คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันอังคารที่ 25 ตุลาคม 2548 เห็นชอบการยกเว้นอากรขาเข้าเหลือร้อยละ 0 สำหรับการนำเข้าสินค้าเกษตรจำนวน 10 รายการ ได้แก่ ถั่วเหลือง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ละหุ่ง มันฝรั่ง ข้าวโพดหวาน เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ยูคาลิปตัส ถั่วลิสง ลูกเดือย และถั่วเขียวผิวมัน ภายใต้ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัมพูชา ลาว พม่า และไทย (Ayeyawady - Chao Phraya — Mekong Economic Cooperation Strategy : ACMECS) ในโครงการ Contract Farming ให้กับประเทศเพื่อนบ้าน ในบริเวณชายแดน 3 แห่งใน 3 จังหวัดนำร่อง ได้แก่ ชายแดนแม่สอด-เมียวดี (ไทย-พม่า) ชายแดนเลย-ไชยะบุรี (ไทย-ลาว ) และชายแดนจันทบุรี-พระตะบอง (ไทย-กัมพูชา) และเพื่อ เป็นการผ่อนปรนและอำนวยความสะดวกในการนำเข้าของที่ได้รับยกเว้นอากรไม่ต้องมีใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า แต่ใช้หนังสือรับรองจากผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ที่ผู้ว่าฯ มอบหมาย เพื่อให้กรมศุลกากรใช้เป็นหลักฐานในการอนุญาตให้สินค้าเข้าประเทศได้ ซึ่งเป็นมาตรการระยะสั้นเพื่อรองรับการนำเข้าพืชเป้าหมายดังกล่าว ในช่วงระหว่างเดือนตุลาคม 2548 — เมษายน 2549 ตามแผนการลงทุน
สืบเนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2546 เห็นชอบให้ดำเนินนโยบายยกเว้นอากรขาเข้าเหลือร้อยละ 0 สำหรับสินค้าเกษตร 8 รายการได้แก่ ถั่วเหลือง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ละหุ่ง มันฝรั่ง ข้าวโพดหวาน เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ยูคาลิปตัส และถั่วลิสง (ซึ่งต่อมาในปี 2548 ได้เพิ่มลูกเดือย และถั่วเขียวผิวมัน เป็นจำนวน 10 รายการ) ภายใต้ยุทธศาสตร์ ACMECS ในโครงการ Contract Farming ให้กับประเทศกัมพูชา พม่า และลาว เพื่อให้มีการเพาะปลูกและนำเข้าสินค้าเกษตรโดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องนำเข้าภายใต้กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า และมีหลักเกณฑ์การนำเข้าภายใต้กรอบ AISP
โครงการ Contract Farming ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน เป็นโครงการในสาขาความร่วมมือทางการเกษตรและอุตสาหกรรม ภายใต้การดำเนินการตามตามยุทธศาสตร์ความร่วมมือACMECS เป็นการลงทุนในพืชเป้าหมายที่มีความเหมาะสมในการย้ายฐานการลงทุนจากประเทศไทยไปประเทศเพื่อนบ้าน ต้องใช้แรงงานในการเก็บเกี่ยวจำนวนมาก และเป็นพืชที่ต้องนำเข้าและสอดคล้องกับความต้องการของภาคเอกชน ที่ต้องการนำมาเป็นปัจจัยการผลิตหรือเพิ่มมูลค่าสินค้าในประเทศ
โดยปกติการนำเข้าโดยได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร ต้องมีใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าที่ออกโดยประเทศผู้ส่งออก แต่เนื่องจากประเทศไทยต้องการผ่อนปรนและอำนวยความสะดวกแก่การนำเข้าสินค้าภายใต้โครงการ Contract Farming จึงให้ใช้หนังสือรับรองแทน โดยการนำเข้าต้องผ่านด่านศุลกากรบริเวณชายแดนใน 3 จังหวัดนำร่อง ได้แก่ ด่านศุลกากรแม่สอด ด่านศุลกากรท่าลี่ ด่านศุลกากรเชียงคาน และด่านศุลกากรจันทบุรี
ผลที่ได้คาดว่าจะได้รับจากการนำเข้าสินค้าภายใต้โครงการ Contract Farming โดยยกเว้นอากรขาเข้า
