ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.วางแผนเพิ่มกำลังการผลิตธนบัตรจาก 2 พันล้านฉบับเป็น 3 พันล้านฉบับ กรรมการผู้จัดการ
โรงพิมพ์ธนบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.มีแผนย้ายโรงพิมพ์ธนบัตรไปอยู่ที่ ถ.พุทธมณฑล
สาย 7 ซึ่งจะสนับสนุนการเพิ่มกำลังการพิมพ์จาก 2 พันล้านฉบับต่อปี เป็น 3 พันล้านฉบับต่อปี ตามการขยายตัวของ
เศรษฐกิจที่สูงขึ้น โดยจะมีการซื้อเครื่องจักรใหม่ทดแทนของเก่าอีกจำนวน 2 เครื่อง นอกจากนี้ อาจมีการปรับลด
จำนวนพนักงานลงจากปัจจุบัน 600 คน เหลือ 500 คน โดยจะมีการช่วยเหลือด้านสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ทั้งนี้ จะ
เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานต่อคนให้สูงขึ้นตามแนวโน้มของอุตสาหกรรม (โพสต์ทูเดย์)
2. ธปท.เผยตัวเลขเอ็นพีแอลของสถาบันการเงิน ณ สิ้นเดือน ม.ค.49 ร้อยละ 8.16 ของสินเชื่อรวม
รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ตัวเลขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของ
สถาบันการเงิน ณ สิ้นเดือน ม.ค.49 พบว่า สถาบันการเงินมีเอ็นพีแอลทั้งสิ้น 477,071 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ
8.16 ของสินเชื่อรวมทั้งระบบ โดยมีเอ็นพีแอลในอัตราเท่ากับสิ้นปี 48 แบ่งเป็น ธพ.จดทะเบียนในประเทศทั้งสิ้น
461,602 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 9.03 ของสินเชื่อโดยรวม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 165 ล้านบาท คิดเป็น
ร้อยละ 0.03 ของสินเชื่อรวม ส่วน ธพ.สาขาต่างประเทศมีเอ็นพีแอลทั้งสิ้น 9,284 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ
1.6 ของสินเชื่อรวม แต่ทั้งนี้ถือว่าเอ็นพีแอลของ ธพ.สาขาต่างประเทศมีจำนวนเท่ากับเดือนก่อน สำหรับ บง.มี
เอ็นพีแอลทั้งสิ้น 5,760 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.79 ของสินเชื่อรวมลดลงจากเดือนก่อน 165 ล้านบาท หรือ
คิดเป็นร้อยละ 2.78 ของสินเชื่อรวม และ บค.มีเอ็นพีแอลทั้งสิ้น 423 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 44.44 ของสินเชื่อ
รวมเท่ากับเดือนก่อนหน้า (แนวหน้า)
3. บ.ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเตือนหน่วยงานรัฐเข้าไปดูแลการบริหารงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ บ.ศูนย์
วิจัยกสิกรไทยรายงานระบบสหกรณ์ออมทรัพย์ปัจจุบันว่า มีประมาณ 1,457 สหกรณ์ สมาชิกทั้งสิ้นกว่า 2.38 ล้านคน
ส่วนใหญ่ร้อยละ 46.34 อยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล และสมาชิกส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลางที่มีรายได้ประจำ โดย
การดำเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ขยายตัวอย่างรวดเร็วต่อเนื่องตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นขนาดของสินทรัพย์
รวม สินเชื่อ เงินฝาก และส่วนของทุน ทำให้สหกรณ์ส่วนใหญ่มีกำไรจากการดำเนินงานและมีบทบาทในการให้กู้ยืมแก่
สมาชิกได้มากขึ้น ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมีความเห็นว่าเพื่อเป็นการส่งเสริมระบบสหกรณ์ออมทรัพย์ให้มีความเข้มแข็ง
ทางการเงินทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งจะนำไปสู่การเป็นสถาบันการเงินที่เป็นที่พึ่งทางการเงินที่มีความน่าเชื่อถือ
และเป็นหลักประกันการออมให้กับสมาชิกได้อย่างยั่งยืนนั้น หน่วยงานทางการที่เกี่ยวข้องในการกำกับดูแลกิจการสหกรณ์
