‘ปชป.’ รุกต่อคดีซื้อรถพยาบาลฉุกเฉิน จี้ สตง.-ป.ป.ช. — คตส. ตรวจสอบ “ล็อกสเป็ก” ตั้งแต่ยุค “สุดารัตน์ — สุชัย” กับสินค้าไม่ได้มาตรฐาน ชี้เป็นแผลเน่าเรื้อรังที่ต้องเร่งดูแลจริงจัง ฝากการบ้านรมว.สธ. สาวหานักการเมืองบงการทุจริตทั้งรถพยาบาลและกรณีทุจริตซื้อคอมพ์ 900 ล้าน
ที่พรรคประชาธิปัตย์ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2549 นพ. วรงค์ เดชกิจวิกรม อดีตส.ส.พิษณุโลกคณะทำงานด้านสังคม พรรคประชาธิปัตย์แถลง ถึงกรณีที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) สั่งอายัดรถพยาบาลฉุกเฉิน เนื่องจากความไม่โปร่งใสในการประมูลจัดซื้อจัดจ้างรถพยาบาลฉุกเฉิน จำนวน 232 คัน ของกระทรวงสาธารณสุข โดยระบุว่าไม่ผ่านการตรวจรับสินค้าเพราะไม่ได้มาตรฐาน ว่า เห็นด้วยกับการออกคำสั่งดังกล่าว แต่เรื่องดังกล่าวมีความซับซ้อนในหลายส่วน ที่ตนอยากเสนอให้สตง.ไปดูในส่วนความผิด 2 ประเด็น คือ1.ช่วงของการล๊อคสเป็กที่เกิดในสมัย คุณหญิง สุดารัตน์ เกยุราพันธ์ เป็นรมว.สาธารณสุข จนมาถึงนพ. สุชัย เจริญรัตนกุล ที่มีการล้มประมูลและตั้งสเป็กขึ้นมาใหม่ ทั้งหมด 7 ครั้ง และ 2. เรื่องสินค้า หรือรถพยาบาลที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งสิ่งที่ตนเป็นห่วงและไม่สบายใจคือ กระแสสังคมพยายามชี้ให้เห็นว่าการทุจริตการจัดซื้อรถพยาบาลดังกล่าวเป็นการทุจริตเพราะเป็นการเปิดรับรถที่ไม่ได้มาตรฐาน
“การไม่ตรวจรับรถเป็นเพียงบาดแผลถลอก แต่ที่เน่าเรื้อรังที่ทั้งสตง. คตส. ปปช. ต้องเข้ามาดูแลจริงจังคือกระบวนการล๊อคสเป็กที่เกิดขึ้นและต่อเนื่องมาตลอด แม้จะมีการตรวจสอบแก้ไขสเป็ก คณะกรรมการกำหนดสเป็กก็ยังยืนยันสเป็กเดิมและราคากลางเดิม ชี้ให้เห็นว่าไม่มีการเกรงหน้าอินทร์หน้าพรหม ยังยืนยันล๊อกสเป็กเหมือนเดิม เพื่อหาผลประโยชน์”
นพ.วรงค์กล่าวว่า ตนได้รับเอกสารหนังสือลับ ลงนามโดยนพ.สุชัย สมัยเป็นรมว.สาธารณสุขลงวันที่ 28 ต.ค. 2548 ถึงประธานคณะกรรมาธิการสาธารณสุข มีเนื้อหายอมรับว่า ผู้มีอำนาจดำเนินการจัดซื้อรถพยาบาลไม่ได้ดำเนินการให้ถูกต้องรอบคอบ ขาดความเอาใจใส่ไม่ระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของทางราชการ มีการกำหนดรายละเอียด คุณลักษณะของรถพยาบาลฉุกเฉินระดับสูงที่มีรายละเอียดมากเกินความจำเป็น และเจาะจงทำให้เหลือผู้มีโอกาสเสนอราคาน้อยรายไม่มีการแก้ไขคุณลักษณะเฉพาะของรถพยาบาล แม้จะมีการทักท้วง ส่อให้เห็นว่าอาจมีผู้จงใจปกปิดข้อความที่ควรแจ้ง จนเป็นเหตุให้ราชการเสียหาย แสดงให้เห็นว่ารมว.สาธาณสุขยอมรับว่ามีการทุจริตในโครงการนี้จริง แต่ที่แปลกใจคือเรื่องนี้ได้เงียบหายไป อีกทั้งกรณีที่บริษัทพูลพันธ์วัฒนา ที่ได้ชนะการประมูล มีการเปิดซองวันที่ 25 พ.ค. แต่กลับได้ ISO วันที่ 24 พ.ค. เพียง 1 วันก่อนเปิดซองประมูล ถือเป็นหลักฐานว่าเรื่องนี้มีความพยายามทำกันเป็นปีๆ โดยมีอิทธิพลของบางคนอยู่เบื้องหลังของการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตั้งแต่แรก
