สำนักงานเศรษฐกิจการคลังรายงานภาวะเศรษฐกิจไทยในเดือนกรกฎาคม พบว่าอัตราการจ้างงานอยู่ในเกณฑ์ดี อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำ โดยอัตราการว่างงานเดือนกรกฎาคมอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.4 ลดลงจากร้อยละ 1.9 ในเดือนก่อน ขณะที่ดุลการค้าปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจนจากการส่งออกที่ขยายตัวดีขึ้น ขณะที่นโยบายบริหารการนำเข้าที่มีประสิทธิภาพ ช่วยให้การนำเข้าขยายตัวลดลง สำหรับการจ้างงานโดยรวมพบว่าการจ้างงานนอกภาคเกษตรยังเป็นตัวหลัก ซึ่งผลักดันให้การจ้างงานโดยรวมสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม เสถียรภาพเศรษฐกิจต่างประเทศ สะท้อนจากทุนสำรองระหว่างประเทศยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี ขณะที่ ระดับราคาภายในประเทศปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน
นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง แถลงรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังเดือนกรกฎาคม 2548 ดังนี้
การจ้างงานภาคการเกษตร พบว่าการจ้างงานโดยรวมปรับตัวลดลงต่อเนื่อง อันเป็นผลส่วนหนึ่งมาจากบางพื้นที่เพาะปลูกได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง แม้ว่าจะเริ่มเข้าสู่ฤดูเพาะปลูกสินค้าเกษตรหลัก โดยในเดือนกรกฎาคม การจ้างงานภาคการเกษตรลดลงร้อยละ 4.8 ต่อปี ส่วนหนึ่งเนื่องจากบางพื้นที่เพาะปลูกได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง โดยเฉพาะการจ้างงานในภาคเกษตรกรรม ลดลงร้อยละ 5.3 ขณะที่การจ้างงานภาคการประมงยังคงขยายตัวดี เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.9
สำหรับการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมกลับมาขยายตัวจากที่ลดลงในเดือนก่อน โดยเฉพาะภาคการผลิตเพื่อการส่งออก โดยการจ้างงานภาคอุตสาหกรรมในเดือนกรกฎาคมกลับมาขยายตัวร้อยละ 5.4 จากที่ลดลงร้อยละ -1.3 ในเดือนก่อน โดยความต้องการแรงงานปรับตัวดีขึ้นตามการขยายการผลิตเพื่อรองรับกับการเพิ่มขึ้นของคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ
การจ้างงานในภาคการก่อสร้างขยายตัวต่อเนื่อง โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการลงทุนของภาครัฐ โดยอัตราการจ้างงานใหม่ในเดือนกรกฎาคมขยายตัวร้อยละ 2.3 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ -0.3 ในเดือนก่อน เป็นผลจากขยายตัวของการลงทุนของภาครัฐ
การจ้างงานในภาคการโรงแรมชะลอตัวลงเล็กน้อย โดยการจ้างงานภาคการโรงแรมในเดือนกรกฎาคมชะลอตัวลง โดยขยายตัวเพียงร้อยละ 0.2 ต่อปี เนื่องจากเป็นช่วง Low Season ของการท่องเที่ยวนักท่องเที่ยวทั้งไทย และต่างประเทศท่องเที่ยวน้อย
การบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน และการลงทุนภาคเอกชนทั้งการลงทุนในเครื่องมือ เครื่องจักรและการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เริ่มชะลอตัวลง เนื่องจากความกังวลเรื่องราคาสินค้าที่แพงขึ้นและรายได้ที่อาจจะไม่เพียงพอต่อการครองชีพ โดยการจัดเก็บรายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนกรกฎาคมชะลอตัวลงเล็กน้อยอยู่ที่ร้อยละ 12.1 ลดลงจากร้อยละ 18.5 ในเดือนก่อน ขณะที่การสงทุนภาคเอกชน พบว่ามูลค่าการนำเข้าสินค้าทุนในรูปเหรียญสรอ. ที่ชะลอตัวลงจากเดิมที่เคยขยายตัวร้อยละ 20.4 ในเดือนมิถุนายน มาขยายตัวเพียงร้อยละ 8.7 ในเดือนกรกฎาคม โดยสินค้าเครื่องจักรกลเดือนกรกฎาคมที่ขยายตัวร้อยละ 8.4 จากที่เคยขยายตัวถึงร้อยละ 17.7 ในเดือนมิถุนายน และเครื่องจักรไฟฟ้าและเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าขยายตัวร้อยละ 14.5
