สศอ.ชี้การส่งออกสินค้าอุตฯไทยขยายตัวดี การผลิตคอมพ์-เบียร์ยังแกร่ง เป็นแรงหนุนสำคัญ ส่งดัชนีอุตฯ ก.ค.พุ่งร้อยละ 6.13 จากเดือนเดียวกันของปีก่อน
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ.ได้จัดทำดัชนีอุตสาหกรรมเดือนกรกฎาคม 2549 โดยเก็บข้อมูลจาก 2,121 โรงงาน 53 กลุ่มอุตสาหกรรม 215 ผลิตภัณฑ์ ทั้งผู้ประกอบการขนาดใหญ่ และ เอสเอ็มอี โดย ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนกรกฎาคม อยู่ที่ระดับ 156.14 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.13 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน ที่ระดับ 147.11 สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ระดับ 67.3
ในเดือนกรกฎาคม ดัชนีอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ประกอบด้วย ดัชนีผลผลิต(มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 161.64 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.74 จากระดับ 155.81 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 156.16 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.56 จากระดับ 149.35 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 188.76 เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.69 จากระดับ 161.75 และ ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 132.91 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.09 จากระดับ 130.20 ในขณะที่ ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 159.33 ลดลงร้อยละ 4.66 จากระดับ 167.12 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 113.42 ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.01 จากระดับ 113.43
ดร.อรรชกา เปิดเผยว่า ถึงแม้ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในช่วงนี้ยังถือว่ามีสัญญาณการชะลอตัวค่อนข้างชัดเจน แต่โดยภาพรวมของภาคอุตสาหกรรมของไทยยังขยายตัวดี เนื่องจากอุตสาหกรรมสำคัญๆ เช่น อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ ที่ไทยเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของโลกมีการขยายตัว และเป็นสินค้าส่งออกที่มีการขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง จึงส่งผลให้ดัชนี
ผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน และปัจจัยที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมรวม ปรับเพิ่มขึ้นที่สำคัญ คือ การขยายตัวของการผลิตคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน การผลิตเบียร์ และการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์
โดย การผลิตคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ทั้งยอดการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากความต้องการในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Hard Disk Drive ขนาด 2.5 นิ้วที่เป็นชิ้นส่วนประกอบสำคัญในคอมพิวเตอร์โน๊ตบุค โทรทัศน์ติดรถยนต์ รวมทั้งเครื่องเล่นวีซีดี-ดีวีดี และไอพ็อต มีการขยายตัวต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 26.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ส่วนการจำหน่ายขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
ส่วน การผลิตเบียร์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ทั้งการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้นเนื่องจากผู้ผลิตรายใหญ่มีกลยุทธ์เพื่อกระตุ้นความต้องการของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งปัจจัยจากควันหลงของเทศกาลบอลโลกที่เพิ่งผ่านพ้นไป ทำให้ยังมีความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้นมากจากปีก่อน โดยภาวะการผลิตเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 75.9 ส่วนการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.3 และ การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ทั้งการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้นสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Monolithic IC และ Other IC ซึ่งเป็นสินค้าสำคัญในกลุ่มมีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.37 และ 25.26 ตามลำดับ ส่วนการจำหน่าย Monolithic IC เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.04 และ Other IC จำหน่ายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.17 เนื่องจากภาวะตลาดโลกมีการขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดในเอเชีย ที่ไทยมีสัดส่วนการส่งออกสูงมีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสินค้าในกลุ่มนี้ยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีตลอดทั้งปีอีกด้วย
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ได้กล่าวอีกว่า ในเดือนกรกฎาคมยังมีอุตสาหกรรมที่มีการผลิตและจำหน่ายลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่สำคัญ คือ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม และการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ
การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีการผลิตและจำหน่ายลดลง ซึ่งเป็นผลมาจากราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้นและเศรษฐกิจในประเทศชะลอตัว โดยส่งผลให้การผลิตลดลงร้อยละ 3.09 ส่วนการจำหน่ายลดลงร้อยละ 5.76 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
