องค์รวม หรือ Holistic มาจากรากศัพท์ในภาษากรีก "Holos" ซึ่งหมายถึง "ความเป็นจริงหรือความสมบูรณ์ทั้งหมดของสรรพสิ่ง มีเอกลักษณ์และเอกภาพที่มิอาจแบ่งแยกเป็นส่วนย่อยได้" หรือ มีความหมายตามพจนานุกรมภาษาอังกฤษฉบับออกซ์ฟอร์ดว่า "แนวโน้มตามธรรมชาติในการสร้างองคาพยพ (wholes) ที่มีคุณสมบัติมากกว่าผลรวมขององค์ประกอบ" คำว่า"องค์รวม" นี้ยังคงเป็นเรื่องแปลกใหม่และเข้าใจยากและถูกใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในแวดวงนักวิชาการ การเมือง และศาสตร์สาขาต่างๆ แต่อย่างไรก็ตาม "องค์รวม" มักจะถูกนำไปใช้โดยมุ่งหวังให้เกิดการมองเป้าหมายที่กว้างขวางรอบด้าน และมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับคำว่า "บูรณาการ" "เติมเต็ม" และ "ยั่งยืน" แนวคิดองค์รวมนี้ได้ถูกนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาสังคมไทย และถือได้ว่าเป็นคำสำคัญคำหนึ่งในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8-9 จึงอาจกล่าวได้ว่าแนวคิดนี้มีนัยสำคัญต่ออนาคตของประชาชนไทยอย่างแท้จริง
หากย้อนกลับไปพิจารณาอารยธรรมตะวันออกเมื่อหลายพันปีก่อน แนวคิดแบบองค์รวมได้ก่อเกิดขึ้นมาแต่โบราณ โดยเชื่อว่าความเป็นจริงเฉพาะเรื่องใดๆ ที่มนุษย์รับรู้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความเป็นจริงทั้งหมดที่ดำรงอยู่ ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ เพราะมนุษย์ส่วนใหญ่ยังมีระบบประสาทสัมผัสที่มีความสามารถจำกัดในความละเอียดอ่อนและหยั่งลึกถึงสิ่งที่ได้สัมผัส นอกจากนี้ยังมีอคติทางค่านิยมและลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคลไม่เหมือนกันจึงมีผลต่อภาพความเป็นจริงที่แต่ละบุคคลสร้างขึ้นตั้งแต่ ประสบการณ์ ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม สภาพแวดล้อม สังคม เป้าหมาย ฯลฯ เป็นต้น
สิ่งที่แต่ละบุคคลเข้าใจว่าจริงเฉพาะเรื่องใดๆ คือความเป็นจริงที่ดำรงอยู่อย่างอิสระ แท้จริงเป็นเพียงข้อมูลความเป็นจริงบางส่วนที่รับรู้ผ่านระบบประสาทสัมผัสเข้าสู่สมอง เพื่อตีความและประกอบขึ้นใหม่เป็นภาพเสมือนจริงเท่านั้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าเมื่ออคติทางค่านิยมและลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคลเปลี่ยนไป ความเป็นจริงก็เปลี่ยนไปด้วย จริงเฉพาะเรื่องใดๆ จึงไม่สามารถเป็นกลางที่นำไปอ้างอิงในเรื่องเฉพาะเรื่องอื่นได้ ดังนั้นปัจจัยทั้งหลายที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเรา ล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อความเป็นจริงที่เราสร้างขึ้นทั้งสิ้น ในอีกด้านหนึ่ง ความเป็นจริงก็มิอาจถูกตัดแบ่งออกเป็นส่วนๆ ได้ เพราะการดำรงอยู่ของแต่ละส่วนนั้นขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์กับส่วนรวมทั้งหมด การแยกส่วนจึงส่งผลให้ทั้งส่วนที่ถูกแยกและส่วนรวมที่ถูกพรากส่วนออกไป ขาดความครบถ้วนสมบูรณ์ลงทันที