ออมทรัพย์ควรมีกรอบที่ชัดเจนในการกำกับดูแลการบริหารงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ โดยมีเกณฑ์ที่มีมาตรฐานรัดกุมไม่ว่า
จะเป็นเรื่องการทำบัญชี การตรวจสอบบัญชี และรวมไปถึงการเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอ ควรปรับปรุงหลักเกณฑ์ต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการเงินทุนของสหกรณ์ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางสังคมและธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป และ
ควรมีบุคลากรเพียงพอที่จะตรวจสอบดูแลการดำเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศให้มีมาตรฐานเดียวกัน
(ผู้จัดการรายวัน)
4. ตลท.เล็งออกบทวิจัยผลกระทบบริษัทใหญ่ย้ายไปจดทะเบียนในต่างประเทศ ผู้ช่วยผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์
แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ตลท.จะมีการออกบทวิจัยในลักษณะ SET note ที่บ่อยครั้งมากขึ้น จากเดิมที่จะออก
เป็นรายไตรมาส เพื่อที่นักลงทุนจะได้รับข้อมูลในเชิงการวิเคราะห์จากตลาดหลักทรัพย์ฯ อย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง 1 ถึง
2 สัปดาห์ หลังจากนี้ ฝ่ายวิจัยจะมีการออกบทวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบของตลาดทุนไทย หากบริษัทขนาดใหญ่ในประเทศ
จะไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศอื่น หรือจดทะเบียนใน ตลท.ในลักษณะดูโอลิสติ้ง นอกจากนี้ ฝ่ายวิจัยจะมีการจัด
ทำบทวิเคราะห์ในเรื่องปัญหาที่ค่าอัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้น (พี/อีเรโช) ของตลาดหุ้นไทย ที่ปัจจุบันถือว่าค่าพี/อีเรโชต่ำ
ที่สุดในตลาดหุ้นภูมิภาคเอเชีย (ผู้จัดการรายวัน)
5. ธ.ออมสินมีกำไรสุทธิในปี 48 จำนวน 1.2 หมื่นล้านบาท ผอ.ธ.ออมสิน เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานของ
ธ.ออมสินในปี 48 ที่ผ่านมาว่า ธนาคารมีกำไรสุทธิ 12,774 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 47 ร้อยละ 7.12 ด้วยมูลค่าสินทรัพย์
รวม 680,028 ล้านบาท โดยมีส่วนของทุนอยู่ 79,206 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิเป็นการเพิ่มขึ้นของรายได้จากเงินลงทุนใน
หลักทรัพย์เงินให้สินเชื่อ รวมทั้งการบริหารต้นทุนการดำเนินงานให้ลดลงได้ถึงร้อยละ 10 ทั้งนี้ ธนาคารได้กำหนดเป้าหมายการ
ดำเนินงานให้เกิดความสมดุลระหว่างด้านสังคมและธุรกิจ โดยในด้านสังคมมุ่งเน้นสนับสนุนสินเชื่อจำนวน 21,880 ล้านบาท
ควบคู่ไปกับการจัดฝึกอบรมพัฒนาอาชีพ (ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. อัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีในเดือน ก.พ.48 ยังคงมีเสถียรภาพที่ระดับร้อยละ 2.1 รายงานจากเบอร์ลินเมื่อ
24 ก.พ.49 สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมนี เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีในเดือน ก.พ.49 ยังคงอยู่ในระดับที่มี
เสถียรภาพร้อยละ 2.1 โดยเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ค่อนข้างเป็นไปตามความคาดหมาย
ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.0 และอาจส่งผลให้ ธ.กลางยุโรป ซึ่งมีเป้าหมายรักษาระดับอัตราเงินเฟ้อ
ที่ต่ำกว่าร้อยละ 2 คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมในสัปดาห์หน้า สำหรับอัตราเงินเฟ้อในกลุ่มประเทศเขตเศรษฐกิจยุโรป
