กรุงเทพ--16 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (15 พ.ค. 2549) ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ต่อสื่อมวลชนในประเทศไทยจากกรุงโตเกียว เกี่ยวกับผลการเยือนญี่ปุ่น ซึ่งรวมถึงการเป็นประธานพิธีเปิดงานเทศกาลไทย ครั้งที่ 7 ที่กรุงโตเกียว และการหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นกรณีนางสาวอโนชา ปันจ้อย และการเตรียมการฉลองความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่นครบ 120 ปี ดังนี้
1. จุดประสงค์หลักของการเดินทางไปญี่ปุ่นครั้งนี้ เพื่อเป็นประธานเปิดงานเทศกาลไทยครั้งที่ 7 ที่กรุงโตเกียว ร่วมกับนาย Taro Kono รัฐมนตรีช่วยอาวุโส กระทรวงยุติธรรมญี่ปุ่น ซึ่งสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว และสำนักงานอื่นๆ ร่วมกันจัดในนามของทีมไทยแลนด์ โดยได้ดึงดูดความสนใจจากชาวญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก และมีผู้เข้าร่วมงานประมาณ 500,000 คน ประเทศไทยได้ใช้โอกาสดังกล่าวส่งเสริมอาหารไทย ผลไม้ไทย และวัฒนธรรมไทย ซึ่งรวมถึง การแสดง ภาพยนตร์ และดนตรีในหลายแขนง
2. ดร.กันตธีร์ฯ ได้หารือกรณีนางสาวอโนชา ปันจ้อย กับผู้แทนสมาคมเพื่อการให้ความช่วยเหลือชาวญี่ปุ่นที่ถูกลักพาตัวโดยเกาหลีเหนือ (National Association for the Rescue of Japanese Kidnapped by North Korea — NARKN or Sukuu Kai) ซึ่งทางสมาคมฯ ได้แจ้งว่าใช้เวลานานกว่า 10 ปี กว่าฝ่ายเกาหลีเหนือจะยอมรับว่ามีคนญี่ปุ่นที่ถูกลักพาตัวไปจริง โดยก่อนหน้านี้ ทางการเกาหลีเหนือมักจะปฏิเสธว่าไม่มีข้อมูล จนกระทั่งมีชาวญี่ปุ่นได้รับความช่วยเหลือให้เดินทางกลับญี่ปุ่น 5 คนจากทั้งหมด 16 คน
ในกรณีนางสาวอโนชา ปันจ้อย ที่หายสาบสูญไปที่เกาหลีเหนือเมื่อปี 2521 นั้น ดร.กันตธีร์ฯ แจ้งว่า รัฐบาลไทยรู้สึกเป็นห่วงสวัสดิภาพของนางสาวอโนชาฯ เป็นอย่างยิ่ง ไทยให้ความสำคัญกับการติดต่อกับเกาหลีเหนือโดยตรงในการขอความช่วยเหลือสืบหานางสาวอโนชาฯ แต่รัฐบาลเกาหลีเหนือปฏิเสธว่าไม่มีข้อมูลในเรื่องนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ความปลอดภัยของนางสาวอโนชาฯ รัฐบาลไทยประสงค์ให้ญาติของนางสาวอโนชาฯ สามารถติดต่อด้วยได้ จากนั้น หากนางสาวอโนชาฯ ประสงค์จะอาศัยอยู่ในเกาหลีเหนือต่อไป หรือจะกลับเมืองไทย ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของนางสาวอโนชาฯ เอง
3. นอกจากนี้ ดร. กันตธีร์ฯ ได้หารือในเรื่องของนาวสาวอโนชาฯ กับนาย Shinzo Abe เลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น และนาย Taro Aso รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นด้วย โดยทั้งสองฝ่ายได้ตกลงที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันต่อไป สำหรับประเด็นอื่นๆ ในการหารือครอบคลุมถึงการดำเนินการต่างๆ เพื่อเตรียมการฉลองความสัมพันธ์ครบรอบ 120 ปีในปี 2550 โดยจะเน้นการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประชาชน ซึ่งสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว กระทรวงการต่างประเทศ และหน่วยราชการไทยที่เกี่ยวข้องจะร่วมจัดทำแผนงานเพื่อการนี้ นอกจากนั้น ทั้งสองฝ่ายได้หารือกันเกี่ยวกับความร่วมมือในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) โครงการท่องเที่ยวพำนักในประเทศไทยระยะยาว (long stay) สนธิสัญญาโอนตัวนักโทษ ซึ่งในขณะนี้มีคนไทยจำนวน 60 คนที่จำคุกอยู่ในญี่ปุ่น และการเจรจาความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ญี่ปุ่น ซึ่ง ดร. กันตธีร์ฯ ได้เน้นถึงความยุติธรรม และได้ผลประโยชน์ร่วมกัน โดยหวังว่าภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ของไทย จะสามารถลงนามในความตกลงฯ ดังกล่าวได้ สำหรับประเด็นในกรอบภูมิภาคอื่นๆ ทั้งสองฝ่ายได้หารือเรื่องสถานการณ์ในพม่า และอิหร่าน พร้อมกันนั้น ดร. กันตธีร์ฯ ได้ขอความสนับสนุนการลงสมัครชิงตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติของ ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรี จากฝ่ายญี่ปุ่นด้วย