และ การผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนมีทิศทางที่ลดลงอย่างชัดเจน เนื่องจากตลาดในประเทศมีการแข่งขันสูงขึ้น อีกทั้งสินค้าจากประเทศจีนที่เข้ามาชิงส่วนแบ่งทางการตลาดได้มากขึ้นโดยใช้กลยุทธการแข่งขันด้านราคาที่ต่ำกว่าทำให้ผู้ผลิตของไทยต้องแข่งขันลำบากและต้องใช้วิธีผลิตสินค้าให้มากขึ้นแต่กำไรลดลง ซึ่งส่งผลต่ออัตราการขยายตัวที่ลดลงถึงร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ.ได้จัดทำดัชนีอุตสาหกรรมเดือนกรกฎาคม 2549 โดยเก็บข้อมูลจาก 2,121 โรงงาน 53 กลุ่มอุตสาหกรรม 215 ผลิตภัณฑ์ ทั้งผู้ประกอบการขนาดใหญ่ และ เอสเอ็มอี โดย ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนกรกฎาคม อยู่ที่ระดับ 156.14 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.13 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน ที่ระดับ 147.11 สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ระดับ 67.3
ในเดือนกรกฎาคม ดัชนีอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ประกอบด้วย ดัชนีผลผลิต(มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 161.64 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.74 จากระดับ 155.81 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 156.16 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.56 จากระดับ 149.35 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 188.76 เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.69 จากระดับ 161.75 และ ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 132.91 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.09 จากระดับ 130.20 ในขณะที่ ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 159.33 ลดลงร้อยละ 4.66 จากระดับ 167.12 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 113.42 ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.01 จากระดับ 113.43
ดร.อรรชกา เปิดเผยว่า ถึงแม้ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในช่วงนี้ยังถือว่ามีสัญญาณการชะลอตัวค่อนข้างชัดเจน แต่โดยภาพรวมของภาคอุตสาหกรรมของไทยยังขยายตัวดี เนื่องจากอุตสาหกรรมสำคัญๆ เช่น อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ ที่ไทยเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของโลกมีการขยายตัว และเป็นสินค้าส่งออกที่มีการขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง จึงส่งผลให้ดัชนี
ผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน และปัจจัยที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมรวม ปรับเพิ่มขึ้นที่สำคัญ คือ การขยายตัวของการผลิตคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน การผลิตเบียร์ และการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์
โดย การผลิตคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ทั้งยอดการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากความต้องการในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Hard Disk Drive ขนาด 2.5 นิ้วที่เป็นชิ้นส่วนประกอบสำคัญในคอมพิวเตอร์โน๊ตบุค โทรทัศน์ติดรถยนต์ รวมทั้งเครื่องเล่นวีซีดี-ดีวีดี และไอพ็อต มีการขยายตัวต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 26.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ส่วนการจำหน่ายขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
ส่วน การผลิตเบียร์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ทั้งการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้นเนื่องจากผู้ผลิตรายใหญ่มีกลยุทธ์เพื่อกระตุ้นความต้องการของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งปัจจัยจากควันหลงของเทศกาลบอลโลกที่เพิ่งผ่านพ้นไป ทำให้ยังมีความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้นมากจากปีก่อน โดยภาวะการผลิตเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 75.9 ส่วนการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.3 และ การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ทั้งการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้นสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Monolithic IC และ Other IC ซึ่งเป็นสินค้าสำคัญในกลุ่มมีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.37 และ 25.26 ตามลำดับ ส่วนการจำหน่าย Monolithic IC เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.04 และ Other IC จำหน่ายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.17 เนื่องจากภาวะตลาดโลกมีการขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดในเอเชีย ที่ไทยมีสัดส่วนการส่งออกสูงมีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสินค้าในกลุ่มนี้ยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีตลอดทั้งปีอีกด้วย
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ได้กล่าวอีกว่า ในเดือนกรกฎาคมยังมีอุตสาหกรรมที่มีการผลิตและจำหน่ายลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่สำคัญ คือ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม และการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ
การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีการผลิตและจำหน่ายลดลง ซึ่งเป็นผลมาจากราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้นและเศรษฐกิจในประเทศชะลอตัว โดยส่งผลให้การผลิตลดลงร้อยละ 3.09 ส่วนการจำหน่ายลดลงร้อยละ 5.76 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
และ การผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนมีทิศทางที่ลดลงอย่างชัดเจน เนื่องจากตลาดในประเทศมีการแข่งขันสูงขึ้น อีกทั้งสินค้าจากประเทศจีนที่เข้ามาชิงส่วนแบ่งทางการตลาดได้มากขึ้นโดยใช้กลยุทธการแข่งขันด้านราคาที่ต่ำกว่าทำให้ผู้ผลิตของไทยต้องแข่งขันลำบากและต้องใช้วิธีผลิตสินค้าให้มากขึ้นแต่กำไรลดลง ซึ่งส่งผลต่ออัตราการขยายตัวที่ลดลงถึงร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-