กรุงเทพ--16 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ระหว่างที่รอให้ปัญหาการเลือกตั้ง สส. ครั้งที่ผ่านมาในประเทศไทยได้ข้อยุติลง ไท ดูโตขอนำปัญหา และอุปสรรคที่สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ของไทยต้องเผชิญในการจัดการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรมาเล่าสู่กันฟัง เพราะแม้ว่าสถานทูตสถานกงสุลไทยได้จัดการเลือกตั้งทั้ง สส. และ สว. นอกราชอาณาจักรได้อย่างเรียบร้อยและสมบูรณ์ แต่เจ้าหน้าที่จำนวนเพียงหยิบมือต้องปฏิบัติงานภายใต้ความกดดันของกำหนดเวลาที่กระชั้นชิด จึงมีความยากลำบากในการจัดการเลือกตั้งทั้งสองครั้งอยู่ไม่น้อย
ขอนำท่านผู้อ่านไปร่วมรับทราบข้อคิดเห็นของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไคโร เกี่ยวกับปัญหาการจัดการเลือกตั้ง สส. และ สว. นอกราชอาณาจักร ตลอดจนแนวทางแก้ไขปัญหา เพราะไม่แน่ว่าในอนาคตอันใกล้นี้ เราอาจจะต้องจัดการเลือกตั้ง สส. อีกครั้งก็เป็นได้
ปัญหาหลักๆ ที่สถานทูตและสถานกงสุลไทยทุกแห่งต้องเผชิญ คือ การลงทะเบียนคนไทยที่ไปแจ้งขอใช้สิทธิเลือกตั้งให้ทันกำหนดเวลาที่ กกต. กำหนด แม้ว่าสถานทูตจะประชาสัมพันธ์ล่วงหน้ารวมทั้งส่งเจ้าหน้าที่ไปพบปะคนไทยในพื้นที่ต่างๆ เพื่อประชาสัมพันธ์และแจกเอกสารเลือกตั้ง แต่ยังมีคนไทยจำนวนหนึ่งไม่ได้ไปลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้ง อาจเป็นเพราะไม่สนใจหรือคิดว่าเก็บไว้ทำในตอนหลัง จึงไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียน เมื่อถึงกำหนดวันเลือกตั้ง จึงไม่สามารถลงคะแนนได้เนื่องจากไม่เคยแจ้งชื่อขอใช้สิทธิมาก่อน
นอกจากนี้ การที่ กกต. ได้กำหนดให้วันสุดท้ายของการลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งเป็นวันถัดจากวันที่ออกพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้ง ทำให้การเลือกตั้ง สส. ภายหลังการยุบสภา มีคนไทยในต่างประเทศจำนวนมากแจ้งขอใช้สิทธิไม่ทัน และสถานทูตไม่มีโอกาสประชาสัมพันธ์ให้คนไทยมาลงทะเบียนได้อย่างทั่วถึง
ในกรณีเร่งด่วน เจ้าหน้าที่สถานทูตไม่สามารถดาวน์โหลตข้อมูลรายชื่อผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งจากเวปไซท์ khonthai.comได้อย่างทันการ เนื่องจากความเร็วของระบบอินเตอร์เน็ตในประเทศที่อยู่ห่างไกลจากเมืองไทยมีความล่าช้ามาก การแก้ไขปัญหานี้โดยการส่ง CD ทาง DHL ก็มิได้ช่วยให้เร็วขึ้น เพราะระบบไปรษณีย์ของบางประเทศในตะวันออกกลางไม่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะสถานทูตไทยในอียิปต์ได้รับแผ่นซีดีสำหรับการเลือกตั้ง สส. ล่าช้าไปเกือบ 1 สัปดาห์
ยังมีปัญหาจำนวนคนไทยในทะเบียนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่ตรงกับความเป็นจริง เนื่องจากคนไทยจำนวนมากที่ได้ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งกับสถานทูตและสถานกงสุลต้องเดินทางกลับเมืองไทย แต่ไม่ได้ถอนชื่อออกจากทะเบียน เช่น นักศึกษาไทยที่จบการศึกษา หรือย้ายประเทศ ส่วนนักศึกษาที่เดินทางมาถึงใหม่ก็ไปแจ้งขอใช้สิทธิเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในทะเบียนของสถานทูตมีจำนวนมากเกินความเป็นจริง
