วันนี้(17ส.ค.49)เวลา 10.00 น. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมด้วย นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฏ์ รองหัวหน้าพรรคฯ นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ์ ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช ดร.ผุสดี ตามไท ผอ.พรรค น.พ.บูรณัชย์ สมุทรรักษ์ นายนราพัฒน์ แก้วทอง และคณะ เดินทางไปที่สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(สมศ.)เพื่อรับฟังการบรรยาย “ภาพรวมการศึกษาไทย”จากศ.กิติคุณดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ผู้อำนวยการสมศ.
โดยนายอภิสิทธิ์ ให้สัมภาษณ์ภายหลังการรับฟังว่างานการประเมินคุณภาพการศึกษาเป็นงานหนึ่งที่พรรคเป็นผู้ริเริ่มไว้ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้การปฏิรูปเกิดขึ้นจริง เพราะมีความจำเป็นต่อการยกระดับคุณภาพการศึกษา “ ถ้าเราไม่มีการสำรวจตรวจสอบความเป็นจริง คุณภาพจากคนที่เป็นคนกลาง สิ่งที่เราได้รับทราบวันนี้ก็ต้องเรียนว่าทำให้เราหนักใจเพราะว่า ข้อมูลที่ทางสำนักงานฯ เข้าไปประเมินโรงเรียนมาทุกแห่งรอบแรกซึ่งใช้เวลาประมาณถึง 6 - 7 ปี บ่งบอกว่าโรงเรียน 2 ใน 3 มีปัญหา แล้วก็มีโรงเรียนถึงหมื่นกว่าโรงที่อยู่ในขั้นวิกฤต” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า ข้อมูลที่พรรคได้รับทราบค่อนข้างจะตรงกับสิ่งที่พรรคได้เคยพยายามพูดมาตลอด คือ รัฐบาลและ หน่วยงานจำเป็นต้องเอาข้อมูลตรงนี้ไปใช้ในการกำหนดแนวทางการบริหาร การจัดสรรงบประมาณ หรือ การแก้ไขปัญหาให้ตรงจุด เพราะว่าข้อมูลนี้ ละเอียดไปถึงระดับสถานศึกษา เพราะฉะนั้นสิ่งที่จำเป็นมาก คือ ต้องเอาผลของการทำงานตรงนี้ ใช้เงิน ใช้เวลา ใช้คนมามาก มาใช้ให้เป็นประโยชน์จริงๆ เพราะฉะนั้นนโยบายของพรรคก็จะเอาข้อมูลตรงนี้มาใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะต้องเร่งเข้าไปไขปัญหาในหมื่นกว่าโรงเรียนเป็นอันดับแรก ซึ่งจำเป็นจะต้องได้รับความร่วมมือจากทั้งท้องถิ่น และต้นสังกัดด้วย เพราะว่าการแก้ปัญหาหลายปัญหา ถ้าไม่ดึงท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมก็จะแก้ไขได้ยาก โดยเฉพาะปัญหาความขาดแคลนในบางเรื่องเช่น บุคลากร “การแลกเปลี่ยนวันนี้ถือว่าเป็นประโยชน์และจะเอาข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในการกำหนดแนวทางของการแก้ปัญหาเรื่องคุณภาพการศึกษาด้วย” นายอภิสิทธิ์กล่าว
ต่อข้อถามที่ว่า ต้องใช้ระยะเวลาเท่าไรที่จะแก้ไขปัญหา นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ถือว่าเป็นเรื่องเร่งด่วนที่สุด เพราะปัญหาความหนักเบาในแต่ละพื้นที่ก็อาจจะไม่เหมือนกัน โรงเรียนในสังกัดต่างๆ ก็อาจะไม่เหมือนกัน “อย่างถ้าพูดถึงความรุนแรงในขณะนี้ก็จะชัดเจนมากว่า ในโรงเรียนขนาดเล็กในชนบท หรือโรงเรียนในบางสังกัด เช่น กรณีของ ตชด. ซึ่งต้องมีการทุ่มเทเป็นพิเศษ ” นายอภิสิทธิ์ กล่าวและว่า เช่นกรณีปัญหาของโรงเรียนขนาดเล็ก คือเรื่องของบุคลากร ว่าจะต้องจัดระบบกันใหม่อย่างไร เพราะฉะนั้นปัญหาแต่ละพื้นที่แตกต่างกันแต่ว่า กรอบความคิดที่ต้องดำเนินการทันที ต้องให้ทุกฝ่ายยอมรับผลการประเมินแล้ว เอาผลของการประเมินนั้นมาเป็นตัวกำหนด การจัดสรรทรัพยากร การจัดทำนโยบาย และ ที่สำคัญต้องมีการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ควรจะทำทันทีพร้อมๆกับการที่จะต้องกระจายงบประมาณให้ท้องถิ่น
