ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ก.คลังยังไม่อนุมัติเกณฑ์การขึ้นดอกเบี้ยบัตรเครดิตจากร้อยละ 18 เป็นร้อยละ 20 นางธาริษา วัฒนเกส
รองผู้ว่าการ สายเสถียรภาพสถาบันการเงิน และรักษาการ ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ได้รับข้อมูลความคืบหน้าเรื่องการปรับขึ้น
อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบัตรเครดิตและเกณฑ์การให้บริการธุรกิจบัตรเครดิตต่าง ๆ จาก ก.คลัง คาดว่าอยู่ระหว่างการพิจารณาและน่าจะสามารถ
ใช้ได้ในเร็ว ๆ นี้ ส่วนสาเหตุที่ ธปท. เสนอให้ปรับขึ้นดอกเบี้ยและเกณฑ์การทำธุรกิจบัตรเครดิตให้รอบคอบขึ้น โดยเสนอปรับเพดานดอกเบี้ยจาก
ร้อยละ 18 เป็นร้อยละ 20 ปรับยอดชำระขั้นต่ำจากร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 10 ไม่ใช่เพราะห่วงธุรกิจบัตรเครดิตจะโตเร็วเกินไป แต่เมื่อ
พิจารณารายละเอียดพบว่าคนมีรายได้น้อยเป็นคนที่ใช้บัตรเครดิตมากและเริ่มมียอดเอ็นพีแอลมากกว่ากลุ่มอื่น จึงคิดในหลักที่ว่าถ้าราคาสินค้าสูงขึ้นคน
ที่คิดจะบริโภคมาก ๆ ต้องคิดมากขึ้น แต่ก็ไม่ได้บอกให้ทุกคนขึ้น แต่ใครจะขึ้นก็ได้ สำหรับธุรกิจบัตรเครดิตในขณะนี้มีการเติบโตที่ชะลอลงมากแล้ว
ไม่น่ากลัวเหมือนในอดีต เพราะสัดส่วนสินเชื่อคงค้างไม่สูงมาก คิดเป็นเพียงร้อยละ 2-3 ของสินเชื่อรวมเท่านั้น แต่การปรับเพดานดอกเบี้ยจะเน้น
ให้คนที่มีรายได้น้อยระมัดระวังมากขึ้น ด้าน นายสามารถ บูรณวัฒนาโชค ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า การปรับ
ขึ้นดอกเบี้ยบัตรเครดิตนั้น หาก รมว.คลังอนุมัติให้บังคับใช้ คงต้องใช้ในการคิดดอกเบี้ยกับลูกค้าผู้ถือบัตรรายใหม่ก่อน ส่วนลูกค้าผู้ถือบัตรเครดิตราย
เก่าต้องดูรายละเอียดของสัญญากับลูกค้าแต่ละแห่ง เพราะเกณฑ์ที่เสนอให้ขึ้นร้อยละ 2 คิดเฉลี่ยมาจากต้นทุนของธุรกิจบัตรเครดิตที่เพิ่มขึ้นจริง ๆ
โดยให้ผู้ประกอบการแต่ละแห่งเสนอเข้ามาว่ามีต้นทุนเพิ่มเท่าไร แต่การส่งข้อมูลเข้ามาต้องได้รับการเซ็นรับรองจากผู้ตรวจสอบบัญชีด้วยเพื่อความ
น่าเชื่อถือ และเมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าต้นทุนเพิ่มจริงจึงเอาต้นทุนมาเฉลี่ยและเสนอให้ปรับเพียงร้อย 2 ปัจจุบันธุรกิจบัตรเครดิตมียอด
10.5 ล้านบัตร มียอดสินเชื่อคงค้าง 1.58 แสนล้านบาท ปริมาณการใช้จ่ายโดยรวมทั้งสิ้น 6.15 หมื่นล้านบาท (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ,
ผู้จัดการรายวัน)
2. เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเป็นไปตามกลไกตลาด นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ สายเสถียรภาพสถาบันการเงิน และรักษาการ
ผู้ว่าการ ธปท. เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในช่วงที่ผ่านมาเป็นไปตามกลไกตลาดที่มีความเชื่อมั่นต่อค่าเงินดอลลาร์ สรอ.ยังน้อยอยู่ แต่แม้
ว่าค่าเงินบาทจะอยู่ในทิศทางที่แข็งค่าขึ้นแต่ก็เป็นไปในทิศทางเดียวกันและยังเกาะกลุ่มในสกุลเงินภูมิภาคเอเชีย จึงเชื่อว่าจะไม่มีผลกระทบต่อผู้
ส่งออกมากนัก ทั้งนี้ ค่าเงินบาทช่วงเช้าวันที่ 24 ต.ค. อยู่ที่ระดับ 37.24 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นจากสิ้นเดือนก่อนหน้าร้อยละ 0.75
