สุกร
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากในช่วงนี้ปริมาณสุกรที่ออกสู่ตลาดมีค่อนข้างน้อย จากสภาพอากาศร้อนทำให้สุกรโตช้า แนวโน้มคาดว่าราคาจะปรับตัวสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 49.14 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 48.98 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.33 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 49.92 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 47.71 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 48.50 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 51.96 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,400 บาท (บวกลบ 48 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 47.50 ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.11 และราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไก่เนื้อในสัปดาห์นี้ ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นอีก เนื่องจากความต้องการบริโภคไก่เพิ่มขึ้น และจากการผลิตไก่เนื้อที่ลดลงเหลือสัปดาห์ละ 15 ล้านตัว ในขณะที่สภาพอากาศร้อนทำให้ไก่โตช้า ส่งผลให้ราคาไก่เนื้อปรับตัวสูงขึ้น แนวโน้มคาดว่าราคาจะปรับตัวสูงขึ้นอีก
อธิบดีกรมปศุสัตว์เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรของญี่ปุ่นได้มีการประชุมเพื่อพิจารณาว่าจะอนุญาตนำเข้าไก่สดแช่แข็งจากไทยหรือไม่ คาดว่าจะรับคำตอบไม่เกินสิ้นปีนี้ หากญี่ปุ่นอนุญาตนำเข้าไก่สด แช่เย็นแช่แข็งได้คาดว่าจะส่งออกได้ถึง 50,000 ตัน อย่างไรก็ตาม แม้ว่าไก่สดของไทยยังส่งออกไม่ได้แต่การส่งออกไก่สุกก็ประสบความสำเร็จอย่างดี โดยพบว่าในช่วงเดือน มค.-มีค. 49 ไทยส่งไก่สุกมากถึง 60,000 ตัน จากเป้าหมายทั้งปี 300,000 ตัน
มาเลเซียเตรียมประกาศเป็นประเทศปลอดโรคไข้หวัดนก หากไม่พบพื้นที่แพร่ระบาดของของไวรัส H5N1ในอีก 3 สัปดาห์ข้างหน้า ด้านองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) ได้ประกาศว่าเกิดโรคไข้หวัดนกระบาดในสาธารณรัฐโกตดิวัวร์ (ไอวอรีโคสต์) และยืนยันว่าเชื้อที่พบเป็นสายพันธุ์ H5N1
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.69 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.18 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.49 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 39.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 34.49 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 31.56 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 34.49 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 9.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 38.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ยังคงปรับตัวลดลงอีก เพราะยังคงอยู่ในช่วงปิดภาคการศึกษาของสถาบันต่าง ๆ และผลไม้ตามฤดูกาลออกสู่ตลาดมากทำให้การบริโภคไข่ไก่ลดลง แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ เฉลี่ยร้อยฟองละ 195 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 205 บาท จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.87 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 183 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 210 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 188 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 211 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.ตัวละ 17 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 180 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ร้อยฟองละ 238 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 244 บาท จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.15 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 225 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 259 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 237 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 184 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 302 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 49.71 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 49.24 บาท จากสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.94 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 42.73 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 56.62 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 44.33 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 50.05 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 38.81 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 38.83 บาท จากสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.06 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 40.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 37.20 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 50.48 บาท ส่วนภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 16 ประจำวันที่ 24-30 เมษายน 2549--
-พห-
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากในช่วงนี้ปริมาณสุกรที่ออกสู่ตลาดมีค่อนข้างน้อย จากสภาพอากาศร้อนทำให้สุกรโตช้า แนวโน้มคาดว่าราคาจะปรับตัวสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 49.14 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 48.98 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.33 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 49.92 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 47.71 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 48.50 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 51.96 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,400 บาท (บวกลบ 48 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 47.50 ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.11 และราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไก่เนื้อในสัปดาห์นี้ ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นอีก เนื่องจากความต้องการบริโภคไก่เพิ่มขึ้น และจากการผลิตไก่เนื้อที่ลดลงเหลือสัปดาห์ละ 15 ล้านตัว ในขณะที่สภาพอากาศร้อนทำให้ไก่โตช้า ส่งผลให้ราคาไก่เนื้อปรับตัวสูงขึ้น แนวโน้มคาดว่าราคาจะปรับตัวสูงขึ้นอีก
อธิบดีกรมปศุสัตว์เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรของญี่ปุ่นได้มีการประชุมเพื่อพิจารณาว่าจะอนุญาตนำเข้าไก่สดแช่แข็งจากไทยหรือไม่ คาดว่าจะรับคำตอบไม่เกินสิ้นปีนี้ หากญี่ปุ่นอนุญาตนำเข้าไก่สด แช่เย็นแช่แข็งได้คาดว่าจะส่งออกได้ถึง 50,000 ตัน อย่างไรก็ตาม แม้ว่าไก่สดของไทยยังส่งออกไม่ได้แต่การส่งออกไก่สุกก็ประสบความสำเร็จอย่างดี โดยพบว่าในช่วงเดือน มค.-มีค. 49 ไทยส่งไก่สุกมากถึง 60,000 ตัน จากเป้าหมายทั้งปี 300,000 ตัน
มาเลเซียเตรียมประกาศเป็นประเทศปลอดโรคไข้หวัดนก หากไม่พบพื้นที่แพร่ระบาดของของไวรัส H5N1ในอีก 3 สัปดาห์ข้างหน้า ด้านองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) ได้ประกาศว่าเกิดโรคไข้หวัดนกระบาดในสาธารณรัฐโกตดิวัวร์ (ไอวอรีโคสต์) และยืนยันว่าเชื้อที่พบเป็นสายพันธุ์ H5N1
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.69 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.18 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.49 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 39.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 34.49 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 31.56 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 34.49 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 9.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 38.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ยังคงปรับตัวลดลงอีก เพราะยังคงอยู่ในช่วงปิดภาคการศึกษาของสถาบันต่าง ๆ และผลไม้ตามฤดูกาลออกสู่ตลาดมากทำให้การบริโภคไข่ไก่ลดลง แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ เฉลี่ยร้อยฟองละ 195 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 205 บาท จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.87 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 183 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 210 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 188 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 211 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.ตัวละ 17 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 180 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ร้อยฟองละ 238 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 244 บาท จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.15 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 225 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 259 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 237 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 184 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 302 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 49.71 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 49.24 บาท จากสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.94 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 42.73 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 56.62 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 44.33 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 50.05 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 38.81 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 38.83 บาท จากสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.06 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 40.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 37.20 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 50.48 บาท ส่วนภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 16 ประจำวันที่ 24-30 เมษายน 2549--
-พห-