วันนี้(21 พ.ค.49) นายกรณ์ จาติกวณิช คณะทำงานด้านเศรษฐกิจ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงสภาพเศรษฐกิจไทยในขณะนี้ว่า ในปัจจุบัน เศรษฐกิจไทยมีปัจจัยจากเศรษฐกิจโลก ที่มีตัวขับดันคือ สหรัฐอเมริกาและจีน ที่ขยายตัวต่อเนื่องหลายปี ซึ่งขณะนี้เริ่มมีสัญญาณว่าจะชะลอตัวลง ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคของสหรัฐฯเริ่มชะลอตัว ต่ำที่สุดในรอบ 16 ปี จะมีผลกระทบต่อไทยโดยตรง คาดว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯจะขายตัว 3-3.5 % เป็นอัตราที่ใช้ได้ แต่เมื่อบวกกับภาวะภายในประเทศไทยแล้ว อาจทำให้ต้องจับตาดูใกล้ชิดขึ้น และในประเทศไทย
ในช่วงท้ายนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)มีนโยบายค่อนข้างชัดเจนที่จะแทรกแซงไม่ให้เงินบาทแข็งเกินไป สะท้อนให้เห็นว่า ธปท.กังวลถึงอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยมากกว่ากังวลเรื่องของอัตราเงินเฟ้อ การที่เงินบาทอ่อนตัวแล้วทำให้การแข่งขันในการส่งออกดีขึ้น แต่เงินเฟ้อสูงขึ้น ดูผิวเผินแข่งขันด้านการส่งออกได้มากขึ้น แต่เมื่อหักด้วยอัตราเงินเฟ้อ อัตราการแข่งขันได้อาจไม่ดีขึ้น ซึ่งเรื่องนี้หลายฝ่ายก็เริ่มเห็นแล้ว
นายกรณ์กล่าวว่า แนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยนั้น อาจจะมีโอกาสต่ำกว่าเป้าในช่วงสูญญากาศทางการเมือง เมื่อมองในรายรับของรัฐบาล จะเห็นว่า รายได้ต่ำกว่าเป้าหมาย ภาษีต่ำกว่าเป้ามา 2 เดือนแล้ว และมีแนวโน้มการเก็บภาษีที่เริ่มชะลอตัวลงมาตั้งแต่ 3 ปีก่อน เมื่อปี 2547 อัตราขยายตัวของการเก็บภาษีอยู่ที่ร้อยละ 16 เมื่อเทียบกับปี 2546 เมื่อถึงปี 2548 ลดลงเหลือร้อยละ 12 คาดว่าในปี 2549 จะเหลือไม่ถึงร้อยละ 10 และคาดการณ์ว่าจะเก็บเพิ่มขึ้นในปี 2550 เพียงแค่ร้อยละ 7-8 เมื่อเพิ่มรายได้ไม่ได้ในอัตราเหมือนเคย ความสามารถของรัฐบาลในอนาคตเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจก็จะลดลง ในอนาคตจะหวังให้ภาครัฐเป็นผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจเหมือน 4-5 ปีก่อนจะเป็นไปได้ยากกว่า
นายกรณ์กล่าวว่า ที่น่าเป็นห่วงคือ วิธีการใช้งบประมาณ แม้ว่างบประมาณขยายตัวทุกปี แต่ผูกกับงบประจำและประชานิยมสูงมาก คาดว่าปี 2549 สัดส่วนการลงทุนภาครัฐคงเพียงร้อยละ 5 ของจีดีพี ราว 3.65 แสนล้านบาท ถือว่าต่ำไปที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระดับที่รัฐวางไว้ และยังไม่มีรัฐบาลอนุมัติงบลงทุนให้รัฐวิสาหกิจ หากล่าช้าไป การขยายตัวของเศรษฐกิจที่จะเริ่มฟื้นตัวในปี 2549 คงเป็นไปได้ยาก อาจต้องรอในปี 2550 บนสมมติฐานที่จะมีรัฐบาลบริหารจริงจังในปลายปี 2549 แต่ในภาพรวมยังไม่มีความกังวลมากนัก แต่ด้วยปัจจัยจากเศรษฐกิจโลก ราคาน้ำมัน อัตราดอกเบี้ย ขยับตัวสูงขึ้น ยังนิ่งนอนใจไม่ได้ว่า เศรษฐกิจจะดีได้หากไม่มีรัฐบาลมาขับเคลื่อน
