โครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ เป็นโครงการที่มีการดำเนินงานต่อเนื่องมาหลายปีของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม โครงการนี้เป็นความริเริ่มและต่อเนื่องมาโดยตลอด มุ่งเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไป คนทำงานรับเงินเดือน พนักงานในสำนักงาน หรือผู้ที่จบการศึกษา ได้มีโอกาสเข้ารับการอบรม แลกเปลี่ยนประสบการณ์และได้เห็นมุมมองใหม่ๆ ในการที่จะเป็นเจ้าของธุรกิจแทนการเป็นลูกจ้าง โดยอาจจะมีลักษณะเป็นงานเสริมจากงานประจำ เป็นอาชีพที่สองของคนทำงาน เป็นการริเริ่มของทายาทธุรกิจ ก่อนที่จะเข้าไปรับธุรกิจของที่บ้านอย่างเต็มที่หรือเป็นเรื่องของผู้คนที่เกษียณจากงานประจำมีทุน-มีแรงที่อยากจะทำอะไรเล็กๆ น้อยๆ ให้มีกระแสเงินสดเลี้ยงดูตนเอง อย่างแน่นอนในระยะเวลาที่เหลืออยู่
การฝึกอบรม มีรูปแบบการนำเสนอความคิดที่หลากหลายและแสดงให้เห็นถึงมุมมองต่างๆในการที่ผู้เข้าอบรมจะดำเนินธุรกิจ ซึ่งแยกแยะออกมาเป็นกลุ่มๆ ได้ดังนี้
1. กลุ่มที่ต้องการจะทำธุรกิจ จะมีลักษณะความคิดที่มีโอกาสเป็นไปได้ หรือเป็นกลุ่มที่ได้รับความกดดันจากการทำงาน-ไม่มีความสุขในงานปัจจุบัน บางท่านก็มีลักษณะเห็นคนอื่นทำก็อยากทำบ้างและคิดว่าตนเองทำได้ กลุ่มนี้ต้องพัฒนาความคิดที่ต้องการจะทำธุรกิจมาเป็นการสำรวจ ตรวจสอบตัวเองในแง่ของความพร้อมในเรื่องทุน ความทุ่มเท และลงลึกในแนวคิดที่จะทำธุรกิจจริงๆ ว่า “ต้องการจะทำธุรกิจอะไรกันแน่”
2. กลุ่มที่คิดจะทำธุรกิจ จะมีลักษณะที่ทำการศึกษาด้านใดด้านหนึ่ง มาอย่างลึกซึ้งพอสมควร เช่น ศึกษาด้านการผลิตมาแล้วเนื่องจากพื้นฐานตนเองเป็นวิศวกรหรือเป็นนายช่าง มองเห็นช่องทางการตลาด หรือการผลิต แต่ยังขาดประสบการณ์ด้านนี้ในเชิงลึก และยังมีองค์ประกอบที่สำคัญอื่นๆอีก เช่น มีทุนไม่พอ ต้องการความรู้เพิ่มเติมด้านการเงิน การบริหารเงิน การจัดการกระแสเงินสด การเจรจาติดต่อกับสถาบันการเงิน การขอกู้เงินและการวางรูปแบบกิจการว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล เป็นต้น