4. ต่อข้อซักถามของผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับการดำเนินการของกระทรวงการต่างประเทศในกรณีภาพยนตร์ไทย “หมากเตะ โลกตะลึง” ซึ่งกระทบความรู้สึกของคนลาว นั้น ดร. กันตธีร์ฯ รู้สึกเสียใจต่อเรื่องนี้ รวมทั้งในกรณีของภาพยนตร์เรื่อง “ล่า ท้า ผี” ที่กระทบความรู้สึกของคนกัมพูชาด้วย พร้อมขอฝากมายังผู้สร้างภาพยนตร์และผู้ที่อยู่ในวงการบันเทิงว่า ขอให้พิจารณาอย่าง
รอบคอบก่อนที่จะสร้างภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาพาดพิงประเทศอื่น เนื่องจากสิ่งเหล่านี้มีความละเอียดอ่อนและอาจกระทบความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านได้ ในกรณีของภาพยนตร์เรื่อง “หมากเตะ โลกตะลึง” ฝ่ายไทยได้เชิญผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตลาวมาชมภาพยนตร์ดังกล่าวแล้ว ซึ่งทางสถานเอกอัครราชทูตฯ ไม่ได้มีข้อติดใจประการใด มาบัดนี้ ฝ่ายลาวมีปฏิกริยาไม่พอใจขึ้นมา ดังนั้นกระทรวงการต่างประเทศก็พร้อมที่จะประสานท่าทีระหว่างฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและให้ความร่วมมือแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ ทางผู้สร้างภาพยนตร์พร้อมที่จะแก้ไขบทและฉากบางฉากที่กระทบความรู้สึกของประชาชนลาวด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
วันนี้ (15 พ.ค. 2549) ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ต่อสื่อมวลชนในประเทศไทยจากกรุงโตเกียว เกี่ยวกับผลการเยือนญี่ปุ่น ซึ่งรวมถึงการเป็นประธานพิธีเปิดงานเทศกาลไทย ครั้งที่ 7 ที่กรุงโตเกียว และการหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นกรณีนางสาวอโนชา ปันจ้อย และการเตรียมการฉลองความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่นครบ 120 ปี ดังนี้
1. จุดประสงค์หลักของการเดินทางไปญี่ปุ่นครั้งนี้ เพื่อเป็นประธานเปิดงานเทศกาลไทยครั้งที่ 7 ที่กรุงโตเกียว ร่วมกับนาย Taro Kono รัฐมนตรีช่วยอาวุโส กระทรวงยุติธรรมญี่ปุ่น ซึ่งสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว และสำนักงานอื่นๆ ร่วมกันจัดในนามของทีมไทยแลนด์ โดยได้ดึงดูดความสนใจจากชาวญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก และมีผู้เข้าร่วมงานประมาณ 500,000 คน ประเทศไทยได้ใช้โอกาสดังกล่าวส่งเสริมอาหารไทย ผลไม้ไทย และวัฒนธรรมไทย ซึ่งรวมถึง การแสดง ภาพยนตร์ และดนตรีในหลายแขนง
2. ดร.กันตธีร์ฯ ได้หารือกรณีนางสาวอโนชา ปันจ้อย กับผู้แทนสมาคมเพื่อการให้ความช่วยเหลือชาวญี่ปุ่นที่ถูกลักพาตัวโดยเกาหลีเหนือ (National Association for the Rescue of Japanese Kidnapped by North Korea — NARKN or Sukuu Kai) ซึ่งทางสมาคมฯ ได้แจ้งว่าใช้เวลานานกว่า 10 ปี กว่าฝ่ายเกาหลีเหนือจะยอมรับว่ามีคนญี่ปุ่นที่ถูกลักพาตัวไปจริง โดยก่อนหน้านี้ ทางการเกาหลีเหนือมักจะปฏิเสธว่าไม่มีข้อมูล จนกระทั่งมีชาวญี่ปุ่นได้รับความช่วยเหลือให้เดินทางกลับญี่ปุ่น 5 คนจากทั้งหมด 16 คน
