กรุงเทพ--16 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2549 นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และนายเกริกไกร จีระแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้เข้าร่วมการประชุมอย่างไม่เป็นทางการ (Retreat) ของรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชียและแปซิฟิก (เอเปค) ณ กรุงฮานอย เวียดนาม ซึ่งที่ประชุมได้หารือกันในประเด็นสำคัญ 6 เรื่อง ดังนี้
1. บทบาทของเอเปคในการสนับสนุนองค์การการค้าโลก (WTO) ในการแก้ปัญหาความชะงักงันของการเจรจาการค้ารอบโดฮา ซึ่งไทยยืนยันความมุ่งมั่นในการสนับสนุนให้ WTO เริ่มการเจรจาการค้ารอบโดฮาอีกครั้งโดยเร็ว และเห็นพ้องกับสมาชิกเอเปคอื่นๆ ในการเสนอให้ที่ประชุมผู้นำเอเปคมีแถลงการณ์ในเรื่องนี้แยกต่างหากเป็นการเฉพาะ นอกจากนี้ ที่ประชุมยังหารือกันในเรื่องการจัดทำตัวอย่างการเจรจาเขตการค้าเสรี (FTA) ใน 14 หัวข้อ ซึ่งไทยเป็นผู้ยกร่าง 4 หัวข้อคือ ความร่วมมือ มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด มาตรการอุดหนุนการส่งออก และข้อตกลงว่าด้วยสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช
2. แนวคิดการจัดตั้งเขตการค้าเสรีเอเปค ที่ประชุมฯ เห็นพ้องกันว่า เรื่องนี้อาจเป็นเป้าหมายระยะยาว และขอให้เจ้าหน้าที่อาวุโสศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม โดยไม่มีผลผูกพัน ในชั้นนี้ สมาชิกเอเปคจะให้ความสำคัญกับการดำเนินการตามเป้าหมายโบกอร์ (Bogor Goals) ให้มีการค้าและการลงทุนที่เสรีระหว่างสมาชิกเอเปค โดยเริ่มจากสมาชิกฯ ที่พัฒนาแล้วในปี 2553 และสำหรับสมาชิกฯ ที่กำลังพัฒนาในปี 2563
3. แผนปฏิบัติการฮานอย (Hanoi Action Plan) ที่ประชุมฯ ได้หารือกันเกี่ยวกับสารัตถะของร่างแผนปฏิบัติการฮานอย ซึ่งจะเสนอให้ประชุมผู้นำเอเปค ครั้งที่ 14 รับรอง ทั้งนี้ แผนปฏิบัติการฮานอยเป็นแผนการดำเนินการของสมาชิกเอเปคตามแนวทางปูซาน (Busan Roadmap) เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายโบกอร์
4. การทำงานระหว่างเอเปคกับภาคเอกชน ที่ประชุมฯ หารือเกี่ยวกับข้อสเนอแนะของสภาที่ปรึกษาธุรกิจเอเปค (ABAC) โดยเฉพาะในเรื่องบทบาทของเอเปคในการสนับสนุน WTO และแนวคิดเรื่องการจัดตั้งเขตการค้าเสรีเอเปค
5. การต่อต้านการก่อการร้าย ที่ประชุมฯ หารือเกี่ยวกับประเด็นความมั่นคงที่มีนัยทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะโครงการความร่วมมือซึ่งสมาชิกฯ ที่พัฒนาแล้วได้ให้เงินผ่านธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) เพื่อจัดตั้งกองทุนพัฒนาขีดความสามารถในการรับมือกับภัยคุกคามฯ
6. การปฏิรูปเอเปค ที่ประชุมฯ หารือถึงการปรับปรุงกลไก กระบวนการทำงานและโครงสร้างสำนักเลขาธิการเอเปค เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความคล่องตัวและการประหยัดทรัพยากร ทั้งนี้
ที่ประชุมฯ เห็นควรตั้งตำแหน่ง Chief Operating Official (COO) ซึ่งจะเป็นเจ้าหน้าที่มืออาชีพ ที่จะปฏิบัติงานภายใต้ผู้อำนวยการบริหารของเอเปค
โอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศยังได้พบหารือทวิภาคีกับนาย Winston Peters รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนิวซีแลนด์ โดยฝ่ายไทยชี้แจงให้ทราบเกี่ยวกับ
สถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทย ตลอดจนการแก้ไขปัญหาภาคใต้และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย และขอให้นิวซีแลนด์เข้าใจสถานการณ์ที่แท้จริง ซึ่งรัฐบาลปัจจุบันพยายามเต็มที่ที่จะเสริมสร้างพื้นฐานทางการเมืองที่ชอบธรรม อันจะนำไปสู่การเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรมอย่างแท้จริง ขณะที่ฝ่ายนิวซีแลนด์แสดงความหวังว่าประเทศไทยจะคืนสู่สภาวะปกติ ตลอดจนยกเลิกกฎอัยการศึกและจัดการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรมโดยเร็ว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2549 นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และนายเกริกไกร จีระแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้เข้าร่วมการประชุมอย่างไม่เป็นทางการ (Retreat) ของรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชียและแปซิฟิก (เอเปค) ณ กรุงฮานอย เวียดนาม ซึ่งที่ประชุมได้หารือกันในประเด็นสำคัญ 6 เรื่อง ดังนี้