"หวังในแง่ดีว่า ภาพรวม แนวโน้มการลงทุนจะดีขึ้นได้ สภาวะเศรษฐกิจมหภาคยังแข็งแกร่งอยู่มากเมื่อเทียบกับขนาดของเศรษฐกิจ ประเทศคงไม่เข้าสู่วิกฤตเศรษฐกิจ แม้ไม่มีรัฐบาล เศรษฐกิจก็อาจจะขยายตัวในระดับร้อยละ 4-4.5 ยังมีเวลาให้ภาคการเมืองแก้ปัญหาการเมืองโดยไม่กระทบเสถียรภาพของเศรษฐกิจไทย การลงทุนภาคเอกชน ยังมีระดับสูงต่อเนื่อง ยังหวังได้ว่าจะมีการขับเคลื่อนของภาคเอกชนในการลงทุน" นายกรณ์
กล่าว
นายกรณ์ยังได้กล่าวถึงนโนบายของพรรคประชาธิปัตย์ว่า วาระประชาชนในภาคเศรษฐกิจเรื่องสำคัญที่สุดคือ ปัญหาปากท้องของประชาชน ทั้งปัญหารายได้และหนี้ภาคประชาชน ซึ่งปัญหาหนี้ภาคประชาชน พรรคให้ความสำคัญที่สุด จะต้องหาทางให้ประชาชนระดับรากหญ้าเริ่มชีวิตได้ใหม่อย่างยั่งยืน ต้องหาวิธีให้เขาหลุดจากวัฏจักรการก่อหนี้ก่อน
สำหรับในภาคเกษตรนั้น จะสะท้อนให้เห็นรายได้ที่ยั่งยืน เรื่องหนี้จะเป็นปัญหาที่หนักที่สุดของกลุ่มเกษตรกรและแรงงาน ดังนั้น การแก้ปัญหาภาคเกษตร นอกจากราคาผลผลิตก็ต้องมีเรื่องหนี้ ในการแก้ปัญหาหนี้ ต้องระวังการสร้างความหวังให้แก่ประชาชนว่า จะหักล้างหนี้ที่มีอยู่โดยไม่มีเงื่อนไข เพราะไม่มีเงินเพียงพอ แต่จะเปลี่ยนวัฒนธรรมและความสามารถในการคิดของประชาชนรากหญ้าในเรื่องการใช้จ่ายและก่อหนี้ให้ได้ ในส่วนภาคเกษตรจะอิงกับแนวพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียง
นายกรณ์กล่าวว่า การใช้หักล้างหนี้ที่เกิดขึ้นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา จำเป็นต้องใช้เงิน แต่จะใช้อย่างไร เพื่อช่วยเปลี่ยนพฤติกรรมและทำความเข้าใจต่อประชาชนระดับรากหญ้าในแง่ของปัญหา สิ่งที่พรรคจะนำเสนอคือ ใช้เงินส่วนหนึ่ง คือการมีสวัสดิการ ที่จะมีผลยั่งยืน แตกต่างจากประชานิยมที่มีผลชั่วคราว เหวี่ยงแห เพื่อคะแนนนิยมในระยะสั้น
สำหรับเศรษฐกิจภาพรวม ในเชิงปรัชญาต้องมีนโยบายที่เปิดให้ภาคธุรกิจแข่งขันในกลไกตลาดอย่างเต็มที่โดยไม่มีรัฐแทรกแซง โดยมีสวัสดิการสังคมเข้ามารองรับ ซึ่งแตกต่างจากนโยบายประชานิยมอย่างสิ้นเชิง นโยบายเศรษฐกิจที่มีสวัสดิการมารองรับนี้จะเป็นนโยบายสองแพร่ง ขาหนึ่งทำอย่างไรที่จะสร้างธรรมาภิบาลและการแข่งขันในภาคธุรกิจ อีกขาหนึ่งรองรับส่วนที่เข้ามาในภาคธุรกิจไมได้
นายกรณ์กล่าวว่า หลักที่คิดเป็นโจทย์ของการคิดนโยบายของพรรคจะอยู่ที่ จะทำอย่างไรจึงจะเพิ่มประสิทธิภาพเศรษฐกิจไทย เพราะปัญหาทั้งหมดมาจากเรื่องประสิทธิภาพ ที่มีช่องโหว่มาก แนวคิดมีค่อนข้างครบถ้วนแล้ว พูดได้ชัดว่าบางส่วนมีรัฐบาลแทรกแซงคือใช้เงิน แต่ใช้เงินอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ต้องดูเงินของรัฐบาลและเงินที่จะเข้ามา และใช้ประชาชนเป็นตัวตั้ง ที่ผ่านมาใช้ตัวเลขมหภาคเป็นหลัก แต่เมื่อมองในภาคประชาชนไม่ได้เป็นตามนั้น ยังมีปัญหา มีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจสูงติดลำดับ 10 ประเทศที่สูงที่สุดในโลก