แต่ในระยะเวลาร้อยปีที่ผ่านมานักพัฒนาชาติตะวันตก,โดยเฉพาะนักวิทยาศาสตร์, ได้เกิดแนวคิดแบบแยกส่วน (reductionism) โดยเชื่อว่าความเป็นจริงเฉพาะเรื่องใดๆ สามารถแยกออกเป็นส่วนย่อยๆ เพื่อศึกษาหาความรู้ความเข้าใจทั้งหมดที่เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ และสามารถสรุปความเป็นจริงเฉพาะเรื่องใดๆ ได้จากการรวบรวมข้อมูลความรู้เกี่ยวกับส่วนต่างๆ เข้าด้วยกันแนวคิดแบบแยกส่วนนั้น นอกจากนี้ยังมีความเชื่อที่ว่า ความเป็นจริงเฉพาะเรื่องใดๆ สามารถแยกจากอคติค่านิยมหรือความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ออกจากสภาวะที่มองเห็นหรือความเป็นจริงที่ดำรงอยู่ภายนอก ดังนั้นบุคลลใดบุคคลหนึ่งหากด้วยการเฝ้าสังเกตอย่างเป็นกลาง ก็จะสามารถพบความเป็นจริงในแต่ละส่วน และเมื่อรวมส่วนความเป็นจริงเหล่านี้เข้าด้วยกัน บุคคลนั้นก็สามารถเข้าถึงความเป็นจริงทั้งหมดได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์และสามารถควบคุมจัดการทุกสิ่งให้เป็นไปได้ตามต้องการ โดยมีขอบเขตของความรู้และความเป็นจริงเป็นตัวกำหนด เช่น เมื่อเข้าถึงความเป็นจริงของส่วนหนึ่งส่วนใดแล้ว ก็ควบคุมจัดการส่วนนั้นได้ เมื่อรู้
เกี่ยวกับความเป็นจริงครบทุกส่วนแล้ว ก็สามารถเข้าไปควบคุมจัดการทั้งหมดได้
สรุปได้ว่าแนวคิดแบบแยกส่วนเชื่อว่าความเป็นจริงเรื่องใดๆ มีสภาวะของความเป็นจริงที่มีลักษณะสมบูรณ์เป็นเอกพจน์และเป็นสากล การนำแนวคิดนี้ไปปฏิบัติจึงต้องรวมศูนย์การบริหารจัดการขึ้นตรงต่อผู้ที่มีความรู้หรืออำนาจสูงสุด ซึ่งจะผู้ที่ทำหน้าที่คิดแทนจัดการแทนผู้ที่มีความรู้น้อยกว่า และเป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์และวิธีการในการจัดการในแนวทางเดียวและเป็นสากล หรืออีกนัย หนึ่งก็คือเป็นสูตรสำเร็จการส่งเสริมการรวมตัวกันเป็นกลุ่มสังคมลักษณะต่างๆ
จึงเป็นไปเพื่อเป้าหมายในการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการของผู้มีที่มีความรู้และอำนาจสูงสุดนั้น ด้วยการแบ่งแยกบทบาทหน้าที่ระหว่างกัน และเพื่อการรวบรวมข้อมูลความเป็นจริงของแต่ละส่วนป้อนสู่ศูนย์กลางการจัดการ ความสัมพันธ์ระหว่างเรื่องเฉพาะใดๆ จึงมีลักษณะขึ้นตรงต่อผู้ที่มีความรู้หรือผู้มีอำนาจมากกว่าในกลุ่มของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ยิ่งไปกว่านี้แนวคิดแบบแยกส่วนยังมองความแตกต่างหลากหลายของบุคคล เป็นเพียงสิ่งที่
ไม่พึงปรารถนาและเป็นต้นเหตุให้ความเป็นจริงนั้นไม่เป็นเอกภาพของความเป็นกลาง จึงจำเป็นต้องตัดออกและทำลายเสีย ดังนั้นความรู้ที่ได้จากการมองแบบแยกส่วนเพื่อทำการศึกษาความเป็นจริง จึงเป็นเพียงการศึกษาชิ้นส่วนที่ไม่สมบูรณ์ทั้งสิ้น และเมื่อประกอบความรู้จากส่วนที่ไม่สมบูรณ์เข้าด้วยกัน ผลรวมจึงเป็นเพียงสภาพความเป็นจริงที่ไม่สมบูรณ์เท่านั้น
จากภาวะกระแสทุนนิยมโลกาภิวัตน์ที่โหมกระหน่ำเข้ามา กระบวนการแปรรูปสังคมไทยถูกทำให้เป็นแบบแยกส่วนมากขึ้นและเบียดบังพื้นที่แบบองค์รวมลดน้อยลงไปทุกที และมักจะพบว่าพื้นที่ที่เหลือน้อยอยู่นี้ กำลังถูกชักนำไปสู่การจัดการแบบรวมศูนย์ มีสูตรสำเร็จในการพัฒนาที่แน่นอน มีการคิดแทนทำแทนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ให้ความสำคัญกับการทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายมากกว่าการแลกเปลี่ยนระหว่างสมาชิก และมองเห็นความแตกต่างหลากหลายว่ากลายเป็นปัญหา ซึ่งเป็นไปตามแนวคิดแบบแยกส่วนทั้งสิ้น ลักษณะเฉพาะที่แตกต่างหลากหลายของผู้คนกำลังถูกทำให้เหลือเป็นเพียงการเป็นทรัพยากรของชาติเท่านั้น
