กรุงเทพ--5 เม.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
ก่อนที่ ไท ดูโต จะบินลัดฟ้าพร้อมด้วยคณะผู้เชี่ยวชาญและศิลปินไทยทั้ง 8 คน สู่ดินแดนมหาภารตะแหล่งกำเนิดของอารยธรรมโลกที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่ง คืออินเดียและศรีลังกา สองประเทศสมาชิก BIMSTEC เพื่อเดินทางตามเส้นทางสายปราชญ์ซึ่งเริ่มตั้งแต่เมืองมุมไบ หรือชื่อเดิมเรียกว่า บอมเบย์ ซึ่งคนไทยรู้จักกันในนาม “บอลิวู๊ดแห่งเอเชีย” — สู่เมืองออรังกาบัดเพื่อชมความงดงามและวิจิตรพิสดารของถ้ำ “เอลลอร่า” และ “อะจันต้า” — แล้วมุ่งสู่กรุงโคลัมโบประเทศศรีลังกาเพื่อเดินทางไปเยี่ยมชมเมืองสำคัญทางพุทธศานาและวัฒนธรรม 2 แห่ง คือ เมืองสิกิริยา และเมืองแคนดี้ ขอสรุปสั้นๆ ว่า โครงการสายปราชญ์คืออะไร มีความเป็นมาอย่างไร เพื่อที่ท่านผู้อ่านจะได้ติดตามเรื่องอย่างเข้าใจมากยิ่งขึ้น
ขอย้อนกลับไปเมื่อเดือนกรกฎาคม 2547 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำ BIMSTEC ครั้งที่ 1 ที่กรุงเทพฯ ในครั้งนั้นที่ประชุมผู้นำฯ ได้ประกาศปฏิญญาซึ่งมีข้อความตอนหนึ่งระบุถึงการประสานความเข้มแข็งที่แตกต่างกันในภาคการท่องเที่ยว เพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์สูงสุดจากสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ และตระหนักถึงความจำเป็นที่จะส่งเสริมการท่องเที่ยวระหว่างภูมิภาค และให้เร่งส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ในระดับประชาชนโดยผ่านโครงการแลกเปลี่ยนต่างๆ
ต่อมาเมื่อปลายปี 2548 ที่ประชุมรัฐมนตรี BIMSTECครั้งที่ 8 ได้มีมติขยายความร่วมมือในสาขาหลักจากเดิม 6 สาขา เป็น 13 สาขา โดยมีเรื่องการติดต่อสัมพันธ์ในระดับประชาชนและวัฒนธรรมรวมอยู่ด้วย กระทรวงบัวแก้วจึงได้ริเริ่มโครงการ “เส้นทางสายปราชญ์ใน BIMSTEC”ต่อจากโครงการ “มารู้จักสมาชิกน้องใหม่ของ BIMSTEC” (Getting to know New BIMSTEC Members) คือ เนปาลและภูฐาน ซึ่งดำเนินการไปเมื่อต้นเดือนกันยายน 2548 และประสบความสำเร็จอย่างน่าพอใจ
ในโครงการมารู้จักสมาชิกน้องใหม่ของ BIMSTEC เป็นการรวมพลเดินทางครั้งสำคัญสู่เนปาลและ
ภูฐานของผู้เชี่ยวชาญและศิลปินไทยคุณภาพคับแก้วรวม 10 คน ได้แก่ อจ. อานันท์ นาคคง สมาชิกก่อตั้งวงกอไผ่ ผู้ประพันธ์ดนตรีประกอบภาพยนตร์เรื่องโหมโรง อจ. อนุชา ทีรคานนท์ คณบดีฝ่ายวิชาการ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งนอกจากจะโดดเด่นทางวิชาการแล้ว ยังมีความสามารถทางดนตรีไทยและการเชิดหุ่นไทยอีกด้วย รวมทั้งคุณดวงดาว สุวรรณรังษี นักเขียนและช่างภาพ ผู้คร่ำหวอดด้านการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ยังมี อจ. เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ กวีซีไรท์ ฉายา “กวีรัตนโกสินทร์”
