นายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า การจัดโครงการคลังสัญจรระหว่างวันที่ 28-29 ตุลาคม 2548 ที่จังหวัดอุดรธานีนั้น กระทรวงการคลังต้องการสร้างมิติใหม่ในการแปลงนโยบายสำคัญของรัฐบาลและกระทรวงการคลังสู่ภูมิภาคให้เห็นผลเป็นรูปธรรมมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของจังหวัดโดยมุ่งหวังให้ประชาชนมีความกินดีอยู่ดี และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมทั้งมุ่งหวังให้สถานการณ์ด้านการประกอบธุรกิจของภาคเอกชนและธุรกิจขนาดกลางขนาดย่อมในภูมิภาคและตามชายแดนปรับตัวดีขึ้น
การจัดโครงการคลังสัญจรครั้งนี้ กระทรวงการคลังได้สนับสนุนนโยบายการขจัดความยากจนของรัฐบาลโดยจัดสรรที่ราชพัสดุที่จังหวัดอุดรธานีและขอนแก่นสร้างบ้านตามโครงการบ้านมั่นคง นอกจากนี้ กระทรวงการคลังยังได้คัดเลือกที่ราชพัสดุที่จังหวัดอุดรธานีสร้างสนามกีฬาและปรับปรุงสวนสาธารณะทุ่งศรีเมืองเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชน รวมทั้งได้จัดที่ราชพัสดุสร้างบ้านธนารักษ์เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับข้าราชการในจังหวัดอุดรธานีด้วย
นอกจากนี้ กระทรวงการคลังยังสนองนโยบายของรัฐบาลในการสนับสนุนกิจกรรมหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) และส่งเสริมธุรกิจขนาดกลางขนาดย่อมในภูมิภาค โดยได้เลือกที่ราชพัสดุที่จังหวัดหนองคายสร้างศูนย์แสดงสินค้าและจำหน่ายสินค้าชุมชน หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ และได้เพิ่มช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในการประกอบธุรกิจให้กับธุรกิจขนาดกลางขนาดย่อมใน 11 จังหวัดของภาคอีสานตอนบน โดยธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม ได้ร่วมมือกันจัด “โครงการ 4 ประสานเพื่อสินเชื่อสู่ภูมิภาค” เพื่อสนับสนุนสินเชื่อในการประกอบธุรกิจใน 11 จังหวัดภาคอีสานตอนบน ภายในวงเงินประมาณ 30,000 ล้านบาท
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกด้านการค้าชายแดน คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอให้มีการยกเว้นอากรขาเข้าสินค้าเกษตรจำนวน 10 รายการ ได้แก่ ถั่วเหลือง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ละหุ่ง มันฝรั่ง ข้าวโพดหวาน เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ยูคาลิปตัส ถั่วลิสง ลูกเดือย และถั่วเขียวผิวมัน ในโครงการ Contract Farming ให้กับประเทศเพื่อนบ้านในบริเวณชายแดน 3 แห่งใน 3 จังหวัดนำร่อง ได้แก่ ชายแดนแม่สอด-เมียวดี (ไทย-พม่า) ชายแดนเลย-ไชยบุรี (ไทย-ลาว) และชายแดนจันทบุรี (ไทย-กัมพูชา-พระตะบอง) และเพื่อเป็นการผ่อนปรนและอำนวยความสะดวกในการนำเข้าของที่ได้รับยกเว้นอากรจะไม่ต้องมีใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า แต่สามารถใช้หนังสือรับรองจากผู้ว่าราชการจังหวัดหรือที่ผู้ว่าฯมอบหมายเพื่อให้กรมศุลกากรใช้เป็นหลักฐานในการอนุญาตให้สินค้าเข้าประเทศได้ ซึ่งเป็นมาตรการระยะสั้นเพื่อรองรับการนำเข้าพืชเป้าหมายดังกล่าวในช่วงระหว่างเดือนตุลาคม 2548 — เมษายน 2549 ตามแผนการลงทุน
