คำถาม : ทำไมอิหร่านจึงเป็นประตูการค้าที่สำคัญของภูมิภาคตะวันออกกลาง
คำตอบ : อิหร่านมีปัจจัยที่เกื้อหนุนให้เป็นประตูการค้าที่สำคัญของตะวันออกกลาง ดังนี้
1. ทำเลที่ตั้งเหมาะสม การที่อิหร่านมีอาณาเขตทางบกติดกับหลายประเทศ ได้แก่ อัฟกานิสถานปากีสถาน เติร์กเมนิสถาน อาเซอร์ไบจาน อาร์เมเนีย ตุรกี และอิรัก รวมทั้งมีอาณาเขตทางทะเลติดกับหลายประเทศในตะวันออกกลาง ได้แก่ คูเวต ซาอุดีอาระเบีย บาห์เรน กาตาร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และโอมาน โดยมีอ่าวเปอร์เซียและอ่าวโอมานคั่นกลาง ทั้งนี้ อิหร่านมีชายฝั่งทะเลติดกับอ่าวเปอร์เซียยาวถึง 2,440 กิโลเมตร ซึ่งยาวที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในตะวันออกกลาง ทำให้การเดินทางและการขนส่งสินค้าจากประเทศที่อยู่ทางตอนในของตะวันออกกลางผ่านอิหร่านไปยังมหาสมุทรอินเดียเพื่อกระจายเข้าสู่ประเทศในเอเชียทำได้อย่างสะดวก
2. มีท่าเรือหลายแห่งและทันสมัย อิหร่านมีท่าเรือน้ำลึกซึ่งสามารถรองรับการขนถ่ายสินค้าจากเรือขนาดใหญ่ได้สะดวก รวมทั้งมีการบริหารท่าเรือด้วยระบบที่ทันสมัย เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน อย่างอิรักและคูเวต ปัจจุบันอิหร่านมีท่าเรือสำคัญมากถึง 9 แห่ง (อยู่ทางตอนเหนือติดกับทะเลสาบแคสเปียน 2 แห่ง และทางตอนใต้ติดกับอ่าวเปอร์เซียและอ่าวโอมานอีก 7 แห่ง) โดยท่าเรือที่สำคัญสุด คือ Bandar Abbas ทางตอนใต้ของประเทศ ซึ่งสามารถรองรับปริมาณการขนถ่ายสินค้าได้มากถึง 15 ล้านตันต่อปี หรือราว 3 ใน 4 ของปริมาณสินค้าที่ขนถ่ายผ่านท่าเรือของอิหร่านทั้งหมด
3. มีเขตการค้าเสรีสำคัญหลายแห่งรัฐบาลอิหร่านอนุมัติการออก The Free Zones Act เมื่อปี 2536 ซึ่งอนุญาตให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรี (Free Trade Zones) เพื่อส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศด้วยการให้สิทธิพิเศษด้านการลงทุนแก่นักลงทุนต่างชาติหลายประการ เช่น สามารถเป็นเจ้าของกิจการได้ทั้ง 100% สามารถส่งเงินทุนและผลกำไรกลับประเทศได้อย่างเสรี รวมทั้งได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 15 ปี (ปกติเรียกเก็บในอัตรา 12%-54%) และได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้าวัตถุดิบ เครื่องจักรและอุปกรณ์ อีกด้วย
นอกจากนี้ การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศผ่านเขตการค้าเสรียังเสียภาษีนำเข้าในอัตราที่ต่ำกว่าการนำเข้าผ่านแผ่นดินใหญ่ ทำให้เขตการค้าเสรีของอิหร่านเหมาะที่จะเป็นฐานการผลิตสินค้าและศูนย์กลางการนำเข้าสินค้าเพื่อส่งออกต่อ (Re-export) ไปยังประเทศต่าง ๆ ในตะวันออกลาง
ปัจจุบันเขตการค้าเสรีที่ถือว่ามีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจอิหร่านมี 3 แห่ง ซึ่งล้วนตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลทางตอนใต้ของประเทศ ซึ่งเป็นทำเลที่เหมาะสมต่อการขนส่งและกระจายสินค้าจากอิหร่านไปยังประเทศต่าง ๆ ในตะวันออกกลางหรือผ่านอ่าวเปอร์เซีย และอ่าวโอมาน ไปยังมหาสมุทรอินเดีย เขตการค้าเสรีทั้ง 3 แห่ง ได้แก่
