วันนี้ (5 ก.ค. 49)เวลา 10.30 น. ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่าคณะทำงานตรวจสอบการทุจริตของพรรคประชาธิปัตย์ ได้สืบสวนสอบสวน พบข้อมูลการทุจริตซึ่งจะร้องเรียนต่อ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ในวันจันทร์ ที่ 7 สิงหาคม นี้ เวลา 10.00 น. เพื่อให้สอบสวนหาผู้กระทำความผิดต่อ พ.ร.บ. ความผิดว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 และพ.ร.บ.ปปช. รวมทั้งประมวลกฎหมายอาญา
“ต่อกรณีการประมูลโครงการสัมปทานโครงการไฟฟ้า 400 เฮิรต และระบบปรับอากาศ พีซีแอร์ ให้กับเครื่องบินในสนามบินสุวรรณภูมิมูลค่า 4,000 ล้านบาท โดยที่ได้ปรากฎหลักฐานว่ากลุ่มบริษัทท่าอากาศยานไทย(ทอท.) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ ได้คัดเลือกให้เป็นผู้ชนะและได้สัมปทานดังกล่าวนั้นประกอบไปด้วยผู้ประกอบการโรงนวด โรงน้ำแข็ง และโรงปุ๋ย นั้นคือกลุ่มแอร์พอร์ต เอซีรีตี และบริษัท เอฟเอ็มซี ประเทศไทย ซึ่งปรากฎว่าบริษัทดังกล่าวนั้น ได้ส่อพฤติกรรมในการเสนองานต่อรัฐโดยที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ กล่าวคือ บริษัทแอร์พอร์ท เอซีรีตี เป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นที่โรงน้ำแข็ง เขตบางบอน และผู้ประกอบการที่มีส่วนเกี่ยวข้องก็คือโรงนวดซึ่งให้บริการอยู่ในสนามบินดอนเมือง ที่สำคัญจากการตรวจสอบงบดุล ของบริษัทดังกล่าวพบว่าในการเสนองบดุลใน ปี 2548 ก่อนมีมีการได้รับเชิญเข้าประมูลในโครงการนี้ ไม่ปรากฎว่าตลอดปีงบประมาณนั้นมีรายได้แม้แต่บาทเดียวและยังพบว่าเป็นประกอบการขาดทุนจากหนี้คงค้างเพียง 7,000 บาท เป็นค่าตรวจสอบบัญชี 5,000 บาท และค่าจดทะเบียนบริษัท 2,000 บาท รวมแล้วเป็นหนี้สิน 7,000บาท ไม่ปรากฎรายได้ในงบดุลต้นทุนขายไม่มีรายได้แม้แต่บาทเดียว ไม่มีค่าใช้จ่ายแม้แต่บาทเดียว นอกจากนั้นเมื่อได้ตรวจสอบไปถึงกลุ่มบริษัทที่เสนอตัวเข้ารับสัมปทานครั้งนี้คือบริษัทเอฟเอมซี เทคโนโลยี ประเทศไทย ปรากฎว่าเดิมชื่อบริษัทเอฟเอ็มซีเคมีเกษตรไทย ประกอบกิจการในการขายปุ๋ยและการขายอุปกรณ์ด้านอาหารและเกษตร ไม่ปรากฎว่ามีประสบการด้านการให้บริการไฟ 400 เฮิรต และระบบพีซีแอร์ แต่อย่างใด.” นายอลงกรร์กล่าว
นายอลงกรณ์ กล่าวต่อว่า เมื่อเปรียบเทียบกับบริษัทที่เข้าแข่งขันในการรับสัมปทานครั้งนี้ คือบริษัทการบินไทย ซึ่งเป็นนรัฐวิสาหกิจ และให้บริการระบบนี้ท่าอากาศยานสนามบินดอนเมืองมาเป็นเวลา หลาย 10 ปี ซึ่งได้มีการร้องเรียนจากบริษัทการบินไทย และเมื่อมีการยกเลิกการประมูลครั้งแรก มาสู่ครั้งล่าสุดบริษัทการบินไทยได้ร้องเรียนอีกครั้งหนึ่ง ว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม และกการประมูลดังกล่าวไม่ได้รับคววามเป็นธรรม
