นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ตามที่ได้มีผู้ส่งออกสินค้าเครื่องสุขภัณฑ์ไปมาเลเซียร้องเรียนว่ามาเลเซียออกข้อกำหนดให้การนำเข้าสินค้าเครื่องสุขภัณฑ์ กระเบื้องปูพื้น/ผนังเซรามิก ต้องเป็นสินค้าที่ได้รับมาตรฐานรับรองจากหน่วยงานของมาเลเซียเท่านั้น โดยมีขั้นตอนการตรวจสอบสินค้าที่ยุ่งยากซับซ้อนและเสียค่าใช้จ่ายสูง ถือเป็นข้อกีดกันทางการค้า และมิได้บังคับใช้กับสินค้าชนิดเดียวกันภายในประเทศนั้น
กระทรวงพาณิชย์โดยกรมการค้าต่างประเทศได้พิจารณาและดำเนินการแก้ไขปัญหา โดยได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงของปัญหาและมีหนังสือถึงหน่วยงานของมาเลเซียแจ้งข้อกังวลดังกล่าวและขอให้มาเลเซียพิจารณาแก้ไข รวมทั้งได้ประสานกับคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลกและกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ขอให้ยกเรื่องดังกล่าวขึ้นหารือในเวทีต่าง ๆ ด้วย
นอกจากนี้เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา กรม ฯ ได้จัดคณะผู้แทนเดินทางไปมาเลเซีย เพื่อหารือกับหน่วยงานรับผิดชอบของมาเลเซีย ซึ่งผลการหารือสรุปได้ว่า มาเลเซียรับที่จะแก้ไขข้อกำหนดดังกล่าว โดยการขยายระยะเวลาของ Product Certificate จากเดิม 1 ปี เป็น 2 ปี ซึ่งจะลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ผลิต ในการมาตรวจโรงงาน รวมถึงลดค่าใช้จ่ายและขั้นตอนการตรวจสอบสินค้า ณ ด่านนำเข้า รวมทั้ง รับที่จะแก้ไขรายละเอียดของระเบียบภายใน 2 เดือน และ คาดว่าจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ภายในสิ้นปีนี้ ทั้งนี้ เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการตีความระเบียบดังกล่าว
รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า หน่วยงานรับผิดชอบของมาเลเซียได้แจ้งว่า การออกกฎระเบียบต่าง ๆ ออกมาบังคับใช้เพื่อเป็นการป้องกันการนำเข้าสินค้าด้อยคุณภาพ ซึ่งฝ่ายไทยได้ขอให้มาเลเซียมั่นใจว่าสินค้าเครื่องสุขภัณฑ์ของไทยเป็นสินค้าคุณภาพดีได้มาตรฐานที่สามารถส่งออกไปได้ทั่วโลก ทั้งนี้ มาเลเซียรับว่าหากมีการออกกฎระเบียบใหม่ที่เกี่ยวข้องกับสินค้านำเข้า จะแจ้งให้ฝ่ายไทยทราบ เพื่อให้ผู้ประกอบการของไทยสามารถปฏิบัติตามได้โดยไม่เกิดปัญหาอุปสรรคในการส่งออกไปมาเลเซียต่อไป ซึ่งกรมการค้าต่างประเทศ จะได้ติดตามผลจากการหารือดังกล่าวอย่างใกล้ชิด
อนึ่ง ในช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน 2549 มาเลเซียเป็นตลาดส่งออกสินค้าเครื่องสุขภัณฑ์ที่สำคัญอันดับ 7 ของไทย ซึ่งไทยมีมูลค่าการส่งออกประมาณ 258 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 24 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 9.3
--กรมการค้าต่างประเทศ--
-สส-
กระทรวงพาณิชย์โดยกรมการค้าต่างประเทศได้พิจารณาและดำเนินการแก้ไขปัญหา โดยได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงของปัญหาและมีหนังสือถึงหน่วยงานของมาเลเซียแจ้งข้อกังวลดังกล่าวและขอให้มาเลเซียพิจารณาแก้ไข รวมทั้งได้ประสานกับคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลกและกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ขอให้ยกเรื่องดังกล่าวขึ้นหารือในเวทีต่าง ๆ ด้วย
นอกจากนี้เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา กรม ฯ ได้จัดคณะผู้แทนเดินทางไปมาเลเซีย เพื่อหารือกับหน่วยงานรับผิดชอบของมาเลเซีย ซึ่งผลการหารือสรุปได้ว่า มาเลเซียรับที่จะแก้ไขข้อกำหนดดังกล่าว โดยการขยายระยะเวลาของ Product Certificate จากเดิม 1 ปี เป็น 2 ปี ซึ่งจะลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ผลิต ในการมาตรวจโรงงาน รวมถึงลดค่าใช้จ่ายและขั้นตอนการตรวจสอบสินค้า ณ ด่านนำเข้า รวมทั้ง รับที่จะแก้ไขรายละเอียดของระเบียบภายใน 2 เดือน และ คาดว่าจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ภายในสิ้นปีนี้ ทั้งนี้ เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการตีความระเบียบดังกล่าว
รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า หน่วยงานรับผิดชอบของมาเลเซียได้แจ้งว่า การออกกฎระเบียบต่าง ๆ ออกมาบังคับใช้เพื่อเป็นการป้องกันการนำเข้าสินค้าด้อยคุณภาพ ซึ่งฝ่ายไทยได้ขอให้มาเลเซียมั่นใจว่าสินค้าเครื่องสุขภัณฑ์ของไทยเป็นสินค้าคุณภาพดีได้มาตรฐานที่สามารถส่งออกไปได้ทั่วโลก ทั้งนี้ มาเลเซียรับว่าหากมีการออกกฎระเบียบใหม่ที่เกี่ยวข้องกับสินค้านำเข้า จะแจ้งให้ฝ่ายไทยทราบ เพื่อให้ผู้ประกอบการของไทยสามารถปฏิบัติตามได้โดยไม่เกิดปัญหาอุปสรรคในการส่งออกไปมาเลเซียต่อไป ซึ่งกรมการค้าต่างประเทศ จะได้ติดตามผลจากการหารือดังกล่าวอย่างใกล้ชิด
อนึ่ง ในช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน 2549 มาเลเซียเป็นตลาดส่งออกสินค้าเครื่องสุขภัณฑ์ที่สำคัญอันดับ 7 ของไทย ซึ่งไทยมีมูลค่าการส่งออกประมาณ 258 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 24 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 9.3
--กรมการค้าต่างประเทศ--
-สส-