สำหรับ "นักพัฒนา" การทำความเข้าใจกับความหมายขององค์รวมย่อมแตกต่างกันไปตามพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ ตลอดจนประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับองค์รวม การศึกษาค้นคว้าความเป็นจริงชุดหนึ่งจะเกิดจากกลุ่มบุคคลซึ่งมีความรู้ รูปลักษณ์เชิงกายภาพ และวิถีชีวิตที่ใกล้เคียงกันร่วมกันสร้างขึ้น ดังนั้นความเป็นจริงจึงไม่ใช่มีเพียงหนึ่งเดียว มิใช่สิ่งที่เป็นสากลที่สามารถใช้ร่วมกันได้อย่างสมบูรณ์ ความเป็นจริงชุดหนึ่งจึงมี
สภาพเฉพาะกลุ่ม เฉพาะพื้นที่ นอกจากนี้ความเป็นจริงยังมีสภาพไม่คงที่ เปลี่ยนแปลงไปตามการปฏิสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป นักพัฒนาต้องเข้าใจวัตถุประสงค์หลักในการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม คือ การรวบรวมและคัดสรรข้อมูลเพื่อสร้างความเป็นจริงร่วมกัน โดยมีการร่วมกันทำงานเป็นวัตถุประสงค์รอง เพราะหากการรวมตัวกันไม่สามารถค้นหาความเป็นจริงชุดหนึ่งเสียแล้ว การกระทำทั้งหลายก็เท่ากับสูญเปล่า และต้องเข้าใจว่าการรวมตัวแบบองค์รวมนั้น ความแตกต่างหลากหลายเป็นสิ่งที่จำเป็นในสังคมแบบองค์รวม เพราะยิ่งมีความแตกต่างหลากหลายมากเท่าไร ความเป็นจริงที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมกันสร้างก็ยิ่งสมบูรณ์ครบถ้วนมากขึ้น
สังคมแบบองค์รวมจึงประกอบไปด้วยชุมชนต่างๆ ที่แตกต่างหลากหลายทับซ้อนกันไปมา โดยต่างก็มีอิสระในการกำหนดและจัดการตามความเป็นจริงของตน และด้วยการติดต่อสื่อสารกันอย่างเสรี ก็ก่อให้เกิดเป็นเครือข่ายที่สลับซับซ้อนเพื่อร่วมกันปรับปรุง/ปรับเปลี่ยนความเป็นจริงของตนให้ครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ซึ่งในที่สุดจะทำให้เกิดความเป็นเอกภาพบนพื้นฐานของความแตกต่างที่หลากหลาย...
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
หากย้อนกลับไปพิจารณาอารยธรรมตะวันออกเมื่อหลายพันปีก่อน แนวคิดแบบองค์รวมได้ก่อเกิดขึ้นมาแต่โบราณ โดยเชื่อว่าความเป็นจริงเฉพาะเรื่องใดๆ ที่มนุษย์รับรู้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความเป็นจริงทั้งหมดที่ดำรงอยู่ ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ เพราะมนุษย์ส่วนใหญ่ยังมีระบบประสาทสัมผัสที่มีความสามารถจำกัดในความละเอียดอ่อนและหยั่งลึกถึงสิ่งที่ได้สัมผัส นอกจากนี้ยังมีอคติทางค่านิยมและลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคลไม่เหมือนกันจึงมีผลต่อภาพความเป็นจริงที่แต่ละบุคคลสร้างขึ้นตั้งแต่ ประสบการณ์ ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม สภาพแวดล้อม สังคม เป้าหมาย ฯลฯ เป็นต้น
