นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ สรุปผลการดำเนินการบริหารจัดการหนี้ของภาครัฐประจำเดือนธันวาคม 2548 และในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2549 (ตุลาคม — ธันวาคม 2548) พร้อมทั้งสถานะหนี้สาธารณะล่าสุด ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2548 ดังนี้
1. การปรับโครงสร้างหนี้ของภาครัฐ
1.1 ในเดือนธันวาคม 2548 :-
(1) ด้านต่างประเทศ
รัฐวิสาหกิจได้ปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ต่างประเทศจากธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (Japan Bank for International Cooperation : JBIC) วงเงินรวม 29,251 ล้านเยน หรือเทียบเท่า 9,995 ล้านบาท ได้แก่ (1) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคชำระคืนหนี้ก่อนครบกำหนด 6,019 ล้านเยน หรือเทียบเท่า 2,087 ล้านบาท ทำให้ลดยอดคงค้างได้ 2,087 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยในอนาคตได้ 360 ล้านบาท นอกจากนี้ได้ Refinance เงินกู้ด้วยเงินบาท 14,745 ล้านเยน หรือเทียบเท่า 5,000 ล้านบาท ทำให้ลดภาระดอกเบี้ยได้ 340 ล้านบาท และ (2) บริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ชำระคืนหนี้ก่อนครบกำหนด 8,487 ล้านเยน หรือเทียบเท่า 2,908 ล้านบาท ทำให้ลดยอดหนี้คงค้างได้ 2,908 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยในอนาคตได้ 590 ล้านบาท จากผลการดำเนินงานดังกล่าวสามารถลดยอดหนี้คงค้างได้รวม 4,995 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยในอนาคตได้ 1,290 ล้านบาท
(2) ด้านในประเทศ
กระทรวงการคลังได้ปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรเพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF1) ที่ครบกำหนดเมื่อเดือนตุลาคม 2548 จำนวน 50,000 ล้านบาท ด้วยการดำเนินการออกพันธบัตร 40,000 ล้านบาท และตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ 10,000 ล้านบาท โดยในชั้นแรกได้กู้เงินระยะสั้น 46,000 ล้านบาท สมทบกับเงินที่ได้จากการประมูลพันธบัตรงวดแรก 4,000 ล้านบาท เพื่อไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนด แล้วทยอยออกพันธบัตร/ตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้มาชำระคืนเงินกู้ระยะสั้น โดยได้รับเงินจากการประมูลพันธบัตรในเดือนนี้ 10,500 ล้านบาท
สำหรับรัฐวิสาหกิจ การทางพิเศษแห่งประเทศไทยและองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพได้กู้เงินในประเทศเพื่อ Roll Over หนี้เดิมรวม 2,900 ล้านบาท
1.2 ในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2549 :-
(1) ด้านต่างประเทศ
กระทรวงการคลังได้ชำระคืนเงินกู้ ECP (Euro Commercial Paper) ที่ใช้เป็นBridge Financing ในการ Refinance เงินกู้ JBIC (Japan Bank for International Cooperation) ก่อนครบกำหนดวงเงิน 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเทียบเท่า 4,116 ล้านบาท ทำให้ลดยอดหนี้คงค้างได้ 4,116 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยได้ 457 ล้านบาท สำหรับรัฐวิสาหกิจได้ชำระคืนหนี้เงินกู้จาก JBIC ก่อนครบกำหนด 14,506 ล้านเยน หรือเทียบเท่า 4,995 ล้านบาท และ Refinance เงินกู้ JBIC ด้วยเงินบาท 14,754 ล้านเยน หรือเทียบเท่า 5,000 ล้านบาท ผลจากการดำเนินการดังกล่าวทำให้สามารถลดยอดหนี้คงค้างได้รวม 4,995 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยในอนาคตได้
ด้านในประเทศ
กระทรวงการคลังได้ปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรเพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF1) รวม 50,000 ล้านบาท และ Roll Over หนี้ของรัฐวิสาหกิจรวม 7,900 ล้านบาท
2. การกู้เงินของภาครัฐ
2.1 ในเดือนธันวาคม 2548 :-
