กรุงเทพ--10 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส ACMECS สมัยพิเศษเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดนก ประกาศแผนปฏิบัติการเพื่อร่วมมือแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคไข้หวัดนกในเชิงรุกที่มีความเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน
เมื่อ 8 พฤษภาคม 2549 นายกฤษณ์ กาญจนกุญชร ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ พร้อมด้วย น.พ. ปราชญ์ บุญยวงศ์วิโรจน์ รักษาการปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายยุคล ลิ้มแหลมทอง อธิบดีกรมปศุสัตว์ และนางกรองแก้ว สุภาวัฒน์ รองผู้อำนวยการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้แถลงข่าวร่วมกันเกี่ยวกับผลการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส ACMECS สมัยพิเศษเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดนก ที่กระทรวงการต่างประเทศ
การประชุมครั้งนี้มีผู้แทนระดับปลัดกระทรวงฯ จากกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเกษตร และกระทรวงสาธารณสุข ของกัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม และไทย และผู้แทนองค์การและสถาบันการเงิน รปท. เช่น FAO, OIE, WHO, World Bank, ADB และ UNDP เข้าร่วมด้วย รวมทั้งประเทศหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา (Development Partners) ภายใต้กรอบ ACMECS ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี EU ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ ซึ่งยืนยันความพร้อมจะให้ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดและให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องแก่ประเทศ ACMECS ในการต่อต้านการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก
ที่ประชุมฯ ได้สนับสนุนแผนความร่วมมือด้านสาธารณสุขเพื่อต่อสู้กับโรคไข้หวัดนกและโรคระบาดร้ายแรงอื่นๆ ภายใต้กรอบ ACMECS (ACMECS Health Sector’s Plan for Combating Avian Influenza and Other Infectious Diseases) ซึ่งเสนอโดยฝ่ายไทย โดยได้จัดสรรงบประมาณให้ 2.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นงบประมาณที่ไทยประกาศที่จะให้ในการประชุมสุดยอดผู้นำ ACMECS ที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2548
อย่างไรก็ดี การป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกนับเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นเร่งด่วน ที่ประชุมฯ จึงเห็นควรให้กำหนดมาตรการป้องกันที่สำคัญในแผนฯ ข้างต้น เพื่อนำมาปฏิบัติก่อนภายในปีนี้ โดยมาตรการดังกล่าวนี้ ได้แก่ การฝึกอบรมระยะสั้นและระยะยาวให้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องในประเทศสมาชิก การจัดตั้งระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพและทันต่อเหตุการณ์ และการปรับแผนป้องกันและรับมือการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกันในระหว่างประเทศสมาชิก นอกจากนี้ ในเดือนมิถุนายนศกนี้ จะจัดโครงการนำร่อง เพื่อฝึกอบรมให้แก่เจ้าหน้าที่ในหน่วยเคลื่อนที่เร็ว (Surveillance and Rapid Response Team-SRRT) และสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพและปรับปรุงแผนป้องกันและรับมือการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกในประเทศนำร่อง
การประชุมในครั้งนี้นับว่าประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม และมีแผนปฏิบัติการชัดเจนซึ่งจะถูกนำมาปฏิบัติในทันที ซึ่งแสดงให้เห็นความตั้งใจจริงของประเทศสมาชิก ACMECS ที่จะร่วมมือกันในการจัดการปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกในเชิงรุก โดยประเทศสมาชิก ACMECS คาดหวังว่า กิจกรรมภายใต้ ACMECS จะเป็นพื้นฐานของระบบการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกในภูมิภาค ACMECS ซึ่งองค์การระหว่างประเทศและประชาคมระหว่างประเทศสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้ในอนาคตเพื่อป้องกันและควบคุมการระบาด นอกจากนี้ ผลการประชุมในครั้งนี้จะเป็นการจุดประกายและส่งสัญญาณที่ชัดเจนให้ประชาคมโลกทราบว่า ประเทศสมาชิก ACMECS พร้อมจะรับความรับผิดชอบในส่วนของตนในการร่วมมือกับประชาคมโลกอย่างแข็งขันเพื่อต่อสู้กับโรคไข้หวัดนก