สิ่งที่แต่ละบุคคลเข้าใจว่าจริงเฉพาะเรื่องใดๆ คือความเป็นจริงที่ดำรงอยู่อย่างอิสระ แท้จริงเป็นเพียงข้อมูลความเป็นจริงบางส่วนที่รับรู้ผ่านระบบประสาทสัมผัสเข้าสู่สมอง เพื่อตีความและประกอบขึ้นใหม่เป็นภาพเสมือนจริงเท่านั้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าเมื่ออคติทางค่านิยมและลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคลเปลี่ยนไป ความเป็นจริงก็เปลี่ยนไปด้วย จริงเฉพาะเรื่องใดๆ จึงไม่สามารถเป็นกลางที่นำไปอ้างอิงในเรื่องเฉพาะเรื่องอื่นได้ ดังนั้นปัจจัยทั้งหลายที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเรา ล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อความเป็นจริงที่เราสร้างขึ้นทั้งสิ้น ในอีกด้านหนึ่ง ความเป็นจริงก็มิอาจถูกตัดแบ่งออกเป็นส่วนๆ ได้ เพราะการดำรงอยู่ของแต่ละส่วนนั้นขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์กับส่วนรวมทั้งหมด การแยกส่วนจึงส่งผลให้ทั้งส่วนที่ถูกแยกและส่วนรวมที่ถูกพรากส่วนออกไป ขาดความครบถ้วนสมบูรณ์ลงทันที
แต่ในระยะเวลาร้อยปีที่ผ่านมานักพัฒนาชาติตะวันตก,โดยเฉพาะนักวิทยาศาสตร์, ได้เกิดแนวคิดแบบแยกส่วน (reductionism) โดยเชื่อว่าความเป็นจริงเฉพาะเรื่องใดๆ สามารถแยกออกเป็นส่วนย่อยๆ เพื่อศึกษาหาความรู้ความเข้าใจทั้งหมดที่เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ และสามารถสรุปความเป็นจริงเฉพาะเรื่องใดๆ ได้จากการรวบรวมข้อมูลความรู้เกี่ยวกับส่วนต่างๆ เข้าด้วยกันแนวคิดแบบแยกส่วนนั้น นอกจากนี้ยังมีความเชื่อที่ว่า ความเป็นจริงเฉพาะเรื่องใดๆ สามารถแยกจากอคติค่านิยมหรือความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ออกจากสภาวะที่มองเห็นหรือความเป็นจริงที่ดำรงอยู่ภายนอก ดังนั้นบุคลลใดบุคคลหนึ่งหากด้วยการเฝ้าสังเกตอย่างเป็นกลาง ก็จะสามารถพบความเป็นจริงในแต่ละส่วน และเมื่อรวมส่วนความเป็นจริงเหล่านี้เข้าด้วยกัน บุคคลนั้นก็สามารถเข้าถึงความเป็นจริงทั้งหมดได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์และสามารถควบคุมจัดการทุกสิ่งให้เป็นไปได้ตามต้องการ โดยมีขอบเขตของความรู้และความเป็นจริงเป็นตัวกำหนด เช่น เมื่อเข้าถึงความเป็นจริงของส่วนหนึ่งส่วนใดแล้ว ก็ควบคุมจัดการส่วนนั้นได้ เมื่อรู้
เกี่ยวกับความเป็นจริงครบทุกส่วนแล้ว ก็สามารถเข้าไปควบคุมจัดการทั้งหมดได้
สรุปได้ว่าแนวคิดแบบแยกส่วนเชื่อว่าความเป็นจริงเรื่องใดๆ มีสภาวะของความเป็นจริงที่มีลักษณะสมบูรณ์เป็นเอกพจน์และเป็นสากล การนำแนวคิดนี้ไปปฏิบัติจึงต้องรวมศูนย์การบริหารจัดการขึ้นตรงต่อผู้ที่มีความรู้หรืออำนาจสูงสุด ซึ่งจะผู้ที่ทำหน้าที่คิดแทนจัดการแทนผู้ที่มีความรู้น้อยกว่า และเป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์และวิธีการในการจัดการในแนวทางเดียวและเป็นสากล หรืออีกนัย หนึ่งก็คือเป็นสูตรสำเร็จการส่งเสริมการรวมตัวกันเป็นกลุ่มสังคมลักษณะต่างๆ
จึงเป็นไปเพื่อเป้าหมายในการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการของผู้มีที่มีความรู้และอำนาจสูงสุดนั้น ด้วยการแบ่งแยกบทบาทหน้าที่ระหว่างกัน และเพื่อการรวบรวมข้อมูลความเป็นจริงของแต่ละส่วนป้อนสู่ศูนย์กลางการจัดการ ความสัมพันธ์ระหว่างเรื่องเฉพาะใดๆ จึงมีลักษณะขึ้นตรงต่อผู้ที่มีความรู้หรือผู้มีอำนาจมากกว่าในกลุ่มของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ยิ่งไปกว่านี้แนวคิดแบบแยกส่วนยังมองความแตกต่างหลากหลายของบุคคล เป็นเพียงสิ่งที่
