ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. การเคลื่อนย้ายเงินทุนเป็นปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เปิดเผยว่า ปัจจัยเดียวที่น่าเป็นห่วงสำหรับภาวะเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไปคือ การเคลื่อนย้ายเงินทุนซึ่งอาจจะมีการไหลเข้าออกจำนวนมากกว่าที่
คาดไว้ โดยเงินทุนที่ไหลเข้าออกนั้น ไม่ได้เป็นผลมาจากอัตราดอกเบี้ย แต่มีสาเหตุมาจากความผันผวนในตลาดแลกเปลี่ยนซึ่งเกิดจากความกังวลของ
นักลงทุนในตลาดเงิน ทั้งนี้ ธปท.ได้เตรียมรับมือกับภาวะเงินทุนเคลื่อนย้ายที่อาจจะไหลเข้าออกรุนแรงกว่าเดิมไว้แล้ว โดยเฉพาะในส่วนของเงินทุน
สำรองระหว่างประเทศซึ่งเพิ่มขึ้นมากเพียงพอที่จะรองรับกับการไหลออกของเงินทุนจำนวนมากได้ โดยล่าสุดทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ที่ระดับ
57,300 ล.ดอลลาร์ สรอ. สำหรับปัจจัยภายในประเทศ ธปท.มองว่าไม่มีปัจจัยใดที่ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจมาก โดยคาดว่าเศรษฐกิจจะ
ขยายตัวได้ไม่ต่างจากปีก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจไทยมีความยืดหยุ่นเพียงพอที่จะรองรับปัจจัยที่เข้ามากระทบได้ดี (กรุงเทพธุรกิจ, ไทยโพสต์,
โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์)
2. ธปท.ปรับปรุงหลักเกณฑ์การอนุมัติเงินลงทุนในต่างประเทศสำหรับกองทุนไทย ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส คณะกรรมการกำกับ
หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้อนุมัติเงินลงทุนในต่างประเทศสำหรับกองทุนไทยจำนวนเงิน 1,300 ล.ดอลลาร์
สรอ. หรือประมาณ 62,400 ล.บาท จากเดิมครั้งละ 500 ล.ดอลลาร์ สรอ. ส่วนการจัดสรรเงินที่ใช้สำหรับลงทุนในต่างประเทศ (เอฟไอเอฟ)
ของแต่ละบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เพิ่มเป็น 25 ล.ดอลลาร์ สรอ. จากเดิมอยู่ที่ 10 ล.ดอลลาร์ สรอ. นอกจากนี้ ก.ล.ต.ได้ร่วม
หารือกับสมาคมจัดการลงทุนว่าต้องการขออนุมัติวงเงินที่นำไปลงทุนในต่างประเทศในอีก 3 ปีข้างหน้ารวม 2,400 ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือแบ่งเป็น
ปีละ 800 ล.ดอลลาร์ สรอ. เพื่อให้กองทุนสามารถจัดสรรเงินลงทุนได้ในระยะยาว แต่เนื่องจาก ธปท.ต้องการควบคุมการไหลเข้าออกของ
เงินตราอย่างใกล้ชิดจึงไม่สามารถอนุมัติตามที่ขอได้ อย่างไรก็ตาม ธปท.พร้อมที่จะเปิดช่องให้ตลอดเวลาสำหรับการขออนุมัติจำนวนเงินเพิ่มเติม
(ข่าวสด, กรุงเทพธุรกิจ)
3. ราคาขายปลีกผลิตภัณฑ์น้ำมันมีแนวโน้มปรับขึ้นอีกในสัปดาห์นี้ แหล่งข่าวจากผู้ค้าน้ำมันระบุว่า ในสัปดาห์นี้มีแนวโน้มจะปรับขึ้นราคา
ขายปลีกทุกผลิตภัณฑ์อีก 40-50 สตางค์ต่อลิตร และจะส่งผลให้ราคาน้ำมันเบนซิน 95 ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ปรับขึ้นราคาเกิน 30 บาทต่อ
ลิตร เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกได้ปรับขึ้นโดยตลอด ล่าสุดน้ำมันดิบปรับขึ้นไปถึงเกือบ 73 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันสำเร็จรูป
ที่สิงคโปร์ปรับขึ้นกว่า 2 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล อยู่ที่ 86-87 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล จึงทำให้ค่าการตลาดลดต่ำลงไปอีกจากปัจจุบันอัตรา
เฉลี่ยประมาณ 20 สตางค์ต่อลิตรเท่านั้น (กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. สรอ. ขาดดุล งปม.ปี 49 ถึงปัจจุบันประมาณ 223 พันล้านดอลลาร์ สรอ. รายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศ สรอ. เมื่อวันที่