ในการเลือกตั้ง สส. และ สว. นอกราชอาณาจักร ครั้งที่ผ่านมา ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงหลายรายประสงค์จะใช้บัตรเลือกตั้งที่ กกต. ออกให้เมื่อปี 2543 เป็นหลักฐานในการลงทะเบียนขอใช้สิทธิ ซึ่งสถานทูตไม่สามารถอนุญาตได้ เนื่องจาก กกต. ได้ยกเลิกบัตรดังกล่าวแล้ว ในอนาคตหาก กกต. สามารถประชาสัมพันธ์ชี้แจงให้คนไทยได้ทราบถึงเหตุผลว่าทำไมถึงได้ยกเลิกบัตรดังกล่าว ก็จะช่วยทั้งการทำงานของสถานทูตและประหยัดเวลาของคนไทยในต่างประเทศได้เป็นอย่างมาก
ปัญหาและอุปสรรคดังกล่าว สถานทูตได้พยายามแก้ไขมาเป็นระยะๆ โดยการส่งรายชื่อคนไทยที่เดินทางกลับประเทศไทยแล้ว เท่าที่สถานทูตจะหาข้อมูลได้ ให้กระทรวงการต่างประเทศเพื่อดำเนินการตรวจสอบ และดำเนินการย้ายสถานที่เลือกตั้ง เช่นที่เคยทำมาก็เป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ได้ผลอีกทางหนึ่ง
สถานทูตยังมีข้อเสนอแนะมาด้วยว่าการประชาสัมพันธ์ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เดินทางกลับประเทศไทยแล้ว หรือมีกำหนดเดินทางกลับเมืองไทยก่อนการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร ไปถอนชื่อออกจากบัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณา รวมทั้งการรณรงค์ให้คนไทยในต่างประเทศมาลงทะเบียนขอใช้สิทธิเพิ่มเติม เพื่อเป็นการปรับบัญชีผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งฯ ให้มีความทันสมัย สะท้อนความเป็นจริง และสามารถคำนวณสัดส่วนผู้มาใช้สิทธิได้อย่างถูกต้อง ก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน จึงควรทำการประชาสัมพันธ์ควบคู่กัน และล่วงหน้าก่อนการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรเป็นเวลาพอสมควร
ข้อเสนอที่น่าจะรับฟังอีกข้อ คือ กกต. อาจจะกำหนดให้ผู้มาแจ้งขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรระบุเลยว่า ต้องการใช้สิทธิในการเลือกตั้งใด ก็ให้ใช้ได้เฉพาะครั้งนั้น และอาจอนุญาตให้นำหลักฐานมาแสดงตนเพื่อใช้สิทธิในวันเลือกตั้งได้ โดยถือว่าเป็นการยื่นขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรโดยอัตโนมัติ ซึ่งน่าจะช่วยลดความยุ่งยากในการลงทะเบียน on-line รวมทั้งการแก้ปัญหาคนไทยมาแจ้งขอใช้สิทธิหลังการยุบสภาไม่ทันอีกด้วย นอกจากนี้ ควรหมั่นปรับปรุงระบบการพิมพ์บัญชีรายชื่อในเวปไซท์ khonthai.com เพื่อให้สามารถดาวน์โหลตและพิมพ์ข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น โดยอาจทำในรูปแบบ pdf แทนรูปแบบเดิมซึ่งใช้เวลานานมาก
ข้อเสนอแนะที่กล่าวมานี้ถือว่าเป็นการ “ช่วยกันทำ ช่วยกันคิด” เพราะสถานทูตอยู่ในพื้นที่ย่อมต้องทราบดีถึงปัญหาและแนวทางแก้ไข หน่วยงานที่เกี่ยวข้องน่าที่จะรับฟังไว้บ้าง โดยเฉพาะข้อที่ว่า การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรนั้น ควรจะจัดแค่แบบบัญชีรายชื่อก็น่าจะเพียงพอต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ให้คนไทยทุกคนได้ทำหน้าที่ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นการส่งเสริมการเมืองระบบหลายพรรคตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ และยังมีโอกาสเกิดความผิดพลาดน้อยกว่าการจัดการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต รวมทั้งมีความยุ่งยากน้อยกว่าด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ระหว่างที่รอให้ปัญหาการเลือกตั้ง สส. ครั้งที่ผ่านมาในประเทศไทยได้ข้อยุติลง ไท ดูโตขอนำปัญหา และอุปสรรคที่สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ของไทยต้องเผชิญในการจัดการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรมาเล่าสู่กันฟัง เพราะแม้ว่าสถานทูตสถานกงสุลไทยได้จัดการเลือกตั้งทั้ง สส. และ สว. นอกราชอาณาจักรได้อย่างเรียบร้อยและสมบูรณ์ แต่เจ้าหน้าที่จำนวนเพียงหยิบมือต้องปฏิบัติงานภายใต้ความกดดันของกำหนดเวลาที่กระชั้นชิด จึงมีความยากลำบากในการจัดการเลือกตั้งทั้งสองครั้งอยู่ไม่น้อย
ขอนำท่านผู้อ่านไปร่วมรับทราบข้อคิดเห็นของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไคโร เกี่ยวกับปัญหาการจัดการเลือกตั้ง สส. และ สว. นอกราชอาณาจักร ตลอดจนแนวทางแก้ไขปัญหา เพราะไม่แน่ว่าในอนาคตอันใกล้นี้ เราอาจจะต้องจัดการเลือกตั้ง สส. อีกครั้งก็เป็นได้
ปัญหาหลักๆ ที่สถานทูตและสถานกงสุลไทยทุกแห่งต้องเผชิญ คือ การลงทะเบียนคนไทยที่ไปแจ้งขอใช้สิทธิเลือกตั้งให้ทันกำหนดเวลาที่ กกต. กำหนด แม้ว่าสถานทูตจะประชาสัมพันธ์ล่วงหน้ารวมทั้งส่งเจ้าหน้าที่ไปพบปะคนไทยในพื้นที่ต่างๆ เพื่อประชาสัมพันธ์และแจกเอกสารเลือกตั้ง แต่ยังมีคนไทยจำนวนหนึ่งไม่ได้ไปลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้ง อาจเป็นเพราะไม่สนใจหรือคิดว่าเก็บไว้ทำในตอนหลัง จึงไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียน เมื่อถึงกำหนดวันเลือกตั้ง จึงไม่สามารถลงคะแนนได้เนื่องจากไม่เคยแจ้งชื่อขอใช้สิทธิมาก่อน
นอกจากนี้ การที่ กกต. ได้กำหนดให้วันสุดท้ายของการลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งเป็นวันถัดจากวันที่ออกพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้ง ทำให้การเลือกตั้ง สส. ภายหลังการยุบสภา มีคนไทยในต่างประเทศจำนวนมากแจ้งขอใช้สิทธิไม่ทัน และสถานทูตไม่มีโอกาสประชาสัมพันธ์ให้คนไทยมาลงทะเบียนได้อย่างทั่วถึง
ในกรณีเร่งด่วน เจ้าหน้าที่สถานทูตไม่สามารถดาวน์โหลตข้อมูลรายชื่อผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งจากเวปไซท์ khonthai.comได้อย่างทันการ เนื่องจากความเร็วของระบบอินเตอร์เน็ตในประเทศที่อยู่ห่างไกลจากเมืองไทยมีความล่าช้ามาก การแก้ไขปัญหานี้โดยการส่ง CD ทาง DHL ก็มิได้ช่วยให้เร็วขึ้น เพราะระบบไปรษณีย์ของบางประเทศในตะวันออกกลางไม่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะสถานทูตไทยในอียิปต์ได้รับแผ่นซีดีสำหรับการเลือกตั้ง สส. ล่าช้าไปเกือบ 1 สัปดาห์
ยังมีปัญหาจำนวนคนไทยในทะเบียนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่ตรงกับความเป็นจริง เนื่องจากคนไทยจำนวนมากที่ได้ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งกับสถานทูตและสถานกงสุลต้องเดินทางกลับเมืองไทย แต่ไม่ได้ถอนชื่อออกจากทะเบียน เช่น นักศึกษาไทยที่จบการศึกษา หรือย้ายประเทศ ส่วนนักศึกษาที่เดินทางมาถึงใหม่ก็ไปแจ้งขอใช้สิทธิเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในทะเบียนของสถานทูตมีจำนวนมากเกินความเป็นจริง