และเริ่มอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงบ่ายมาแตะระดับ 37.41 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ. ด้าน นายบันลือศักดิ์ ปุสสะรังสี ผอ.ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจมหภาค
ธ.กรุงเทพ กล่าวว่า แนวโน้มค่าเงินบาทจากนี้ไปจนถึงสิ้นปียังไม่น่าจะมีการปรับเปลี่ยนไปจากปัจจุบันมากนัก หากจะแข็งค่าขึ้นก็คงจะปรับเพียง
เล็กน้อย ทั้งนี้ เชื่อว่าแนวโน้มค่าเงินบาทในปีหน้าจะปรับตัวอ่อนค่าลง เนื่องจากมองว่า ธปท. จะมีการลดอัตราดอกเบี้ยลงในช่วงปลายไตรมาส
1 หรือต้นไตรมาส 2 ของปีหน้า (ผู้จัดการรายวัน)
3. กรณีแต่งตั้ง นายวิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ เป็น กก. ธ.กรุงไทย ไม่เหมาะสม นายไพโรจน์ เฮงสกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายจัดการ
กองทุนและหนี้ ธปท. ในฐานะ ผจก.กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน กล่าวถึงกรณีที่ นายวิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ ได้ลาออกจาก
การเป็น กก. ธ.กรุงไทย ว่า นายวิเชียรโชติไม่ควรจะได้รับอนุมัติแต่งตั้งเป็น กก. ธ.กรุงไทย ตั้งแต่แรก โดยเฉพาะในแง่ธรรมาภิบาลถือว่า
ไม่มีความเหมาะสม ส่วนในแง่กฎหมายเป็นเรื่องที่ต้องตีความใน 2 ประเด็น คือ นายวิเชียรโชติเคยถูกจำคุกหรือไม่ และนายวิเชียรโชติเคยถูก
ให้ออกจากราชการหรือไม่ ซึ่งเห็นว่าเมื่อศาลตัดสินว่านายวิเชียรโชติทุจริตก็หมายความว่าต้องถูกปลดออกจากตำแหน่งอยู่แล้ว ทั้งนี้ คณะกรรมการ
ธ.กรุงไทยไม่เคยถามความเห็นกองทุนฟื้นฟูฯ ในการแต่งตั้งนายวิเชียรโชติ (มติชน, กรุงเทพธุรกิจ)
4. คาดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศปี 50 จะลดลงเกือบร้อยละ 40 รายงานข่าวจากบริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า
บริษัทได้ประเมินการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในปีหน้าอาจปรับตัวลดลงค่อนข้างมาก เนื่องจากกระแสการเข้าซื้อกิจการขนาดใหญ่ที่น่าจะ
น้อยลง โดยอาจมีมูลค่าประมาณ 3,033 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 39 จากปี 49 ที่คาดว่าจะมีมูลค่า 4,942 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 60 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และอาจจะลดลงเพิ่มมากขึ้นหากสัดส่วนการลงทุนของธุรกิจโทรคมนาคมจากต่างประเทศลดลง หลังจากปีนี้มีวง
เงินลงทุนเข้ามาสูงมากจากการเข้าซื้อกิจการโทรคมนาคม จึงเห็นว่ารัฐบาลควรเร่งกำหนดมาตรการส่งเสริมการลงทุนเจาะจงอุตสาหกรรม
เป้าหมายและการออกไปโรดโชว์ในต่างประเทศ (เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดขายในร้านค้าปลีกของ สรอ. สิ้นสุด ณ วันที่ 21 ต.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 เทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า รายงานจากนิวยอร์ก
เมื่อ 24 ต.ค.49 บริษัทวิจัย Redbook เปิดเผยว่า ยอดขายในร้านค้าปลีกของ สรอ. สิ้นสุด ณ วันที่ 21 ต.ค.49 ชะลอตัวลงเล็กน้อย โดย
เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของเดือน ก.ย.49