การค้าระหว่างประเทศขยายตัวสูงต่อเนื่อง โดยในเดือนกรกฎาคม มูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 9,520.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 18.1 โดยสินค้าที่ยังคงมีการขยายตัวสูงได้แก่ สินค้าผลิตภัณฑ์จากเหมือง สินค้าประเภทปลาและสัตว์น้ำ เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ และ รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขณะที่มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 9,604.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 20.0 ต่อปี ซึ่งเป็นการขยายตัวต่ำที่สุดในปีนี้ สำหรับการส่งออกที่เพิ่มขึ้นและการนำเข้าที่ลดลงนี้เป็นผลจากการใช้นโยบายบริหารการส่งออกและนำเข้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการชะลอตัวลงของการนำเข้าน้ำมันดิบ และการนำเข้าเหล็ก
เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากราคาสินค้าอุปโภคบริโภคสูงขึ้น โดยอัตราเงินเฟ้อได้ปรับเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.8 ในเดือนมิถุนายน เป็นร้อยละ 5.3 ในเดือนกรกฎาคม โดยสินค้าหมวดที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 2.2 โดยเฉพาะสินค้าประเภทน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล และค่าโดยสารสาธารณะที่ บขส.และ ขสมก.ได้ปรับอัตราค่าโดยสารตั้งแต่วันที่ 8 กรกฎาคม 2548 รวมทั้งค่าโดยสารเครื่องบินก็มีราคาสูงขึ้นด้วย ส่วนราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มปรับตัวลดลงร้อยละ 0.6 สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานขยายตัวร้อยละ 1.9 ใกล้เคียงกับเดือนก่อน
เสถียรภาพทางต่างประเทศยังอยู่ระดับที่น่าพอใจ โดยอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยในเดือนมิถุนายนอยู่ที่ 41.8 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงต่อเนื่อง ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือนมิถุนายนขาดดุล 1,535.0 ล้านเหรียญสหรัฐตามการขาดดุลการค้าที่สูง อย่างไรก็ตาม การที่ขาดดุลการค้าเดือนกรกฎาคมที่ลดลงอย่างมาก ประกอบกับคาดว่าดุลบริการน่าจะดีขึ้นจากการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว จะส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือนกรกฎาคมจะปรับตัวดีขึ้น ในขณะเดียวกันทุนสำรองระหว่างประเทศยังคงอยู่ในระดับสูง โดย ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม ทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ที่ 48.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือเท่ากับ 5.0 เดือนของมูลค่าการนำเข้า
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 13/2548 30 สิงหาคม 2548--
นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง แถลงรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังเดือนกรกฎาคม 2548 ดังนี้
การจ้างงานภาคการเกษตร พบว่าการจ้างงานโดยรวมปรับตัวลดลงต่อเนื่อง อันเป็นผลส่วนหนึ่งมาจากบางพื้นที่เพาะปลูกได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง แม้ว่าจะเริ่มเข้าสู่ฤดูเพาะปลูกสินค้าเกษตรหลัก โดยในเดือนกรกฎาคม การจ้างงานภาคการเกษตรลดลงร้อยละ 4.8 ต่อปี ส่วนหนึ่งเนื่องจากบางพื้นที่เพาะปลูกได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง โดยเฉพาะการจ้างงานในภาคเกษตรกรรม ลดลงร้อยละ 5.3 ขณะที่การจ้างงานภาคการประมงยังคงขยายตัวดี เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.9
สำหรับการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมกลับมาขยายตัวจากที่ลดลงในเดือนก่อน โดยเฉพาะภาคการผลิตเพื่อการส่งออก โดยการจ้างงานภาคอุตสาหกรรมในเดือนกรกฎาคมกลับมาขยายตัวร้อยละ 5.4 จากที่ลดลงร้อยละ -1.3 ในเดือนก่อน โดยความต้องการแรงงานปรับตัวดีขึ้นตามการขยายการผลิตเพื่อรองรับกับการเพิ่มขึ้นของคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ
การจ้างงานในภาคการก่อสร้างขยายตัวต่อเนื่อง โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการลงทุนของภาครัฐ โดยอัตราการจ้างงานใหม่ในเดือนกรกฎาคมขยายตัวร้อยละ 2.3 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ -0.3 ในเดือนก่อน เป็นผลจากขยายตัวของการลงทุนของภาครัฐ