ส่วนจะนำรายละเอียดของนโยบายมาเผยแพร่ทั้งหมดได้เมื่อใดนั้น คงต้องกลั่นกรองสักระยะ บางส่วนก็ต้องรอความชัดเจนทางการเมือง ต้องรอจังหวะเวลาในการประกาศ คาดว่า ตั้งแต่ช่วงต้นเดือนมิถุนายน พรรคจะพร้อมเปิดตัวนโยบายของพรรคต่อสาธารณชน
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 21 พ.ค. 2549--จบ--
ในช่วงท้ายนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)มีนโยบายค่อนข้างชัดเจนที่จะแทรกแซงไม่ให้เงินบาทแข็งเกินไป สะท้อนให้เห็นว่า ธปท.กังวลถึงอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยมากกว่ากังวลเรื่องของอัตราเงินเฟ้อ การที่เงินบาทอ่อนตัวแล้วทำให้การแข่งขันในการส่งออกดีขึ้น แต่เงินเฟ้อสูงขึ้น ดูผิวเผินแข่งขันด้านการส่งออกได้มากขึ้น แต่เมื่อหักด้วยอัตราเงินเฟ้อ อัตราการแข่งขันได้อาจไม่ดีขึ้น ซึ่งเรื่องนี้หลายฝ่ายก็เริ่มเห็นแล้ว
นายกรณ์กล่าวว่า แนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยนั้น อาจจะมีโอกาสต่ำกว่าเป้าในช่วงสูญญากาศทางการเมือง เมื่อมองในรายรับของรัฐบาล จะเห็นว่า รายได้ต่ำกว่าเป้าหมาย ภาษีต่ำกว่าเป้ามา 2 เดือนแล้ว และมีแนวโน้มการเก็บภาษีที่เริ่มชะลอตัวลงมาตั้งแต่ 3 ปีก่อน เมื่อปี 2547 อัตราขยายตัวของการเก็บภาษีอยู่ที่ร้อยละ 16 เมื่อเทียบกับปี 2546 เมื่อถึงปี 2548 ลดลงเหลือร้อยละ 12 คาดว่าในปี 2549 จะเหลือไม่ถึงร้อยละ 10 และคาดการณ์ว่าจะเก็บเพิ่มขึ้นในปี 2550 เพียงแค่ร้อยละ 7-8 เมื่อเพิ่มรายได้ไม่ได้ในอัตราเหมือนเคย ความสามารถของรัฐบาลในอนาคตเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจก็จะลดลง ในอนาคตจะหวังให้ภาครัฐเป็นผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจเหมือน 4-5 ปีก่อนจะเป็นไปได้ยากกว่า
นายกรณ์กล่าวว่า ที่น่าเป็นห่วงคือ วิธีการใช้งบประมาณ แม้ว่างบประมาณขยายตัวทุกปี แต่ผูกกับงบประจำและประชานิยมสูงมาก คาดว่าปี 2549 สัดส่วนการลงทุนภาครัฐคงเพียงร้อยละ 5 ของจีดีพี ราว 3.65 แสนล้านบาท ถือว่าต่ำไปที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระดับที่รัฐวางไว้ และยังไม่มีรัฐบาลอนุมัติงบลงทุนให้รัฐวิสาหกิจ หากล่าช้าไป การขยายตัวของเศรษฐกิจที่จะเริ่มฟื้นตัวในปี 2549 คงเป็นไปได้ยาก อาจต้องรอในปี 2550 บนสมมติฐานที่จะมีรัฐบาลบริหารจริงจังในปลายปี 2549 แต่ในภาพรวมยังไม่มีความกังวลมากนัก แต่ด้วยปัจจัยจากเศรษฐกิจโลก ราคาน้ำมัน อัตราดอกเบี้ย ขยับตัวสูงขึ้น ยังนิ่งนอนใจไม่ได้ว่า เศรษฐกิจจะดีได้หากไม่มีรัฐบาลมาขับเคลื่อน
"หวังในแง่ดีว่า ภาพรวม แนวโน้มการลงทุนจะดีขึ้นได้ สภาวะเศรษฐกิจมหภาคยังแข็งแกร่งอยู่มากเมื่อเทียบกับขนาดของเศรษฐกิจ ประเทศคงไม่เข้าสู่วิกฤตเศรษฐกิจ แม้ไม่มีรัฐบาล เศรษฐกิจก็อาจจะขยายตัวในระดับร้อยละ 4-4.5 ยังมีเวลาให้ภาคการเมืองแก้ปัญหาการเมืองโดยไม่กระทบเสถียรภาพของเศรษฐกิจไทย การลงทุนภาคเอกชน ยังมีระดับสูงต่อเนื่อง ยังหวังได้ว่าจะมีการขับเคลื่อนของภาคเอกชนในการลงทุน" นายกรณ์