เนื่องจากอยู่ในช่วงเทศกาลลดราคาในวันฉลองการค้นพบโลกใหม่ของ Christopher Columbus (Columbus Day) ซึ่งผู้ค้าปลีกกล่าวว่า
ความต้องการสินค้าหมวดเครื่องแต่งกายฤดูหนาวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามอากาศที่หนาวเย็น สนับสนุนให้ยอดขายสินค้าทั่วไปและสินค้าลดราคาในห้าง
สรรพสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในขณะที่ยอดขายเครื่องแต่งกายในร้านดิสเคาน์สโตร์กลับไม่หนาแน่น ทั้งนี้ ดัชนีดังกล่าวที่จัดทำโดย
Johnson Redbook เป็นดัชนีชี้วัดถ่วงน้ำหนักยอดขายของแต่ละปีสำหรับร้านค้าประเภทเดียวกันของผู้ค้าปลีกขนาดใหญ่ใน สรอ. ที่เป็นตัวแทน
ประมาณ 9,000 ร้านค้า (รอยเตอร์)
2. ยอดคำสั่งซื้อใหม่ของยูโรโซนในเดือน ส.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 รายงานจากบรัสเซลส์เมื่อ 24 ต.ค.49
The European Union’s statistics office เปิดเผยว่า ยอดคำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรม (Industrial new orders) ของ 12
ประเทศเขตเศรษฐกิจยุโรปที่ใช้เงินสกุลยูโร (ยูโรโซน) ในเดือน ส.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 เทียบต่อเดือน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.3 เทียบ
ต่อปี เหนือความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่ายอดคำสั่งซื้อฯ จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 เทียบต่อเดือน และร้อยละ 10.1 เทียบต่อปี โดย
ได้รับแรงสนับสนุนจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นในสินค้าประเภทรถไฟ เรือ และเครื่องบิน เช่นเดียวกับสินค้าประเภทเหล็กและผลิตภัณฑ์จากเหล็ก
สำหรับยอดคำสั่งซื้อฯ ซึ่งไม่รวมอุปกรณ์การขนส่งที่มีความผันผวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 เทียบต่อเดือน และร้อยละ 12.6 เทียบต่อปี ทั้งนี้ ยอดคำสั่ง
ซื้อใหม่ที่เพิ่มขึ้นบ่งชี้ถึงการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรม และเป็นสัญญาณสนับสนุนการขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจที่มีการคาดหมายว่าจะขยายตัวร้อยละ
2.5 เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าจากปีก่อน ทำให้นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า ธ.กลางยุโรปอาจปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 ขึ้นมาอยู่ที่ระดับ
ร้อยละ 3.5 ในเดือน ธ.ค.49 นี้เพื่อบรรเทาผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อ ในขณะที่นักเศรษฐศาสตร์อีกจำนวนหนึ่งมีความเห็นว่า หากยังไม่มีสัญญาณ
ของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างชัดเจน ก็มีความเป็นไปได้ที่ ธ.กลางจะเลื่อนระยะเวลาในการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายออกไปเป็นช่วงต้นปี
หน้า (รอยเตอร์)
3. ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าในเดือน ก.ย.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 เทียบต่อปี รายงานจากโตเกียว เมื่อ 25 ต.ค.49 ก.คลังญี่ปุ่น
เปิดเผยว่า ในเดือน ก.ย.49 ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าจำนวน 1.014 ล้านล้านเยน (8.49 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบ
