นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศเปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2549 หน่วยงาน Animal and Plant Health Inspection Service (APHIS) กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้ลงนามใน Framework Equivalency Work Plan (FEWP) ประกาศอนุญาตให้ผลไม้สดของไทยที่ผ่านการฉายรังสี 6 ชนิด คือ มะม่วง มังคุด สับปะรด เงาะ ลิ้นจี่ และลำไย สามารถนำเข้าสหรัฐฯ ได้
กฎระเบียบการนำเข้าสรุปได้ดังนี้
1. กำหนดปริมาณรังสีที่อนุญาตให้ใช้สำหรับการป้องกันการแพร่ขยายของแมลงศัตรูพืช
2. ข้อกำหนดเกี่ยวกับการฉายรังสี
2.1 สถานที่ตั้งและโรงงานฉายรังสีจะต้องได้รับการรับรองจากหน่วยงานของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ
2.2 ห้ามตั้งโรงงานฉายรังสีและห้ามผลไม้ที่ยังไม่ผ่านการฉายรังสีนำเข้าไปในมลรัฐอลาบามา อริโซนา แคลิฟอร์เนีย ฟลอริดา จอร์เจีย เคนตั๊กกี้ หลุยเซียนา มิสซิสซิปปี้ เนวาดา นิวเม็กซิโก นอร์ทแคโรไลนา เซาท์แคโรไลนา เทนเนสซี เท็กซัส และเวอร์จิเนีย ยกเว้น โรงงานฉายรังสีที่ได้รับอนุญาตให้ตั้งที่ท่าเรือ Gulfport ในรัฐมิสซิสซิปปี้ หรือ Willimington รัฐนอร์ทแคโรไลนา หรือบริเวณสนามบินเมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย โดยดำเนินการภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด
2.3 โรงงานฉายรังสีไม่ว่าจะตั้งอยู่ในสหรัฐฯ หรือนอกสหรัฐฯ ต้องลงนามในข้อตกลงกับกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ และปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆ ที่กำหนด กรณีการฉายรังสีในโรงงานนอกสหรัฐฯ จะต้องมี Phytosanitry Certificate ที่ออกโดยหน่วยงานของประเทศผู้ส่งออกกำกับมาด้วย
3. ข้อกำหนดบรรจุภัณฑ์ผลไม้ส่งออก
3.1ผักผลไม้ที่ผ่านการฉายรังสีจะต้องบรรจุในลังที่ผ่านการจัดการ (Treatment) แล้วเท่านั้น
(1) ลังบรรจุจะต้องสามารถป้องกันแมลงศัตรูพืชไม่ให้หลุดลอดหนีออกไปได้ ต้องมีการปิด (Seal) อย่างแน่นหนา
(2) ลังที่ไม่สามารถป้องกันแมลงศัตรูพืชจะต้องถูกเก็บในห้องที่ป้องกันแมลงเข้าไปได้ โดยอาจจะเป็นห้องที่มีกำแพงกั้นหรือฉากกั้น และก่อนที่ลังจะถูกส่งออกไปจากห้องนี้ แต่ละลังจะต้องถูกมัดปิดด้วยพลาสติก (Polyesthylene, shrink-wrap) หรือตาข่ายอื่นๆ ที่สามารถป้องกันแมลงได้
3.2 บรรจุภัณฑ์ที่ส่งเข้าสหรัฐฯ จะต้องมีการปิดฉลากระบุ lot number โรงงานฉายรังสีและโรงงานบรรจุภัณฑ์ด้วย ถ้ามีการจัดส่งมาพร้อมกันหมดทั้งชุดในลังใหญ่ใบเดียว ก็ให้ปิดฉลากเดียว หากมีการแยกออกเป็นลังย่อยๆ ทุกลังจะต้องปิดฉลากไว้แยกจากกัน
นายราเชนทร์ พจนสุนทร กล่าวเพิ่มเติมว่า แต่ละครั้งของการจัดส่งสินคัที่ผ่านการฉายรังสีจากโรงงานนอกประเทศสหรัฐฯ จะต้องมี Phytosaniatry Certificate ที่มีรายละเอียด treatement ระบุไว้ด้วย ดังนั้น ผู้ส่งออกผักและผลไม้ไทยจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบการนำเข้าดังกล่าวอย่างเคร่งครัด เนื่องจากไทยมีศักยภาพในการส่งออกสินค้านี้ โดยในปี 2547 ไทยส่งออกผักและผลไม้ไปสหรัฐฯ มูลค่ารวม 1,062 ล้านบาท ปี 2548 มูลค่า 1,213 ล้านบาท อัตราการเปลี่ยนแปลงร้อยละ 14 ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดได้จากสำนักมาตรการทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ โทร. 0 2547 4736 , 0 2547 4771-86 ต่อ 4707 หรือ http://www.aphis.usda.gov/newsroom
