วันนี้(28 ต.ค.48) นายอภิสิทิธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวสัมภาษณ์ทางวิทยุในรายการข่าวยามเช้า ถึงเรื่องกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาโดยผูกพันกับรายได้ในอนาคต ว่า ขณะนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงเพราะยังมีความคลาดเคลื่อนระหว่างข้อเท็จจริงกับแนวคิดของนายกฯอยู่มาก ดังนั้นสิ่งที่จะเกิดขึ้น หลังจากการที่รัฐบาลประกาศใช้ระบบกองทุนกู้ยืมผูกพันกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) ที่รัฐบาลตั้งเป้าไว้ว่าในอนาคตแทนที่รัฐบาลจะจัดงบผ่านมหาวิทยาลัยแต่ต่อไปจะเป็นการจัดงบประมาณผ่านตัวนักศึกษาแทน โดยใช้เกณฑ์ว่ามหาวิทยาลัยมีจำนวนนักศึกษามากก็จะได้รับงบประมาณมาก ปัญหาที่เกิดขึ้นคือเมื่อรัฐบาลตั้งงบประมาณสำหรับกองทุนกรอ. แต่มีการไปปรับลดงบประมาณกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาเดิม ประกอบทั้งกำหนดว่าในปีการศึกษาที่จะมาถึงนี้ นักศึกษาที่มีสิทธิ์กู้ยืมได้คือนักศึกษาที่เคยกู้แล้ว ส่วนนักศึกษาใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่คือนักศึกษาปี 1 กู้ยืมไม่ได้ หากเป็นเช่นนั้นจริงก็จะมีปัญหาตามมาเพราะว่ากองทุนกู้ยืมปัจจุบัน ให้ทั้งค่าหน่วยกิต และค่าครองชีพ เมื่อตัดกองทุนเดิมออกไป แต่กองทุนใหม่ให้กู้เฉพาะค่าหน่ายกิต ตรงนี้จะเกิดปัญหาขึ้นกับตัวนักศึกษามีความจำเป็นต้องใช้โครงการกู้ยืมเพื่อการศึกานี้แน่นอน
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้มหาวิทยาลัยหลายแห่งยังไม่มีข้อตกลงชัดเจนว่าต้นทุนในการผลิตนักศึกษา ในแต่ละสาขา หรือแต่ละคณะคิดเป็นคนตกคนละเท่าไร เพราะหัวใจของระบบนี้อยู่ที่การประเมินต้นทุนว่าเป็นเท่าไร่ ซึ่งหลักการที่จะเป็นตัวตัดสินเรื่องนี้ก็ยังไม่มีความชัดเจน จึงมีความเป็นห่วงจากหลายฝ่ายว่า 1. มหาวิทยาลัยอาจจะเร่งในการรับนักศึกษาไว้ก่อน เพราะหากมีจำนวนนักศึกษามาก ก็จะได้งบประมาณมาก 2.สาขา วิชา ต่างๆ จะได้รับผลกระทบ เพราะยังไม่มีความชัดเจนว่าจะมีแนวทางเป็นอย่างไร
“คนอาจจะบอกว่าหมอขาดแคลน แต่การผลิตหมอ ต้นทุนการผลิตสูง ถ้ารัฐบาลบอกว่าต้องไปสนับสนุนหมอมากๆ นักประวัติศาสตร์ไม่ต้องสนับสนุน ในขณะที่สังคมต้องการนักประวัติศาสตร์ ต้องการศิลปิน ต้องการนักปรัชญา สิ่งที่สูญเสียคือ สังคม เพราะขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจน ถ้ามองในแง่เศรษฐศาสตร์ รัฐควรจะให้การสนับสนุนในกรณีที่ตลาดไม่ตอบแทนผู้จบการศึกษาทางด้านนั้น เท่ากับคุณค่าที่เขาให้กับสังคม