กล่าว
นายกรณ์ยังได้กล่าวถึงนโนบายของพรรคประชาธิปัตย์ว่า วาระประชาชนในภาคเศรษฐกิจเรื่องสำคัญที่สุดคือ ปัญหาปากท้องของประชาชน ทั้งปัญหารายได้และหนี้ภาคประชาชน ซึ่งปัญหาหนี้ภาคประชาชน พรรคให้ความสำคัญที่สุด จะต้องหาทางให้ประชาชนระดับรากหญ้าเริ่มชีวิตได้ใหม่อย่างยั่งยืน ต้องหาวิธีให้เขาหลุดจากวัฏจักรการก่อหนี้ก่อน
สำหรับในภาคเกษตรนั้น จะสะท้อนให้เห็นรายได้ที่ยั่งยืน เรื่องหนี้จะเป็นปัญหาที่หนักที่สุดของกลุ่มเกษตรกรและแรงงาน ดังนั้น การแก้ปัญหาภาคเกษตร นอกจากราคาผลผลิตก็ต้องมีเรื่องหนี้ ในการแก้ปัญหาหนี้ ต้องระวังการสร้างความหวังให้แก่ประชาชนว่า จะหักล้างหนี้ที่มีอยู่โดยไม่มีเงื่อนไข เพราะไม่มีเงินเพียงพอ แต่จะเปลี่ยนวัฒนธรรมและความสามารถในการคิดของประชาชนรากหญ้าในเรื่องการใช้จ่ายและก่อหนี้ให้ได้ ในส่วนภาคเกษตรจะอิงกับแนวพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียง
นายกรณ์กล่าวว่า การใช้หักล้างหนี้ที่เกิดขึ้นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา จำเป็นต้องใช้เงิน แต่จะใช้อย่างไร เพื่อช่วยเปลี่ยนพฤติกรรมและทำความเข้าใจต่อประชาชนระดับรากหญ้าในแง่ของปัญหา สิ่งที่พรรคจะนำเสนอคือ ใช้เงินส่วนหนึ่ง คือการมีสวัสดิการ ที่จะมีผลยั่งยืน แตกต่างจากประชานิยมที่มีผลชั่วคราว เหวี่ยงแห เพื่อคะแนนนิยมในระยะสั้น
สำหรับเศรษฐกิจภาพรวม ในเชิงปรัชญาต้องมีนโยบายที่เปิดให้ภาคธุรกิจแข่งขันในกลไกตลาดอย่างเต็มที่โดยไม่มีรัฐแทรกแซง โดยมีสวัสดิการสังคมเข้ามารองรับ ซึ่งแตกต่างจากนโยบายประชานิยมอย่างสิ้นเชิง นโยบายเศรษฐกิจที่มีสวัสดิการมารองรับนี้จะเป็นนโยบายสองแพร่ง ขาหนึ่งทำอย่างไรที่จะสร้างธรรมาภิบาลและการแข่งขันในภาคธุรกิจ อีกขาหนึ่งรองรับส่วนที่เข้ามาในภาคธุรกิจไมได้
นายกรณ์กล่าวว่า หลักที่คิดเป็นโจทย์ของการคิดนโยบายของพรรคจะอยู่ที่ จะทำอย่างไรจึงจะเพิ่มประสิทธิภาพเศรษฐกิจไทย เพราะปัญหาทั้งหมดมาจากเรื่องประสิทธิภาพ ที่มีช่องโหว่มาก แนวคิดมีค่อนข้างครบถ้วนแล้ว พูดได้ชัดว่าบางส่วนมีรัฐบาลแทรกแซงคือใช้เงิน แต่ใช้เงินอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ต้องดูเงินของรัฐบาลและเงินที่จะเข้ามา และใช้ประชาชนเป็นตัวตั้ง ที่ผ่านมาใช้ตัวเลขมหภาคเป็นหลัก แต่เมื่อมองในภาคประชาชนไม่ได้เป็นตามนั้น ยังมีปัญหา มีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจสูงติดลำดับ 10 ประเทศที่สูงที่สุดในโลก
ส่วนจะนำรายละเอียดของนโยบายมาเผยแพร่ทั้งหมดได้เมื่อใดนั้น คงต้องกลั่นกรองสักระยะ บางส่วนก็ต้องรอความชัดเจนทางการเมือง ต้องรอจังหวะเวลาในการประกาศ คาดว่า ตั้งแต่ช่วงต้นเดือนมิถุนายน พรรคจะพร้อมเปิดตัวนโยบายของพรรคต่อสาธารณชน
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 21 พ.ค. 2549--จบ--