สศก.แจ้ง ผลผลิตพริกไทยลด 14% เนื่องจากภาวะฝนแล้ง บวกกับความต้องการของประเทศคู่ค้า ลดลง ส่งผลเกษตรกรหมดกำลังใจ เบนเข็มปลูกพืชอื่นทดแทน แนะแก้ปัญหาโดยพัฒนาอุตสาหกรรม ต่อเนื่องและลดการนำเข้า
นางอัญชลี อุไรกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงรายงานสถานการณ์การผลิตพริกไทยของประเทศว่า ในปี 2549 นี้ มีผลผลิตประมาณ 11,943 ตัน ลดลงจากปีที่แล้ว 14% สาเหตุเนื่องมาจากประสบภาวะฝนแล้ง โดยเฉพาะภาคตะวันออกที่เป็นแหล่งผลิตสำคัญของประเทศ ซึ่งพริกไทย ถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ เพราะเป็นทั้งสมุนไพรและเครื่องเทศ สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรเป็นกอบเป็นกำ เพราะมีราคาสูง โดยในอดีตเคยมีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 200 บาท เนื่องจากความต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศมีมาก ต่อมาประเทศที่เป็นคู่แข่งขัน เช่นเวียดนาม อินโดนีเซีย อินเดีย ศรีลังกา มีการผลิตมากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการของประเทศคู่ค้าของไทยลดลง เช่นประเทศตะวันออกกลาง และการใช้บริโภคภายในประเทศยังคงเท่าเดิม ทำให้ราคาลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปีที่แล้วราคาเฉลี่ยที่เกษตรกรขายได้ที่สวนกิโลกรัมละ 58 บาทเท่านั้น ประกอบกับต้นทุนการผลิตสูงขึ้นทุกปี ทั้งราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้สูบน้ำ ราคาปุ๋ยเคมีและยาปราบศัตรูพืชที่แพงขึ้น ทำให้มีต้นทุนการผลิตประมาณกิโลกรัมละ 57 บาท เกษตรกรจึงหมดกำลังใจเลิกผลิตพริกไทย หันไปปลูกพืชอื่นแทน ส่วนปีนี้ผลผลิตพริกไทยออกสู่ตลาดในเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม ราคาเริ่มต้นไม่ดีเท่าที่ควร คือกิโลกรัมละ 58 บาท ซึ่งต่ำมาก ถ้าเป็นอย่างนี้ต่อไป พริกไทยอาจสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยได้
สำหรับประเทศไทย มีการบริโภคพริกไทยปีละประมาณ 13,000 ตัน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปของพริกไทยเม็ดดำแห้ง สำหรับพริกไทยเม็ดขาวและพริกไทยป่นนั้นมีการบริโภคน้อยลง โดยส่งออกปีละประมาณ 1,000 ตัน มูลค่า 58 ล้านบาท นำเข้าปีละประมาณ 600 ตัน มูลค่า 40 ล้านบาท หากมองถึงสถานการณ์ปีนี้ คาดว่าน่าจะขาดแคลน ส่วนแนวทางการแก้ไขปัญหานั้น ควรสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องให้มากขึ้น เพื่อเป็นช่องทางเสริมการบริโภคสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ ลดการนำเข้า ซึ่งตรงกับกระแสการบริโภคอาหารเสริมสุขภาพที่กำลังฮิตอยู่ในขณะนี้ รวมทั้งเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ผลิต อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย นางอัญชลีกล่าวในที่สุด
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นางอัญชลี อุไรกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงรายงานสถานการณ์การผลิตพริกไทยของประเทศว่า ในปี 2549 นี้ มีผลผลิตประมาณ 11,943 ตัน ลดลงจากปีที่แล้ว 14% สาเหตุเนื่องมาจากประสบภาวะฝนแล้ง โดยเฉพาะภาคตะวันออกที่เป็นแหล่งผลิตสำคัญของประเทศ ซึ่งพริกไทย ถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ เพราะเป็นทั้งสมุนไพรและเครื่องเทศ สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรเป็นกอบเป็นกำ เพราะมีราคาสูง โดยในอดีตเคยมีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 200 บาท เนื่องจากความต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศมีมาก ต่อมาประเทศที่เป็นคู่แข่งขัน เช่นเวียดนาม อินโดนีเซีย อินเดีย ศรีลังกา มีการผลิตมากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการของประเทศคู่ค้าของไทยลดลง เช่นประเทศตะวันออกกลาง และการใช้บริโภคภายในประเทศยังคงเท่าเดิม ทำให้ราคาลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปีที่แล้วราคาเฉลี่ยที่เกษตรกรขายได้ที่สวนกิโลกรัมละ 58 บาทเท่านั้น ประกอบกับต้นทุนการผลิตสูงขึ้นทุกปี ทั้งราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้สูบน้ำ ราคาปุ๋ยเคมีและยาปราบศัตรูพืชที่แพงขึ้น ทำให้มีต้นทุนการผลิตประมาณกิโลกรัมละ 57 บาท เกษตรกรจึงหมดกำลังใจเลิกผลิตพริกไทย หันไปปลูกพืชอื่นแทน ส่วนปีนี้ผลผลิตพริกไทยออกสู่ตลาดในเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม ราคาเริ่มต้นไม่ดีเท่าที่ควร คือกิโลกรัมละ 58 บาท ซึ่งต่ำมาก ถ้าเป็นอย่างนี้ต่อไป พริกไทยอาจสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยได้
สำหรับประเทศไทย มีการบริโภคพริกไทยปีละประมาณ 13,000 ตัน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปของพริกไทยเม็ดดำแห้ง สำหรับพริกไทยเม็ดขาวและพริกไทยป่นนั้นมีการบริโภคน้อยลง โดยส่งออกปีละประมาณ 1,000 ตัน มูลค่า 58 ล้านบาท นำเข้าปีละประมาณ 600 ตัน มูลค่า 40 ล้านบาท หากมองถึงสถานการณ์ปีนี้ คาดว่าน่าจะขาดแคลน ส่วนแนวทางการแก้ไขปัญหานั้น ควรสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องให้มากขึ้น เพื่อเป็นช่องทางเสริมการบริโภคสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ ลดการนำเข้า ซึ่งตรงกับกระแสการบริโภคอาหารเสริมสุขภาพที่กำลังฮิตอยู่ในขณะนี้ รวมทั้งเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ผลิต อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย นางอัญชลีกล่าวในที่สุด
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-