* Qeshm Free Zone มีพื้นที่ประมาณ 300 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่บนเกาะเคชม์ (Qeshm Island) ซึ่งเป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในอ่าวเปอร์เซีย Qeshm Free Zone อยู่ห่างจากเมือง Bandar Abbas ซึ่งเป็นเมืองท่าที่ใหญ่ที่สุดของอิหร่านเพียง 22 กิโลเมตร และห่างจากประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ราว 220 กิโลเมตร ทั้งนี้Qeshm Free Zone จัดเป็นเขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในอ่าวเปอร์เซีย เนื่องจากมีระบบเครือข่ายคมนาคมขนส่งทางถนนรวมทั้งสนามบินนานาชาติที่ทันสมัย ตลอดจนมีระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ ค่อนข้างครบครัน
* Kish Free Zone มีพื้นที่ประมาณ 91 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่บนเกาะคีช (Kish Island) ซึ่งเป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ในอ่าวเปอร์เซีย (บริเวณช่องแคบ Hormuz ซึ่งอยู่ปากอ่าวเปอร์เซีย) Kish Free Zone อยู่ห่างจากท่าเรือ Bandar Abbas ราว 300 กิโลเมตร และห่างจากสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ราว 200 กิโลเมตร โดย Kish Free Zone มีระบบเครือข่ายสื่อสารที่ทันสมัย อีกทั้งยังมีท่าเรือน้ำลึกที่สามารถรองรับเรือขนถ่ายสินค้าที่มีน้ำหนักราว 2,000 ตัน นอกจากนี้ ยังมีสนามบินนานาชาติที่มีเที่ยวบินไปยังเมืองสำคัญอื่น ๆ ของอิหร่านได้มากถึง 12 เมือง และมีเที่ยวบินไปประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกมากกว่า 10 ประเทศ
* Chabahar Free Zone มีพื้นที่ประมาณ 145 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ใกล้กับเมืองชาร์บาฮาร์ (Chabahar) และอยู่บนเส้นทางเดินเรือระหว่างประเทศบริเวณอ่าวโอมานและมหาสมุทรอินเดีย เขตการค้าเสรีแห่งนี้มีท่าเรือที่เป็นจุดขนถ่ายสินค้าสำคัญจากอิหร่านผ่านอ่าวโอมาน ก่อนกระจายต่อยังประเทศในแถบเอเชียกลาง โดยสามารถรองรับปริมาณการขนถ่ายสินค้าได้มากถึง 2 ล้านตันต่อปี นอกจากนี้ ระยะทางที่ใช้ในการขนถ่ายสินค้าจากท่าเรือใน Chabahar Free Zone ไปยังประเทศต่าง ๆ ในตะวันออกกลางยังสั้นที่สุด ส่งผลให้ต้นทุนในการขนส่งสินค้าค่อนข้างต่ำ
นอกจากปัจจัยสนับสนุนดังกล่าวข้างต้นแล้ว รัฐบาลอิหร่านยังได้เร่งพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานต่าง ๆ ในประเทศ อาทิ ท่าเรือ ท่าอากาศยาน เส้นทางถนนและรถไฟ ฯลฯ เพื่อผลักดันให้อิหร่านเป็นศูนย์กลางการขนส่งและกระจายสินค้าที่สำคัญยิ่งขึ้นในภูมิภาคนี้ รัฐบาลไทยและเอกชนไทยตระหนักถึงความสำคัญนี้จึงได้เข้าไปร่วมจัดตั้ง Thai Plaza บนเกาะคีช ของอิหร่าน เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางการขนส่งและกระจายสินค้าของไทยไปยังประเทศต่าง ๆ ในตะวันออกกลาง สำหรับสินค้าไทยที่มีศักยภาพในการส่งออกไปยังประเทศในตะวันออกกลาง ได้แก่รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ และผ้าผืน เป็นต้น
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กุมภาพันธ์ 2549--