ในกรณีนางสาวอโนชา ปันจ้อย ที่หายสาบสูญไปที่เกาหลีเหนือเมื่อปี 2521 นั้น ดร.กันตธีร์ฯ แจ้งว่า รัฐบาลไทยรู้สึกเป็นห่วงสวัสดิภาพของนางสาวอโนชาฯ เป็นอย่างยิ่ง ไทยให้ความสำคัญกับการติดต่อกับเกาหลีเหนือโดยตรงในการขอความช่วยเหลือสืบหานางสาวอโนชาฯ แต่รัฐบาลเกาหลีเหนือปฏิเสธว่าไม่มีข้อมูลในเรื่องนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ความปลอดภัยของนางสาวอโนชาฯ รัฐบาลไทยประสงค์ให้ญาติของนางสาวอโนชาฯ สามารถติดต่อด้วยได้ จากนั้น หากนางสาวอโนชาฯ ประสงค์จะอาศัยอยู่ในเกาหลีเหนือต่อไป หรือจะกลับเมืองไทย ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของนางสาวอโนชาฯ เอง
3. นอกจากนี้ ดร. กันตธีร์ฯ ได้หารือในเรื่องของนาวสาวอโนชาฯ กับนาย Shinzo Abe เลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น และนาย Taro Aso รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นด้วย โดยทั้งสองฝ่ายได้ตกลงที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันต่อไป สำหรับประเด็นอื่นๆ ในการหารือครอบคลุมถึงการดำเนินการต่างๆ เพื่อเตรียมการฉลองความสัมพันธ์ครบรอบ 120 ปีในปี 2550 โดยจะเน้นการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประชาชน ซึ่งสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว กระทรวงการต่างประเทศ และหน่วยราชการไทยที่เกี่ยวข้องจะร่วมจัดทำแผนงานเพื่อการนี้ นอกจากนั้น ทั้งสองฝ่ายได้หารือกันเกี่ยวกับความร่วมมือในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) โครงการท่องเที่ยวพำนักในประเทศไทยระยะยาว (long stay) สนธิสัญญาโอนตัวนักโทษ ซึ่งในขณะนี้มีคนไทยจำนวน 60 คนที่จำคุกอยู่ในญี่ปุ่น และการเจรจาความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ญี่ปุ่น ซึ่ง ดร. กันตธีร์ฯ ได้เน้นถึงความยุติธรรม และได้ผลประโยชน์ร่วมกัน โดยหวังว่าภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ของไทย จะสามารถลงนามในความตกลงฯ ดังกล่าวได้ สำหรับประเด็นในกรอบภูมิภาคอื่นๆ ทั้งสองฝ่ายได้หารือเรื่องสถานการณ์ในพม่า และอิหร่าน พร้อมกันนั้น ดร. กันตธีร์ฯ ได้ขอความสนับสนุนการลงสมัครชิงตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติของ ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรี จากฝ่ายญี่ปุ่นด้วย
4. ต่อข้อซักถามของผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับการดำเนินการของกระทรวงการต่างประเทศในกรณีภาพยนตร์ไทย “หมากเตะ โลกตะลึง” ซึ่งกระทบความรู้สึกของคนลาว นั้น ดร. กันตธีร์ฯ รู้สึกเสียใจต่อเรื่องนี้ รวมทั้งในกรณีของภาพยนตร์เรื่อง “ล่า ท้า ผี” ที่กระทบความรู้สึกของคนกัมพูชาด้วย พร้อมขอฝากมายังผู้สร้างภาพยนตร์และผู้ที่อยู่ในวงการบันเทิงว่า ขอให้พิจารณาอย่าง
รอบคอบก่อนที่จะสร้างภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาพาดพิงประเทศอื่น เนื่องจากสิ่งเหล่านี้มีความละเอียดอ่อนและอาจกระทบความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านได้ ในกรณีของภาพยนตร์เรื่อง “หมากเตะ โลกตะลึง” ฝ่ายไทยได้เชิญผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตลาวมาชมภาพยนตร์ดังกล่าวแล้ว ซึ่งทางสถานเอกอัครราชทูตฯ ไม่ได้มีข้อติดใจประการใด มาบัดนี้ ฝ่ายลาวมีปฏิกริยาไม่พอใจขึ้นมา ดังนั้นกระทรวงการต่างประเทศก็พร้อมที่จะประสานท่าทีระหว่างฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและให้ความร่วมมือแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ ทางผู้สร้างภาพยนตร์พร้อมที่จะแก้ไขบทและฉากบางฉากที่กระทบความรู้สึกของประชาชนลาวด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-