--กรมการค้าต่างประเทศ--
-สส-
กฎระเบียบการนำเข้าสรุปได้ดังนี้
1. กำหนดปริมาณรังสีที่อนุญาตให้ใช้สำหรับการป้องกันการแพร่ขยายของแมลงศัตรูพืช
2. ข้อกำหนดเกี่ยวกับการฉายรังสี
2.1 สถานที่ตั้งและโรงงานฉายรังสีจะต้องได้รับการรับรองจากหน่วยงานของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ
2.2 ห้ามตั้งโรงงานฉายรังสีและห้ามผลไม้ที่ยังไม่ผ่านการฉายรังสีนำเข้าไปในมลรัฐอลาบามา อริโซนา แคลิฟอร์เนีย ฟลอริดา จอร์เจีย เคนตั๊กกี้ หลุยเซียนา มิสซิสซิปปี้ เนวาดา นิวเม็กซิโก นอร์ทแคโรไลนา เซาท์แคโรไลนา เทนเนสซี เท็กซัส และเวอร์จิเนีย ยกเว้น โรงงานฉายรังสีที่ได้รับอนุญาตให้ตั้งที่ท่าเรือ Gulfport ในรัฐมิสซิสซิปปี้ หรือ Willimington รัฐนอร์ทแคโรไลนา หรือบริเวณสนามบินเมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย โดยดำเนินการภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด
2.3 โรงงานฉายรังสีไม่ว่าจะตั้งอยู่ในสหรัฐฯ หรือนอกสหรัฐฯ ต้องลงนามในข้อตกลงกับกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ และปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆ ที่กำหนด กรณีการฉายรังสีในโรงงานนอกสหรัฐฯ จะต้องมี Phytosanitry Certificate ที่ออกโดยหน่วยงานของประเทศผู้ส่งออกกำกับมาด้วย
3. ข้อกำหนดบรรจุภัณฑ์ผลไม้ส่งออก
3.1ผักผลไม้ที่ผ่านการฉายรังสีจะต้องบรรจุในลังที่ผ่านการจัดการ (Treatment) แล้วเท่านั้น
(1) ลังบรรจุจะต้องสามารถป้องกันแมลงศัตรูพืชไม่ให้หลุดลอดหนีออกไปได้ ต้องมีการปิด (Seal) อย่างแน่นหนา
(2) ลังที่ไม่สามารถป้องกันแมลงศัตรูพืชจะต้องถูกเก็บในห้องที่ป้องกันแมลงเข้าไปได้ โดยอาจจะเป็นห้องที่มีกำแพงกั้นหรือฉากกั้น และก่อนที่ลังจะถูกส่งออกไปจากห้องนี้ แต่ละลังจะต้องถูกมัดปิดด้วยพลาสติก (Polyesthylene, shrink-wrap) หรือตาข่ายอื่นๆ ที่สามารถป้องกันแมลงได้
3.2 บรรจุภัณฑ์ที่ส่งเข้าสหรัฐฯ จะต้องมีการปิดฉลากระบุ lot number โรงงานฉายรังสีและโรงงานบรรจุภัณฑ์ด้วย ถ้ามีการจัดส่งมาพร้อมกันหมดทั้งชุดในลังใหญ่ใบเดียว ก็ให้ปิดฉลากเดียว หากมีการแยกออกเป็นลังย่อยๆ ทุกลังจะต้องปิดฉลากไว้แยกจากกัน
นายราเชนทร์ พจนสุนทร กล่าวเพิ่มเติมว่า แต่ละครั้งของการจัดส่งสินคัที่ผ่านการฉายรังสีจากโรงงานนอกประเทศสหรัฐฯ จะต้องมี Phytosaniatry Certificate ที่มีรายละเอียด treatement ระบุไว้ด้วย ดังนั้น ผู้ส่งออกผักและผลไม้ไทยจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบการนำเข้าดังกล่าวอย่างเคร่งครัด เนื่องจากไทยมีศักยภาพในการส่งออกสินค้านี้ โดยในปี 2547 ไทยส่งออกผักและผลไม้ไปสหรัฐฯ มูลค่ารวม 1,062 ล้านบาท ปี 2548 มูลค่า 1,213 ล้านบาท อัตราการเปลี่ยนแปลงร้อยละ 14 ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดได้จากสำนักมาตรการทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ โทร. 0 2547 4736 , 0 2547 4771-86 ต่อ 4707 หรือ http://www.aphis.usda.gov/newsroom
--กรมการค้าต่างประเทศ--
-สส-