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 17 ส.ค. 2549--จบ--
โดยนายอภิสิทธิ์ ให้สัมภาษณ์ภายหลังการรับฟังว่างานการประเมินคุณภาพการศึกษาเป็นงานหนึ่งที่พรรคเป็นผู้ริเริ่มไว้ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้การปฏิรูปเกิดขึ้นจริง เพราะมีความจำเป็นต่อการยกระดับคุณภาพการศึกษา “ ถ้าเราไม่มีการสำรวจตรวจสอบความเป็นจริง คุณภาพจากคนที่เป็นคนกลาง สิ่งที่เราได้รับทราบวันนี้ก็ต้องเรียนว่าทำให้เราหนักใจเพราะว่า ข้อมูลที่ทางสำนักงานฯ เข้าไปประเมินโรงเรียนมาทุกแห่งรอบแรกซึ่งใช้เวลาประมาณถึง 6 - 7 ปี บ่งบอกว่าโรงเรียน 2 ใน 3 มีปัญหา แล้วก็มีโรงเรียนถึงหมื่นกว่าโรงที่อยู่ในขั้นวิกฤต” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า ข้อมูลที่พรรคได้รับทราบค่อนข้างจะตรงกับสิ่งที่พรรคได้เคยพยายามพูดมาตลอด คือ รัฐบาลและ หน่วยงานจำเป็นต้องเอาข้อมูลตรงนี้ไปใช้ในการกำหนดแนวทางการบริหาร การจัดสรรงบประมาณ หรือ การแก้ไขปัญหาให้ตรงจุด เพราะว่าข้อมูลนี้ ละเอียดไปถึงระดับสถานศึกษา เพราะฉะนั้นสิ่งที่จำเป็นมาก คือ ต้องเอาผลของการทำงานตรงนี้ ใช้เงิน ใช้เวลา ใช้คนมามาก มาใช้ให้เป็นประโยชน์จริงๆ เพราะฉะนั้นนโยบายของพรรคก็จะเอาข้อมูลตรงนี้มาใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะต้องเร่งเข้าไปไขปัญหาในหมื่นกว่าโรงเรียนเป็นอันดับแรก ซึ่งจำเป็นจะต้องได้รับความร่วมมือจากทั้งท้องถิ่น และต้นสังกัดด้วย เพราะว่าการแก้ปัญหาหลายปัญหา ถ้าไม่ดึงท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมก็จะแก้ไขได้ยาก โดยเฉพาะปัญหาความขาดแคลนในบางเรื่องเช่น บุคลากร “การแลกเปลี่ยนวันนี้ถือว่าเป็นประโยชน์และจะเอาข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในการกำหนดแนวทางของการแก้ปัญหาเรื่องคุณภาพการศึกษาด้วย” นายอภิสิทธิ์กล่าว
ต่อข้อถามที่ว่า ต้องใช้ระยะเวลาเท่าไรที่จะแก้ไขปัญหา นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ถือว่าเป็นเรื่องเร่งด่วนที่สุด เพราะปัญหาความหนักเบาในแต่ละพื้นที่ก็อาจจะไม่เหมือนกัน โรงเรียนในสังกัดต่างๆ ก็อาจะไม่เหมือนกัน “อย่างถ้าพูดถึงความรุนแรงในขณะนี้ก็จะชัดเจนมากว่า ในโรงเรียนขนาดเล็กในชนบท หรือโรงเรียนในบางสังกัด เช่น กรณีของ ตชด. ซึ่งต้องมีการทุ่มเทเป็นพิเศษ ” นายอภิสิทธิ์ กล่าวและว่า เช่นกรณีปัญหาของโรงเรียนขนาดเล็ก คือเรื่องของบุคลากร ว่าจะต้องจัดระบบกันใหม่อย่างไร เพราะฉะนั้นปัญหาแต่ละพื้นที่แตกต่างกันแต่ว่า กรอบความคิดที่ต้องดำเนินการทันที ต้องให้ทุกฝ่ายยอมรับผลการประเมินแล้ว เอาผลของการประเมินนั้นมาเป็นตัวกำหนด การจัดสรรทรัพยากร การจัดทำนโยบาย และ ที่สำคัญต้องมีการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ควรจะทำทันทีพร้อมๆกับการที่จะต้องกระจายงบประมาณให้ท้องถิ่น
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 17 ส.ค. 2549--จบ--