กรุงเทพ--28 ส.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม — 4 สิงหาคม 2549 กระทรวงการต่างประเทศ โดยกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องแนวทางส่งเสริมและสนับสนุนยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลของเจ้าหน้าที่ด้านเศรษฐกิจประจำหน่วยงานราชการในต่างประเทศ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออก ณ กรุงปักกิ่ง โดยมีที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายวีระชัย วีระเมธีกุล) เป็นประธาน และมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เจ้าหน้าที่เศรษฐกิจรับทราบนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจที่ทันสมัย เพื่อทำงานอย่างบูรณาการในลักษณะทีมประเทศไทย รวมทั้งปรับกลยุทธ์การทำงานเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันของไทยในเวทีโลกอันเกิดจากการเปิดเสรีทางการค้าในกรอบต่าง ๆ โดยเฉพาะในกรอบอาเซียน-จีน
การประชุมครั้งนี้นับว่าประสบความสำเร็จอย่างดียิ่งและเป็นประโยชน์กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่จำนวน 74 คน จาก 11 หน่วยงานราชการในต่างประเทศจาก 14 ประเทศ ได้รับทราบข้อมูลต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ในการทำงาน และมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่างกัน รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นโดยตรงกับวิทยากรระดับสูงจากภาครัฐ อาทิ กระทรวงพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและการนำเข้าแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กระทรวงพลังงาน ฯลฯ และได้เสริมสร้างเครือข่ายการปฏิบัติงานระหว่างหน่วยงาน
ในช่วงท้ายของการประชุมฯ เจ้าหน้าที่เศรษฐกิจได้ร่วมกันจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับโอกาสและปัญหาทางเศรษฐกิจในภูมิภาค และแผนงานบูรณาการในระยะสั้นและยาว สรุปได้ดังนี้
1. กลุ่มเอเชียตะวันออก กลุ่มผู้บริโภคในจีนที่ไทยควรให้ความสำคัญคือ กลุ่มระดับกลางถึงระดับสูง การขายสินค้าที่มีคุณภาพจะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ในระยะยาวให้ไทยเป็นแหล่งการค้า การผลิตสินค้า และการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ ไทยควรใช้โอกาสที่จีนกำลังผ่อนคลายกฎระเบียบต่างๆ ให้เป็นไปตามพันธกรณีของ WTO ขยายตลาดการค้าและการลงทุนในจีน สำหรับฮ่องกง ไทยควรส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนที่มีความใกล้ชิดและเชี่ยวชาญในตลาดจีน และใช้ประโยชน์จากกรอบความร่วมมือต่างๆ อาทิ Closer Economic Partnership Agreement และ Pan Pearl River Delta ในการเจาะตลาดจีน ในส่วนของไต้หวัน ไทยสามารถเรียนรู้แนวทางการพัฒนา SMEs ที่ประสบความสำเร็จของไต้หวัน เพื่อสนับสนุนให้ SMEs ไทยได้ขยายโอกาสไปสู่ตลาดต่างประเทศ ญี่ปุ่น ไทยไทยควรใช้โอกาสครบรอบ 120 ปีความสัมพันธ์ทางการทูต ไทย-ญี่ปุ่น ในการส่งเสริมการค้า การลงทุน และบริการกับญี่ปุ่น โดยเฉพาะการลงทุนในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและวิศวกรรมไฟฟ้า นอกจากนี้ ไทยควรเร่งรัดให้มีการลงนาม JTEPA หลังจากจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่เรียบร้อยแล้วซึ่งจะส่งเสริมให้การค้าและการลงทุนระหว่างสองประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้นอีก ทั้งนี้ รัฐบาลควรประชาสัมพันธ์ให้ภาคเอกชนไทยได้ใช้ประโยชน์จากข้อตกลงดังกล่าวอย่างเต็มที่ สำหรับเกาหลีใต้ ซึ่งหลีกเลี่ยงที่จะลงทุนในประเทศเดียวกับญี่ปุ่น แต่ปัจจุบันประสบกับต้นทุนการผลิตภายในประเทศที่สูงมาก เนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น จึงแสวงหาแหล่งลงทุนแห่งใหม่ๆ และอาจจะขยายการลงทุนในไทยเพิ่มขึ้น สาขาที่ไทยมีศักยภาพสูงคือ การท่องเที่ยวและธุรกิจ Content Industry เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวจากเกาหลีใต้ที่เดินทางมาไทยมีสัดส่วนสูงกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก โดยชาวเกาหลีใต้นิยมมาไทยเพื่อ Honeymoon และท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
2. กลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีประชากรกว่า 500 ล้านคนที่มีพลังซื้อสูง มีศักยภาพทั้งในด้านสินค้า บริการ (การท่องเที่ยว บริการการแพทย์และการโรงแรม) และการลงทุน และเป็นแหล่งทรัพยากรที่เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน อาทิ น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน และพลังงานทดแทน (ไบโอดีเซลจากปาล์มน้ำมัน) อีกทั้ง เป็นแหล่งวัตถุดิบทางการเกษตรและการประมงที่สำคัญ สิ่งที่ประเทศไทยควรส่งเสริมอย่างจริงจังคือ การเป็นศูนย์กลางการประชุมในภูมิภาคนี้ โดยอาศัยความได้เปรียบของที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ และความพร้อมทางโครงสร้างพื้นฐาน
3. กลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งประกอบด้วย กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม มีกำลังซื้อน้อย แต่มีความนิยมสินค้าไทย ยุทธศาสตร์ไทยต่อกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านควรมุ่งเน้นการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกัน และการเป็น “หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา” โดยส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในประเทศเหล่านี้ เพื่อรองรับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวร่วมกัน นอกจากนี้ กลุ่มประเทศเพื่อนบ้านมีความสำคัญต่อไทยมากกว่าผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ รัฐบาลไทยจึงควรส่งเสริมให้เอกชนไทยเข้าไปลงทุนในประเทศเหล่านี้มากยิ่งขึ้น โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับในระยะยาว เพื่อดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องและต่อยอดจากการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ในภูมิภาคเอเชีย กระทรวงการต่างประเทศจะจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ประจำภูมิภาคอเมริกาและแปซิฟิกใต้ ระหว่างวันที่ 2-9 กันยายน ศกนี้ ณ นครลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา ซึ่งมีหัวข้อหลัก (theme) คือ บทบาทของไทยในการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา การจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรี ไทย-ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอเมริกาและแปซิฟิกใต้ และแนวทางการส่งเสริมและร่วมมือทางการค้า/การลงทุนจากการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ และการเปิดเสรีทั้งในระดับทวิภาคีและระดับภูมิภาค
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม — 4 สิงหาคม 2549 กระทรวงการต่างประเทศ โดยกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องแนวทางส่งเสริมและสนับสนุนยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลของเจ้าหน้าที่ด้านเศรษฐกิจประจำหน่วยงานราชการในต่างประเทศ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออก ณ กรุงปักกิ่ง โดยมีที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายวีระชัย วีระเมธีกุล) เป็นประธาน และมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เจ้าหน้าที่เศรษฐกิจรับทราบนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจที่ทันสมัย เพื่อทำงานอย่างบูรณาการในลักษณะทีมประเทศไทย รวมทั้งปรับกลยุทธ์การทำงานเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันของไทยในเวทีโลกอันเกิดจากการเปิดเสรีทางการค้าในกรอบต่าง ๆ โดยเฉพาะในกรอบอาเซียน-จีน
การประชุมครั้งนี้นับว่าประสบความสำเร็จอย่างดียิ่งและเป็นประโยชน์กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่จำนวน 74 คน จาก 11 หน่วยงานราชการในต่างประเทศจาก 14 ประเทศ ได้รับทราบข้อมูลต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ในการทำงาน และมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่างกัน รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นโดยตรงกับวิทยากรระดับสูงจากภาครัฐ อาทิ กระทรวงพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและการนำเข้าแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กระทรวงพลังงาน ฯลฯ และได้เสริมสร้างเครือข่ายการปฏิบัติงานระหว่างหน่วยงาน
ในช่วงท้ายของการประชุมฯ เจ้าหน้าที่เศรษฐกิจได้ร่วมกันจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับโอกาสและปัญหาทางเศรษฐกิจในภูมิภาค และแผนงานบูรณาการในระยะสั้นและยาว สรุปได้ดังนี้