ไม่พึงปรารถนาและเป็นต้นเหตุให้ความเป็นจริงนั้นไม่เป็นเอกภาพของความเป็นกลาง จึงจำเป็นต้องตัดออกและทำลายเสีย ดังนั้นความรู้ที่ได้จากการมองแบบแยกส่วนเพื่อทำการศึกษาความเป็นจริง จึงเป็นเพียงการศึกษาชิ้นส่วนที่ไม่สมบูรณ์ทั้งสิ้น และเมื่อประกอบความรู้จากส่วนที่ไม่สมบูรณ์เข้าด้วยกัน ผลรวมจึงเป็นเพียงสภาพความเป็นจริงที่ไม่สมบูรณ์เท่านั้น
จากภาวะกระแสทุนนิยมโลกาภิวัตน์ที่โหมกระหน่ำเข้ามา กระบวนการแปรรูปสังคมไทยถูกทำให้เป็นแบบแยกส่วนมากขึ้นและเบียดบังพื้นที่แบบองค์รวมลดน้อยลงไปทุกที และมักจะพบว่าพื้นที่ที่เหลือน้อยอยู่นี้ กำลังถูกชักนำไปสู่การจัดการแบบรวมศูนย์ มีสูตรสำเร็จในการพัฒนาที่แน่นอน มีการคิดแทนทำแทนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ให้ความสำคัญกับการทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายมากกว่าการแลกเปลี่ยนระหว่างสมาชิก และมองเห็นความแตกต่างหลากหลายว่ากลายเป็นปัญหา ซึ่งเป็นไปตามแนวคิดแบบแยกส่วนทั้งสิ้น ลักษณะเฉพาะที่แตกต่างหลากหลายของผู้คนกำลังถูกทำให้เหลือเป็นเพียงการเป็นทรัพยากรของชาติเท่านั้น
สำหรับ "นักพัฒนา" การทำความเข้าใจกับความหมายขององค์รวมย่อมแตกต่างกันไปตามพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ ตลอดจนประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับองค์รวม การศึกษาค้นคว้าความเป็นจริงชุดหนึ่งจะเกิดจากกลุ่มบุคคลซึ่งมีความรู้ รูปลักษณ์เชิงกายภาพ และวิถีชีวิตที่ใกล้เคียงกันร่วมกันสร้างขึ้น ดังนั้นความเป็นจริงจึงไม่ใช่มีเพียงหนึ่งเดียว มิใช่สิ่งที่เป็นสากลที่สามารถใช้ร่วมกันได้อย่างสมบูรณ์ ความเป็นจริงชุดหนึ่งจึงมี
สภาพเฉพาะกลุ่ม เฉพาะพื้นที่ นอกจากนี้ความเป็นจริงยังมีสภาพไม่คงที่ เปลี่ยนแปลงไปตามการปฏิสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป นักพัฒนาต้องเข้าใจวัตถุประสงค์หลักในการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม คือ การรวบรวมและคัดสรรข้อมูลเพื่อสร้างความเป็นจริงร่วมกัน โดยมีการร่วมกันทำงานเป็นวัตถุประสงค์รอง เพราะหากการรวมตัวกันไม่สามารถค้นหาความเป็นจริงชุดหนึ่งเสียแล้ว การกระทำทั้งหลายก็เท่ากับสูญเปล่า และต้องเข้าใจว่าการรวมตัวแบบองค์รวมนั้น ความแตกต่างหลากหลายเป็นสิ่งที่จำเป็นในสังคมแบบองค์รวม เพราะยิ่งมีความแตกต่างหลากหลายมากเท่าไร ความเป็นจริงที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมกันสร้างก็ยิ่งสมบูรณ์ครบถ้วนมากขึ้น
สังคมแบบองค์รวมจึงประกอบไปด้วยชุมชนต่างๆ ที่แตกต่างหลากหลายทับซ้อนกันไปมา โดยต่างก็มีอิสระในการกำหนดและจัดการตามความเป็นจริงของตน และด้วยการติดต่อสื่อสารกันอย่างเสรี ก็ก่อให้เกิดเป็นเครือข่ายที่สลับซับซ้อนเพื่อร่วมกันปรับปรุง/ปรับเปลี่ยนความเป็นจริงของตนให้ครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ซึ่งในที่สุดจะทำให้เกิดความเป็นเอกภาพบนพื้นฐานของความแตกต่างที่หลากหลาย...
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-