Revolving Guarantee System (RGS)หรือที่รู้จักกันในชื่อ การค้ำประกันลอยคือ ระบบการค้ำประกันค่าภาษีอากรขาเข้าตามมาตรา 19 ทวิ ต่อกรมศุลกากรโดยวิธีวางประกันลอยผ่านระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ระหว่างธนาคารกับกรมศุลกากร ซึ่งจะช่วยลดขั้นตอนทางด้านเอกสารทำให้มีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น ผู้นำเข้าได้รับการคืนค่าภาษีเร็วขึ้น และสามารถขอคืนอากรขาเข้าได้ทุกครั้งที่มีการส่งออกโดยไม่ต้องรอจนครบจำนวนดังเช่นการค้ำประกันด้วยวิธีเดิมซึ่งใช้หนังสือค้ำประกันที่เป็นกระดาษจากธนาคาร
1. ผู้นำเข้าที่ได้รับอนุมัติวงเงินค้ำประกันจาก EXIM BANK สามารถขอรับบริการนี้ได้ทันที แต่หากยังไม่มีวงเงินประเภทนี้ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่สินเชื่อของ EXIM BANK เพื่อยื่นเอกสารขอวงเงินค้ำประกันลอย
2. ผู้นำเข้าต้องอนุมัติหลักการคืนอากรต่อกรมศุลกากรตามมาตรา 19 ทวิด้วยตนเองโดยยื่นหนังสือแสดงความจำนงของคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ โดยวิธีวางประกันลอยตามแบบ กศก. 29 ที่แนบท้ายประกาศกรมศุลกากรที่ 50/2540 ต่อหน่วยคืนอากรโดยวิธีวางประกันลอยฝ่ายอากรที่ 1 ตึก 120 ปี ชั้น 2 สำนักงานศุลกากรส่งออกท่าเรือกรุงเทพ พร้อมแนบสำเนาภาพถ่ายเอกสารซึ่งลงนามรับรองความถูกต้องจำนวน 2 ชด ดังนี้
- ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนนิติบุคคล ถ้าเป็นบุคคลธรรมดาให้ใช้ใบทะเบียนพาณิชย์แทน
- ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
- หนังสือรับรองของกระทรวงพาณิชย์แสดงวัตถุประสงค์ ผู้มีอำนาจลงนาม ที่ตั้งสถานประกอบการ
- ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน(ถ้ามี)
ทั้งนี้กรมศุลกากรจะมีหนังสือแจ้งการอนุมัติหลักการให้ผู้นำเข้าทราบภายใน 3 วันทำการนับตั้งแต่วันที่ยื่นคำขอ(กรณีเอกสารถูกต้องครบถ้วน)
การดำเนินการผ่านพิธีการศุลกากรมีส่วนที่เพิ่มเติมจากวิธีเดิมคือ เมื่อจะส่งสินค้าออก ผู้นำเข้าต้องยื่นใบขนสินค้าขาเข้าตามมาตรา 19 ทวิ พร้อมแนบใบขนสินค้าขาเข้า(กศก.99 ก.)และแสดงข้อความ"คืนอากรตาม ม.19 ทวิ โดยวิธีวางประกันลอย"ด้วยอักษรสีแดง ให้เห็นชัดเจนที่มุมบนด้านขวาของใบขนสินค้าขาเข้าและสำเนา ต่อหน่วยพิธีการนำเข้า สำนักงานศุลกากรนำเข้าท่าเรือกรุงเทพ
นอกจากนี้ในการผ่านพิธีการใบขนสินค้าขาออกตามมาตรา 19 ทวิ โดยวิธีวางประกันลอยผู้นำเข้าต้องยื่นใบแนบใบขนสินค้าขาออกขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ ตามแบบ กศก. 113 แนบท้ายประกาศกรมศุลการกร ที่ 50/2540 ประกอบการผ่านพิธีการ โดยให้แสดงข้อความ"คืนอากรตาม ม. 19 ทวิ โดยวิธีประกันลอย" ด้วยตัวอักษรสีแดง ให้เห็นชัดเจนที่มุมบนด้านขวาของใบขนสินค้าขาออกและใบแนบ ฯ ทั้งนี้ กรณีขอคืนวิธีวางประกันลอยบางส่วนให้แสดงในใบแนบใบขนสินค้าขาออกให้ชัดเจนว่าเป็นวัตถุดิบส่วนใด ในส่วนของการดำเนินการอื่น ๆ ให้ดำเนินการผ่านพิธีการตามปกติ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์ EXIM BANK โทร.0 2271 0506