ซึ่งเป็นเรื่องประเมินอยาก” นายอภิสิทธิ์กล่าว และว่าแต่เรื่องนี้รัฐบาลยังยืนยันเดินหน้า ที่จะใช้ระบบนี้ในปีการศึกษาหน้า คือในเดือนพฤษภาคม ที่จะถึงนี้ แต่ทางฝ่ายมหาวิทยาลัยก็ยังไม่มีความพร้อม และที่สำคัญรัฐบาลยังไม่ได้เสนอกฎหมายเพื่อกองทุนนี้เข้ามา หากปรียบเทียบกองทุนนี้กับต่างประเทศ วิธีการที่จะหักเงินคืนได้ง่ายที่สุดคือการหักผ่านระบบภาษี แต่เมื่อโครงการนี้ไม่มีกฎหมายจะทำเช่นนั้นคงไม่ได้
“และข้อห่วงใยที่มองข้ามไม่ได้อีกเรื่องหนึ่งคือเรื่องของค่านิยม คืออาจจะกลายเป็นว่านักศึกษาอาจจะมีแรงกดดัน เพราะรู้ว่าเรียนแล้วมีหนี้ หรืออาจมองได้ว่าเป็นการจ้างสอน” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 28 ต.ค. 2548--จบ--
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้มหาวิทยาลัยหลายแห่งยังไม่มีข้อตกลงชัดเจนว่าต้นทุนในการผลิตนักศึกษา ในแต่ละสาขา หรือแต่ละคณะคิดเป็นคนตกคนละเท่าไร เพราะหัวใจของระบบนี้อยู่ที่การประเมินต้นทุนว่าเป็นเท่าไร่ ซึ่งหลักการที่จะเป็นตัวตัดสินเรื่องนี้ก็ยังไม่มีความชัดเจน จึงมีความเป็นห่วงจากหลายฝ่ายว่า 1. มหาวิทยาลัยอาจจะเร่งในการรับนักศึกษาไว้ก่อน เพราะหากมีจำนวนนักศึกษามาก ก็จะได้งบประมาณมาก 2.สาขา วิชา ต่างๆ จะได้รับผลกระทบ เพราะยังไม่มีความชัดเจนว่าจะมีแนวทางเป็นอย่างไร
“คนอาจจะบอกว่าหมอขาดแคลน แต่การผลิตหมอ ต้นทุนการผลิตสูง ถ้ารัฐบาลบอกว่าต้องไปสนับสนุนหมอมากๆ นักประวัติศาสตร์ไม่ต้องสนับสนุน ในขณะที่สังคมต้องการนักประวัติศาสตร์ ต้องการศิลปิน ต้องการนักปรัชญา สิ่งที่สูญเสียคือ สังคม เพราะขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจน ถ้ามองในแง่เศรษฐศาสตร์ รัฐควรจะให้การสนับสนุนในกรณีที่ตลาดไม่ตอบแทนผู้จบการศึกษาทางด้านนั้น เท่ากับคุณค่าที่เขาให้กับสังคม ซึ่งเป็นเรื่องประเมินอยาก” นายอภิสิทธิ์กล่าว และว่าแต่เรื่องนี้รัฐบาลยังยืนยันเดินหน้า ที่จะใช้ระบบนี้ในปีการศึกษาหน้า คือในเดือนพฤษภาคม ที่จะถึงนี้ แต่ทางฝ่ายมหาวิทยาลัยก็ยังไม่มีความพร้อม และที่สำคัญรัฐบาลยังไม่ได้เสนอกฎหมายเพื่อกองทุนนี้เข้ามา หากปรียบเทียบกองทุนนี้กับต่างประเทศ วิธีการที่จะหักเงินคืนได้ง่ายที่สุดคือการหักผ่านระบบภาษี แต่เมื่อโครงการนี้ไม่มีกฎหมายจะทำเช่นนั้นคงไม่ได้
“และข้อห่วงใยที่มองข้ามไม่ได้อีกเรื่องหนึ่งคือเรื่องของค่านิยม คืออาจจะกลายเป็นว่านักศึกษาอาจจะมีแรงกดดัน เพราะรู้ว่าเรียนแล้วมีหนี้ หรืออาจมองได้ว่าเป็นการจ้างสอน” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 28 ต.ค. 2548--จบ--