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส ACMECS สมัยพิเศษเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดนก ประกาศแผนปฏิบัติการเพื่อร่วมมือแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคไข้หวัดนกในเชิงรุกที่มีความเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน
เมื่อ 8 พฤษภาคม 2549 นายกฤษณ์ กาญจนกุญชร ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ พร้อมด้วย น.พ. ปราชญ์ บุญยวงศ์วิโรจน์ รักษาการปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายยุคล ลิ้มแหลมทอง อธิบดีกรมปศุสัตว์ และนางกรองแก้ว สุภาวัฒน์ รองผู้อำนวยการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้แถลงข่าวร่วมกันเกี่ยวกับผลการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส ACMECS สมัยพิเศษเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดนก ที่กระทรวงการต่างประเทศ
การประชุมครั้งนี้มีผู้แทนระดับปลัดกระทรวงฯ จากกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเกษตร และกระทรวงสาธารณสุข ของกัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม และไทย และผู้แทนองค์การและสถาบันการเงิน รปท. เช่น FAO, OIE, WHO, World Bank, ADB และ UNDP เข้าร่วมด้วย รวมทั้งประเทศหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา (Development Partners) ภายใต้กรอบ ACMECS ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี EU ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ ซึ่งยืนยันความพร้อมจะให้ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดและให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องแก่ประเทศ ACMECS ในการต่อต้านการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก
ที่ประชุมฯ ได้สนับสนุนแผนความร่วมมือด้านสาธารณสุขเพื่อต่อสู้กับโรคไข้หวัดนกและโรคระบาดร้ายแรงอื่นๆ ภายใต้กรอบ ACMECS (ACMECS Health Sector’s Plan for Combating Avian Influenza and Other Infectious Diseases) ซึ่งเสนอโดยฝ่ายไทย โดยได้จัดสรรงบประมาณให้ 2.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นงบประมาณที่ไทยประกาศที่จะให้ในการประชุมสุดยอดผู้นำ ACMECS ที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2548
อย่างไรก็ดี การป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกนับเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นเร่งด่วน ที่ประชุมฯ จึงเห็นควรให้กำหนดมาตรการป้องกันที่สำคัญในแผนฯ ข้างต้น เพื่อนำมาปฏิบัติก่อนภายในปีนี้ โดยมาตรการดังกล่าวนี้ ได้แก่ การฝึกอบรมระยะสั้นและระยะยาวให้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องในประเทศสมาชิก การจัดตั้งระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพและทันต่อเหตุการณ์ และการปรับแผนป้องกันและรับมือการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกันในระหว่างประเทศสมาชิก นอกจากนี้ ในเดือนมิถุนายนศกนี้ จะจัดโครงการนำร่อง เพื่อฝึกอบรมให้แก่เจ้าหน้าที่ในหน่วยเคลื่อนที่เร็ว (Surveillance and Rapid Response Team-SRRT) และสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพและปรับปรุงแผนป้องกันและรับมือการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกในประเทศนำร่อง
การประชุมในครั้งนี้นับว่าประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม และมีแผนปฏิบัติการชัดเจนซึ่งจะถูกนำมาปฏิบัติในทันที ซึ่งแสดงให้เห็นความตั้งใจจริงของประเทศสมาชิก ACMECS ที่จะร่วมมือกันในการจัดการปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกในเชิงรุก โดยประเทศสมาชิก ACMECS คาดหวังว่า กิจกรรมภายใต้ ACMECS จะเป็นพื้นฐานของระบบการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกในภูมิภาค ACMECS ซึ่งองค์การระหว่างประเทศและประชาคมระหว่างประเทศสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้ในอนาคตเพื่อป้องกันและควบคุมการระบาด นอกจากนี้ ผลการประชุมในครั้งนี้จะเป็นการจุดประกายและส่งสัญญาณที่ชัดเจนให้ประชาคมโลกทราบว่า ประเทศสมาชิก ACMECS พร้อมจะรับความรับผิดชอบในส่วนของตนในการร่วมมือกับประชาคมโลกอย่างแข็งขันเพื่อต่อสู้กับโรคไข้หวัดนก
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-