นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่าการส่งออกสินค้าไทยไปยังประเทศ ผู้ให้สิทธิพิเศษฯ GSP ในปี 2548 มีมูลค่ารวม 48,195.61 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งมีมูลค่า 44,867.65 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 7.42 โดยตลาดดังกล่าวมีความสำคัญตาม ลำดับของมูลค่า ดังนี้ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป แคนาดา สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป ตุรกี และกลุ่ม สังคมนิยมยุโรปตะวันออก
การใช้สิทธิพิเศษฯ GSP มีมูลค่ารวม 9,799.44 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไทยมีการใช้สิทธิพิเศษฯ GSP ไปสหภาพยุโรปคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 40 ของมูลค่าการส่งออกภายใต้ GSP ทั้งหมด สหรัฐอเมริกา ใช้สิทธิ พิเศษฯ GSP คิดเป็นร้อยละ 36 ญี่ปุ่น ร้อยละ 16 สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป ร้อยละ 2.59 แคนาดา ร้อยละ 2.05 กลุ่มสังคมนิยมยุโรปตะวันออก ร้อยละ 1.58 และตุรกี ร้อยละ 1.43
สินค้าที่มีมูลค่าการใช้สิทธิพิเศษฯ GSP สูง ได้แก่ ยานยนต์สำหรับขนส่ง อัญมณีและเครื่องประดับ ทำจากโลหะมีค่า ส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ เครื่องปรับอากาศ ถุงพลาสติก เลนส์แว่นตา เครื่องรับ โทรทัศน์สี เม็ดพลาสติก โมดิไฟต์สตาร์ช กุ้งปรุงแต่ง และปลาปรุงแต่ง ซึ่งสินค้าที่ใช้สิทธิพิเศษฯ GSP ส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมคิดเป็นร้อยละ 90 ของมูลค่าการใช้สิทธิพิเศษฯ
นายราเชนทร์ พจนสุนทร กล่าวเพิ่มเติมว่า ตลาดสหรัฐอเมริกา เป็นตลาดหลักที่มีมูลค่าการใช้สิทธิ พิเศษฯ GSP ขยายตัวสูงสุด รองลงมา คือ ตุรกี และสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป ตามลำดับ ส่วนกลุ่มสินค้า ที่ยังมีโอกาสขยายมูลค่าการใช้สิทธิพิเศษฯ GSP เพิ่มขึ้น ได้แก่ กลุ่มสินค้าเม็ดพลาสติกและของทำจาก พลาสติก อัญมณีและเครื่องประดับเงิน เลนส์แว่นตา และยางเรเดียน เป็นต้น การใช้สิทธิพิเศษฯ GSP ยังเป็น ปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมการส่งออกและรักษาส่วนแบ่งตลาด รายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อที่สำนักส่งเสริมและ พัฒนาสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ โทร. สายด่วน 1385 โทร. 0 2547 4872 โทรสาร 0 2547 4816 www.dft.moc.go.th , e-mail : tpdft.@moc.go.th
--กรมการค้าต่างประเทศ--
-สส-
การใช้สิทธิพิเศษฯ GSP มีมูลค่ารวม 9,799.44 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไทยมีการใช้สิทธิพิเศษฯ GSP ไปสหภาพยุโรปคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 40 ของมูลค่าการส่งออกภายใต้ GSP ทั้งหมด สหรัฐอเมริกา ใช้สิทธิ พิเศษฯ GSP คิดเป็นร้อยละ 36 ญี่ปุ่น ร้อยละ 16 สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป ร้อยละ 2.59 แคนาดา ร้อยละ 2.05 กลุ่มสังคมนิยมยุโรปตะวันออก ร้อยละ 1.58 และตุรกี ร้อยละ 1.43
สินค้าที่มีมูลค่าการใช้สิทธิพิเศษฯ GSP สูง ได้แก่ ยานยนต์สำหรับขนส่ง อัญมณีและเครื่องประดับ ทำจากโลหะมีค่า ส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ เครื่องปรับอากาศ ถุงพลาสติก เลนส์แว่นตา เครื่องรับ โทรทัศน์สี เม็ดพลาสติก โมดิไฟต์สตาร์ช กุ้งปรุงแต่ง และปลาปรุงแต่ง ซึ่งสินค้าที่ใช้สิทธิพิเศษฯ GSP ส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมคิดเป็นร้อยละ 90 ของมูลค่าการใช้สิทธิพิเศษฯ
นายราเชนทร์ พจนสุนทร กล่าวเพิ่มเติมว่า ตลาดสหรัฐอเมริกา เป็นตลาดหลักที่มีมูลค่าการใช้สิทธิ พิเศษฯ GSP ขยายตัวสูงสุด รองลงมา คือ ตุรกี และสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป ตามลำดับ ส่วนกลุ่มสินค้า ที่ยังมีโอกาสขยายมูลค่าการใช้สิทธิพิเศษฯ GSP เพิ่มขึ้น ได้แก่ กลุ่มสินค้าเม็ดพลาสติกและของทำจาก พลาสติก อัญมณีและเครื่องประดับเงิน เลนส์แว่นตา และยางเรเดียน เป็นต้น การใช้สิทธิพิเศษฯ GSP ยังเป็น ปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมการส่งออกและรักษาส่วนแบ่งตลาด รายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อที่สำนักส่งเสริมและ พัฒนาสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ โทร. สายด่วน 1385 โทร. 0 2547 4872 โทรสาร 0 2547 4816 www.dft.moc.go.th , e-mail : tpdft.@moc.go.th
--กรมการค้าต่างประเทศ--
-สส-