6 มิ.ย.49 สำนัก งปม. รัฐสภา สรอ. (CBO) เปิดเผยว่า สรอ. ขาดดุล งปม. ปี 49 จนถึงปัจจุบันประมาณ 223 พันล้านดอลลาร์ สรอ. น้อย
กว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 50 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เป็นผลมาจากการจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 13 ในช่วง 8 เดือนแรกของปี
งปม. เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน โดยการจัดเก็บภาษีเงินได้ของบริษัทเพิ่มขึ้นประมาณ 43 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือร้อยละ 30 แต่นัก
เศรษฐศาสตร์อิสระหลายคนมองว่าเศรษฐกิจของ สรอ. กำลังชะลอตัวลงจากหลายปัจจัยลบ เช่น ตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่เริ่มซบเซา รวมถึงการ
จ้างงานและการใช้จ่ายของผู้บริโภค ขณะที่การใช้จ่ายของรัฐบาลเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 8 อาทิ ค่าใช้จ่ายด้านการป้องกันประเทศ ค่าใช้จ่ายในการ
ให้ความช่วยเหลือประชาชนจากการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติหลายครั้ง รวมถึงค่าใช้จ่ายในแผนงานประกันสุขภาพฉบับใหม่สำหรับผู้สูงอายุ ทั้งนี้
เมื่อเดือนก่อน CBO ประมาณการว่าการขาดดุล งปม. จะลดลงเหลือประมาณ 300 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ตลอดช่วง งปม. ปี 49 ที่จะสิ้นสุดใน
วันที่ 30 ก.ย. ลดลงจากปีก่อนที่ขาดดุล 318 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
2. Global PMI ในเดือน พ.ค.49 ลดลงอยู่ที่ระดับ 58.8 รายงานจากลอนดอน เมื่อ 6 มิ.ย.49 JP Morgan ร่วมกับ องค์กร
ทางการ Research and Supply หลายแห่ง เปิดเผยว่า Global Purchasing Managers’ Index (PMI) ในเดือน พ.ค.49 ลดลงอยู่ที่
ระดับ 58.8 จากระดับ 60.3 ในเดือนก่อนหน้า แต่ยังคงอยู่เหนือกว่าระดับ 50 ซึ่งเป็นเส้นแบ่งระหว่างการขยายตัวและหดตัว ขณะที่ดัชนีราคานำ
เข้าเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 71.0 จากระดับ 66.4 ในเดือน เม.ย.49 สะท้อนถึงแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น สำหรับ Global Services
PMI ในเดือน พ.ค.49 ลดลงอยู่ที่ระดับ 59.3 จากระดับ 61.1 ในเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ตัวเลขดัชนี PMI ประกอบไปด้วยตัวเลขทั้งภาคบริการและ
ภาคอุตสาหกรรมการผลิตจากหลายประเทศ รวมถึง ประเทศ สรอ. เยอรมนี ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี ญี่ปุ่น และจีน (รอยเตอร์)
3. ภาคบริการของเขตเศรษฐกิจยุโรปหรือ Euro zone ในเดือน พ.ค.49 ขยายตัวในอัตราสูงสุดในรอบเกือบ 6 ปี รายงานจาก
ลอนดอน เมื่อ 6 มิ.ย.49 ดัชนีชี้วัดธุรกรรมภาคบริการของเศรษฐกิจยุโรปหรือ Euro zone ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิก 12 ประเทศที่ใช้เงิน
ยูโรเป็นเงินสกุลหลักประจำเดือน พ.ค.49 โดย RBS/NTC จากผลสำรวจธุรกิจบริการจำนวน 2,000 แห่งครอบคลุมตั้งแต่ธุรกิจสายการบินจนถึง
บริการ IT และร้านกาแฟ เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 58.7 จากระดับ 58.3 ในเดือน เม.ย.49 สูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย.43 ซึ่งดัชนีอยู่ที่ระดับ
60.2 และสูงกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 58.5 แต่ที่สร้างความกังวลให้กับ ธ.กลางยุโรปหรือ ECB เป็นพิเศษคือราคาค่าบริการที่สูงขึ้น
สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการตั้งราคาของภาคธุรกิจ โดยดัชนีชี้วัดราคาค่าบริการที่เรียกเก็บจากผู้บริโภคเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 9 ติดต่อกันมา
อยู่ที่ระดับ 54.5 ในเดือน พ.ค.49 จากระดับ 53.3 ในเดือน เม.ย.49 ในขณะที่ดัชนีชี้วัดต้นทุนของการบริการเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 61.2 ใน
เดือน พ.ค.49 จากระดับ 60.3 ในเดือน เม.ย.49 ทั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นผลจากราคาพลังงานและค่าจ้างพนักงานที่สูงขึ้น โดยดัชนีทั้งสองอยู่ในระดับ
สูงสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย.43 เมื่อประกอบกับตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นในเดือน พ.ค.49 และรายงานของกรรมาธิการยุโรปที่แสดงให้เห็นว่าผู้
บริโภคคาดว่าเงินเฟ้อจะเพิ่มสูงขึ้น นักวิเคราะห์จึงคาดว่า ECB อาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายถึงร้อยละ 0.50 เป็นร้อยละ 3.00 ต่อปีในการ
ประชุมในวันที่ 8 มิ.ย.49 ที่จะถึงนี้ (รอยเตอร์)
4. ทุนสำรองทางการของญี่ปุ่นในเดือน พ.ค. เพิ่มขึ้นทำสถิติสูงสุดระดับใหม่ รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 49 รมว.
คลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ณ สิ้นเดือน พ.ค. ทุนสำรองทางการของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 3.87 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. อยู่ที่ระดับ 864.112 พัน ล. ดอลลาร์
สรอ. ทำสถิติสูงสุดระดับใหม่จากสถิติเดิมที่ระดับ 860.242 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. เมื่อเดือนที่แล้ว และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่
3 เนื่องจากมีเงินดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากสินทรัพย์ที่ถือในรูปเงินสกุลยูโรซึ่งมีค่าแข็งขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. เมื่อเดือนที่แล้ว ส่งผลให้
ญี่ปุ่นสามารถรักษาตำแหน่งประเทศที่มีเงินทุนสำรองทางการมากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของโลกไว้ได้รองจากจีนซึ่งเป็นประเทศที่มีทุนสำรองทางการมาก
ที่สุดในโลกถึง 875.1 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสแรก จากการเกินดุลการค้า และการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ทุน
สำรองทางการของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นใกล้สถิติสูงสุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค. 47 ซึ่งเป็นครั้งล่าสุดที่ญี่ปุ่นเข้าแทรกแซงตลาดเงินโดยการเข้าซื้อเงินดอลลาร์
สรอ. เพื่อช่วยให้เงินเยนไม่แข็งค่ามากเกินไปจนส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของการส่งออก (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 7 มิ.ย. 49 6 มิ.ย. 49 31 ม.ค. 48 แหล่งข
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 38.171 38.557 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 37.9776/38.2690 38.3598/38.6471 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.93297 2..1875 - 2.2000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 702.04/ 10.35 701.91/15.60 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,300/11,400 11,500/11,600 7,750/7,850 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 65.42 65.95 38.15 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 3 มิ.ย. 49 29.79*/27.14* 29.79*/27.14* 19.69/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. การเคลื่อนย้ายเงินทุนเป็นปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เปิดเผยว่า ปัจจัยเดียวที่น่าเป็นห่วงสำหรับภาวะเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไปคือ การเคลื่อนย้ายเงินทุนซึ่งอาจจะมีการไหลเข้าออกจำนวนมากกว่าที่