ต่อปี ขณะที่นักวิเคราะห์ประมาณการก่อนหน้านี้ว่าจะเกินดุลเพียง 853.7 พันล้านเยน ซึ่งสามารถชี้วัดได้ว่า การส่งออกของภาคธุรกิจในญี่ปุ่นยังคง
ขยายตัวต่อเนื่องสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นอย่างมีเสถียรภาพ โดยในเดือน ก.ย.49 ญี่ปุ่นส่งออกจำนวน 6.8320 ล้านล้านเยน
หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.3 ขณะที่นำเข้าจำนวน 5.8181 ล้านล้านเยน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.9 ทั้งนี้ ญี่ปุ่นส่งออกไปยังประเทศ สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ
20.4 ที่จำนวน 1.5717 ล้านล้านเยน ขณะที่ส่งออกไปจีนจำนวน 963.8 พันล้านเยน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.8 อย่างไรก็ตาม หากเทียบต่อเดือน
ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าลดลงร้อยละ 36.5 ที่จำนวน 419.9 พันล้านเยน (ตัวเลขหลังปรับปัจจัยทางฤดูกาล) (รอยเตอร์)
4. เศรษฐกิจเกาหลีใต้ในไตรมาสที่ 3 เติบโตร้อยละ 0.9 รายงานจากกรุงโซลเมื่อวันที่ 25 ต.ค. 49 ธ.กลางเกาหลีใต้เปิดเผย
ว่าเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ปีนี้ขยายตัวจากไตรมาสก่อนร้อยละ 0.9 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) สอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาดในขณะที่ผลการ
สำรวจโดยรอยเตอร์คาดว่า จะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 0.9 สูงกว่าที่ขยายตัวร้อยละ 0.8 ในไตรมาสที่สอง นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่าตัวเลขการ
ขยายตัวดังกล่าวเปิดเผยก่อนที่ตลาดหุ้นจะเปิดทำการแต่ก็มิได้เปลี่ยนมุมมองของตลาดที่คาดว่า ธ.กลางเกาหลีใต้จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อไป
อีก ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์จาก Hyundai Securities กล่าวว่าตัวเลขทางเศรษฐกิจบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังชะลอตัวแต่ไม่มากตามที่วิตก
กัน และเห็นว่าเป็นการยากที่ ธ.กลางเกาหลีใต้จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายขณะที่เศรษฐกิจชะลอตัว แต่ก็ไม่ง่ายที่ ธ.กลางจะปรับลดอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายเนื่องจากเศรษฐกิจไม่ได้ชะลอตัวรวดเร็วจนเกินไป โดยการขยายตัวอย่างแข็งแกร่งของภาคการก่อสร้างและอุตสาหกรรมการ
ผลิตส่งผลให้เศรษฐกิจโดยรวมในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวขณะที่การใช้จ่ายภาคเอกชนชะลอตัว ทั้งนี้การบริโภคภาคเอกชนซึ่งคิดเป็นสัดส่วนถึงครึ่งหนึ่ง
ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) ในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวจากไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 0.5 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) และแม้ว่าเศรษฐกิจ
ในไตรมาสที่ 3 จะเติบโตอย่างรวดเร็วแต่ความตึงเครียดเนื่องจากการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือในเดือนนี้ประกอบกับเศรษฐกิจสรอ.