กระทรวงการคลังได้ออกพันธบัตรเพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF3) โดยออกพันธบัตรออมทรัพย์ 2,000 ล้านบาท สำหรับรัฐวิสาหกิจได้กู้เงินในประเทศรวม 6,622 ล้านบาท โดยเป็นการกู้เพื่อลงทุน 2,622 ล้านบาท และกู้เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในการดำเนินงาน 4,000 ล้านบาท
2.2 ในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2549 :-
ภาครัฐได้กู้เงินรวม 22,756 ล้านบาท เป็นการกู้ของรัฐวิสาหกิจตามแผนก่อหนี้จากต่างประเทศ 250 ล้านบาท และการกู้เงินในประเทศ 22,506 ล้านบาท ซึ่งเป็นการกู้ของกระทรวงการคลัง 9,500 ล้านบาท และรัฐวิสาหกิจ 13,006 ล้านบาท
3. การชำระหนี้ของรัฐบาล
3.1 ในเดือนธันวาคม 2548 :-
กระทรวงการคลังได้ดำเนินการชำระหนี้จากงบประมาณ 7,068 ล้านบาท เป็นการชำระคืนเงินต้น 601 ล้านบาท ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมรวม 6,467 ล้านบาท
3.2 ในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2549 :-
กระทรวงการคลังได้ชำระคืนต้นเงินกู้และดอกเบี้ยจากงบประมาณรวม 24,971 ล้านบาท
สถานะหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2548
ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2548 มีจำนวน 3,258,947 ล้านบาท หรือร้อยละ 45.89 ของ GDP เป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 1,817,368 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 1,015,604 ล้านบาท และหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 425,975 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหนี้สาธารณะลดลง 6,716 ล้านบาท โดยหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงเพิ่มขึ้น 2,749 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินลดลง 7,111 ล้านบาท และหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลง 2,354 ล้านบาท
หนี้สาธารณะจำแนกได้เป็นหนี้ต่างประเทศ 591,997 ล้านบาท หรือร้อยละ 18.17 และหนี้ในประเทศ 2,666,949 ล้านบาท หรือร้อยละ 81.83 และเป็นหนี้ระยะยาว 2,657,271 ล้านบาท หรือร้อยละ 81.54 และหนี้ระยะสั้น 601,676 ล้านบาท หรือร้อยละ 18.46 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 5/2549 17มกราคม 49--
1. การปรับโครงสร้างหนี้ของภาครัฐ
1.1 ในเดือนธันวาคม 2548 :-
(1) ด้านต่างประเทศ
รัฐวิสาหกิจได้ปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ต่างประเทศจากธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (Japan Bank for International Cooperation : JBIC) วงเงินรวม 29,251 ล้านเยน หรือเทียบเท่า 9,995 ล้านบาท ได้แก่ (1) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคชำระคืนหนี้ก่อนครบกำหนด 6,019 ล้านเยน หรือเทียบเท่า 2,087 ล้านบาท ทำให้ลดยอดคงค้างได้ 2,087 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยในอนาคตได้ 360 ล้านบาท นอกจากนี้ได้ Refinance เงินกู้ด้วยเงินบาท 14,745 ล้านเยน หรือเทียบเท่า 5,000 ล้านบาท ทำให้ลดภาระดอกเบี้ยได้ 340 ล้านบาท และ (2) บริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ชำระคืนหนี้ก่อนครบกำหนด 8,487 ล้านเยน หรือเทียบเท่า 2,908 ล้านบาท ทำให้ลดยอดหนี้คงค้างได้ 2,908 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยในอนาคตได้ 590 ล้านบาท จากผลการดำเนินงานดังกล่าวสามารถลดยอดหนี้คงค้างได้รวม 4,995 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยในอนาคตได้ 1,290 ล้านบาท
(2) ด้านในประเทศ
กระทรวงการคลังได้ปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรเพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF1) ที่ครบกำหนดเมื่อเดือนตุลาคม 2548 จำนวน 50,000 ล้านบาท ด้วยการดำเนินการออกพันธบัตร 40,000 ล้านบาท และตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ 10,000 ล้านบาท โดยในชั้นแรกได้กู้เงินระยะสั้น 46,000 ล้านบาท สมทบกับเงินที่ได้จากการประมูลพันธบัตรงวดแรก 4,000 ล้านบาท เพื่อไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนด แล้วทยอยออกพันธบัตร/ตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้มาชำระคืนเงินกู้ระยะสั้น โดยได้รับเงินจากการประมูลพันธบัตรในเดือนนี้ 10,500 ล้านบาท