1. บทบาทของเอเปคในการสนับสนุนองค์การการค้าโลก (WTO) ในการแก้ปัญหาความชะงักงันของการเจรจาการค้ารอบโดฮา ซึ่งไทยยืนยันความมุ่งมั่นในการสนับสนุนให้ WTO เริ่มการเจรจาการค้ารอบโดฮาอีกครั้งโดยเร็ว และเห็นพ้องกับสมาชิกเอเปคอื่นๆ ในการเสนอให้ที่ประชุมผู้นำเอเปคมีแถลงการณ์ในเรื่องนี้แยกต่างหากเป็นการเฉพาะ นอกจากนี้ ที่ประชุมยังหารือกันในเรื่องการจัดทำตัวอย่างการเจรจาเขตการค้าเสรี (FTA) ใน 14 หัวข้อ ซึ่งไทยเป็นผู้ยกร่าง 4 หัวข้อคือ ความร่วมมือ มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด มาตรการอุดหนุนการส่งออก และข้อตกลงว่าด้วยสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช
2. แนวคิดการจัดตั้งเขตการค้าเสรีเอเปค ที่ประชุมฯ เห็นพ้องกันว่า เรื่องนี้อาจเป็นเป้าหมายระยะยาว และขอให้เจ้าหน้าที่อาวุโสศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม โดยไม่มีผลผูกพัน ในชั้นนี้ สมาชิกเอเปคจะให้ความสำคัญกับการดำเนินการตามเป้าหมายโบกอร์ (Bogor Goals) ให้มีการค้าและการลงทุนที่เสรีระหว่างสมาชิกเอเปค โดยเริ่มจากสมาชิกฯ ที่พัฒนาแล้วในปี 2553 และสำหรับสมาชิกฯ ที่กำลังพัฒนาในปี 2563
3. แผนปฏิบัติการฮานอย (Hanoi Action Plan) ที่ประชุมฯ ได้หารือกันเกี่ยวกับสารัตถะของร่างแผนปฏิบัติการฮานอย ซึ่งจะเสนอให้ประชุมผู้นำเอเปค ครั้งที่ 14 รับรอง ทั้งนี้ แผนปฏิบัติการฮานอยเป็นแผนการดำเนินการของสมาชิกเอเปคตามแนวทางปูซาน (Busan Roadmap) เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายโบกอร์
4. การทำงานระหว่างเอเปคกับภาคเอกชน ที่ประชุมฯ หารือเกี่ยวกับข้อสเนอแนะของสภาที่ปรึกษาธุรกิจเอเปค (ABAC) โดยเฉพาะในเรื่องบทบาทของเอเปคในการสนับสนุน WTO และแนวคิดเรื่องการจัดตั้งเขตการค้าเสรีเอเปค
5. การต่อต้านการก่อการร้าย ที่ประชุมฯ หารือเกี่ยวกับประเด็นความมั่นคงที่มีนัยทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะโครงการความร่วมมือซึ่งสมาชิกฯ ที่พัฒนาแล้วได้ให้เงินผ่านธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) เพื่อจัดตั้งกองทุนพัฒนาขีดความสามารถในการรับมือกับภัยคุกคามฯ
6. การปฏิรูปเอเปค ที่ประชุมฯ หารือถึงการปรับปรุงกลไก กระบวนการทำงานและโครงสร้างสำนักเลขาธิการเอเปค เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความคล่องตัวและการประหยัดทรัพยากร ทั้งนี้
ที่ประชุมฯ เห็นควรตั้งตำแหน่ง Chief Operating Official (COO) ซึ่งจะเป็นเจ้าหน้าที่มืออาชีพ ที่จะปฏิบัติงานภายใต้ผู้อำนวยการบริหารของเอเปค
โอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศยังได้พบหารือทวิภาคีกับนาย Winston Peters รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนิวซีแลนด์ โดยฝ่ายไทยชี้แจงให้ทราบเกี่ยวกับ
สถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทย ตลอดจนการแก้ไขปัญหาภาคใต้และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย และขอให้นิวซีแลนด์เข้าใจสถานการณ์ที่แท้จริง ซึ่งรัฐบาลปัจจุบันพยายามเต็มที่ที่จะเสริมสร้างพื้นฐานทางการเมืองที่ชอบธรรม อันจะนำไปสู่การเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรมอย่างแท้จริง ขณะที่ฝ่ายนิวซีแลนด์แสดงความหวังว่าประเทศไทยจะคืนสู่สภาวะปกติ ตลอดจนยกเลิกกฎอัยการศึกและจัดการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรมโดยเร็ว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-