กรุงเทพ--9 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้รับการแต่งตั้งจากนายกรัฐมนตรีให้เป็นผู้แทนรัฐบาลไทยเข้าร่วมพิธีรับตำแหน่งประธานาธิบดีสาธารณรัฐชิลีของนาง Michelle Bachelet Jeria และพิธีอำลาตำแหน่งของประธานาธิบดี Ricardo Lagos Escobar ระหว่างวันที่ 8-15 มีนาคม 2549 ณ กรุงซานติอาโก สาธารณรัฐชิลี
นาง Michelle Bachelet Jeria จาก Socialist Party ชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีในการเลือกตั้งรอบสองเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2549 โดยได้รับคะแนนเสียงร้อยละ 53.5
นาง Bachelet เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในรัฐบาลของประธานาธิบดี Lagos และเป็นประธานาธิบดีคนที่ 4 ที่มาจากกลุ่มพรรคพันธมิตร Concertaci?n
ซึ่งเข้าบริหารประเทศติดต่อกันตั้งแต่ปี 2533 (ค.ศ. 1990) อันเป็นช่วงสิ้นสุดการปกครองโดย
นายพล Pinochet ทั้งนี้ นาง Bachelet จะทำพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 11 มีนาคม 2549
ชิลีเป็นประเทศที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในภูมิภาคลาตินอเมริกา เศรษฐกิจของชิลีในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา มีการขยายตัวเป็นอย่างมาก เนื่องมาจากการขยายการส่งออก โดยเฉพาะทองแดง ผลไม้สด และอาหารทะเล ประกอบกับปริมาณการลงทุนทั้งในและต่างประเทศที่ขยายเพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจมีความมั่นคง การว่างงานลดลง ธนาคารชาติชิลีได้ประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 2549 ไว้ที่ร้อยละ 5.5-6
ชิลีเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทยในภูมิภาคลาตินอเมริกา และเป็นคู่ค้าลำดับที่ 57 ของไทย โดยมีมูลค่าการค้ารวม 283.1 ล้านเหรียญสหรัฐ (พ.ศ. 2548) สินค้าที่ไทยส่งออกไปชิลี ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ปูนซิเมนต์ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป
ผลิตภัณฑ์ยาง ยางพารา เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล เครื่องซักผ้า เครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ ส่วนสินค้าที่ไทยนำเข้าจากชิลี ได้แก่ สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ ไม้ซุง ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ กระดาษ และผลิตภัณฑ์กระดาษ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ปุ๋ย และยากำจัดศัตรูพืชและสัตว์ ทั้งนี้ ไทยกับชิลี ได้เห็นชอบร่วมกันที่จะจัดทำการศึกษาความเป็นไปได้เพื่อจัดทำ FTA
ไทยต้องการขยายความสัมพันธ์กับชิลีในทุกระดับ โดยเฉพาะการพัฒนาการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์และให้ชิลีเป็นประตู (gateway) สู่ประเทศอื่นในลาตินอเมริกาและ ไทยสามารถใช้เขตการค้าเสรีที่ชิลีทำกับประเทศต่างๆ เป็นช่องทางส่งสินค้าของไทยผ่านไปยังประเทศ ในลาตินอเมริกา เช่น เปรู โบลิเวีย ปารากวัย อาร์เจนตินาและบราซิล นอกจากนั้น ไทยยังต้องการขยายความร่วมมือทางด้านเทคโนโลยี สังคม วัฒนธรรมและวิชาการ เปิดตลาดท่องเที่ยวไทย รวมทั้งสร้างความร่วมมือในเวทีพหุภาคีเพื่อสร้างอำนาจการต่อรองในเวทีเศรษฐกิจ/การเมืองระหว่างประเทศ อาทิ ในกรอบสหประชาชาติ เอเปค องค์การรัฐอเมริกัน (OAS) และเวทีความร่วมมือระหว่างเอเชียตะวันออกและลาตินอเมริกา (FEALAC)
ไทยและชิลีสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2505 โดยฝ่ายชิลีเปิดสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยเมื่อเดือนกรกฎาคม 2524 และไทยได้เปิดสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงซันติอาโก เมื่อเดือนเมษายน 2537 เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงซันติอาโกคนปัจจุบันคือ นายพิทยา พุกกะมาน ส่วนเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐชิลีประจำประเทศไทยคนปัจจุบันคือนาย Luis Alberto Sepulveda
