วันนี้(27 ก.ค. 49) ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวให้สัมภาษณ์ว่า คำพิพากษาของศาลอาญา เมื่อวันที่ 25 ก.ค.49 ได้ส่งผลบวกในเรื่องภาพพจน์ของประเทศไทยในสายตาต่างประเทศ ซึ่งเกิดความเข้าใจผิดจากการส่งหนังสือที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกฯ ส่งไปให้ ประธานนาธิบดีสหรัฐ ( 23 มิ.ย.49 ) รวมทั้งที่ส่งไปให้ผู้นำอาเซียนทั้ง 9 ประเทศ ( 17 เม.ย. 49) โดยได้แก้ไขข้อกล่าวหาที่ประเทศไทยถูกกล่าวหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภัยคุกคามต่อประชาธิปไตยขึ้นในประเทศไทย สถาบันหลักของประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้ง และธรรมเนียมปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญว่าด้วยข้อจำกัดของรัฐบาล ได้ถูกทำลายลงซ้ำแล้วซ้ำเล่าโดยกลุ่มผลประโยชน์ที่ต้องพึ่งพาการสร้างความโกลาหลและการชุมนุมประท้วงตามท้องถนนในกรุงเทพฯเป็นวิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจทางการเมืองที่กลุ่มเหล่านี้ไม่อาจได้รับด้วยการได้ชัยชนะในการเลือกตั้ง เนื่องเพราะล้มเหลวในอันที่จะกระพือให้เกิดความรุนแรงและความปั่นป่วนขึ้นมาได้ ฝ่ายตรงกันข้ามของข้าพเจ้าในเวลานี้ก็กำลังพยายามหันมาใช้ยุทธวิธีนอกเหนือจากรัฐธรรมนูญหลายรูปแบบเพื่อบิดเบือนเจตนารมณ์ของประชาชน
หรือจะเป็นข้อกล่าวหาที่พ.ต.ท.ทักษิณ ระบุในหนังสือว่า “ฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองของข้าพเจ้าบอยคอตการเลือกตั้งในเดือนเมษายน เพราะพวกเขารู้ดีว่าจะได้รับความพ่ายแพ้อีกครั้ง ซึ่งส่งผลให้สถานการณ์ทางการเมืองในไทยอยู่ในสภาพชะงักงัน และที่พ.ต.ท.ทักษิณ ระบุว่ ศาลไทยได้ประกาศให้การเลือกตั้งเมื่อเดือนเมษายนเป็นโมฆะด้วยข้อพิจารณาเชิงเทคนิค และมีคำสั่งให้จัดการเลือกตั้งใหม่ขึ้นอีกครั้ง ทำให้การเมืองการปกครองของประเทศนี้ควรจะถูกตัดสินชี้ขาดกันด้วยการลงคะแนนเสียงในหีบบัตรเลือกตั้ง หรือด้วยการประท้วงตามท้องถนน คำตอบของคำถามดังกล่าวนี้จะมีผลกระทบอย่างสำคัญต่อเส้นทางประชาธิปไตยในเอเชียในอนาคต และข้าพเจ้ารู้ว่าท่านประธานาธิบดีคงเห็นพ้องกับข้าพเจ้าที่ว่าการปกครองโดยกฎหมายและรัฐธรรมนูญทั้งในไทยและในเอเชียโดยรวมจำต้องได้รับชัยชนะเหนือการกระทำของม็อบและการปลุกระดมทั้งหลาย”
รวมทั้งจดหมายที่พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ส่งถึงผู้นำอาเซี่ยนทั้ง 9 ประเทศ ซึ่งระบุว่า “พรรคไทยรักไทย(ทรท.)ภายใต้การนำของข้าพเจ้าได้รับเสียงสนับสนุนข้างมากอีกครั้งหนึ่งในการเลือกตั้งวันที่ 2 เม.ย.2549 ไม่ว่าจะพิจารณาจากแง่มุมใดก็เป็นการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรม การเลือกตั้งดังกล่าวจัดให้มีขึ้นตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ 2540 ซึ่งในจิตใจของข้าพเจ้ามีความต้องการที่จะรักษาประเพณีประชาธิปไตย และความเป็นเอกภาพในชาติเหนือสิ่งอื่นใด ทั้งสองประการต้องมาก่อนชัยชนะของการเลือกตั้ง”
ดร.สุรินทร์ กล่าวว่า ทุกประเด็นที่ประเทศไทยถูกกล่าวหา คำพิพากษาของศาลอาญาในคดีว่าด้วยเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) 3 คน ซึ่งได้ระบุชัดเจนว่าเป็นการเลือกตั้งที่ไม่บริสุทธิ์ยุติธรรม การคัดค้าน การบอยขอคการเลือกตั้ง ตลอดทั้งการชุมนุมต่อต้าน เพราะประชาชนเห็นว่าการดำเนินการเลือกตั้ง หรือการยุบสภา ไม่ได้เป็นไปตามระบอบรัฐธรรมนูญ หรือตามประเพณีของระบอบประชาธิปไตยแต่อย่างใด