“แต่ทอท.ดำเนินการในการเซ็นต์สัญญาเมื่อวันที่ 10 พ.ค. 49 กับกลุ่มบริษัทดังกล่าว รวมไปถึงบริษัทแทค ซึ่งให้บริการระบบไฟฟ้า 400 และระบบพีซีแอ ที่สนามบินดอนเมืองมากว่า 10 เช่นกัน ตรงนี้จึงเห็นได้ว่าการประมูลสัมปทานมูลค่ากว่า 4,000 ล้านของบริษัททอท.ไม่โปร่งใส ส่อทุจริต และเข้าข่ายกระทำผิดกฎหมาย 3 ฉบับดังกล่าว” นายอลงกรณ์กล่าว และว่าอยากเรียร้องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาล) ได้ชี้แจงต่อสาธารณชนว่ารัฐบาลต้องการให้สนามบินสุวรรณภูมิ เป็นสนามบินนานาชาติ เป็นศูนย์กลางการบินของเอเชีย แต่ทำไมจึงปล่อยปะละเลยให้มีการทุจริตคอรัปชั่นเกือบทุกโครงการ ทั้งยังไม่ให้ความสนใจในการเข้าไปตรวจสอบเรื่องนี้อย่างจริงจัง ตรงนี้เป็นการละเว้นการปฏิบัติต่อหน้าที่ความรับผิดชอบในฐานรมว.คมนาคม ซึ่งหากยังไม่ดำเนินการใดๆในการสอบสวนในกรณีดังกล่าว ซึ่งมีการชี้แจง และร้องเรียนไปรมว.คมนาคมแล้ว คณะทำงานจะพิจารณาดำเนินคดี ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ต่อไป
ซึ่งพรรคประชาปัตย์ ยืนยันว่าเข้ากวาดล้างทุจริตคอรัปชั่นในสนามบินสุวรรณภูมิ โดยเฉพาะถ้าได้เป็นรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง จะแก้กฎหมายว่าด้วยอายุความของผู้กระความผิดว่าด้วยการทุจริตคอรัปชั่น ในวงราชการและการเมือง โดยจะให้ยกเลิกอายุควา ต่อไปการทุจริตคอรัปชั่น จะไม่มีอายุความของคดี
“ใครก็ตามที่ฉ้อราชบังหลวงไม่ว่านักการเมืองหรือข้าราชการนั้น จะไม่มีวันพ้นผิดได้ไปจนถึงวันตายถ้าหากว่าคดโกงประเทศชาติ เพราะฉะนั้นเตือนไปถึงนักการเมืองข้าราชการ เจ้าพนักงาน เจ้าหน้าที่ ตลอดทั้งบริษัทเอกชนทั้งหลายว่าได้กระผิดทุจริต ในโครงการของรัฐ เพราะจุดสุดท้ายคือคุก ทรัพย์สินที่ได้มาก็จะโดนยึดทรัพย์”
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวทิ้งท้ายว่า นี้คือส่วนหนึ่งของนโยบายป้องกันปราบปรามการทุจริตของพรรคประชาธิปัตย์ โดยจะมีการทำโดยไม่มีการรูปหน้าปากจมูก หรือเห็นแก่หน้าใครทั้งนั้นหากมีส่วนกระทำผิดทุจริตคอรัปชั่นต้องถูกดำเนินการถึงที่สุด
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 5 ส.ค. 2549--จบ--
“ต่อกรณีการประมูลโครงการสัมปทานโครงการไฟฟ้า 400 เฮิรต และระบบปรับอากาศ พีซีแอร์ ให้กับเครื่องบินในสนามบินสุวรรณภูมิมูลค่า 4,000 ล้านบาท โดยที่ได้ปรากฎหลักฐานว่ากลุ่มบริษัทท่าอากาศยานไทย(ทอท.) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ ได้คัดเลือกให้เป็นผู้ชนะและได้สัมปทานดังกล่าวนั้นประกอบไปด้วยผู้ประกอบการโรงนวด โรงน้ำแข็ง และโรงปุ๋ย นั้นคือกลุ่มแอร์พอร์ต เอซีรีตี และบริษัท เอฟเอ็มซี ประเทศไทย ซึ่งปรากฎว่าบริษัทดังกล่าวนั้น ได้ส่อพฤติกรรมในการเสนองานต่อรัฐโดยที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ กล่าวคือ บริษัทแอร์พอร์ท เอซีรีตี เป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นที่โรงน้ำแข็ง เขตบางบอน และผู้ประกอบการที่มีส่วนเกี่ยวข้องก็คือโรงนวดซึ่งให้บริการอยู่ในสนามบินดอนเมือง ที่สำคัญจากการตรวจสอบงบดุล ของบริษัทดังกล่าวพบว่าในการเสนองบดุลใน ปี 2548 ก่อนมีมีการได้รับเชิญเข้าประมูลในโครงการนี้ ไม่ปรากฎว่าตลอดปีงบประมาณนั้นมีรายได้แม้แต่บาทเดียวและยังพบว่าเป็นประกอบการขาดทุนจากหนี้คงค้างเพียง 7,000 บาท เป็นค่าตรวจสอบบัญชี 5,000 บาท และค่าจดทะเบียนบริษัท 2,000 บาท รวมแล้วเป็นหนี้สิน 7,000บาท ไม่ปรากฎรายได้ในงบดุลต้นทุนขายไม่มีรายได้แม้แต่บาทเดียว ไม่มีค่าใช้จ่ายแม้แต่บาทเดียว นอกจากนั้นเมื่อได้ตรวจสอบไปถึงกลุ่มบริษัทที่เสนอตัวเข้ารับสัมปทานครั้งนี้คือบริษัทเอฟเอมซี เทคโนโลยี ประเทศไทย ปรากฎว่าเดิมชื่อบริษัทเอฟเอ็มซีเคมีเกษตรไทย ประกอบกิจการในการขายปุ๋ยและการขายอุปกรณ์ด้านอาหารและเกษตร ไม่ปรากฎว่ามีประสบการด้านการให้บริการไฟ 400 เฮิรต และระบบพีซีแอร์ แต่อย่างใด.” นายอลงกรร์กล่าว