คาดไว้ โดยเงินทุนที่ไหลเข้าออกนั้น ไม่ได้เป็นผลมาจากอัตราดอกเบี้ย แต่มีสาเหตุมาจากความผันผวนในตลาดแลกเปลี่ยนซึ่งเกิดจากความกังวลของ
นักลงทุนในตลาดเงิน ทั้งนี้ ธปท.ได้เตรียมรับมือกับภาวะเงินทุนเคลื่อนย้ายที่อาจจะไหลเข้าออกรุนแรงกว่าเดิมไว้แล้ว โดยเฉพาะในส่วนของเงินทุน
สำรองระหว่างประเทศซึ่งเพิ่มขึ้นมากเพียงพอที่จะรองรับกับการไหลออกของเงินทุนจำนวนมากได้ โดยล่าสุดทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ที่ระดับ
57,300 ล.ดอลลาร์ สรอ. สำหรับปัจจัยภายในประเทศ ธปท.มองว่าไม่มีปัจจัยใดที่ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจมาก โดยคาดว่าเศรษฐกิจจะ
ขยายตัวได้ไม่ต่างจากปีก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจไทยมีความยืดหยุ่นเพียงพอที่จะรองรับปัจจัยที่เข้ามากระทบได้ดี (กรุงเทพธุรกิจ, ไทยโพสต์,
โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์)
2. ธปท.ปรับปรุงหลักเกณฑ์การอนุมัติเงินลงทุนในต่างประเทศสำหรับกองทุนไทย ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส คณะกรรมการกำกับ
หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้อนุมัติเงินลงทุนในต่างประเทศสำหรับกองทุนไทยจำนวนเงิน 1,300 ล.ดอลลาร์
สรอ. หรือประมาณ 62,400 ล.บาท จากเดิมครั้งละ 500 ล.ดอลลาร์ สรอ. ส่วนการจัดสรรเงินที่ใช้สำหรับลงทุนในต่างประเทศ (เอฟไอเอฟ)
ของแต่ละบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เพิ่มเป็น 25 ล.ดอลลาร์ สรอ. จากเดิมอยู่ที่ 10 ล.ดอลลาร์ สรอ. นอกจากนี้ ก.ล.ต.ได้ร่วม
หารือกับสมาคมจัดการลงทุนว่าต้องการขออนุมัติวงเงินที่นำไปลงทุนในต่างประเทศในอีก 3 ปีข้างหน้ารวม 2,400 ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือแบ่งเป็น
ปีละ 800 ล.ดอลลาร์ สรอ. เพื่อให้กองทุนสามารถจัดสรรเงินลงทุนได้ในระยะยาว แต่เนื่องจาก ธปท.ต้องการควบคุมการไหลเข้าออกของ
เงินตราอย่างใกล้ชิดจึงไม่สามารถอนุมัติตามที่ขอได้ อย่างไรก็ตาม ธปท.พร้อมที่จะเปิดช่องให้ตลอดเวลาสำหรับการขออนุมัติจำนวนเงินเพิ่มเติม
(ข่าวสด, กรุงเทพธุรกิจ)
3. ราคาขายปลีกผลิตภัณฑ์น้ำมันมีแนวโน้มปรับขึ้นอีกในสัปดาห์นี้ แหล่งข่าวจากผู้ค้าน้ำมันระบุว่า ในสัปดาห์นี้มีแนวโน้มจะปรับขึ้นราคา
ขายปลีกทุกผลิตภัณฑ์อีก 40-50 สตางค์ต่อลิตร และจะส่งผลให้ราคาน้ำมันเบนซิน 95 ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ปรับขึ้นราคาเกิน 30 บาทต่อ
ลิตร เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกได้ปรับขึ้นโดยตลอด ล่าสุดน้ำมันดิบปรับขึ้นไปถึงเกือบ 73 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันสำเร็จรูป
ที่สิงคโปร์ปรับขึ้นกว่า 2 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล อยู่ที่ 86-87 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล จึงทำให้ค่าการตลาดลดต่ำลงไปอีกจากปัจจุบันอัตรา
เฉลี่ยประมาณ 20 สตางค์ต่อลิตรเท่านั้น (กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. สรอ. ขาดดุล งปม.ปี 49 ถึงปัจจุบันประมาณ 223 พันล้านดอลลาร์ สรอ. รายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศ สรอ. เมื่อวันที่