(1) เป็นการสร้างงานสร้างรายได้อย่างเป็นรูปธรรมให้แก่ประชาชนของประเทศเพื่อนบ้าน
(2) ขยายผลให้เกิดการลงทุนธุรกิจต่อเนื่องด้านเกษตรระหว่าง 2 ประเทศ
(2) ลดการเคลื่อนย้ายแรงงานที่ผิดกฎหมายและปัญหาชายแดนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(3) ลดผลกระทบในเรื่องสาธารณสุขและสังคมจากปัญหาแรงงานผิดกฎหมาย
(4) สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน
(5) ช่วยลดช่องว่างในการพัฒนาระหว่างไทยและประเทศเพื่อนบ้าน
(6) ลดต้นทุนการผลิตของไทย เนื่องจากได้วัตถุดิบราคาถูก
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 93/2548 25 ตุลาคม 48--
สืบเนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2546 เห็นชอบให้ดำเนินนโยบายยกเว้นอากรขาเข้าเหลือร้อยละ 0 สำหรับสินค้าเกษตร 8 รายการได้แก่ ถั่วเหลือง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ละหุ่ง มันฝรั่ง ข้าวโพดหวาน เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ยูคาลิปตัส และถั่วลิสง (ซึ่งต่อมาในปี 2548 ได้เพิ่มลูกเดือย และถั่วเขียวผิวมัน เป็นจำนวน 10 รายการ) ภายใต้ยุทธศาสตร์ ACMECS ในโครงการ Contract Farming ให้กับประเทศกัมพูชา พม่า และลาว เพื่อให้มีการเพาะปลูกและนำเข้าสินค้าเกษตรโดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องนำเข้าภายใต้กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า และมีหลักเกณฑ์การนำเข้าภายใต้กรอบ AISP
โครงการ Contract Farming ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน เป็นโครงการในสาขาความร่วมมือทางการเกษตรและอุตสาหกรรม ภายใต้การดำเนินการตามตามยุทธศาสตร์ความร่วมมือACMECS เป็นการลงทุนในพืชเป้าหมายที่มีความเหมาะสมในการย้ายฐานการลงทุนจากประเทศไทยไปประเทศเพื่อนบ้าน ต้องใช้แรงงานในการเก็บเกี่ยวจำนวนมาก และเป็นพืชที่ต้องนำเข้าและสอดคล้องกับความต้องการของภาคเอกชน ที่ต้องการนำมาเป็นปัจจัยการผลิตหรือเพิ่มมูลค่าสินค้าในประเทศ
โดยปกติการนำเข้าโดยได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร ต้องมีใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าที่ออกโดยประเทศผู้ส่งออก แต่เนื่องจากประเทศไทยต้องการผ่อนปรนและอำนวยความสะดวกแก่การนำเข้าสินค้าภายใต้โครงการ Contract Farming จึงให้ใช้หนังสือรับรองแทน โดยการนำเข้าต้องผ่านด่านศุลกากรบริเวณชายแดนใน 3 จังหวัดนำร่อง ได้แก่ ด่านศุลกากรแม่สอด ด่านศุลกากรท่าลี่ ด่านศุลกากรเชียงคาน และด่านศุลกากรจันทบุรี
ผลที่ได้คาดว่าจะได้รับจากการนำเข้าสินค้าภายใต้โครงการ Contract Farming โดยยกเว้นอากรขาเข้า
(1) เป็นการสร้างงานสร้างรายได้อย่างเป็นรูปธรรมให้แก่ประชาชนของประเทศเพื่อนบ้าน
(2) ขยายผลให้เกิดการลงทุนธุรกิจต่อเนื่องด้านเกษตรระหว่าง 2 ประเทศ
(2) ลดการเคลื่อนย้ายแรงงานที่ผิดกฎหมายและปัญหาชายแดนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(3) ลดผลกระทบในเรื่องสาธารณสุขและสังคมจากปัญหาแรงงานผิดกฎหมาย
(4) สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน
(5) ช่วยลดช่องว่างในการพัฒนาระหว่างไทยและประเทศเพื่อนบ้าน
(6) ลดต้นทุนการผลิตของไทย เนื่องจากได้วัตถุดิบราคาถูก
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 93/2548 25 ตุลาคม 48--