัน กี่เดือน หรือกี่ปี ที่ยังต้องทนทุกข์อยู่ในสภาพเช่นนี้ นี่คือความรู้สึกของประชาชนทุกหมู่เหล่า ในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ชีวิตและความหวังของประชาชนยังฝากไว้กับภาครัฐ ความรู้สึกจะดีขึ้นก็ต่อเมื่อ ภาครัฐสามารถควบคุมสถานการณ์ ไม่ให้มีการฆ่ารายวัน ที่รัฐต้องหามาตราการให้ดีที่สุด
สิ่งที่สำคัญ รัฐต้องไม่เมื่อยล้า หรือล้าช้ากับการแก้ปัญหาภาคใต้ ใช้คนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ สร้างความเป็นเอกภาพ ในระบบของภาครัฐ ก่อนนำไปสู่นโยบายในภาครัฐกับการแก้ปัญหาภาคใต้ ถือเป็นความสำคัญยิ่งในขณะนี้..
//////////////////////////////////////////
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 6 ธ.ค. 2549--จบ--