3. กลุ่มที่มีการรวบรวมทุนเพื่อทำธุรกิจตามที่กำหนดไว้ กลุ่มนี้จะมีลักษณะที่มีประสบการณ์ทางความคิด มีแผนการหาทุน หาหุ้นส่วนร่วมทุน มีการสำรวจทำเลที่ตั้ง เจรจากับ Supplier บ้างบางส่วน กลุ่มนี้มักจะขอคำแนะนำ ข้อเสนอแนะด้านการเงิน สถาบันการเงินที่ต้องการจะติดต่อ การที่จะเริ่มทำอย่างไรก่อนหรือหลัง วิเคราะห์ข้อมูลอย่างไรที่จะอธิบายให้สถาบันการเงิน หุ้นส่วน เข้าใจถึงความเสี่ยงและผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ กลุ่มนี้ถือว่า “พร้อมที่จะเป็นผู้ประกอบการใหม่”
ข้อคิดในการดำเนินธุรกิจ
1. ทรัพย์ที่ยืมจากผู้อื่นมาแล้วต้องคืนเขาพร้อมดอกเบี้ย เราเรียกว่า “หนี้” เมื่อเป็นหนี้แล้วต้องใช้หนี้ จึงจะมีเครดิต การตั้งยืมจากญาติพี่น้อง เอามาทำทุน อย่างนี้เรียกว่าหนี้ไม่ใช่ทุน
2. คิดไว้เสมอว่า ทุนที่ลงไปถ้าหมดหรือเสียหายแล้วครอบครัว ต้องไม่เดือดร้อน อย่าเอาครอบครัวมาเป็นเดิมพัน ถ้าทำอย่างนั่นเรียกว่า นักพนัน-คนเสี่ยงโชค ไม่ใช่ผู้ประกอบการ
3. การเป็นหุ้นส่วนกัน คือ ข้อตกลงที่จะร่วมกันรับทั้งผิด-รับทั้งชอบ ร่วมหัวจมท้าย ไม่ใช่ทำไปครึ่งๆ กลางๆ แล้วหนีออกไป ต้องทำข้อตกลงกันไว้ให้ชัดเจน อย่าเรียกระดมทุน โดยไม่มีเอกสาร หลักฐาน โดยเด็ดขาด
4. คนที่ต้องดูแลรับผิดชอบการเงิน คือ คนที่ต้องละเอียดรอบคอบที่สุด และต้องรู้ว่าตั้งแต่จ่ายเงินออก จนรับเงินเข้ามา มีขั้นตอนอะไรบ้าง ทำอย่างเป็นระบบ ลูกค้าจะต้องเอาเงินมาจ่ายเรา เมื่อไร ( เวลาขายเชื่อ) จะต้องรู้วงจรเงินสด (Cash cycle) เริ่มต้น-ลงท้ายตรงไหน
5. ห้ามมีแนวความคิด ที่จะเป็นผู้นำ หรือ ฮีโร่ เพียงคนเดียว เมื่อมีหุ้นส่วน มีการร่วมลงทุน จะต้องทำงานกันเป็นทีม แบ่งแผนกและฝ่ายอย่างชัดเจน ให้แต่ละส่วนมีการเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
การฝึกอบรม มีรูปแบบการนำเสนอความคิดที่หลากหลายและแสดงให้เห็นถึงมุมมองต่างๆในการที่ผู้เข้าอบรมจะดำเนินธุรกิจ ซึ่งแยกแยะออกมาเป็นกลุ่มๆ ได้ดังนี้
1. กลุ่มที่ต้องการจะทำธุรกิจ จะมีลักษณะความคิดที่มีโอกาสเป็นไปได้ หรือเป็นกลุ่มที่ได้รับความกดดันจากการทำงาน-ไม่มีความสุขในงานปัจจุบัน บางท่านก็มีลักษณะเห็นคนอื่นทำก็อยากทำบ้างและคิดว่าตนเองทำได้ กลุ่มนี้ต้องพัฒนาความคิดที่ต้องการจะทำธุรกิจมาเป็นการสำรวจ ตรวจสอบตัวเองในแง่ของความพร้อมในเรื่องทุน ความทุ่มเท และลงลึกในแนวคิดที่จะทำธุรกิจจริงๆ ว่า “ต้องการจะทำธุรกิจอะไรกันแน่”