(ยูโรโซน) นั้น Eurostat ได้คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในเดือน ม.ค.49 ที่ระดับร้อยละ 2.4 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.2 ในเดือน
ก่อนหน้า (รอยเตอร์)
2. ราคาบ้านของอังกฤษในเดือน ก.พ.49 ปรับเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบ 20 เดือน รายงานจากกรุงลอนดอน
ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 27 ก.พ.49 Hometrack บริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ของอังกฤษ เปิดเผยผลสำรวจครั้งล่าสุด
ว่า ราคาบ้านในอังกฤษปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในเดือน ก.พ.49 สูงสุดในรอบ 20 เดือน นับตั้งแต่เดือน มิ.ย.48 และเป็นการ
ปรับเพิ่มขึ้นติดต่อกันเดือนที่ 3 โดยปัจจัยที่ทำให้ราคาบ้านปรับเพิ่มขึ้นครั้งล่าสุดนี้มาจากการที่มีประชาชนจำนวนมากไปลงทะเบียนกับ
นายหน้าซื้อขายบ้านเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 26 ซึ่งคาดว่าราคาบ้านยังคงมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเนื่องจากมีความต้องการซื้อ
บ้านจำนวนมากในขณะที่บ้านมีจำนวนจำกัด (รอยเตอร์)
3. คาดว่าเศรษฐกิจจีนในไตรมาสแรกปีนี้จะชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนโดยขยายตัวร้อยละ 9.6 ต่อปี รายงาน
จากเซี่ยงไฮ้ เมื่อ 27 ก.พ.49 the State Information Centre ซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัยเศรษฐกิจชั้นนำของรัฐบาลคาดว่า
เศรษฐกิจจีนในไตรมาสแรกและไตรมาสที่ 2 ปีนี้จะชะลอตัวลงจากไตรมาสสุดท้ายปี 48 โดยขยายตัวร้อยละ 9.6 ต่อปีและร้อยละ
9.4 ต่อปีตามลำดับ หลังจากขยายตัวร้อยละ 9.9 ต่อปีในไตรมาสสุดท้ายปี 48 และขยายตัวร้อยละ 9.9 ต่อปีทั้งปี 48 นอกจาก
นี้ยังคาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคในไตรมาสแรกปีนี้จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 จากปีก่อน หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ในปี 48 (รอยเตอร์)
4. เกาหลีใต้เกินดุลบัญชีเดินสะพัดลดลงที่ระดับ 0.14 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ.ในเดือน ม.ค. เมื่อเทียบกับช่วงเดียว
กันปีที่แล้วรายงานจากโซล เมื่อวันที่ 27 ก.พ. 49 ธ.กลางเกาหลีใต้เปิดเผยว่า ในเดือน ม.ค. เกาหลีใต้เกินดุลบัญชีเดินสะพัด
136 ล้าน ดอลลาร์ สรอ. ลดลงจาก 3.88 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. เมื่อเดือน ม.ค. ปีที่แล้ว ขณะที่เงินวอนเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์
สรอ. แข็งค่าขึ้นมาก สร้างความวิตกแก่ทางการ และผู้ส่งออกของเกาหลีใต้ เนื่องจากส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการแข่งขันของ
เกาหลีใต้ในตลาดส่งออกต่างประเทศ โดยเมื่อต้นปีนี้ เงินวอนแข็งค่าขึ้นทำสถิติสูงสุดในรอบเกือบ 8 ปี แม้ว่า จะชะลอตัวลงบ้างแต่
ก็ยังคงสูงกว่าเมื่อปลายปีที่แล้วร้อยละ 4.7 ทั้งนี้เกาหลีใต้ซึ่งมีเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 4 ของเอเซียซึ่งมีบริษัทขนาดใหญ่
อาทิ ซัมซุง ฮุนได และแอลจี ที่เป็นผู้ผลิต ชิพ และโมบายโฟน ส่งออกต่างประเทศ โดยเมื่อปีก่อนเกาหลีใต้เกินดุลบัญชีเดินสะพัด
16.56 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. ติดต่อกันเป็นปีที่ 8 และ ธ.กลางเกาหลีใต้คาดว่าปีนี้จะเกินดุลบัญชีเดินสะพัดประมาณ 16 พัน ล.
ดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 27 ก.พ. 49 24 ก.พ. 49 31 ม.ค. 48 แหล่งข้อ
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.37 38.557 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.1678/39.4507 38.3598/38.6471 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.32141 2..1875 - 2.2000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 741.80/ 18.92 701.91/15.60 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,300/10,400 10,150/10,250 7,750/7,850 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 58.38 57.31 38.15 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 22 ก.พ. 49 26.44*/24.69* 26.44*/24.69* 19.69/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.วางแผนเพิ่มกำลังการผลิตธนบัตรจาก 2 พันล้านฉบับเป็น 3 พันล้านฉบับ กรรมการผู้จัดการ
โรงพิมพ์ธนบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.มีแผนย้ายโรงพิมพ์ธนบัตรไปอยู่ที่ ถ.พุทธมณฑล
สาย 7 ซึ่งจะสนับสนุนการเพิ่มกำลังการพิมพ์จาก 2 พันล้านฉบับต่อปี เป็น 3 พันล้านฉบับต่อปี ตามการขยายตัวของ
เศรษฐกิจที่สูงขึ้น โดยจะมีการซื้อเครื่องจักรใหม่ทดแทนของเก่าอีกจำนวน 2 เครื่อง นอกจากนี้ อาจมีการปรับลด
จำนวนพนักงานลงจากปัจจุบัน 600 คน เหลือ 500 คน โดยจะมีการช่วยเหลือด้านสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ทั้งนี้ จะ
เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานต่อคนให้สูงขึ้นตามแนวโน้มของอุตสาหกรรม (โพสต์ทูเดย์)
2. ธปท.เผยตัวเลขเอ็นพีแอลของสถาบันการเงิน ณ สิ้นเดือน ม.ค.49 ร้อยละ 8.16 ของสินเชื่อรวม
รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ตัวเลขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของ
สถาบันการเงิน ณ สิ้นเดือน ม.ค.49 พบว่า สถาบันการเงินมีเอ็นพีแอลทั้งสิ้น 477,071 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ
8.16 ของสินเชื่อรวมทั้งระบบ โดยมีเอ็นพีแอลในอัตราเท่ากับสิ้นปี 48 แบ่งเป็น ธพ.จดทะเบียนในประเทศทั้งสิ้น
461,602 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 9.03 ของสินเชื่อโดยรวม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 165 ล้านบาท คิดเป็น
ร้อยละ 0.03 ของสินเชื่อรวม ส่วน ธพ.สาขาต่างประเทศมีเอ็นพีแอลทั้งสิ้น 9,284 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ
1.6 ของสินเชื่อรวม แต่ทั้งนี้ถือว่าเอ็นพีแอลของ ธพ.สาขาต่างประเทศมีจำนวนเท่ากับเดือนก่อน สำหรับ บง.มี
เอ็นพีแอลทั้งสิ้น 5,760 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.79 ของสินเชื่อรวมลดลงจากเดือนก่อน 165 ล้านบาท หรือ
คิดเป็นร้อยละ 2.78 ของสินเชื่อรวม และ บค.มีเอ็นพีแอลทั้งสิ้น 423 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 44.44 ของสินเชื่อ
รวมเท่ากับเดือนก่อนหน้า (แนวหน้า)
3. บ.ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเตือนหน่วยงานรัฐเข้าไปดูแลการบริหารงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ บ.ศูนย์
วิจัยกสิกรไทยรายงานระบบสหกรณ์ออมทรัพย์ปัจจุบันว่า มีประมาณ 1,457 สหกรณ์ สมาชิกทั้งสิ้นกว่า 2.38 ล้านคน
ส่วนใหญ่ร้อยละ 46.34 อยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล และสมาชิกส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลางที่มีรายได้ประจำ โดย
การดำเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ขยายตัวอย่างรวดเร็วต่อเนื่องตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นขนาดของสินทรัพย์
รวม สินเชื่อ เงินฝาก และส่วนของทุน ทำให้สหกรณ์ส่วนใหญ่มีกำไรจากการดำเนินงานและมีบทบาทในการให้กู้ยืมแก่
สมาชิกได้มากขึ้น ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมีความเห็นว่าเพื่อเป็นการส่งเสริมระบบสหกรณ์ออมทรัพย์ให้มีความเข้มแข็ง
ทางการเงินทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งจะนำไปสู่การเป็นสถาบันการเงินที่เป็นที่พึ่งทางการเงินที่มีความน่าเชื่อถือ
และเป็นหลักประกันการออมให้กับสมาชิกได้อย่างยั่งยืนนั้น หน่วยงานทางการที่เกี่ยวข้องในการกำกับดูแลกิจการสหกรณ์
ออมทรัพย์ควรมีกรอบที่ชัดเจนในการกำกับดูแลการบริหารงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ โดยมีเกณฑ์ที่มีมาตรฐานรัดกุมไม่ว่า
จะเป็นเรื่องการทำบัญชี การตรวจสอบบัญชี และรวมไปถึงการเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอ ควรปรับปรุงหลักเกณฑ์ต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการเงินทุนของสหกรณ์ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางสังคมและธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป และ
ควรมีบุคลากรเพียงพอที่จะตรวจสอบดูแลการดำเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศให้มีมาตรฐานเดียวกัน
(ผู้จัดการรายวัน)
4. ตลท.เล็งออกบทวิจัยผลกระทบบริษัทใหญ่ย้ายไปจดทะเบียนในต่างประเทศ ผู้ช่วยผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์
แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ตลท.จะมีการออกบทวิจัยในลักษณะ SET note ที่บ่อยครั้งมากขึ้น จากเดิมที่จะออก
เป็นรายไตรมาส เพื่อที่นักลงทุนจะได้รับข้อมูลในเชิงการวิเคราะห์จากตลาดหลักทรัพย์ฯ อย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง 1 ถึง
2 สัปดาห์ หลังจากนี้ ฝ่ายวิจัยจะมีการออกบทวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบของตลาดทุนไทย หากบริษัทขนาดใหญ่ในประเทศ
จะไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศอื่น หรือจดทะเบียนใน ตลท.ในลักษณะดูโอลิสติ้ง นอกจากนี้ ฝ่ายวิจัยจะมีการจัด
ทำบทวิเคราะห์ในเรื่องปัญหาที่ค่าอัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้น (พี/อีเรโช) ของตลาดหุ้นไทย ที่ปัจจุบันถือว่าค่าพี/อีเรโชต่ำ
ที่สุดในตลาดหุ้นภูมิภาคเอเชีย (ผู้จัดการรายวัน)
5. ธ.ออมสินมีกำไรสุทธิในปี 48 จำนวน 1.2 หมื่นล้านบาท ผอ.ธ.ออมสิน เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานของ
ธ.ออมสินในปี 48 ที่ผ่านมาว่า ธนาคารมีกำไรสุทธิ 12,774 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 47 ร้อยละ 7.12 ด้วยมูลค่าสินทรัพย์
รวม 680,028 ล้านบาท โดยมีส่วนของทุนอยู่ 79,206 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิเป็นการเพิ่มขึ้นของรายได้จากเงินลงทุนใน
หลักทรัพย์เงินให้สินเชื่อ รวมทั้งการบริหารต้นทุนการดำเนินงานให้ลดลงได้ถึงร้อยละ 10 ทั้งนี้ ธนาคารได้กำหนดเป้าหมายการ
ดำเนินงานให้เกิดความสมดุลระหว่างด้านสังคมและธุรกิจ โดยในด้านสังคมมุ่งเน้นสนับสนุนสินเชื่อจำนวน 21,880 ล้านบาท
ควบคู่ไปกับการจัดฝึกอบรมพัฒนาอาชีพ (ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. อัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีในเดือน ก.พ.48 ยังคงมีเสถียรภาพที่ระดับร้อยละ 2.1 รายงานจากเบอร์ลินเมื่อ
24 ก.พ.49 สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมนี เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีในเดือน ก.พ.49 ยังคงอยู่ในระดับที่มี
เสถียรภาพร้อยละ 2.1 โดยเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ค่อนข้างเป็นไปตามความคาดหมาย
ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.0 และอาจส่งผลให้ ธ.กลางยุโรป ซึ่งมีเป้าหมายรักษาระดับอัตราเงินเฟ้อ
ที่ต่ำกว่าร้อยละ 2 คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมในสัปดาห์หน้า สำหรับอัตราเงินเฟ้อในกลุ่มประเทศเขตเศรษฐกิจยุโรป
(ยูโรโซน) นั้น Eurostat ได้คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในเดือน ม.ค.49 ที่ระดับร้อยละ 2.4 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.2 ในเดือน
ก่อนหน้า (รอยเตอร์)