นอกจากนี้ กรมศุลกากรได้จัดตั้งศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ(One Stop Service) ขึ้นที่ด่านศุลกากรจังหวัดอุบลราชธานี หนองคาย และมุกดาหาร ทั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกด้านพิธีการศุลกากรแก่ผู้นำเข้าและส่งออกตามชายแดน
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 95/2548 29 ตุลาคม 48--
การจัดโครงการคลังสัญจรครั้งนี้ กระทรวงการคลังได้สนับสนุนนโยบายการขจัดความยากจนของรัฐบาลโดยจัดสรรที่ราชพัสดุที่จังหวัดอุดรธานีและขอนแก่นสร้างบ้านตามโครงการบ้านมั่นคง นอกจากนี้ กระทรวงการคลังยังได้คัดเลือกที่ราชพัสดุที่จังหวัดอุดรธานีสร้างสนามกีฬาและปรับปรุงสวนสาธารณะทุ่งศรีเมืองเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชน รวมทั้งได้จัดที่ราชพัสดุสร้างบ้านธนารักษ์เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับข้าราชการในจังหวัดอุดรธานีด้วย
นอกจากนี้ กระทรวงการคลังยังสนองนโยบายของรัฐบาลในการสนับสนุนกิจกรรมหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) และส่งเสริมธุรกิจขนาดกลางขนาดย่อมในภูมิภาค โดยได้เลือกที่ราชพัสดุที่จังหวัดหนองคายสร้างศูนย์แสดงสินค้าและจำหน่ายสินค้าชุมชน หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ และได้เพิ่มช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในการประกอบธุรกิจให้กับธุรกิจขนาดกลางขนาดย่อมใน 11 จังหวัดของภาคอีสานตอนบน โดยธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม ได้ร่วมมือกันจัด “โครงการ 4 ประสานเพื่อสินเชื่อสู่ภูมิภาค” เพื่อสนับสนุนสินเชื่อในการประกอบธุรกิจใน 11 จังหวัดภาคอีสานตอนบน ภายในวงเงินประมาณ 30,000 ล้านบาท
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกด้านการค้าชายแดน คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอให้มีการยกเว้นอากรขาเข้าสินค้าเกษตรจำนวน 10 รายการ ได้แก่ ถั่วเหลือง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ละหุ่ง มันฝรั่ง ข้าวโพดหวาน เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ยูคาลิปตัส ถั่วลิสง ลูกเดือย และถั่วเขียวผิวมัน ในโครงการ Contract Farming ให้กับประเทศเพื่อนบ้านในบริเวณชายแดน 3 แห่งใน 3 จังหวัดนำร่อง ได้แก่ ชายแดนแม่สอด-เมียวดี (ไทย-พม่า) ชายแดนเลย-ไชยบุรี (ไทย-ลาว) และชายแดนจันทบุรี (ไทย-กัมพูชา-พระตะบอง) และเพื่อเป็นการผ่อนปรนและอำนวยความสะดวกในการนำเข้าของที่ได้รับยกเว้นอากรจะไม่ต้องมีใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า แต่สามารถใช้หนังสือรับรองจากผู้ว่าราชการจังหวัดหรือที่ผู้ว่าฯมอบหมายเพื่อให้กรมศุลกากรใช้เป็นหลักฐานในการอนุญาตให้สินค้าเข้าประเทศได้ ซึ่งเป็นมาตรการระยะสั้นเพื่อรองรับการนำเข้าพืชเป้าหมายดังกล่าวในช่วงระหว่างเดือนตุลาคม 2548 — เมษายน 2549 ตามแผนการลงทุน
นอกจากนี้ กรมศุลกากรได้จัดตั้งศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ(One Stop Service) ขึ้นที่ด่านศุลกากรจังหวัดอุบลราชธานี หนองคาย และมุกดาหาร ทั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกด้านพิธีการศุลกากรแก่ผู้นำเข้าและส่งออกตามชายแดน
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 95/2548 29 ตุลาคม 48--