1. กลุ่มเอเชียตะวันออก กลุ่มผู้บริโภคในจีนที่ไทยควรให้ความสำคัญคือ กลุ่มระดับกลางถึงระดับสูง การขายสินค้าที่มีคุณภาพจะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ในระยะยาวให้ไทยเป็นแหล่งการค้า การผลิตสินค้า และการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ ไทยควรใช้โอกาสที่จีนกำลังผ่อนคลายกฎระเบียบต่างๆ ให้เป็นไปตามพันธกรณีของ WTO ขยายตลาดการค้าและการลงทุนในจีน สำหรับฮ่องกง ไทยควรส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนที่มีความใกล้ชิดและเชี่ยวชาญในตลาดจีน และใช้ประโยชน์จากกรอบความร่วมมือต่างๆ อาทิ Closer Economic Partnership Agreement และ Pan Pearl River Delta ในการเจาะตลาดจีน ในส่วนของไต้หวัน ไทยสามารถเรียนรู้แนวทางการพัฒนา SMEs ที่ประสบความสำเร็จของไต้หวัน เพื่อสนับสนุนให้ SMEs ไทยได้ขยายโอกาสไปสู่ตลาดต่างประเทศ ญี่ปุ่น ไทยไทยควรใช้โอกาสครบรอบ 120 ปีความสัมพันธ์ทางการทูต ไทย-ญี่ปุ่น ในการส่งเสริมการค้า การลงทุน และบริการกับญี่ปุ่น โดยเฉพาะการลงทุนในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและวิศวกรรมไฟฟ้า นอกจากนี้ ไทยควรเร่งรัดให้มีการลงนาม JTEPA หลังจากจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่เรียบร้อยแล้วซึ่งจะส่งเสริมให้การค้าและการลงทุนระหว่างสองประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้นอีก ทั้งนี้ รัฐบาลควรประชาสัมพันธ์ให้ภาคเอกชนไทยได้ใช้ประโยชน์จากข้อตกลงดังกล่าวอย่างเต็มที่ สำหรับเกาหลีใต้ ซึ่งหลีกเลี่ยงที่จะลงทุนในประเทศเดียวกับญี่ปุ่น แต่ปัจจุบันประสบกับต้นทุนการผลิตภายในประเทศที่สูงมาก เนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น จึงแสวงหาแหล่งลงทุนแห่งใหม่ๆ และอาจจะขยายการลงทุนในไทยเพิ่มขึ้น สาขาที่ไทยมีศักยภาพสูงคือ การท่องเที่ยวและธุรกิจ Content Industry เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวจากเกาหลีใต้ที่เดินทางมาไทยมีสัดส่วนสูงกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก โดยชาวเกาหลีใต้นิยมมาไทยเพื่อ Honeymoon และท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
2. กลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีประชากรกว่า 500 ล้านคนที่มีพลังซื้อสูง มีศักยภาพทั้งในด้านสินค้า บริการ (การท่องเที่ยว บริการการแพทย์และการโรงแรม) และการลงทุน และเป็นแหล่งทรัพยากรที่เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน อาทิ น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน และพลังงานทดแทน (ไบโอดีเซลจากปาล์มน้ำมัน) อีกทั้ง เป็นแหล่งวัตถุดิบทางการเกษตรและการประมงที่สำคัญ สิ่งที่ประเทศไทยควรส่งเสริมอย่างจริงจังคือ การเป็นศูนย์กลางการประชุมในภูมิภาคนี้ โดยอาศัยความได้เปรียบของที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ และความพร้อมทางโครงสร้างพื้นฐาน
3. กลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งประกอบด้วย กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม มีกำลังซื้อน้อย แต่มีความนิยมสินค้าไทย ยุทธศาสตร์ไทยต่อกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านควรมุ่งเน้นการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกัน และการเป็น “หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา” โดยส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในประเทศเหล่านี้ เพื่อรองรับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวร่วมกัน นอกจากนี้ กลุ่มประเทศเพื่อนบ้านมีความสำคัญต่อไทยมากกว่าผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ รัฐบาลไทยจึงควรส่งเสริมให้เอกชนไทยเข้าไปลงทุนในประเทศเหล่านี้มากยิ่งขึ้น โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับในระยะยาว เพื่อดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องและต่อยอดจากการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ในภูมิภาคเอเชีย กระทรวงการต่างประเทศจะจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ประจำภูมิภาคอเมริกาและแปซิฟิกใต้ ระหว่างวันที่ 2-9 กันยายน ศกนี้ ณ นครลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา ซึ่งมีหัวข้อหลัก (theme) คือ บทบาทของไทยในการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา การจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรี ไทย-ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอเมริกาและแปซิฟิกใต้ และแนวทางการส่งเสริมและร่วมมือทางการค้า/การลงทุนจากการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ และการเปิดเสรีทั้งในระดับทวิภาคีและระดับภูมิภาค
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-