นายอลงกรณ์ กล่าวต่อว่า เมื่อเปรียบเทียบกับบริษัทที่เข้าแข่งขันในการรับสัมปทานครั้งนี้ คือบริษัทการบินไทย ซึ่งเป็นนรัฐวิสาหกิจ และให้บริการระบบนี้ท่าอากาศยานสนามบินดอนเมืองมาเป็นเวลา หลาย 10 ปี ซึ่งได้มีการร้องเรียนจากบริษัทการบินไทย และเมื่อมีการยกเลิกการประมูลครั้งแรก มาสู่ครั้งล่าสุดบริษัทการบินไทยได้ร้องเรียนอีกครั้งหนึ่ง ว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม และกการประมูลดังกล่าวไม่ได้รับคววามเป็นธรรม
“แต่ทอท.ดำเนินการในการเซ็นต์สัญญาเมื่อวันที่ 10 พ.ค. 49 กับกลุ่มบริษัทดังกล่าว รวมไปถึงบริษัทแทค ซึ่งให้บริการระบบไฟฟ้า 400 และระบบพีซีแอ ที่สนามบินดอนเมืองมากว่า 10 เช่นกัน ตรงนี้จึงเห็นได้ว่าการประมูลสัมปทานมูลค่ากว่า 4,000 ล้านของบริษัททอท.ไม่โปร่งใส ส่อทุจริต และเข้าข่ายกระทำผิดกฎหมาย 3 ฉบับดังกล่าว” นายอลงกรณ์กล่าว และว่าอยากเรียร้องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาล) ได้ชี้แจงต่อสาธารณชนว่ารัฐบาลต้องการให้สนามบินสุวรรณภูมิ เป็นสนามบินนานาชาติ เป็นศูนย์กลางการบินของเอเชีย แต่ทำไมจึงปล่อยปะละเลยให้มีการทุจริตคอรัปชั่นเกือบทุกโครงการ ทั้งยังไม่ให้ความสนใจในการเข้าไปตรวจสอบเรื่องนี้อย่างจริงจัง ตรงนี้เป็นการละเว้นการปฏิบัติต่อหน้าที่ความรับผิดชอบในฐานรมว.คมนาคม ซึ่งหากยังไม่ดำเนินการใดๆในการสอบสวนในกรณีดังกล่าว ซึ่งมีการชี้แจง และร้องเรียนไปรมว.คมนาคมแล้ว คณะทำงานจะพิจารณาดำเนินคดี ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ต่อไป
ซึ่งพรรคประชาปัตย์ ยืนยันว่าเข้ากวาดล้างทุจริตคอรัปชั่นในสนามบินสุวรรณภูมิ โดยเฉพาะถ้าได้เป็นรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง จะแก้กฎหมายว่าด้วยอายุความของผู้กระความผิดว่าด้วยการทุจริตคอรัปชั่น ในวงราชการและการเมือง โดยจะให้ยกเลิกอายุควา ต่อไปการทุจริตคอรัปชั่น จะไม่มีอายุความของคดี
“ใครก็ตามที่ฉ้อราชบังหลวงไม่ว่านักการเมืองหรือข้าราชการนั้น จะไม่มีวันพ้นผิดได้ไปจนถึงวันตายถ้าหากว่าคดโกงประเทศชาติ เพราะฉะนั้นเตือนไปถึงนักการเมืองข้าราชการ เจ้าพนักงาน เจ้าหน้าที่ ตลอดทั้งบริษัทเอกชนทั้งหลายว่าได้กระผิดทุจริต ในโครงการของรัฐ เพราะจุดสุดท้ายคือคุก ทรัพย์สินที่ได้มาก็จะโดนยึดทรัพย์”
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวทิ้งท้ายว่า นี้คือส่วนหนึ่งของนโยบายป้องกันปราบปรามการทุจริตของพรรคประชาธิปัตย์ โดยจะมีการทำโดยไม่มีการรูปหน้าปากจมูก หรือเห็นแก่หน้าใครทั้งนั้นหากมีส่วนกระทำผิดทุจริตคอรัปชั่นต้องถูกดำเนินการถึงที่สุด
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 5 ส.ค. 2549--จบ--