นพ.วรงค์กล่าวว่าขอฝากไปยังนพ. มงคล ณ สงขลา รมว.สาธารณสุขคนใหม่ ที่เข้ามาทำหน้าที่ในช่วงสถานการณ์การปฏิรูปการปกครอง ที่มีภารกิจเรื่องการปราบปรามการทุจริต ขอให้ความสนใจปัญหาหลักใหญ่ๆในกระทรวงสาธารณะสุข 2 ปัญหา คือ 1.การจัดซื้อรถพยาบาลและ 2. การจัดซื้อจัดจ้างระบบคอมพิวเตอร์900 ล้านบาท ซึ่งไม่มีนักการเมืองคนไหนเซ็นคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรให้ข้าราชการเพื่อให้กระทำทุจริตตามที่ต้องการ แต่จะใช้วิธีการสั่งต่อๆกัน และไม่มีนักการเมืองคนใดทำได้เองโดยข้าราชการไม่ให้ความร่วมมือ ขณะเดียวกันข้าราชการไม่มีทางทำทุจริตโดยนักการเมืองไม่สั่งการ ดังนั้นเรื่องนี้จึงน่าจะมีการร่วมมือกับระหว่างนักการเมืองกับข้าราชการ
“ผมขอเรียกร้องให้หน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบกันข้าราชการมาเป็นพยาน เชื่อว่าจะสาวไปถึงตัวนักการเมืองผู้บงการได้ ซึ่งที่ผ่านมาผมได้ยื่นหลักฐานให้กับ ปปช.ไปบ้างแล้ว แต่ถ้าสตง. หรือ ปปช.ต้องการข้อมูล หรืออยากให้ไปสรุปข้อมูลเพิ่มเติม ก็ยินดีให้ความร่วมมือ ส่วนเอกสารลับ จำนวน 90 กว่าหน้า ที่ได้จากคนในกระทรวงสาธารณสุขนั้น ตั้งใจว่าจะไปยื่นให้กับปปช.หากมีการเชิญให้ไปชี้แจง ซึ่งจะชี้ให้เห็นว่าเอกสารการทุจริตนี้มีการทำที่แยบยลอย่างไรบ้าง” นพ.วรงค์กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 31 ต.ค. 2549--จบ--
ที่พรรคประชาธิปัตย์ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2549 นพ. วรงค์ เดชกิจวิกรม อดีตส.ส.พิษณุโลกคณะทำงานด้านสังคม พรรคประชาธิปัตย์แถลง ถึงกรณีที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) สั่งอายัดรถพยาบาลฉุกเฉิน เนื่องจากความไม่โปร่งใสในการประมูลจัดซื้อจัดจ้างรถพยาบาลฉุกเฉิน จำนวน 232 คัน ของกระทรวงสาธารณสุข โดยระบุว่าไม่ผ่านการตรวจรับสินค้าเพราะไม่ได้มาตรฐาน ว่า เห็นด้วยกับการออกคำสั่งดังกล่าว แต่เรื่องดังกล่าวมีความซับซ้อนในหลายส่วน ที่ตนอยากเสนอให้สตง.ไปดูในส่วนความผิด 2 ประเด็น คือ1.ช่วงของการล๊อคสเป็กที่เกิดในสมัย คุณหญิง สุดารัตน์ เกยุราพันธ์ เป็นรมว.สาธารณสุข จนมาถึงนพ. สุชัย เจริญรัตนกุล ที่มีการล้มประมูลและตั้งสเป็กขึ้นมาใหม่ ทั้งหมด 7 ครั้ง และ 2. เรื่องสินค้า หรือรถพยาบาลที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งสิ่งที่ตนเป็นห่วงและไม่สบายใจคือ กระแสสังคมพยายามชี้ให้เห็นว่าการทุจริตการจัดซื้อรถพยาบาลดังกล่าวเป็นการทุจริตเพราะเป็นการเปิดรับรถที่ไม่ได้มาตรฐาน