สำหรับรัฐวิสาหกิจ การทางพิเศษแห่งประเทศไทยและองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพได้กู้เงินในประเทศเพื่อ Roll Over หนี้เดิมรวม 2,900 ล้านบาท
1.2 ในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2549 :-
(1) ด้านต่างประเทศ
กระทรวงการคลังได้ชำระคืนเงินกู้ ECP (Euro Commercial Paper) ที่ใช้เป็นBridge Financing ในการ Refinance เงินกู้ JBIC (Japan Bank for International Cooperation) ก่อนครบกำหนดวงเงิน 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเทียบเท่า 4,116 ล้านบาท ทำให้ลดยอดหนี้คงค้างได้ 4,116 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยได้ 457 ล้านบาท สำหรับรัฐวิสาหกิจได้ชำระคืนหนี้เงินกู้จาก JBIC ก่อนครบกำหนด 14,506 ล้านเยน หรือเทียบเท่า 4,995 ล้านบาท และ Refinance เงินกู้ JBIC ด้วยเงินบาท 14,754 ล้านเยน หรือเทียบเท่า 5,000 ล้านบาท ผลจากการดำเนินการดังกล่าวทำให้สามารถลดยอดหนี้คงค้างได้รวม 4,995 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยในอนาคตได้
ด้านในประเทศ
กระทรวงการคลังได้ปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรเพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF1) รวม 50,000 ล้านบาท และ Roll Over หนี้ของรัฐวิสาหกิจรวม 7,900 ล้านบาท
2. การกู้เงินของภาครัฐ
2.1 ในเดือนธันวาคม 2548 :-
กระทรวงการคลังได้ออกพันธบัตรเพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF3) โดยออกพันธบัตรออมทรัพย์ 2,000 ล้านบาท สำหรับรัฐวิสาหกิจได้กู้เงินในประเทศรวม 6,622 ล้านบาท โดยเป็นการกู้เพื่อลงทุน 2,622 ล้านบาท และกู้เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในการดำเนินงาน 4,000 ล้านบาท
2.2 ในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2549 :-
ภาครัฐได้กู้เงินรวม 22,756 ล้านบาท เป็นการกู้ของรัฐวิสาหกิจตามแผนก่อหนี้จากต่างประเทศ 250 ล้านบาท และการกู้เงินในประเทศ 22,506 ล้านบาท ซึ่งเป็นการกู้ของกระทรวงการคลัง 9,500 ล้านบาท และรัฐวิสาหกิจ 13,006 ล้านบาท
3. การชำระหนี้ของรัฐบาล
3.1 ในเดือนธันวาคม 2548 :-
กระทรวงการคลังได้ดำเนินการชำระหนี้จากงบประมาณ 7,068 ล้านบาท เป็นการชำระคืนเงินต้น 601 ล้านบาท ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมรวม 6,467 ล้านบาท
3.2 ในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2549 :-
กระทรวงการคลังได้ชำระคืนต้นเงินกู้และดอกเบี้ยจากงบประมาณรวม 24,971 ล้านบาท
สถานะหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2548
ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2548 มีจำนวน 3,258,947 ล้านบาท หรือร้อยละ 45.89 ของ GDP เป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 1,817,368 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 1,015,604 ล้านบาท และหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 425,975 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหนี้สาธารณะลดลง 6,716 ล้านบาท โดยหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงเพิ่มขึ้น 2,749 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินลดลง 7,111 ล้านบาท และหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลง 2,354 ล้านบาท
หนี้สาธารณะจำแนกได้เป็นหนี้ต่างประเทศ 591,997 ล้านบาท หรือร้อยละ 18.17 และหนี้ในประเทศ 2,666,949 ล้านบาท หรือร้อยละ 81.83 และเป็นหนี้ระยะยาว 2,657,271 ล้านบาท หรือร้อยละ 81.54 และหนี้ระยะสั้น 601,676 ล้านบาท หรือร้อยละ 18.46 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 5/2549 17มกราคม 49--