ในการเลือกตั้ง สส. และ สว. นอกราชอาณาจักร ครั้งที่ผ่านมา ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงหลายรายประสงค์จะใช้บัตรเลือกตั้งที่ กกต. ออกให้เมื่อปี 2543 เป็นหลักฐานในการลงทะเบียนขอใช้สิทธิ ซึ่งสถานทูตไม่สามารถอนุญาตได้ เนื่องจาก กกต. ได้ยกเลิกบัตรดังกล่าวแล้ว ในอนาคตหาก กกต. สามารถประชาสัมพันธ์ชี้แจงให้คนไทยได้ทราบถึงเหตุผลว่าทำไมถึงได้ยกเลิกบัตรดังกล่าว ก็จะช่วยทั้งการทำงานของสถานทูตและประหยัดเวลาของคนไทยในต่างประเทศได้เป็นอย่างมาก
ปัญหาและอุปสรรคดังกล่าว สถานทูตได้พยายามแก้ไขมาเป็นระยะๆ โดยการส่งรายชื่อคนไทยที่เดินทางกลับประเทศไทยแล้ว เท่าที่สถานทูตจะหาข้อมูลได้ ให้กระทรวงการต่างประเทศเพื่อดำเนินการตรวจสอบ และดำเนินการย้ายสถานที่เลือกตั้ง เช่นที่เคยทำมาก็เป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ได้ผลอีกทางหนึ่ง
สถานทูตยังมีข้อเสนอแนะมาด้วยว่าการประชาสัมพันธ์ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เดินทางกลับประเทศไทยแล้ว หรือมีกำหนดเดินทางกลับเมืองไทยก่อนการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร ไปถอนชื่อออกจากบัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณา รวมทั้งการรณรงค์ให้คนไทยในต่างประเทศมาลงทะเบียนขอใช้สิทธิเพิ่มเติม เพื่อเป็นการปรับบัญชีผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งฯ ให้มีความทันสมัย สะท้อนความเป็นจริง และสามารถคำนวณสัดส่วนผู้มาใช้สิทธิได้อย่างถูกต้อง ก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน จึงควรทำการประชาสัมพันธ์ควบคู่กัน และล่วงหน้าก่อนการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรเป็นเวลาพอสมควร
ข้อเสนอที่น่าจะรับฟังอีกข้อ คือ กกต. อาจจะกำหนดให้ผู้มาแจ้งขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรระบุเลยว่า ต้องการใช้สิทธิในการเลือกตั้งใด ก็ให้ใช้ได้เฉพาะครั้งนั้น และอาจอนุญาตให้นำหลักฐานมาแสดงตนเพื่อใช้สิทธิในวันเลือกตั้งได้ โดยถือว่าเป็นการยื่นขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรโดยอัตโนมัติ ซึ่งน่าจะช่วยลดความยุ่งยากในการลงทะเบียน on-line รวมทั้งการแก้ปัญหาคนไทยมาแจ้งขอใช้สิทธิหลังการยุบสภาไม่ทันอีกด้วย นอกจากนี้ ควรหมั่นปรับปรุงระบบการพิมพ์บัญชีรายชื่อในเวปไซท์ khonthai.com เพื่อให้สามารถดาวน์โหลตและพิมพ์ข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น โดยอาจทำในรูปแบบ pdf แทนรูปแบบเดิมซึ่งใช้เวลานานมาก
ข้อเสนอแนะที่กล่าวมานี้ถือว่าเป็นการ “ช่วยกันทำ ช่วยกันคิด” เพราะสถานทูตอยู่ในพื้นที่ย่อมต้องทราบดีถึงปัญหาและแนวทางแก้ไข หน่วยงานที่เกี่ยวข้องน่าที่จะรับฟังไว้บ้าง โดยเฉพาะข้อที่ว่า การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรนั้น ควรจะจัดแค่แบบบัญชีรายชื่อก็น่าจะเพียงพอต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ให้คนไทยทุกคนได้ทำหน้าที่ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นการส่งเสริมการเมืองระบบหลายพรรคตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ และยังมีโอกาสเกิดความผิดพลาดน้อยกว่าการจัดการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต รวมทั้งมีความยุ่งยากน้อยกว่าด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-