2. กลุ่มที่คิดจะทำธุรกิจ จะมีลักษณะที่ทำการศึกษาด้านใดด้านหนึ่ง มาอย่างลึกซึ้งพอสมควร เช่น ศึกษาด้านการผลิตมาแล้วเนื่องจากพื้นฐานตนเองเป็นวิศวกรหรือเป็นนายช่าง มองเห็นช่องทางการตลาด หรือการผลิต แต่ยังขาดประสบการณ์ด้านนี้ในเชิงลึก และยังมีองค์ประกอบที่สำคัญอื่นๆอีก เช่น มีทุนไม่พอ ต้องการความรู้เพิ่มเติมด้านการเงิน การบริหารเงิน การจัดการกระแสเงินสด การเจรจาติดต่อกับสถาบันการเงิน การขอกู้เงินและการวางรูปแบบกิจการว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล เป็นต้น
3. กลุ่มที่มีการรวบรวมทุนเพื่อทำธุรกิจตามที่กำหนดไว้ กลุ่มนี้จะมีลักษณะที่มีประสบการณ์ทางความคิด มีแผนการหาทุน หาหุ้นส่วนร่วมทุน มีการสำรวจทำเลที่ตั้ง เจรจากับ Supplier บ้างบางส่วน กลุ่มนี้มักจะขอคำแนะนำ ข้อเสนอแนะด้านการเงิน สถาบันการเงินที่ต้องการจะติดต่อ การที่จะเริ่มทำอย่างไรก่อนหรือหลัง วิเคราะห์ข้อมูลอย่างไรที่จะอธิบายให้สถาบันการเงิน หุ้นส่วน เข้าใจถึงความเสี่ยงและผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ กลุ่มนี้ถือว่า “พร้อมที่จะเป็นผู้ประกอบการใหม่”
ข้อคิดในการดำเนินธุรกิจ
1. ทรัพย์ที่ยืมจากผู้อื่นมาแล้วต้องคืนเขาพร้อมดอกเบี้ย เราเรียกว่า “หนี้” เมื่อเป็นหนี้แล้วต้องใช้หนี้ จึงจะมีเครดิต การตั้งยืมจากญาติพี่น้อง เอามาทำทุน อย่างนี้เรียกว่าหนี้ไม่ใช่ทุน
2. คิดไว้เสมอว่า ทุนที่ลงไปถ้าหมดหรือเสียหายแล้วครอบครัว ต้องไม่เดือดร้อน อย่าเอาครอบครัวมาเป็นเดิมพัน ถ้าทำอย่างนั่นเรียกว่า นักพนัน-คนเสี่ยงโชค ไม่ใช่ผู้ประกอบการ
3. การเป็นหุ้นส่วนกัน คือ ข้อตกลงที่จะร่วมกันรับทั้งผิด-รับทั้งชอบ ร่วมหัวจมท้าย ไม่ใช่ทำไปครึ่งๆ กลางๆ แล้วหนีออกไป ต้องทำข้อตกลงกันไว้ให้ชัดเจน อย่าเรียกระดมทุน โดยไม่มีเอกสาร หลักฐาน โดยเด็ดขาด
4. คนที่ต้องดูแลรับผิดชอบการเงิน คือ คนที่ต้องละเอียดรอบคอบที่สุด และต้องรู้ว่าตั้งแต่จ่ายเงินออก จนรับเงินเข้ามา มีขั้นตอนอะไรบ้าง ทำอย่างเป็นระบบ ลูกค้าจะต้องเอาเงินมาจ่ายเรา เมื่อไร ( เวลาขายเชื่อ) จะต้องรู้วงจรเงินสด (Cash cycle) เริ่มต้น-ลงท้ายตรงไหน
5. ห้ามมีแนวความคิด ที่จะเป็นผู้นำ หรือ ฮีโร่ เพียงคนเดียว เมื่อมีหุ้นส่วน มีการร่วมลงทุน จะต้องทำงานกันเป็นทีม แบ่งแผนกและฝ่ายอย่างชัดเจน ให้แต่ละส่วนมีการเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-