การจ้างงานในภาคการโรงแรมชะลอตัวลงเล็กน้อย โดยการจ้างงานภาคการโรงแรมในเดือนกรกฎาคมชะลอตัวลง โดยขยายตัวเพียงร้อยละ 0.2 ต่อปี เนื่องจากเป็นช่วง Low Season ของการท่องเที่ยวนักท่องเที่ยวทั้งไทย และต่างประเทศท่องเที่ยวน้อย
การบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน และการลงทุนภาคเอกชนทั้งการลงทุนในเครื่องมือ เครื่องจักรและการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เริ่มชะลอตัวลง เนื่องจากความกังวลเรื่องราคาสินค้าที่แพงขึ้นและรายได้ที่อาจจะไม่เพียงพอต่อการครองชีพ โดยการจัดเก็บรายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนกรกฎาคมชะลอตัวลงเล็กน้อยอยู่ที่ร้อยละ 12.1 ลดลงจากร้อยละ 18.5 ในเดือนก่อน ขณะที่การสงทุนภาคเอกชน พบว่ามูลค่าการนำเข้าสินค้าทุนในรูปเหรียญสรอ. ที่ชะลอตัวลงจากเดิมที่เคยขยายตัวร้อยละ 20.4 ในเดือนมิถุนายน มาขยายตัวเพียงร้อยละ 8.7 ในเดือนกรกฎาคม โดยสินค้าเครื่องจักรกลเดือนกรกฎาคมที่ขยายตัวร้อยละ 8.4 จากที่เคยขยายตัวถึงร้อยละ 17.7 ในเดือนมิถุนายน และเครื่องจักรไฟฟ้าและเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าขยายตัวร้อยละ 14.5
การค้าระหว่างประเทศขยายตัวสูงต่อเนื่อง โดยในเดือนกรกฎาคม มูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 9,520.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 18.1 โดยสินค้าที่ยังคงมีการขยายตัวสูงได้แก่ สินค้าผลิตภัณฑ์จากเหมือง สินค้าประเภทปลาและสัตว์น้ำ เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ และ รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขณะที่มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 9,604.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 20.0 ต่อปี ซึ่งเป็นการขยายตัวต่ำที่สุดในปีนี้ สำหรับการส่งออกที่เพิ่มขึ้นและการนำเข้าที่ลดลงนี้เป็นผลจากการใช้นโยบายบริหารการส่งออกและนำเข้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการชะลอตัวลงของการนำเข้าน้ำมันดิบ และการนำเข้าเหล็ก
เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากราคาสินค้าอุปโภคบริโภคสูงขึ้น โดยอัตราเงินเฟ้อได้ปรับเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.8 ในเดือนมิถุนายน เป็นร้อยละ 5.3 ในเดือนกรกฎาคม โดยสินค้าหมวดที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 2.2 โดยเฉพาะสินค้าประเภทน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล และค่าโดยสารสาธารณะที่ บขส.และ ขสมก.ได้ปรับอัตราค่าโดยสารตั้งแต่วันที่ 8 กรกฎาคม 2548 รวมทั้งค่าโดยสารเครื่องบินก็มีราคาสูงขึ้นด้วย ส่วนราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มปรับตัวลดลงร้อยละ 0.6 สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานขยายตัวร้อยละ 1.9 ใกล้เคียงกับเดือนก่อน
เสถียรภาพทางต่างประเทศยังอยู่ระดับที่น่าพอใจ โดยอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยในเดือนมิถุนายนอยู่ที่ 41.8 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงต่อเนื่อง ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือนมิถุนายนขาดดุล 1,535.0 ล้านเหรียญสหรัฐตามการขาดดุลการค้าที่สูง อย่างไรก็ตาม การที่ขาดดุลการค้าเดือนกรกฎาคมที่ลดลงอย่างมาก ประกอบกับคาดว่าดุลบริการน่าจะดีขึ้นจากการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว จะส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือนกรกฎาคมจะปรับตัวดีขึ้น ในขณะเดียวกันทุนสำรองระหว่างประเทศยังคงอยู่ในระดับสูง โดย ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม ทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ที่ 48.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือเท่ากับ 5.0 เดือนของมูลค่าการนำเข้า
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 13/2548 30 สิงหาคม 2548--