สศอ.เดินหน้าโครงการพัฒนาฐานข้อมูลอุตสาหกรรมเชิงเปรียบเทียบ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับประเทศคู่แข่งเชิงรุก หนุนสิ่งทอ-ผลิตภัณฑ์ยาง-ไม้และเครื่องเรือน โดยชี้หนทางเอาชนะคู่แข่งขันได้อย่างไร
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ. ในฐานะหน่วยงานเสนอแนะนโยบาย ชี้นำเตือนภัย และเสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคอุตสาหกรรมได้ดำเนินโครงการพัฒนาฐานข้อมูลอุตสาหกรรมเชิงเปรียบเทียบเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน (Competitive Benchmarking) ในอุตสาหกรรมหลัก 3 สาขา ประกอบด้วย อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน และอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง โดยเป็นการศึกษาร่วมกับสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ เพื่อสร้างฐานข้อมูลอุตสาหกรรมให้มีมาตรฐานสามารถเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมในกลุ่มเดียวกัน หรือระหว่างอุตสาหกรรมอื่น และเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่งได้ ซึ่งในอนาคตฐานข้อมูลที่ศึกษาได้นี้สามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ทั้งภาครัฐและเอกชน อันจะนำไปสู่การพัฒนาความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ นอกจากนี้จะเป็นการกระตุ้นให้ผู้ประกอบการเห็นความสำคัญในการใช้ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ เพื่อนำไปประกอบการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีทิศทางที่ชัดเจนต่อไป
“สศอ. ได้ทำการศึกษาขีดความสามารถของอุตสาหกรรมเชิงเปรียบเทียบมาครั้งหนึ่ง เมื่อปี 2547 ซึ่งถือเป็นการสร้างฐานข้อมูลที่เป็นประโยชน์และเป็นที่ยอมรับจากทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและต่างเห็นถึงความจำเป็น สศอ. จึงได้ดำเนินการจัดทำโครงการต่อเนื่อง โดยจะเน้นเปรียบเทียบข้อมูลอุตสาหกรรมในเชิงลึกมากขึ้น โดยได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการกว่า 200 ราย ในการให้ข้อมูลตามแบบสำรวจอย่างละเอียด รวมทั้งสัมภาษณ์ผู้บริหารสูงสุดของแต่ละสถานประกอบการ เพื่อให้ได้ข้อมูลในเชิงลึกและสมบูรณ์รอบด้านมากที่สุด ซึ่งจะทำให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นว่าทั้ง 3 กลุ่มอุตสาหกรรมนี้มีศักยภาพที่แท้จริงอยู่ในระดับใด อันจะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการกำหนดแผนพัฒนาขีดความสามารถของอุตสาหกรรมในเชิงรุก และทันต่อความเปลี่ยนแปลงของโลกต่อไป”
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา กล่าวว่า ในการเปรียบเทียบอุตสาหกรรมของไทยกับประเทศคู่แข่งนั้น แต่เดิมมักเกิดปัญหาอย่างมาก เนื่องจากจะไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการของประเทศที่จะทำการศึกษาเปรียบเทียบเท่าที่ควร ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้ข้อมูลหน่วยงานกลางที่น่าเชื่อถือและได้รับความไว้วางใจจากองค์กรต่างๆทั่วโลก โดยการศึกษาครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจาก American Productivity and Quality Center (APQC) ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางของประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีการจัดทำข้อมูลเชิงเปรียบเทียบของอุตสาหกรรมต่างๆทั่วโลก และมีข้อมูลของบริษัทชั้นนำทั่วโลกกว่า 1,000 บริษัท ที่สามารถจะนำข้อมูลที่น่าสนใจมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับข้อมูลที่สำรวจจากผู้ประกอบการของไทย ซึ่งผลการศึกษาที่จะได้ออกมาสำหรับโครงการนี้ นับว่าเป็นการสร้างฐานข้อมูลที่แข็งแกร่งน่าเชื่อถือสามารถสร้างจุดเปลี่ยนในการพัฒนาอุตสาหกรรมของไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ. ในฐานะหน่วยงานเสนอแนะนโยบาย ชี้นำเตือนภัย และเสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคอุตสาหกรรมได้ดำเนินโครงการพัฒนาฐานข้อมูลอุตสาหกรรมเชิงเปรียบเทียบเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน (Competitive Benchmarking) ในอุตสาหกรรมหลัก 3 สาขา ประกอบด้วย อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน และอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง โดยเป็นการศึกษาร่วมกับสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ เพื่อสร้างฐานข้อมูลอุตสาหกรรมให้มีมาตรฐานสามารถเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมในกลุ่มเดียวกัน หรือระหว่างอุตสาหกรรมอื่น และเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่งได้ ซึ่งในอนาคตฐานข้อมูลที่ศึกษาได้นี้สามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ทั้งภาครัฐและเอกชน อันจะนำไปสู่การพัฒนาความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ นอกจากนี้จะเป็นการกระตุ้นให้ผู้ประกอบการเห็นความสำคัญในการใช้ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ เพื่อนำไปประกอบการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีทิศทางที่ชัดเจนต่อไป
“สศอ. ได้ทำการศึกษาขีดความสามารถของอุตสาหกรรมเชิงเปรียบเทียบมาครั้งหนึ่ง เมื่อปี 2547 ซึ่งถือเป็นการสร้างฐานข้อมูลที่เป็นประโยชน์และเป็นที่ยอมรับจากทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและต่างเห็นถึงความจำเป็น สศอ. จึงได้ดำเนินการจัดทำโครงการต่อเนื่อง โดยจะเน้นเปรียบเทียบข้อมูลอุตสาหกรรมในเชิงลึกมากขึ้น โดยได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการกว่า 200 ราย ในการให้ข้อมูลตามแบบสำรวจอย่างละเอียด รวมทั้งสัมภาษณ์ผู้บริหารสูงสุดของแต่ละสถานประกอบการ เพื่อให้ได้ข้อมูลในเชิงลึกและสมบูรณ์รอบด้านมากที่สุด ซึ่งจะทำให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นว่าทั้ง 3 กลุ่มอุตสาหกรรมนี้มีศักยภาพที่แท้จริงอยู่ในระดับใด อันจะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการกำหนดแผนพัฒนาขีดความสามารถของอุตสาหกรรมในเชิงรุก และทันต่อความเปลี่ยนแปลงของโลกต่อไป”
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา กล่าวว่า ในการเปรียบเทียบอุตสาหกรรมของไทยกับประเทศคู่แข่งนั้น แต่เดิมมักเกิดปัญหาอย่างมาก เนื่องจากจะไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการของประเทศที่จะทำการศึกษาเปรียบเทียบเท่าที่ควร ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้ข้อมูลหน่วยงานกลางที่น่าเชื่อถือและได้รับความไว้วางใจจากองค์กรต่างๆทั่วโลก โดยการศึกษาครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจาก American Productivity and Quality Center (APQC) ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางของประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีการจัดทำข้อมูลเชิงเปรียบเทียบของอุตสาหกรรมต่างๆทั่วโลก และมีข้อมูลของบริษัทชั้นนำทั่วโลกกว่า 1,000 บริษัท ที่สามารถจะนำข้อมูลที่น่าสนใจมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับข้อมูลที่สำรวจจากผู้ประกอบการของไทย ซึ่งผลการศึกษาที่จะได้ออกมาสำหรับโครงการนี้ นับว่าเป็นการสร้างฐานข้อมูลที่แข็งแกร่งน่าเชื่อถือสามารถสร้างจุดเปลี่ยนในการพัฒนาอุตสาหกรรมของไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-