คุณสนิทสุดา เอกชัย นักเขียนคอลัมน์ “Outlook”ของหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ อจ. สมิทธิ ศิริภัทร อาจารย์ประจำภาคสาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร และที่ปรึกษาด้านศิลปะส่วนพระองค์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ดร. สุชาติ วงษ์ทอง ศิลปินวาดภาพสีน้ำมันชั้นนำของไทยซึ่งมีผลงานทั้งในและต่างประเทศกว่า 200 ครั้ง ดร. ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์ คณบดีคณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กรมศิลปากร นาฏศิลปินชื่อดัง ผู้ได้รับรางวัลเกียรติยศนับครั้งไม่ถ้วน อจ. ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์ อาจารย์ประจำคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคุณธีรภาพ โลหิตกุล นักเขียนสารคดีและช่างภาพอิสระชื่อกระฉ่อนที่มีผลงานด้านสารคดีท่องเที่ยวมากมาย
ในครั้งนั้น ผู้เชี่ยวชาญและศิลปินทั้ง 10 คนนี้ได้ผลิตผลงานศิลปะภาพวาด ภาพถ่าย บทประพันธ์ และ
บทกวีที่งดงามเกินกว่าจะบรรยายได้ครบถ้วนในที่นี้ ประมวลไว้ในหนังสือรูปเล่มงามนามไพเราะที่มีชื่อว่า เสน่ห์เนปาล
ภูฐานภูธรรม ที่ผลิตโดยกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ เชื่อว่าใครได้เปิดดูจะต้องอยากได้ไว้เป็นสมบัติส่วนตัวอย่างแน่นอน
น่าเสียดายที่โครงการเส้นทางสายปราชญ์ใน BIMSTEC ซึ่งจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 20-27 มีนาคม ศกนี้ ขาดผู้เชี่ยวชาญและศิลปินไป 2 คน คือ ดร.อนุชาและดร.ศุภชัย แต่เราก็ได้ ดร. วีระชัย วีระเมธีกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ทรงคุณวุฒิและรอบรู้ในด้านเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศชนิดหาตัวจับยากในเมืองไทย และคุณหญิงพวงร้อย ดิศกุล ผู้อำนวยการโครงการพระราชดำริดอยตุง ผู้เชี่ยวชาญด้านแนวทางพัฒนาทางเลือก มาเติมเต็ม จึงเชื่อว่าเส้นทางสายปราชญ์ครั้งนี้ จะต้องน่าสนใจและเต็มไปด้วยเนื้อหาสาระไม่แพ้โครงการมารู้จักสมาชิกน้องใหม่ใน BIMSTEC เมื่อครั้งที่แล้ว
ที่ว่าน่าสนใจเพราะเพียงได้ยินแค่ชื่อโครงการเส้นทางสายปราชญ์ ซึ่งมีชื่อภาษาอังกฤษว่า The Walk of Wisdom in BIMSTEC ผู้เขียนก็อดที่จะฉงนระคนกับความชื่นชมผู้ที่ตั้งชื่อโครงการนี้ไม่ได้ว่าคิดได้อย่างไร ทำไมเส้นทางสายปราชญ์จะต้องเป็นในอินเดียและศรีลังกา ทำไมจึงนำ “กูรู” หรือนักปราชญ์ของไทยเดินทางไปสำรวจเส้นทางสายประวัติศาสตร์และอารยธรรมอันเก่าแก่ในดินแดนชมพูทวีปนี้
แต่พอได้ศึกษาโครงการฯ จึงได้รู้ว่าโครงการนี้มุ่งที่จะส่งเสริมความสัมพันธ์ในระดับประชาชนต่อประชาชน โดยอาศัยหลักปรัชญาทั้งในเชิงพุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ที่มีความเชื่อมโยงกับทางเลือกการพัฒนาที่เป็นภูมิปัญญาร่วมของภูมิภาคเป็นสื่อกลาง เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสมาชิก BIMSTEC
ผู้เขียนเข้าใจว่าที่เลือกอินเดียและศรีลังกาก่อนก็เพราะสองประเทศนี้เป็นเมืองพุทธเช่นเดียวกับไทย เป็นรากเหง้าทางวัฒนธรรมของไทยและหลายประเทศในเอเชีย คณะผู้เชี่ยวชาญและศิลปินไทยที่เดินทางไปสำรวจเส้นทางสายปราชญ์ในครั้งนี้ นอกจากจะนำการทูตเชิงวัฒนธรรมและการทูตในภาคประชาชนของไทยเป็นตัวเชื่อมความร่วมมือในระดับประชาชน และทำความรู้จักคุ้นเคยกับผู้เชี่ยวชาญของอินเดียและศรีลังกาในด้านการท่องเที่ยวและวัฒนธรรม โดยมีเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนเข้ามาเสริมแล้ว ยังจะทำการสำรวจเส้นทางสายประวัติศาสตร์ในอินเดียและศรีลังกาที่มีความเชื่อมโยงกับไทยทั้งในด้านประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ศาสนา ตลอดจนการพัฒนา เพื่อเป็นประโยชน์ในการจัดทำแผนที่ท่องเที่ยวรวมของภูมิภาค และเพื่อเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวของไทยในอนาคต
นอกจากการสำรวจเส้นทางสายภูมิปัญญาและประวัติศาสตร์ในอินเดียและศรีลังกาแล้ว คณะผู้เชี่ยวชาญและศิลปินไทยยังจะได้พบปะและแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในสาขาวิชาชีพของตนกับผู้เชี่ยวชาญท้องถิ่นในอินเดียและศรีลังกาในการสัมมนาหัวข้อ “แบ่งปันภูมิปัญญาเพื่ออนาคตร่วมกัน” หรือชื่อภาษาอังกฤษว่า Shared Wisdom to the Common future จึงเชื่อว่าในคราวหน้าจะมีข้อคิดและมุมมองที่น่าสนใจมาเล่าสู่ท่านผู้อ่านทุกท่าน โปรดติดตามตอนต่อไป ซึ่งจะเป็นตอนจบในสัปดาห์หน้า
ผู้เขียนตั้งหน้าตั้งรอคอยที่จะเดินทางร่วมกับคณะผู้เชี่ยวชาญและศิลปินไทยสู่เส้นทางสายปราชญ์อย่างใจจรดใจจ่อ พร้อมทั้งแอบตั้งความหวังอยู่ในใจลึกๆ ว่าหลังจากการเดินทางไปสำรวจดินแดนแห่งอารยธรรมเก่าแก่ในครั้งนื้ คณะผู้เชี่ยวชาญและศิลปินของเราจะนำภูมิปัญญา ความรู้ และประสบการณ์ที่ได้พบเห็นและสัมผัสในอินเดียและ
ศรีลังกา มาเป็นแรงบันดาลใจ เพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่ยอดเยี่ยมไม่แพ้โครงการมารู้จักสมาชิกน้องใหม่ใน BIMSTEC ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูงเมื่อปีก่อนอย่างแน่นอน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ก่อนที่ ไท ดูโต จะบินลัดฟ้าพร้อมด้วยคณะผู้เชี่ยวชาญและศิลปินไทยทั้ง 8 คน สู่ดินแดนมหาภารตะแหล่งกำเนิดของอารยธรรมโลกที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่ง คืออินเดียและศรีลังกา สองประเทศสมาชิก BIMSTEC เพื่อเดินทางตามเส้นทางสายปราชญ์ซึ่งเริ่มตั้งแต่เมืองมุมไบ หรือชื่อเดิมเรียกว่า บอมเบย์ ซึ่งคนไทยรู้จักกันในนาม “บอลิวู๊ดแห่งเอเชีย” — สู่เมืองออรังกาบัดเพื่อชมความงดงามและวิจิตรพิสดารของถ้ำ “เอลลอร่า” และ “อะจันต้า” — แล้วมุ่งสู่กรุงโคลัมโบประเทศศรีลังกาเพื่อเดินทางไปเยี่ยมชมเมืองสำคัญทางพุทธศานาและวัฒนธรรม 2 แห่ง คือ เมืองสิกิริยา และเมืองแคนดี้ ขอสรุปสั้นๆ ว่า โครงการสายปราชญ์คืออะไร มีความเป็นมาอย่างไร เพื่อที่ท่านผู้อ่านจะได้ติดตามเรื่องอย่างเข้าใจมากยิ่งขึ้น
ขอย้อนกลับไปเมื่อเดือนกรกฎาคม 2547 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำ BIMSTEC ครั้งที่ 1 ที่กรุงเทพฯ ในครั้งนั้นที่ประชุมผู้นำฯ ได้ประกาศปฏิญญาซึ่งมีข้อความตอนหนึ่งระบุถึงการประสานความเข้มแข็งที่แตกต่างกันในภาคการท่องเที่ยว เพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์สูงสุดจากสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ และตระหนักถึงความจำเป็นที่จะส่งเสริมการท่องเที่ยวระหว่างภูมิภาค และให้เร่งส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ในระดับประชาชนโดยผ่านโครงการแลกเปลี่ยนต่างๆ