6 มิ.ย.49 สำนัก งปม. รัฐสภา สรอ. (CBO) เปิดเผยว่า สรอ. ขาดดุล งปม. ปี 49 จนถึงปัจจุบันประมาณ 223 พันล้านดอลลาร์ สรอ. น้อย
กว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 50 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เป็นผลมาจากการจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 13 ในช่วง 8 เดือนแรกของปี
งปม. เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน โดยการจัดเก็บภาษีเงินได้ของบริษัทเพิ่มขึ้นประมาณ 43 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือร้อยละ 30 แต่นัก
เศรษฐศาสตร์อิสระหลายคนมองว่าเศรษฐกิจของ สรอ. กำลังชะลอตัวลงจากหลายปัจจัยลบ เช่น ตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่เริ่มซบเซา รวมถึงการ
จ้างงานและการใช้จ่ายของผู้บริโภค ขณะที่การใช้จ่ายของรัฐบาลเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 8 อาทิ ค่าใช้จ่ายด้านการป้องกันประเทศ ค่าใช้จ่ายในการ
ให้ความช่วยเหลือประชาชนจากการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติหลายครั้ง รวมถึงค่าใช้จ่ายในแผนงานประกันสุขภาพฉบับใหม่สำหรับผู้สูงอายุ ทั้งนี้
เมื่อเดือนก่อน CBO ประมาณการว่าการขาดดุล งปม. จะลดลงเหลือประมาณ 300 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ตลอดช่วง งปม. ปี 49 ที่จะสิ้นสุดใน
วันที่ 30 ก.ย. ลดลงจากปีก่อนที่ขาดดุล 318 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
2. Global PMI ในเดือน พ.ค.49 ลดลงอยู่ที่ระดับ 58.8 รายงานจากลอนดอน เมื่อ 6 มิ.ย.49 JP Morgan ร่วมกับ องค์กร
ทางการ Research and Supply หลายแห่ง เปิดเผยว่า Global Purchasing Managers’ Index (PMI) ในเดือน พ.ค.49 ลดลงอยู่ที่
ระดับ 58.8 จากระดับ 60.3 ในเดือนก่อนหน้า แต่ยังคงอยู่เหนือกว่าระดับ 50 ซึ่งเป็นเส้นแบ่งระหว่างการขยายตัวและหดตัว ขณะที่ดัชนีราคานำ
เข้าเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 71.0 จากระดับ 66.4 ในเดือน เม.ย.49 สะท้อนถึงแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น สำหรับ Global Services
PMI ในเดือน พ.ค.49 ลดลงอยู่ที่ระดับ 59.3 จากระดับ 61.1 ในเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ตัวเลขดัชนี PMI ประกอบไปด้วยตัวเลขทั้งภาคบริการและ
ภาคอุตสาหกรรมการผลิตจากหลายประเทศ รวมถึง ประเทศ สรอ. เยอรมนี ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี ญี่ปุ่น และจีน (รอยเตอร์)
3. ภาคบริการของเขตเศรษฐกิจยุโรปหรือ Euro zone ในเดือน พ.ค.49 ขยายตัวในอัตราสูงสุดในรอบเกือบ 6 ปี รายงานจาก
ลอนดอน เมื่อ 6 มิ.ย.49 ดัชนีชี้วัดธุรกรรมภาคบริการของเศรษฐกิจยุโรปหรือ Euro zone ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิก 12 ประเทศที่ใช้เงิน
ยูโรเป็นเงินสกุลหลักประจำเดือน พ.ค.49 โดย RBS/NTC จากผลสำรวจธุรกิจบริการจำนวน 2,000 แห่งครอบคลุมตั้งแต่ธุรกิจสายการบินจนถึง
บริการ IT และร้านกาแฟ เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 58.7 จากระดับ 58.3 ในเดือน เม.ย.49 สูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย.43 ซึ่งดัชนีอยู่ที่ระดับ
60.2 และสูงกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 58.5 แต่ที่สร้างความกังวลให้กับ ธ.กลางยุโรปหรือ ECB เป็นพิเศษคือราคาค่าบริการที่สูงขึ้น
สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการตั้งราคาของภาคธุรกิจ โดยดัชนีชี้วัดราคาค่าบริการที่เรียกเก็บจากผู้บริโภคเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 9 ติดต่อกันมา