-พห-
คำตอบ : อิหร่านมีปัจจัยที่เกื้อหนุนให้เป็นประตูการค้าที่สำคัญของตะวันออกกลาง ดังนี้
1. ทำเลที่ตั้งเหมาะสม การที่อิหร่านมีอาณาเขตทางบกติดกับหลายประเทศ ได้แก่ อัฟกานิสถานปากีสถาน เติร์กเมนิสถาน อาเซอร์ไบจาน อาร์เมเนีย ตุรกี และอิรัก รวมทั้งมีอาณาเขตทางทะเลติดกับหลายประเทศในตะวันออกกลาง ได้แก่ คูเวต ซาอุดีอาระเบีย บาห์เรน กาตาร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และโอมาน โดยมีอ่าวเปอร์เซียและอ่าวโอมานคั่นกลาง ทั้งนี้ อิหร่านมีชายฝั่งทะเลติดกับอ่าวเปอร์เซียยาวถึง 2,440 กิโลเมตร ซึ่งยาวที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในตะวันออกกลาง ทำให้การเดินทางและการขนส่งสินค้าจากประเทศที่อยู่ทางตอนในของตะวันออกกลางผ่านอิหร่านไปยังมหาสมุทรอินเดียเพื่อกระจายเข้าสู่ประเทศในเอเชียทำได้อย่างสะดวก
2. มีท่าเรือหลายแห่งและทันสมัย อิหร่านมีท่าเรือน้ำลึกซึ่งสามารถรองรับการขนถ่ายสินค้าจากเรือขนาดใหญ่ได้สะดวก รวมทั้งมีการบริหารท่าเรือด้วยระบบที่ทันสมัย เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน อย่างอิรักและคูเวต ปัจจุบันอิหร่านมีท่าเรือสำคัญมากถึง 9 แห่ง (อยู่ทางตอนเหนือติดกับทะเลสาบแคสเปียน 2 แห่ง และทางตอนใต้ติดกับอ่าวเปอร์เซียและอ่าวโอมานอีก 7 แห่ง) โดยท่าเรือที่สำคัญสุด คือ Bandar Abbas ทางตอนใต้ของประเทศ ซึ่งสามารถรองรับปริมาณการขนถ่ายสินค้าได้มากถึง 15 ล้านตันต่อปี หรือราว 3 ใน 4 ของปริมาณสินค้าที่ขนถ่ายผ่านท่าเรือของอิหร่านทั้งหมด
3. มีเขตการค้าเสรีสำคัญหลายแห่งรัฐบาลอิหร่านอนุมัติการออก The Free Zones Act เมื่อปี 2536 ซึ่งอนุญาตให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรี (Free Trade Zones) เพื่อส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศด้วยการให้สิทธิพิเศษด้านการลงทุนแก่นักลงทุนต่างชาติหลายประการ เช่น สามารถเป็นเจ้าของกิจการได้ทั้ง 100% สามารถส่งเงินทุนและผลกำไรกลับประเทศได้อย่างเสรี รวมทั้งได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 15 ปี (ปกติเรียกเก็บในอัตรา 12%-54%) และได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้าวัตถุดิบ เครื่องจักรและอุปกรณ์ อีกด้วย
นอกจากนี้ การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศผ่านเขตการค้าเสรียังเสียภาษีนำเข้าในอัตราที่ต่ำกว่าการนำเข้าผ่านแผ่นดินใหญ่ ทำให้เขตการค้าเสรีของอิหร่านเหมาะที่จะเป็นฐานการผลิตสินค้าและศูนย์กลางการนำเข้าสินค้าเพื่อส่งออกต่อ (Re-export) ไปยังประเทศต่าง ๆ ในตะวันออกลาง
ปัจจุบันเขตการค้าเสรีที่ถือว่ามีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจอิหร่านมี 3 แห่ง ซึ่งล้วนตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลทางตอนใต้ของประเทศ ซึ่งเป็นทำเลที่เหมาะสมต่อการขนส่งและกระจายสินค้าจากอิหร่านไปยังประเทศต่าง ๆ ในตะวันออกกลางหรือผ่านอ่าวเปอร์เซีย และอ่าวโอมาน ไปยังมหาสมุทรอินเดีย เขตการค้าเสรีทั้ง 3 แห่ง ได้แก่