ต่อมาเมื่อปลายปี 2548 ที่ประชุมรัฐมนตรี BIMSTECครั้งที่ 8 ได้มีมติขยายความร่วมมือในสาขาหลักจากเดิม 6 สาขา เป็น 13 สาขา โดยมีเรื่องการติดต่อสัมพันธ์ในระดับประชาชนและวัฒนธรรมรวมอยู่ด้วย กระทรวงบัวแก้วจึงได้ริเริ่มโครงการ “เส้นทางสายปราชญ์ใน BIMSTEC”ต่อจากโครงการ “มารู้จักสมาชิกน้องใหม่ของ BIMSTEC” (Getting to know New BIMSTEC Members) คือ เนปาลและภูฐาน ซึ่งดำเนินการไปเมื่อต้นเดือนกันยายน 2548 และประสบความสำเร็จอย่างน่าพอใจ
ในโครงการมารู้จักสมาชิกน้องใหม่ของ BIMSTEC เป็นการรวมพลเดินทางครั้งสำคัญสู่เนปาลและ
ภูฐานของผู้เชี่ยวชาญและศิลปินไทยคุณภาพคับแก้วรวม 10 คน ได้แก่ อจ. อานันท์ นาคคง สมาชิกก่อตั้งวงกอไผ่ ผู้ประพันธ์ดนตรีประกอบภาพยนตร์เรื่องโหมโรง อจ. อนุชา ทีรคานนท์ คณบดีฝ่ายวิชาการ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งนอกจากจะโดดเด่นทางวิชาการแล้ว ยังมีความสามารถทางดนตรีไทยและการเชิดหุ่นไทยอีกด้วย รวมทั้งคุณดวงดาว สุวรรณรังษี นักเขียนและช่างภาพ ผู้คร่ำหวอดด้านการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ยังมี อจ. เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ กวีซีไรท์ ฉายา “กวีรัตนโกสินทร์”
คุณสนิทสุดา เอกชัย นักเขียนคอลัมน์ “Outlook”ของหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ อจ. สมิทธิ ศิริภัทร อาจารย์ประจำภาคสาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร และที่ปรึกษาด้านศิลปะส่วนพระองค์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ดร. สุชาติ วงษ์ทอง ศิลปินวาดภาพสีน้ำมันชั้นนำของไทยซึ่งมีผลงานทั้งในและต่างประเทศกว่า 200 ครั้ง ดร. ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์ คณบดีคณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กรมศิลปากร นาฏศิลปินชื่อดัง ผู้ได้รับรางวัลเกียรติยศนับครั้งไม่ถ้วน อจ. ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์ อาจารย์ประจำคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคุณธีรภาพ โลหิตกุล นักเขียนสารคดีและช่างภาพอิสระชื่อกระฉ่อนที่มีผลงานด้านสารคดีท่องเที่ยวมากมาย
ในครั้งนั้น ผู้เชี่ยวชาญและศิลปินทั้ง 10 คนนี้ได้ผลิตผลงานศิลปะภาพวาด ภาพถ่าย บทประพันธ์ และ
บทกวีที่งดงามเกินกว่าจะบรรยายได้ครบถ้วนในที่นี้ ประมวลไว้ในหนังสือรูปเล่มงามนามไพเราะที่มีชื่อว่า เสน่ห์เนปาล
ภูฐานภูธรรม ที่ผลิตโดยกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ เชื่อว่าใครได้เปิดดูจะต้องอยากได้ไว้เป็นสมบัติส่วนตัวอย่างแน่นอน
น่าเสียดายที่โครงการเส้นทางสายปราชญ์ใน BIMSTEC ซึ่งจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 20-27 มีนาคม ศกนี้ ขาดผู้เชี่ยวชาญและศิลปินไป 2 คน คือ ดร.อนุชาและดร.ศุภชัย แต่เราก็ได้ ดร. วีระชัย วีระเมธีกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ทรงคุณวุฒิและรอบรู้ในด้านเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศชนิดหาตัวจับยากในเมืองไทย และคุณหญิงพวงร้อย ดิศกุล ผู้อำนวยการโครงการพระราชดำริดอยตุง ผู้เชี่ยวชาญด้านแนวทางพัฒนาทางเลือก มาเติมเต็ม จึงเชื่อว่าเส้นทางสายปราชญ์ครั้งนี้ จะต้องน่าสนใจและเต็มไปด้วยเนื้อหาสาระไม่แพ้โครงการมารู้จักสมาชิกน้องใหม่ใน BIMSTEC เมื่อครั้งที่แล้ว