การที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ เป็นการพิพากษาชัดเจน ว่าเป็นการเลือกตั้งที่ไม่บริสุทธิ์ยุติธรรม ไม่มีความโปร่งใส และเป็นการจัดการเลือกตั้งที่ไม่มีความเป็นกลาง การทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นไปเพื่อเข้าข้างพรรคไทยรักไทยอย่างชัดเจน
คำพิพากษาของศาลถือเป็นคำพิพากษาที่แก้ภาพพจน์ให้ประเทศชาติ และยืนยันความเป็นประชาธิปไตยและยึดมั่นในครรลองของรัฐธรรมนูญของคนไทยทั้งประเทศ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 27 ก.ค. 2549--จบ--
หรือจะเป็นข้อกล่าวหาที่พ.ต.ท.ทักษิณ ระบุในหนังสือว่า “ฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองของข้าพเจ้าบอยคอตการเลือกตั้งในเดือนเมษายน เพราะพวกเขารู้ดีว่าจะได้รับความพ่ายแพ้อีกครั้ง ซึ่งส่งผลให้สถานการณ์ทางการเมืองในไทยอยู่ในสภาพชะงักงัน และที่พ.ต.ท.ทักษิณ ระบุว่ ศาลไทยได้ประกาศให้การเลือกตั้งเมื่อเดือนเมษายนเป็นโมฆะด้วยข้อพิจารณาเชิงเทคนิค และมีคำสั่งให้จัดการเลือกตั้งใหม่ขึ้นอีกครั้ง ทำให้การเมืองการปกครองของประเทศนี้ควรจะถูกตัดสินชี้ขาดกันด้วยการลงคะแนนเสียงในหีบบัตรเลือกตั้ง หรือด้วยการประท้วงตามท้องถนน คำตอบของคำถามดังกล่าวนี้จะมีผลกระทบอย่างสำคัญต่อเส้นทางประชาธิปไตยในเอเชียในอนาคต และข้าพเจ้ารู้ว่าท่านประธานาธิบดีคงเห็นพ้องกับข้าพเจ้าที่ว่าการปกครองโดยกฎหมายและรัฐธรรมนูญทั้งในไทยและในเอเชียโดยรวมจำต้องได้รับชัยชนะเหนือการกระทำของม็อบและการปลุกระดมทั้งหลาย”
รวมทั้งจดหมายที่พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ส่งถึงผู้นำอาเซี่ยนทั้ง 9 ประเทศ ซึ่งระบุว่า “พรรคไทยรักไทย(ทรท.)ภายใต้การนำของข้าพเจ้าได้รับเสียงสนับสนุนข้างมากอีกครั้งหนึ่งในการเลือกตั้งวันที่ 2 เม.ย.2549 ไม่ว่าจะพิจารณาจากแง่มุมใดก็เป็นการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรม การเลือกตั้งดังกล่าวจัดให้มีขึ้นตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ 2540 ซึ่งในจิตใจของข้าพเจ้ามีความต้องการที่จะรักษาประเพณีประชาธิปไตย และความเป็นเอกภาพในชาติเหนือสิ่งอื่นใด ทั้งสองประการต้องมาก่อนชัยชนะของการเลือกตั้ง”
ดร.สุรินทร์ กล่าวว่า ทุกประเด็นที่ประเทศไทยถูกกล่าวหา คำพิพากษาของศาลอาญาในคดีว่าด้วยเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) 3 คน ซึ่งได้ระบุชัดเจนว่าเป็นการเลือกตั้งที่ไม่บริสุทธิ์ยุติธรรม การคัดค้าน การบอยขอคการเลือกตั้ง ตลอดทั้งการชุมนุมต่อต้าน เพราะประชาชนเห็นว่าการดำเนินการเลือกตั้ง หรือการยุบสภา ไม่ได้เป็นไปตามระบอบรัฐธรรมนูญ หรือตามประเพณีของระบอบประชาธิปไตยแต่อย่างใด
การที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ เป็นการพิพากษาชัดเจน ว่าเป็นการเลือกตั้งที่ไม่บริสุทธิ์ยุติธรรม ไม่มีความโปร่งใส และเป็นการจัดการเลือกตั้งที่ไม่มีความเป็นกลาง การทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นไปเพื่อเข้าข้างพรรคไทยรักไทยอย่างชัดเจน
คำพิพากษาของศาลถือเป็นคำพิพากษาที่แก้ภาพพจน์ให้ประเทศชาติ และยืนยันความเป็นประชาธิปไตยและยึดมั่นในครรลองของรัฐธรรมนูญของคนไทยทั้งประเทศ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 27 ก.ค. 2549--จบ--