ชะลอตัวได้ส่งผลกระทบต่อแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ซึ่งมีเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 3 ในภูมิภาคเอเชียซึ่งนาย
Lee Seong-tae ผวก.ธ.กลางเกาหลีใต้กล่าวว่าเหตุดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายผู้บริโภคภาคเอกชนและธุรกิจ รวมทั้งการลงทุนโดย
ตรงจากต่างประเทศ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 25 ต.ค. 49 24 ต.ค. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 37.249 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 37.0670/37.3609 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.12313 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 728.53/13.91 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,250/10,350 10,250/10,350 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 56.38 55.51 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับลด เมื่อ 25 ต.ค. 49 25.29*/23.84* 25.59/24.14 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ก.คลังยังไม่อนุมัติเกณฑ์การขึ้นดอกเบี้ยบัตรเครดิตจากร้อยละ 18 เป็นร้อยละ 20 นางธาริษา วัฒนเกส
รองผู้ว่าการ สายเสถียรภาพสถาบันการเงิน และรักษาการ ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ได้รับข้อมูลความคืบหน้าเรื่องการปรับขึ้น
อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบัตรเครดิตและเกณฑ์การให้บริการธุรกิจบัตรเครดิตต่าง ๆ จาก ก.คลัง คาดว่าอยู่ระหว่างการพิจารณาและน่าจะสามารถ
ใช้ได้ในเร็ว ๆ นี้ ส่วนสาเหตุที่ ธปท. เสนอให้ปรับขึ้นดอกเบี้ยและเกณฑ์การทำธุรกิจบัตรเครดิตให้รอบคอบขึ้น โดยเสนอปรับเพดานดอกเบี้ยจาก
ร้อยละ 18 เป็นร้อยละ 20 ปรับยอดชำระขั้นต่ำจากร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 10 ไม่ใช่เพราะห่วงธุรกิจบัตรเครดิตจะโตเร็วเกินไป แต่เมื่อ
พิจารณารายละเอียดพบว่าคนมีรายได้น้อยเป็นคนที่ใช้บัตรเครดิตมากและเริ่มมียอดเอ็นพีแอลมากกว่ากลุ่มอื่น จึงคิดในหลักที่ว่าถ้าราคาสินค้าสูงขึ้นคน
ที่คิดจะบริโภคมาก ๆ ต้องคิดมากขึ้น แต่ก็ไม่ได้บอกให้ทุกคนขึ้น แต่ใครจะขึ้นก็ได้ สำหรับธุรกิจบัตรเครดิตในขณะนี้มีการเติบโตที่ชะลอลงมากแล้ว
ไม่น่ากลัวเหมือนในอดีต เพราะสัดส่วนสินเชื่อคงค้างไม่สูงมาก คิดเป็นเพียงร้อยละ 2-3 ของสินเชื่อรวมเท่านั้น แต่การปรับเพดานดอกเบี้ยจะเน้น
ให้คนที่มีรายได้น้อยระมัดระวังมากขึ้น ด้าน นายสามารถ บูรณวัฒนาโชค ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า การปรับ
ขึ้นดอกเบี้ยบัตรเครดิตนั้น หาก รมว.คลังอนุมัติให้บังคับใช้ คงต้องใช้ในการคิดดอกเบี้ยกับลูกค้าผู้ถือบัตรรายใหม่ก่อน ส่วนลูกค้าผู้ถือบัตรเครดิตราย
เก่าต้องดูรายละเอียดของสัญญากับลูกค้าแต่ละแห่ง เพราะเกณฑ์ที่เสนอให้ขึ้นร้อยละ 2 คิดเฉลี่ยมาจากต้นทุนของธุรกิจบัตรเครดิตที่เพิ่มขึ้นจริง ๆ
โดยให้ผู้ประกอบการแต่ละแห่งเสนอเข้ามาว่ามีต้นทุนเพิ่มเท่าไร แต่การส่งข้อมูลเข้ามาต้องได้รับการเซ็นรับรองจากผู้ตรวจสอบบัญชีด้วยเพื่อความ
น่าเชื่อถือ และเมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าต้นทุนเพิ่มจริงจึงเอาต้นทุนมาเฉลี่ยและเสนอให้ปรับเพียงร้อย 2 ปัจจุบันธุรกิจบัตรเครดิตมียอด
10.5 ล้านบัตร มียอดสินเชื่อคงค้าง 1.58 แสนล้านบาท ปริมาณการใช้จ่ายโดยรวมทั้งสิ้น 6.15 หมื่นล้านบาท (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ,
ผู้จัดการรายวัน)
2. เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเป็นไปตามกลไกตลาด นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ สายเสถียรภาพสถาบันการเงิน และรักษาการ
