นายไชยยศ สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังได้เรียกระดมหน่วยงานในสังกัดเพื่อจัดทำมาตรการให้ความช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบอุทกภัยเป็นการเร่งด่วน โดยในเบื้องต้นได้มีการออกมาตรการฯ จาก 3 หน่วยงาน ดังต่อไปนี้
1. กรมธนารักษ์
1.1 กระทรวงการคลัง โดยกรมธนารักษ์ได้อนุมัติให้มีการยกเว้นการเก็บค่าเช่าที่ราชพัสดุเพื่อที่อยู่อาศัยและเพื่อการเกษตร ให้กับผู้เช่าที่ราชพัสดุเมื่อคราวเกิดอุทกภัยที่อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร เป็นเวลา 2 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2533 - 2534
1.2 สำหรับการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เช่าที่ราชพัสดุที่ได้รับความเสียหายในครั้งนี้ เห็นควรกำหนดแนวทางช่วยเหลือ ดังนี้
1.2.1 กรณีเกิดความเสียหายต่อผู้เช่าที่ราชพัสดุเพื่อประกอบการเกษตรหรืออยู่อาศัยจะพิจารณายกเว้นการเรียกเก็บค่าเช่าที่ราชพัสดุ 1 — 2 ปี
1.2.2 กรณีความเสียหายที่เกิดขึ้นมีผลกระทบต่อการประกอบอาชีพของผู้เช่าอาคาร ราชพัสดุจะพิจารณายกเว้นหรือลดหย่อนการเรียกเก็บค่าเช่า และยกเว้นการเรียกเก็บค่าปรับให้ด้วย
ทั้งนี้ แนวทางในการให้ความช่วยเหลือ และระยะเวลาในการยกเว้นหรือลดหย่อนการเรียกเก็บค่าเช่า และยกเว้นการเรียกเก็บค่าปรับ จะพิจารณาตามข้อเท็จจริงและความเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่าง การตรวจสอบข้อเท็จจริง และรวบรวมข้อมูลของสำนักงานธนารักษ์พื้นที่
2. ธนาคารอาคารสงเคราะห์
จัดทำ “โครงการลดภาระหนี้ ปลูกสร้างและซ่อมแซมที่อยู่อาศัยแก่ผู้ประสบอุทกภัย” ทางธนาคารจะดำเนินการลดภาระหนี้ในส่วนของอัตราดอกเบี้ยให้กับลูกค้าเหลือเพียง 1% เป็นระยะเวลา 6 เดือนนับตั้งแต่วันมายื่นเรื่อง ซึ่งจะสามารถช่วยเหลือให้ผู้เดือดร้อนไม่ต้องกังวลกับหนี้สินที่ต้องรับภาระในปัจจุบัน ในส่วนของมาตรการระยะยาว กรณีที่อยู่อาศัยได้รับความเสียหายสิ้นเชิงธนาคารจะลดหนี้ในส่วนของอาคารให้ทั้งหมด โดยลูกค้ารับภาระในการชำระเงินกู้ในส่วนของที่ดินเท่านั้น นอกจากนี้ ในกรณีที่ลูกค้าต้องการกู้ก่อสร้างหรือปรับปรุงซ่อมแซม ธนาคารได้เตรียมอนุมัติสินเชื่อวงเงินกู้สูงสุด 100% ของราคาประเมิน คิดอัตราดอกเบี้ยพิเศษ ปีแรก MRR — 2.00% ซึ่งปัจจุบัน MRR เท่ากับ 7.75% จะเหลือเพียง 5.75% หลังจากนั้นเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัวพิเศษ
ในส่วนของลูกค้าใหม่นั้น หากมีความประสงค์ในการขอรับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ทั้งก่อสร้างหรือปรับปรุงซ่อมแซม ธนาคารได้เตรียมสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษปีแรก MRR — 2.00% ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าปกติ ทั้งนี้ธนาคารตระหนักถึงความเดือดร้อนของผู้ประสบอุทกภัย ซึ่งได้แก่ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ทรัพย์สิน บ้านเรือน แหล่งที่ทำกิน จึงได้ออกมาตรการให้ความช่วยเหลือเร่งด่วนดังกล่าว
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ โทรศัพท์ 0-2645-9000 ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
3. ธนาคารออมสิน
จัดทำ “โครงการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชนที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือ” โดยลูกหนี้เดิมของธนาคารในโครงการธนาคารประชาชน จะได้รับการลดอัตราดอกเบี้ยเหลือ ร้อยละ 0.50 ต่อเดือน และได้รับการปลอดชำระหนี้ทั้งเงินต้น และดอกเบี้ย เป็นเวลา ไม่เกิน 1 ปี ส่วนลูกหนี้เดิมในโครงการสินเชื่อธุรกิจห้องแถว จะไดรับการปลอดชำระหนี้ทั้งเงินต้น และดอกเบี้ย เป็นเวลา ไม่เกิน 1 ปี
สำหรับประชาชนทั่วไปที่ประสงค์จะกู้เงินเพื่อนำไปซ่อมแซมทรัพย์สินและบรรเทาความเสียหาย สามารถกู้เงินได้สูงสุดไม่เกิน 3 แสนบาท อัตราดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารฯ
“กระทรวงการคลัง เชื่อมั่นว่ามาตรการต่าง ๆ ที่จัดทำขึ้นจะช่วยบรรเทาและแบ่งเบาภาระของผู้ประสบอุทกภัยในเขตภาคเหนือได้ในระดับหนึ่ง รวมถึงสามารถรักษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ประชาชน เพื่อให้เกิดการพื้นตัวและรักษาไว้ซึ่งความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจได้ในท้ายที่สุด” นายไชยยศกล่าวในท้ายที่สุด