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้รับการแต่งตั้งจากนายกรัฐมนตรีให้เป็นผู้แทนรัฐบาลไทยเข้าร่วมพิธีรับตำแหน่งประธานาธิบดีสาธารณรัฐชิลีของนาง Michelle Bachelet Jeria และพิธีอำลาตำแหน่งของประธานาธิบดี Ricardo Lagos Escobar ระหว่างวันที่ 8-15 มีนาคม 2549 ณ กรุงซานติอาโก สาธารณรัฐชิลี
นาง Michelle Bachelet Jeria จาก Socialist Party ชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีในการเลือกตั้งรอบสองเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2549 โดยได้รับคะแนนเสียงร้อยละ 53.5
นาง Bachelet เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในรัฐบาลของประธานาธิบดี Lagos และเป็นประธานาธิบดีคนที่ 4 ที่มาจากกลุ่มพรรคพันธมิตร Concertaci?n
ซึ่งเข้าบริหารประเทศติดต่อกันตั้งแต่ปี 2533 (ค.ศ. 1990) อันเป็นช่วงสิ้นสุดการปกครองโดย
นายพล Pinochet ทั้งนี้ นาง Bachelet จะทำพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 11 มีนาคม 2549
ชิลีเป็นประเทศที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในภูมิภาคลาตินอเมริกา เศรษฐกิจของชิลีในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา มีการขยายตัวเป็นอย่างมาก เนื่องมาจากการขยายการส่งออก โดยเฉพาะทองแดง ผลไม้สด และอาหารทะเล ประกอบกับปริมาณการลงทุนทั้งในและต่างประเทศที่ขยายเพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจมีความมั่นคง การว่างงานลดลง ธนาคารชาติชิลีได้ประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 2549 ไว้ที่ร้อยละ 5.5-6
ชิลีเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทยในภูมิภาคลาตินอเมริกา และเป็นคู่ค้าลำดับที่ 57 ของไทย โดยมีมูลค่าการค้ารวม 283.1 ล้านเหรียญสหรัฐ (พ.ศ. 2548) สินค้าที่ไทยส่งออกไปชิลี ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ปูนซิเมนต์ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป
ผลิตภัณฑ์ยาง ยางพารา เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล เครื่องซักผ้า เครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ ส่วนสินค้าที่ไทยนำเข้าจากชิลี ได้แก่ สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ ไม้ซุง ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ กระดาษ และผลิตภัณฑ์กระดาษ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ปุ๋ย และยากำจัดศัตรูพืชและสัตว์ ทั้งนี้ ไทยกับชิลี ได้เห็นชอบร่วมกันที่จะจัดทำการศึกษาความเป็นไปได้เพื่อจัดทำ FTA
ไทยต้องการขยายความสัมพันธ์กับชิลีในทุกระดับ โดยเฉพาะการพัฒนาการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์และให้ชิลีเป็นประตู (gateway) สู่ประเทศอื่นในลาตินอเมริกาและ ไทยสามารถใช้เขตการค้าเสรีที่ชิลีทำกับประเทศต่างๆ เป็นช่องทางส่งสินค้าของไทยผ่านไปยังประเทศ ในลาตินอเมริกา เช่น เปรู โบลิเวีย ปารากวัย อาร์เจนตินาและบราซิล นอกจากนั้น ไทยยังต้องการขยายความร่วมมือทางด้านเทคโนโลยี สังคม วัฒนธรรมและวิชาการ เปิดตลาดท่องเที่ยวไทย รวมทั้งสร้างความร่วมมือในเวทีพหุภาคีเพื่อสร้างอำนาจการต่อรองในเวทีเศรษฐกิจ/การเมืองระหว่างประเทศ อาทิ ในกรอบสหประชาชาติ เอเปค องค์การรัฐอเมริกัน (OAS) และเวทีความร่วมมือระหว่างเอเชียตะวันออกและลาตินอเมริกา (FEALAC)
ไทยและชิลีสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2505 โดยฝ่ายชิลีเปิดสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยเมื่อเดือนกรกฎาคม 2524 และไทยได้เปิดสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงซันติอาโก เมื่อเดือนเมษายน 2537 เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงซันติอาโกคนปัจจุบันคือ นายพิทยา พุกกะมาน ส่วนเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐชิลีประจำประเทศไทยคนปัจจุบันคือนาย Luis Alberto Sepulveda
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-