2. ราคาบ้านของอังกฤษในเดือน ก.พ.49 ปรับเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบ 20 เดือน รายงานจากกรุงลอนดอน
ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 27 ก.พ.49 Hometrack บริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ของอังกฤษ เปิดเผยผลสำรวจครั้งล่าสุด
ว่า ราคาบ้านในอังกฤษปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในเดือน ก.พ.49 สูงสุดในรอบ 20 เดือน นับตั้งแต่เดือน มิ.ย.48 และเป็นการ
ปรับเพิ่มขึ้นติดต่อกันเดือนที่ 3 โดยปัจจัยที่ทำให้ราคาบ้านปรับเพิ่มขึ้นครั้งล่าสุดนี้มาจากการที่มีประชาชนจำนวนมากไปลงทะเบียนกับ
นายหน้าซื้อขายบ้านเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 26 ซึ่งคาดว่าราคาบ้านยังคงมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเนื่องจากมีความต้องการซื้อ
บ้านจำนวนมากในขณะที่บ้านมีจำนวนจำกัด (รอยเตอร์)
3. คาดว่าเศรษฐกิจจีนในไตรมาสแรกปีนี้จะชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนโดยขยายตัวร้อยละ 9.6 ต่อปี รายงาน
จากเซี่ยงไฮ้ เมื่อ 27 ก.พ.49 the State Information Centre ซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัยเศรษฐกิจชั้นนำของรัฐบาลคาดว่า
เศรษฐกิจจีนในไตรมาสแรกและไตรมาสที่ 2 ปีนี้จะชะลอตัวลงจากไตรมาสสุดท้ายปี 48 โดยขยายตัวร้อยละ 9.6 ต่อปีและร้อยละ
9.4 ต่อปีตามลำดับ หลังจากขยายตัวร้อยละ 9.9 ต่อปีในไตรมาสสุดท้ายปี 48 และขยายตัวร้อยละ 9.9 ต่อปีทั้งปี 48 นอกจาก
นี้ยังคาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคในไตรมาสแรกปีนี้จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 จากปีก่อน หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ในปี 48 (รอยเตอร์)
4. เกาหลีใต้เกินดุลบัญชีเดินสะพัดลดลงที่ระดับ 0.14 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ.ในเดือน ม.ค. เมื่อเทียบกับช่วงเดียว
กันปีที่แล้วรายงานจากโซล เมื่อวันที่ 27 ก.พ. 49 ธ.กลางเกาหลีใต้เปิดเผยว่า ในเดือน ม.ค. เกาหลีใต้เกินดุลบัญชีเดินสะพัด
136 ล้าน ดอลลาร์ สรอ. ลดลงจาก 3.88 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. เมื่อเดือน ม.ค. ปีที่แล้ว ขณะที่เงินวอนเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์
สรอ. แข็งค่าขึ้นมาก สร้างความวิตกแก่ทางการ และผู้ส่งออกของเกาหลีใต้ เนื่องจากส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการแข่งขันของ
เกาหลีใต้ในตลาดส่งออกต่างประเทศ โดยเมื่อต้นปีนี้ เงินวอนแข็งค่าขึ้นทำสถิติสูงสุดในรอบเกือบ 8 ปี แม้ว่า จะชะลอตัวลงบ้างแต่
ก็ยังคงสูงกว่าเมื่อปลายปีที่แล้วร้อยละ 4.7 ทั้งนี้เกาหลีใต้ซึ่งมีเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 4 ของเอเซียซึ่งมีบริษัทขนาดใหญ่
อาทิ ซัมซุง ฮุนได และแอลจี ที่เป็นผู้ผลิต ชิพ และโมบายโฟน ส่งออกต่างประเทศ โดยเมื่อปีก่อนเกาหลีใต้เกินดุลบัญชีเดินสะพัด
16.56 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. ติดต่อกันเป็นปีที่ 8 และ ธ.กลางเกาหลีใต้คาดว่าปีนี้จะเกินดุลบัญชีเดินสะพัดประมาณ 16 พัน ล.
ดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 27 ก.พ. 49 24 ก.พ. 49 31 ม.ค. 48 แหล่งข้อ
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.37 38.557 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.1678/39.4507 38.3598/38.6471 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.32141 2..1875 - 2.2000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 741.80/ 18.92 701.91/15.60 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,300/10,400 10,150/10,250 7,750/7,850 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 58.38 57.31 38.15 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 22 ก.พ. 49 26.44*/24.69* 26.44*/24.69* 19.69/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--