“การไม่ตรวจรับรถเป็นเพียงบาดแผลถลอก แต่ที่เน่าเรื้อรังที่ทั้งสตง. คตส. ปปช. ต้องเข้ามาดูแลจริงจังคือกระบวนการล๊อคสเป็กที่เกิดขึ้นและต่อเนื่องมาตลอด แม้จะมีการตรวจสอบแก้ไขสเป็ก คณะกรรมการกำหนดสเป็กก็ยังยืนยันสเป็กเดิมและราคากลางเดิม ชี้ให้เห็นว่าไม่มีการเกรงหน้าอินทร์หน้าพรหม ยังยืนยันล๊อกสเป็กเหมือนเดิม เพื่อหาผลประโยชน์”
นพ.วรงค์กล่าวว่า ตนได้รับเอกสารหนังสือลับ ลงนามโดยนพ.สุชัย สมัยเป็นรมว.สาธารณสุขลงวันที่ 28 ต.ค. 2548 ถึงประธานคณะกรรมาธิการสาธารณสุข มีเนื้อหายอมรับว่า ผู้มีอำนาจดำเนินการจัดซื้อรถพยาบาลไม่ได้ดำเนินการให้ถูกต้องรอบคอบ ขาดความเอาใจใส่ไม่ระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของทางราชการ มีการกำหนดรายละเอียด คุณลักษณะของรถพยาบาลฉุกเฉินระดับสูงที่มีรายละเอียดมากเกินความจำเป็น และเจาะจงทำให้เหลือผู้มีโอกาสเสนอราคาน้อยรายไม่มีการแก้ไขคุณลักษณะเฉพาะของรถพยาบาล แม้จะมีการทักท้วง ส่อให้เห็นว่าอาจมีผู้จงใจปกปิดข้อความที่ควรแจ้ง จนเป็นเหตุให้ราชการเสียหาย แสดงให้เห็นว่ารมว.สาธาณสุขยอมรับว่ามีการทุจริตในโครงการนี้จริง แต่ที่แปลกใจคือเรื่องนี้ได้เงียบหายไป อีกทั้งกรณีที่บริษัทพูลพันธ์วัฒนา ที่ได้ชนะการประมูล มีการเปิดซองวันที่ 25 พ.ค. แต่กลับได้ ISO วันที่ 24 พ.ค. เพียง 1 วันก่อนเปิดซองประมูล ถือเป็นหลักฐานว่าเรื่องนี้มีความพยายามทำกันเป็นปีๆ โดยมีอิทธิพลของบางคนอยู่เบื้องหลังของการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตั้งแต่แรก
นพ.วรงค์กล่าวว่าขอฝากไปยังนพ. มงคล ณ สงขลา รมว.สาธารณสุขคนใหม่ ที่เข้ามาทำหน้าที่ในช่วงสถานการณ์การปฏิรูปการปกครอง ที่มีภารกิจเรื่องการปราบปรามการทุจริต ขอให้ความสนใจปัญหาหลักใหญ่ๆในกระทรวงสาธารณะสุข 2 ปัญหา คือ 1.การจัดซื้อรถพยาบาลและ 2. การจัดซื้อจัดจ้างระบบคอมพิวเตอร์900 ล้านบาท ซึ่งไม่มีนักการเมืองคนไหนเซ็นคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรให้ข้าราชการเพื่อให้กระทำทุจริตตามที่ต้องการ แต่จะใช้วิธีการสั่งต่อๆกัน และไม่มีนักการเมืองคนใดทำได้เองโดยข้าราชการไม่ให้ความร่วมมือ ขณะเดียวกันข้าราชการไม่มีทางทำทุจริตโดยนักการเมืองไม่สั่งการ ดังนั้นเรื่องนี้จึงน่าจะมีการร่วมมือกับระหว่างนักการเมืองกับข้าราชการ
“ผมขอเรียกร้องให้หน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบกันข้าราชการมาเป็นพยาน เชื่อว่าจะสาวไปถึงตัวนักการเมืองผู้บงการได้ ซึ่งที่ผ่านมาผมได้ยื่นหลักฐานให้กับ ปปช.ไปบ้างแล้ว แต่ถ้าสตง. หรือ ปปช.ต้องการข้อมูล หรืออยากให้ไปสรุปข้อมูลเพิ่มเติม ก็ยินดีให้ความร่วมมือ ส่วนเอกสารลับ จำนวน 90 กว่าหน้า ที่ได้จากคนในกระทรวงสาธารณสุขนั้น ตั้งใจว่าจะไปยื่นให้กับปปช.หากมีการเชิญให้ไปชี้แจง ซึ่งจะชี้ให้เห็นว่าเอกสารการทุจริตนี้มีการทำที่แยบยลอย่างไรบ้าง” นพ.วรงค์กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 31 ต.ค. 2549--จบ--