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พฤษภาคม 2549--
-วส/พห-
1. ผู้นำเข้าที่ได้รับอนุมัติวงเงินค้ำประกันจาก EXIM BANK สามารถขอรับบริการนี้ได้ทันที แต่หากยังไม่มีวงเงินประเภทนี้ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่สินเชื่อของ EXIM BANK เพื่อยื่นเอกสารขอวงเงินค้ำประกันลอย
2. ผู้นำเข้าต้องอนุมัติหลักการคืนอากรต่อกรมศุลกากรตามมาตรา 19 ทวิด้วยตนเองโดยยื่นหนังสือแสดงความจำนงของคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ โดยวิธีวางประกันลอยตามแบบ กศก. 29 ที่แนบท้ายประกาศกรมศุลกากรที่ 50/2540 ต่อหน่วยคืนอากรโดยวิธีวางประกันลอยฝ่ายอากรที่ 1 ตึก 120 ปี ชั้น 2 สำนักงานศุลกากรส่งออกท่าเรือกรุงเทพ พร้อมแนบสำเนาภาพถ่ายเอกสารซึ่งลงนามรับรองความถูกต้องจำนวน 2 ชด ดังนี้
- ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนนิติบุคคล ถ้าเป็นบุคคลธรรมดาให้ใช้ใบทะเบียนพาณิชย์แทน
- ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
- หนังสือรับรองของกระทรวงพาณิชย์แสดงวัตถุประสงค์ ผู้มีอำนาจลงนาม ที่ตั้งสถานประกอบการ
- ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน(ถ้ามี)
ทั้งนี้กรมศุลกากรจะมีหนังสือแจ้งการอนุมัติหลักการให้ผู้นำเข้าทราบภายใน 3 วันทำการนับตั้งแต่วันที่ยื่นคำขอ(กรณีเอกสารถูกต้องครบถ้วน)
การดำเนินการผ่านพิธีการศุลกากรมีส่วนที่เพิ่มเติมจากวิธีเดิมคือ เมื่อจะส่งสินค้าออก ผู้นำเข้าต้องยื่นใบขนสินค้าขาเข้าตามมาตรา 19 ทวิ พร้อมแนบใบขนสินค้าขาเข้า(กศก.99 ก.)และแสดงข้อความ"คืนอากรตาม ม.19 ทวิ โดยวิธีวางประกันลอย"ด้วยอักษรสีแดง ให้เห็นชัดเจนที่มุมบนด้านขวาของใบขนสินค้าขาเข้าและสำเนา ต่อหน่วยพิธีการนำเข้า สำนักงานศุลกากรนำเข้าท่าเรือกรุงเทพ
นอกจากนี้ในการผ่านพิธีการใบขนสินค้าขาออกตามมาตรา 19 ทวิ โดยวิธีวางประกันลอยผู้นำเข้าต้องยื่นใบแนบใบขนสินค้าขาออกขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ ตามแบบ กศก. 113 แนบท้ายประกาศกรมศุลการกร ที่ 50/2540 ประกอบการผ่านพิธีการ โดยให้แสดงข้อความ"คืนอากรตาม ม. 19 ทวิ โดยวิธีประกันลอย" ด้วยตัวอักษรสีแดง ให้เห็นชัดเจนที่มุมบนด้านขวาของใบขนสินค้าขาออกและใบแนบ ฯ ทั้งนี้ กรณีขอคืนวิธีวางประกันลอยบางส่วนให้แสดงในใบแนบใบขนสินค้าขาออกให้ชัดเจนว่าเป็นวัตถุดิบส่วนใด ในส่วนของการดำเนินการอื่น ๆ ให้ดำเนินการผ่านพิธีการตามปกติ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์ EXIM BANK โทร.0 2271 0506
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พฤษภาคม 2549--
-วส/พห-