* Qeshm Free Zone มีพื้นที่ประมาณ 300 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่บนเกาะเคชม์ (Qeshm Island) ซึ่งเป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในอ่าวเปอร์เซีย Qeshm Free Zone อยู่ห่างจากเมือง Bandar Abbas ซึ่งเป็นเมืองท่าที่ใหญ่ที่สุดของอิหร่านเพียง 22 กิโลเมตร และห่างจากประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ราว 220 กิโลเมตร ทั้งนี้Qeshm Free Zone จัดเป็นเขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในอ่าวเปอร์เซีย เนื่องจากมีระบบเครือข่ายคมนาคมขนส่งทางถนนรวมทั้งสนามบินนานาชาติที่ทันสมัย ตลอดจนมีระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ ค่อนข้างครบครัน
* Kish Free Zone มีพื้นที่ประมาณ 91 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่บนเกาะคีช (Kish Island) ซึ่งเป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ในอ่าวเปอร์เซีย (บริเวณช่องแคบ Hormuz ซึ่งอยู่ปากอ่าวเปอร์เซีย) Kish Free Zone อยู่ห่างจากท่าเรือ Bandar Abbas ราว 300 กิโลเมตร และห่างจากสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ราว 200 กิโลเมตร โดย Kish Free Zone มีระบบเครือข่ายสื่อสารที่ทันสมัย อีกทั้งยังมีท่าเรือน้ำลึกที่สามารถรองรับเรือขนถ่ายสินค้าที่มีน้ำหนักราว 2,000 ตัน นอกจากนี้ ยังมีสนามบินนานาชาติที่มีเที่ยวบินไปยังเมืองสำคัญอื่น ๆ ของอิหร่านได้มากถึง 12 เมือง และมีเที่ยวบินไปประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกมากกว่า 10 ประเทศ
* Chabahar Free Zone มีพื้นที่ประมาณ 145 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ใกล้กับเมืองชาร์บาฮาร์ (Chabahar) และอยู่บนเส้นทางเดินเรือระหว่างประเทศบริเวณอ่าวโอมานและมหาสมุทรอินเดีย เขตการค้าเสรีแห่งนี้มีท่าเรือที่เป็นจุดขนถ่ายสินค้าสำคัญจากอิหร่านผ่านอ่าวโอมาน ก่อนกระจายต่อยังประเทศในแถบเอเชียกลาง โดยสามารถรองรับปริมาณการขนถ่ายสินค้าได้มากถึง 2 ล้านตันต่อปี นอกจากนี้ ระยะทางที่ใช้ในการขนถ่ายสินค้าจากท่าเรือใน Chabahar Free Zone ไปยังประเทศต่าง ๆ ในตะวันออกกลางยังสั้นที่สุด ส่งผลให้ต้นทุนในการขนส่งสินค้าค่อนข้างต่ำ
นอกจากปัจจัยสนับสนุนดังกล่าวข้างต้นแล้ว รัฐบาลอิหร่านยังได้เร่งพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานต่าง ๆ ในประเทศ อาทิ ท่าเรือ ท่าอากาศยาน เส้นทางถนนและรถไฟ ฯลฯ เพื่อผลักดันให้อิหร่านเป็นศูนย์กลางการขนส่งและกระจายสินค้าที่สำคัญยิ่งขึ้นในภูมิภาคนี้ รัฐบาลไทยและเอกชนไทยตระหนักถึงความสำคัญนี้จึงได้เข้าไปร่วมจัดตั้ง Thai Plaza บนเกาะคีช ของอิหร่าน เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางการขนส่งและกระจายสินค้าของไทยไปยังประเทศต่าง ๆ ในตะวันออกกลาง สำหรับสินค้าไทยที่มีศักยภาพในการส่งออกไปยังประเทศในตะวันออกกลาง ได้แก่รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ และผ้าผืน เป็นต้น
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กุมภาพันธ์ 2549--
-พห-