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 78/2549 22 สิงหาคม 49--
1. กรมธนารักษ์
1.1 กระทรวงการคลัง โดยกรมธนารักษ์ได้อนุมัติให้มีการยกเว้นการเก็บค่าเช่าที่ราชพัสดุเพื่อที่อยู่อาศัยและเพื่อการเกษตร ให้กับผู้เช่าที่ราชพัสดุเมื่อคราวเกิดอุทกภัยที่อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร เป็นเวลา 2 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2533 - 2534
1.2 สำหรับการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เช่าที่ราชพัสดุที่ได้รับความเสียหายในครั้งนี้ เห็นควรกำหนดแนวทางช่วยเหลือ ดังนี้
1.2.1 กรณีเกิดความเสียหายต่อผู้เช่าที่ราชพัสดุเพื่อประกอบการเกษตรหรืออยู่อาศัยจะพิจารณายกเว้นการเรียกเก็บค่าเช่าที่ราชพัสดุ 1 — 2 ปี
1.2.2 กรณีความเสียหายที่เกิดขึ้นมีผลกระทบต่อการประกอบอาชีพของผู้เช่าอาคาร ราชพัสดุจะพิจารณายกเว้นหรือลดหย่อนการเรียกเก็บค่าเช่า และยกเว้นการเรียกเก็บค่าปรับให้ด้วย
ทั้งนี้ แนวทางในการให้ความช่วยเหลือ และระยะเวลาในการยกเว้นหรือลดหย่อนการเรียกเก็บค่าเช่า และยกเว้นการเรียกเก็บค่าปรับ จะพิจารณาตามข้อเท็จจริงและความเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่าง การตรวจสอบข้อเท็จจริง และรวบรวมข้อมูลของสำนักงานธนารักษ์พื้นที่
2. ธนาคารอาคารสงเคราะห์
จัดทำ “โครงการลดภาระหนี้ ปลูกสร้างและซ่อมแซมที่อยู่อาศัยแก่ผู้ประสบอุทกภัย” ทางธนาคารจะดำเนินการลดภาระหนี้ในส่วนของอัตราดอกเบี้ยให้กับลูกค้าเหลือเพียง 1% เป็นระยะเวลา 6 เดือนนับตั้งแต่วันมายื่นเรื่อง ซึ่งจะสามารถช่วยเหลือให้ผู้เดือดร้อนไม่ต้องกังวลกับหนี้สินที่ต้องรับภาระในปัจจุบัน ในส่วนของมาตรการระยะยาว กรณีที่อยู่อาศัยได้รับความเสียหายสิ้นเชิงธนาคารจะลดหนี้ในส่วนของอาคารให้ทั้งหมด โดยลูกค้ารับภาระในการชำระเงินกู้ในส่วนของที่ดินเท่านั้น นอกจากนี้ ในกรณีที่ลูกค้าต้องการกู้ก่อสร้างหรือปรับปรุงซ่อมแซม ธนาคารได้เตรียมอนุมัติสินเชื่อวงเงินกู้สูงสุด 100% ของราคาประเมิน คิดอัตราดอกเบี้ยพิเศษ ปีแรก MRR — 2.00% ซึ่งปัจจุบัน MRR เท่ากับ 7.75% จะเหลือเพียง 5.75% หลังจากนั้นเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัวพิเศษ
ในส่วนของลูกค้าใหม่นั้น หากมีความประสงค์ในการขอรับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ทั้งก่อสร้างหรือปรับปรุงซ่อมแซม ธนาคารได้เตรียมสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษปีแรก MRR — 2.00% ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าปกติ ทั้งนี้ธนาคารตระหนักถึงความเดือดร้อนของผู้ประสบอุทกภัย ซึ่งได้แก่ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ทรัพย์สิน บ้านเรือน แหล่งที่ทำกิน จึงได้ออกมาตรการให้ความช่วยเหลือเร่งด่วนดังกล่าว
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ โทรศัพท์ 0-2645-9000 ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
3. ธนาคารออมสิน
จัดทำ “โครงการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชนที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือ” โดยลูกหนี้เดิมของธนาคารในโครงการธนาคารประชาชน จะได้รับการลดอัตราดอกเบี้ยเหลือ ร้อยละ 0.50 ต่อเดือน และได้รับการปลอดชำระหนี้ทั้งเงินต้น และดอกเบี้ย เป็นเวลา ไม่เกิน 1 ปี ส่วนลูกหนี้เดิมในโครงการสินเชื่อธุรกิจห้องแถว จะไดรับการปลอดชำระหนี้ทั้งเงินต้น และดอกเบี้ย เป็นเวลา ไม่เกิน 1 ปี
สำหรับประชาชนทั่วไปที่ประสงค์จะกู้เงินเพื่อนำไปซ่อมแซมทรัพย์สินและบรรเทาความเสียหาย สามารถกู้เงินได้สูงสุดไม่เกิน 3 แสนบาท อัตราดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารฯ
“กระทรวงการคลัง เชื่อมั่นว่ามาตรการต่าง ๆ ที่จัดทำขึ้นจะช่วยบรรเทาและแบ่งเบาภาระของผู้ประสบอุทกภัยในเขตภาคเหนือได้ในระดับหนึ่ง รวมถึงสามารถรักษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ประชาชน เพื่อให้เกิดการพื้นตัวและรักษาไว้ซึ่งความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจได้ในท้ายที่สุด” นายไชยยศกล่าวในท้ายที่สุด
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 78/2549 22 สิงหาคม 49--