นายพินิจ กอศรีพร รองเลขาธิการและโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)ได้เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรี 14 มีนาคม 2549 ที่ได้มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จัดเขตปลูก มันสำปะหลัง สำหรับการผลิตเอทานอล รวมทั้ง การจัดทำการเกษตรแบบมีสัญญา(Contract Farming) ด้วยนั้น
การดำเนินงานขณะนี้ได้ประสานกับทางจังหวัดที่มีโรงงานเอทานอลตั้งอยู่ได้แก่ บริษัทฟ้าขวัญทิพย์ จำกัด จังหวัดปราจีนบุรี บริษัท ไทยง้วนเอทานอล จำกัด และบริษัทน้ำตาลขอนแก่น จำกัด จังหวัดขอนแก่นโดยการดำเนินงานได้มีการหารือกับส่วนราชการในพื้นที่ และเกษตรกรผู้ปลูกมัน รวมทั้งฝ่ายโรงงาน เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2549 ที่จังหวัดปราจีนบุรี และวันที่ 9 พฤษภาคม 2549 ที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 4 จังหวัดขอนแก่น ผลการหารือได้มีข้อสรุปว่า สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร จะเป็นผู้บูรณาการประสานงานกับส่วนราชการในพื้นที่ร่วมดำเนินกิจกรรมในการสนับสนุนเกษตรกรทำการเพิ่มผลผลิตจากประมาณ 3 ตันต่อไร่ให้ได้ 5 ตันต่อไร่ ตามเป้าหมายยุทธศาสตร์มันสำปะหลังของกระทรวงเกษตรละสหกรณ์
ในขณะเดียวกันการผลิตควรจะอยู่บนพื้นฐานของความต้องการของโรงงาน ที่ฝ่ายโรงงานได้ให้ความสำคัญกับชนิดพันธุ์มันที่ให้เปอร์เซ็นแป้งสูง และมีความสะอาดตามเกณฑ์คุณภาพมาตรฐาน ก็ยินดีที่จะทำสัญญารับซื้อในราคาที่เป็นธรรม ซึ่งในขั้นต้นได้กำหนดไว้ว่า หากหัวมันสดได้เกณฑ์คุณภาพมาตรฐาน มีเชื้อแป้งไม่น้อยกว่า 24 % จะสามารถให้ราคาได้กิโลกรัมละ 1.50 บาท และยินดีทำสัญญา Contract Farming กับเกษตรกร โดยบริษัทจะนำเสนอแผนความต้องการหัวมันสดตลอดช่วงเวลาที่ทำการผลิต เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรดำเนินการจัดสรรการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของโรงงานเท่าที่มีความเป็นไปได้มากที่สุด
ผลของการหารือได้นำมาสู่ข้อสรุปที่พบทางออกให้แก่ทุกฝ่ายเกิดความพอใจ ซึ่งเกษตรกรผู้ปลูกมันจะเกิดหลักประกันในด้านราคา และรายได้ของการปลูกมันในอนาคต แต่ต้องใช้ความพยายามผลิตให้ได้ตามคุณภาพที่โรงงานต้องการ ในประเด็นนี้ส่วนราชการจะสามารถช่วยสนับสนุนเกษตรกรได้ ฝ่ายโรงงานจะเกิดหลักประกันของการมีวัตถุดิบที่มีคุณภาพเพียงพอ และเกิดความแน่นอนในต้นทุนของวัตถุดิบที่จะดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่น นี่คือผลประโยชน์ที่ส่วนราชการทำให้แก่ประชาชน สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร จะเร่งดำเนินการในเรื่องนี้ไปยังจังหวัดอื่น ๆ อีกที่มีโรงงานผลิตเอทานอลตั้งอยู่ เพื่อให้ผลการดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตามที่วางไว้ต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
การดำเนินงานขณะนี้ได้ประสานกับทางจังหวัดที่มีโรงงานเอทานอลตั้งอยู่ได้แก่ บริษัทฟ้าขวัญทิพย์ จำกัด จังหวัดปราจีนบุรี บริษัท ไทยง้วนเอทานอล จำกัด และบริษัทน้ำตาลขอนแก่น จำกัด จังหวัดขอนแก่นโดยการดำเนินงานได้มีการหารือกับส่วนราชการในพื้นที่ และเกษตรกรผู้ปลูกมัน รวมทั้งฝ่ายโรงงาน เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2549 ที่จังหวัดปราจีนบุรี และวันที่ 9 พฤษภาคม 2549 ที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 4 จังหวัดขอนแก่น ผลการหารือได้มีข้อสรุปว่า สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร จะเป็นผู้บูรณาการประสานงานกับส่วนราชการในพื้นที่ร่วมดำเนินกิจกรรมในการสนับสนุนเกษตรกรทำการเพิ่มผลผลิตจากประมาณ 3 ตันต่อไร่ให้ได้ 5 ตันต่อไร่ ตามเป้าหมายยุทธศาสตร์มันสำปะหลังของกระทรวงเกษตรละสหกรณ์
ในขณะเดียวกันการผลิตควรจะอยู่บนพื้นฐานของความต้องการของโรงงาน ที่ฝ่ายโรงงานได้ให้ความสำคัญกับชนิดพันธุ์มันที่ให้เปอร์เซ็นแป้งสูง และมีความสะอาดตามเกณฑ์คุณภาพมาตรฐาน ก็ยินดีที่จะทำสัญญารับซื้อในราคาที่เป็นธรรม ซึ่งในขั้นต้นได้กำหนดไว้ว่า หากหัวมันสดได้เกณฑ์คุณภาพมาตรฐาน มีเชื้อแป้งไม่น้อยกว่า 24 % จะสามารถให้ราคาได้กิโลกรัมละ 1.50 บาท และยินดีทำสัญญา Contract Farming กับเกษตรกร โดยบริษัทจะนำเสนอแผนความต้องการหัวมันสดตลอดช่วงเวลาที่ทำการผลิต เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรดำเนินการจัดสรรการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของโรงงานเท่าที่มีความเป็นไปได้มากที่สุด
ผลของการหารือได้นำมาสู่ข้อสรุปที่พบทางออกให้แก่ทุกฝ่ายเกิดความพอใจ ซึ่งเกษตรกรผู้ปลูกมันจะเกิดหลักประกันในด้านราคา และรายได้ของการปลูกมันในอนาคต แต่ต้องใช้ความพยายามผลิตให้ได้ตามคุณภาพที่โรงงานต้องการ ในประเด็นนี้ส่วนราชการจะสามารถช่วยสนับสนุนเกษตรกรได้ ฝ่ายโรงงานจะเกิดหลักประกันของการมีวัตถุดิบที่มีคุณภาพเพียงพอ และเกิดความแน่นอนในต้นทุนของวัตถุดิบที่จะดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่น นี่คือผลประโยชน์ที่ส่วนราชการทำให้แก่ประชาชน สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร จะเร่งดำเนินการในเรื่องนี้ไปยังจังหวัดอื่น ๆ อีกที่มีโรงงานผลิตเอทานอลตั้งอยู่ เพื่อให้ผลการดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตามที่วางไว้ต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-