ผู้ว่าการ ธปท. เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในช่วงที่ผ่านมาเป็นไปตามกลไกตลาดที่มีความเชื่อมั่นต่อค่าเงินดอลลาร์ สรอ.ยังน้อยอยู่ แต่แม้
ว่าค่าเงินบาทจะอยู่ในทิศทางที่แข็งค่าขึ้นแต่ก็เป็นไปในทิศทางเดียวกันและยังเกาะกลุ่มในสกุลเงินภูมิภาคเอเชีย จึงเชื่อว่าจะไม่มีผลกระทบต่อผู้
ส่งออกมากนัก ทั้งนี้ ค่าเงินบาทช่วงเช้าวันที่ 24 ต.ค. อยู่ที่ระดับ 37.24 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นจากสิ้นเดือนก่อนหน้าร้อยละ 0.75
และเริ่มอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงบ่ายมาแตะระดับ 37.41 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ. ด้าน นายบันลือศักดิ์ ปุสสะรังสี ผอ.ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจมหภาค
ธ.กรุงเทพ กล่าวว่า แนวโน้มค่าเงินบาทจากนี้ไปจนถึงสิ้นปียังไม่น่าจะมีการปรับเปลี่ยนไปจากปัจจุบันมากนัก หากจะแข็งค่าขึ้นก็คงจะปรับเพียง
เล็กน้อย ทั้งนี้ เชื่อว่าแนวโน้มค่าเงินบาทในปีหน้าจะปรับตัวอ่อนค่าลง เนื่องจากมองว่า ธปท. จะมีการลดอัตราดอกเบี้ยลงในช่วงปลายไตรมาส
1 หรือต้นไตรมาส 2 ของปีหน้า (ผู้จัดการรายวัน)
3. กรณีแต่งตั้ง นายวิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ เป็น กก. ธ.กรุงไทย ไม่เหมาะสม นายไพโรจน์ เฮงสกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายจัดการ
กองทุนและหนี้ ธปท. ในฐานะ ผจก.กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน กล่าวถึงกรณีที่ นายวิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ ได้ลาออกจาก
การเป็น กก. ธ.กรุงไทย ว่า นายวิเชียรโชติไม่ควรจะได้รับอนุมัติแต่งตั้งเป็น กก. ธ.กรุงไทย ตั้งแต่แรก โดยเฉพาะในแง่ธรรมาภิบาลถือว่า
ไม่มีความเหมาะสม ส่วนในแง่กฎหมายเป็นเรื่องที่ต้องตีความใน 2 ประเด็น คือ นายวิเชียรโชติเคยถูกจำคุกหรือไม่ และนายวิเชียรโชติเคยถูก
ให้ออกจากราชการหรือไม่ ซึ่งเห็นว่าเมื่อศาลตัดสินว่านายวิเชียรโชติทุจริตก็หมายความว่าต้องถูกปลดออกจากตำแหน่งอยู่แล้ว ทั้งนี้ คณะกรรมการ
ธ.กรุงไทยไม่เคยถามความเห็นกองทุนฟื้นฟูฯ ในการแต่งตั้งนายวิเชียรโชติ (มติชน, กรุงเทพธุรกิจ)
4. คาดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศปี 50 จะลดลงเกือบร้อยละ 40 รายงานข่าวจากบริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า
บริษัทได้ประเมินการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในปีหน้าอาจปรับตัวลดลงค่อนข้างมาก เนื่องจากกระแสการเข้าซื้อกิจการขนาดใหญ่ที่น่าจะ
น้อยลง โดยอาจมีมูลค่าประมาณ 3,033 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 39 จากปี 49 ที่คาดว่าจะมีมูลค่า 4,942 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 60 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และอาจจะลดลงเพิ่มมากขึ้นหากสัดส่วนการลงทุนของธุรกิจโทรคมนาคมจากต่างประเทศลดลง หลังจากปีนี้มีวง
เงินลงทุนเข้ามาสูงมากจากการเข้าซื้อกิจการโทรคมนาคม จึงเห็นว่ารัฐบาลควรเร่งกำหนดมาตรการส่งเสริมการลงทุนเจาะจงอุตสาหกรรม
เป้าหมายและการออกไปโรดโชว์ในต่างประเทศ (เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดขายในร้านค้าปลีกของ สรอ. สิ้นสุด ณ วันที่ 21 ต.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 เทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า รายงานจากนิวยอร์ก
เมื่อ 24 ต.ค.49 บริษัทวิจัย Redbook เปิดเผยว่า ยอดขายในร้านค้าปลีกของ สรอ. สิ้นสุด ณ วันที่ 21 ต.ค.49 ชะลอตัวลงเล็กน้อย โดย
เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของเดือน ก.ย.49