อยู่ที่ระดับ 54.5 ในเดือน พ.ค.49 จากระดับ 53.3 ในเดือน เม.ย.49 ในขณะที่ดัชนีชี้วัดต้นทุนของการบริการเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 61.2 ใน
เดือน พ.ค.49 จากระดับ 60.3 ในเดือน เม.ย.49 ทั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นผลจากราคาพลังงานและค่าจ้างพนักงานที่สูงขึ้น โดยดัชนีทั้งสองอยู่ในระดับ
สูงสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย.43 เมื่อประกอบกับตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นในเดือน พ.ค.49 และรายงานของกรรมาธิการยุโรปที่แสดงให้เห็นว่าผู้
บริโภคคาดว่าเงินเฟ้อจะเพิ่มสูงขึ้น นักวิเคราะห์จึงคาดว่า ECB อาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายถึงร้อยละ 0.50 เป็นร้อยละ 3.00 ต่อปีในการ
ประชุมในวันที่ 8 มิ.ย.49 ที่จะถึงนี้ (รอยเตอร์)
4. ทุนสำรองทางการของญี่ปุ่นในเดือน พ.ค. เพิ่มขึ้นทำสถิติสูงสุดระดับใหม่ รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 49 รมว.
คลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ณ สิ้นเดือน พ.ค. ทุนสำรองทางการของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 3.87 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. อยู่ที่ระดับ 864.112 พัน ล. ดอลลาร์
สรอ. ทำสถิติสูงสุดระดับใหม่จากสถิติเดิมที่ระดับ 860.242 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. เมื่อเดือนที่แล้ว และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่
3 เนื่องจากมีเงินดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากสินทรัพย์ที่ถือในรูปเงินสกุลยูโรซึ่งมีค่าแข็งขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. เมื่อเดือนที่แล้ว ส่งผลให้
ญี่ปุ่นสามารถรักษาตำแหน่งประเทศที่มีเงินทุนสำรองทางการมากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของโลกไว้ได้รองจากจีนซึ่งเป็นประเทศที่มีทุนสำรองทางการมาก
ที่สุดในโลกถึง 875.1 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสแรก จากการเกินดุลการค้า และการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ทุน
สำรองทางการของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นใกล้สถิติสูงสุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค. 47 ซึ่งเป็นครั้งล่าสุดที่ญี่ปุ่นเข้าแทรกแซงตลาดเงินโดยการเข้าซื้อเงินดอลลาร์
สรอ. เพื่อช่วยให้เงินเยนไม่แข็งค่ามากเกินไปจนส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของการส่งออก (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 7 มิ.ย. 49 6 มิ.ย. 49 31 ม.ค. 48 แหล่งข
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 38.171 38.557 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 37.9776/38.2690 38.3598/38.6471 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.93297 2..1875 - 2.2000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 702.04/ 10.35 701.91/15.60 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,300/11,400 11,500/11,600 7,750/7,850 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 65.42 65.95 38.15 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 3 มิ.ย. 49 29.79*/27.14* 29.79*/27.14* 19.69/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--