ที่ว่าน่าสนใจเพราะเพียงได้ยินแค่ชื่อโครงการเส้นทางสายปราชญ์ ซึ่งมีชื่อภาษาอังกฤษว่า The Walk of Wisdom in BIMSTEC ผู้เขียนก็อดที่จะฉงนระคนกับความชื่นชมผู้ที่ตั้งชื่อโครงการนี้ไม่ได้ว่าคิดได้อย่างไร ทำไมเส้นทางสายปราชญ์จะต้องเป็นในอินเดียและศรีลังกา ทำไมจึงนำ “กูรู” หรือนักปราชญ์ของไทยเดินทางไปสำรวจเส้นทางสายประวัติศาสตร์และอารยธรรมอันเก่าแก่ในดินแดนชมพูทวีปนี้
แต่พอได้ศึกษาโครงการฯ จึงได้รู้ว่าโครงการนี้มุ่งที่จะส่งเสริมความสัมพันธ์ในระดับประชาชนต่อประชาชน โดยอาศัยหลักปรัชญาทั้งในเชิงพุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ที่มีความเชื่อมโยงกับทางเลือกการพัฒนาที่เป็นภูมิปัญญาร่วมของภูมิภาคเป็นสื่อกลาง เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสมาชิก BIMSTEC
ผู้เขียนเข้าใจว่าที่เลือกอินเดียและศรีลังกาก่อนก็เพราะสองประเทศนี้เป็นเมืองพุทธเช่นเดียวกับไทย เป็นรากเหง้าทางวัฒนธรรมของไทยและหลายประเทศในเอเชีย คณะผู้เชี่ยวชาญและศิลปินไทยที่เดินทางไปสำรวจเส้นทางสายปราชญ์ในครั้งนี้ นอกจากจะนำการทูตเชิงวัฒนธรรมและการทูตในภาคประชาชนของไทยเป็นตัวเชื่อมความร่วมมือในระดับประชาชน และทำความรู้จักคุ้นเคยกับผู้เชี่ยวชาญของอินเดียและศรีลังกาในด้านการท่องเที่ยวและวัฒนธรรม โดยมีเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนเข้ามาเสริมแล้ว ยังจะทำการสำรวจเส้นทางสายประวัติศาสตร์ในอินเดียและศรีลังกาที่มีความเชื่อมโยงกับไทยทั้งในด้านประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ศาสนา ตลอดจนการพัฒนา เพื่อเป็นประโยชน์ในการจัดทำแผนที่ท่องเที่ยวรวมของภูมิภาค และเพื่อเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวของไทยในอนาคต
นอกจากการสำรวจเส้นทางสายภูมิปัญญาและประวัติศาสตร์ในอินเดียและศรีลังกาแล้ว คณะผู้เชี่ยวชาญและศิลปินไทยยังจะได้พบปะและแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในสาขาวิชาชีพของตนกับผู้เชี่ยวชาญท้องถิ่นในอินเดียและศรีลังกาในการสัมมนาหัวข้อ “แบ่งปันภูมิปัญญาเพื่ออนาคตร่วมกัน” หรือชื่อภาษาอังกฤษว่า Shared Wisdom to the Common future จึงเชื่อว่าในคราวหน้าจะมีข้อคิดและมุมมองที่น่าสนใจมาเล่าสู่ท่านผู้อ่านทุกท่าน โปรดติดตามตอนต่อไป ซึ่งจะเป็นตอนจบในสัปดาห์หน้า
ผู้เขียนตั้งหน้าตั้งรอคอยที่จะเดินทางร่วมกับคณะผู้เชี่ยวชาญและศิลปินไทยสู่เส้นทางสายปราชญ์อย่างใจจรดใจจ่อ พร้อมทั้งแอบตั้งความหวังอยู่ในใจลึกๆ ว่าหลังจากการเดินทางไปสำรวจดินแดนแห่งอารยธรรมเก่าแก่ในครั้งนื้ คณะผู้เชี่ยวชาญและศิลปินของเราจะนำภูมิปัญญา ความรู้ และประสบการณ์ที่ได้พบเห็นและสัมผัสในอินเดียและ
ศรีลังกา มาเป็นแรงบันดาลใจ เพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่ยอดเยี่ยมไม่แพ้โครงการมารู้จักสมาชิกน้องใหม่ใน BIMSTEC ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูงเมื่อปีก่อนอย่างแน่นอน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-