เนื่องจากอยู่ในช่วงเทศกาลลดราคาในวันฉลองการค้นพบโลกใหม่ของ Christopher Columbus (Columbus Day) ซึ่งผู้ค้าปลีกกล่าวว่า
ความต้องการสินค้าหมวดเครื่องแต่งกายฤดูหนาวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามอากาศที่หนาวเย็น สนับสนุนให้ยอดขายสินค้าทั่วไปและสินค้าลดราคาในห้าง
สรรพสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในขณะที่ยอดขายเครื่องแต่งกายในร้านดิสเคาน์สโตร์กลับไม่หนาแน่น ทั้งนี้ ดัชนีดังกล่าวที่จัดทำโดย
Johnson Redbook เป็นดัชนีชี้วัดถ่วงน้ำหนักยอดขายของแต่ละปีสำหรับร้านค้าประเภทเดียวกันของผู้ค้าปลีกขนาดใหญ่ใน สรอ. ที่เป็นตัวแทน
ประมาณ 9,000 ร้านค้า (รอยเตอร์)
2. ยอดคำสั่งซื้อใหม่ของยูโรโซนในเดือน ส.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 รายงานจากบรัสเซลส์เมื่อ 24 ต.ค.49
The European Union’s statistics office เปิดเผยว่า ยอดคำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรม (Industrial new orders) ของ 12
ประเทศเขตเศรษฐกิจยุโรปที่ใช้เงินสกุลยูโร (ยูโรโซน) ในเดือน ส.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 เทียบต่อเดือน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.3 เทียบ
ต่อปี เหนือความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่ายอดคำสั่งซื้อฯ จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 เทียบต่อเดือน และร้อยละ 10.1 เทียบต่อปี โดย
ได้รับแรงสนับสนุนจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นในสินค้าประเภทรถไฟ เรือ และเครื่องบิน เช่นเดียวกับสินค้าประเภทเหล็กและผลิตภัณฑ์จากเหล็ก
สำหรับยอดคำสั่งซื้อฯ ซึ่งไม่รวมอุปกรณ์การขนส่งที่มีความผันผวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 เทียบต่อเดือน และร้อยละ 12.6 เทียบต่อปี ทั้งนี้ ยอดคำสั่ง
ซื้อใหม่ที่เพิ่มขึ้นบ่งชี้ถึงการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรม และเป็นสัญญาณสนับสนุนการขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจที่มีการคาดหมายว่าจะขยายตัวร้อยละ
2.5 เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าจากปีก่อน ทำให้นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า ธ.กลางยุโรปอาจปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 ขึ้นมาอยู่ที่ระดับ
ร้อยละ 3.5 ในเดือน ธ.ค.49 นี้เพื่อบรรเทาผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อ ในขณะที่นักเศรษฐศาสตร์อีกจำนวนหนึ่งมีความเห็นว่า หากยังไม่มีสัญญาณ
ของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างชัดเจน ก็มีความเป็นไปได้ที่ ธ.กลางจะเลื่อนระยะเวลาในการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายออกไปเป็นช่วงต้นปี
หน้า (รอยเตอร์)
3. ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าในเดือน ก.ย.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 เทียบต่อปี รายงานจากโตเกียว เมื่อ 25 ต.ค.49 ก.คลังญี่ปุ่น
เปิดเผยว่า ในเดือน ก.ย.49 ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าจำนวน 1.014 ล้านล้านเยน (8.49 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบ
ต่อปี ขณะที่นักวิเคราะห์ประมาณการก่อนหน้านี้ว่าจะเกินดุลเพียง 853.7 พันล้านเยน ซึ่งสามารถชี้วัดได้ว่า การส่งออกของภาคธุรกิจในญี่ปุ่นยังคง
ขยายตัวต่อเนื่องสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นอย่างมีเสถียรภาพ โดยในเดือน ก.ย.49 ญี่ปุ่นส่งออกจำนวน 6.8320 ล้านล้านเยน
หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.3 ขณะที่นำเข้าจำนวน 5.8181 ล้านล้านเยน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.9 ทั้งนี้ ญี่ปุ่นส่งออกไปยังประเทศ สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ
20.4 ที่จำนวน 1.5717 ล้านล้านเยน ขณะที่ส่งออกไปจีนจำนวน 963.8 พันล้านเยน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.8 อย่างไรก็ตาม หากเทียบต่อเดือน
ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าลดลงร้อยละ 36.5 ที่จำนวน 419.9 พันล้านเยน (ตัวเลขหลังปรับปัจจัยทางฤดูกาล) (รอยเตอร์)
4. เศรษฐกิจเกาหลีใต้ในไตรมาสที่ 3 เติบโตร้อยละ 0.9 รายงานจากกรุงโซลเมื่อวันที่ 25 ต.ค. 49 ธ.กลางเกาหลีใต้เปิดเผย
ว่าเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ปีนี้ขยายตัวจากไตรมาสก่อนร้อยละ 0.9 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) สอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาดในขณะที่ผลการ
สำรวจโดยรอยเตอร์คาดว่า จะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 0.9 สูงกว่าที่ขยายตัวร้อยละ 0.8 ในไตรมาสที่สอง นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่าตัวเลขการ
ขยายตัวดังกล่าวเปิดเผยก่อนที่ตลาดหุ้นจะเปิดทำการแต่ก็มิได้เปลี่ยนมุมมองของตลาดที่คาดว่า ธ.กลางเกาหลีใต้จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อไป
อีก ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์จาก Hyundai Securities กล่าวว่าตัวเลขทางเศรษฐกิจบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังชะลอตัวแต่ไม่มากตามที่วิตก
กัน และเห็นว่าเป็นการยากที่ ธ.กลางเกาหลีใต้จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายขณะที่เศรษฐกิจชะลอตัว แต่ก็ไม่ง่ายที่ ธ.กลางจะปรับลดอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายเนื่องจากเศรษฐกิจไม่ได้ชะลอตัวรวดเร็วจนเกินไป โดยการขยายตัวอย่างแข็งแกร่งของภาคการก่อสร้างและอุตสาหกรรมการ
ผลิตส่งผลให้เศรษฐกิจโดยรวมในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวขณะที่การใช้จ่ายภาคเอกชนชะลอตัว ทั้งนี้การบริโภคภาคเอกชนซึ่งคิดเป็นสัดส่วนถึงครึ่งหนึ่ง
ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) ในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวจากไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 0.5 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) และแม้ว่าเศรษฐกิจ
ในไตรมาสที่ 3 จะเติบโตอย่างรวดเร็วแต่ความตึงเครียดเนื่องจากการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือในเดือนนี้ประกอบกับเศรษฐกิจสรอ.
ชะลอตัวได้ส่งผลกระทบต่อแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ซึ่งมีเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 3 ในภูมิภาคเอเชียซึ่งนาย
Lee Seong-tae ผวก.ธ.กลางเกาหลีใต้กล่าวว่าเหตุดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายผู้บริโภคภาคเอกชนและธุรกิจ รวมทั้งการลงทุนโดย
ตรงจากต่างประเทศ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 25 ต.ค. 49 24 ต.ค. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 37.249 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 37.0670/37.3609 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.12313 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 728.53/13.91 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,250/10,350 10,250/10,350 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 56.38 55.51 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับลด เมื่อ 25 ต.ค. 49 25.29*/23.84* 25.59/24.14 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--