แท็ก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
องค์การสหประชาชาติ
เปรม ติณสูลานนท์
กระทรวงวัฒนธรรม
นายกรัฐมนตรี
องคมนตรี
กรุงเทพ--29 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
กราบเรียน ฯพณฯ องคมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ
ฯพณฯ นายโคฟี อันนัน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ
ท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน
เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระเกียรติในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เหล่าพสกนิกรทุกหมู่เหล่าทั่วราชอาณาจักรไทย มีความภูมิใจและปลาบปลื้มที่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เป็นพระองค์แรกที่ได้รับ “รางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์” รัฐบาลไทยและประชาชนชาวไทยรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ท่านเลขาธิการองค์การสหประชาชาติจะได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลนี้แด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วยตนเองในบ่ายวันนี้
ในฐานะรองนายกรัฐมนตรีที่ดูแลเกี่ยวกับการมาเยือนของท่านเลขาธิการองค์การสหประชาชาติเพื่อทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลแด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ท่านประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้ให้เกียรติมาร่วมงานในวันนี้
โดยแท้จริงแล้ว มีประชาชนน้อยนักที่จะได้ใกล้ชิดและซาบซึ้งถึงพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการส่งเสริมและพัฒนามนุษย์ได้เท่ากับ ฯพณฯ ประธานองคมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ฯพณฯ ท่านได้บันดาลใจให้พวกเราได้เข้าถึงพระราชดำริ การแนะนำและคำสอนเกี่ยวกับการพัฒนามนุษย์ ข้าพเจ้าขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงต่อ ฯพณฯ ประธานองคมนตรีที่ได้ให้เกียรติมาเปิดงานอภิปรายระดับสูงของผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการพัฒนามนุษย์เช่นเดียวกับที่ ฯพณฯ เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ โคฟี อันนัน ที่ได้ให้เกียรติมาให้คำกล่าวสุนทรพจน์ในการอภิปรายระดับสูงนี้ด้วย
เนื่องในวโรกาสอันเป็นมหามงคลสมัยนี้ รัฐบาลไทยและประชาชนชาวไทย ได้เป็นเจ้าภาพในกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเฉลิมพระเกียรติในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จุดเด่นของงานเฉลิมฉลองนี้จะเป็นการที่พระราชวงค์ต่าง ๆ จากหลายประเทศจะให้เกียรติมาทรงร่วมงานของรัฐบาลและประชาชนชาวไทยที่จะมีขึ้นในเดือนหน้านี้
นอกจากนี้ การเยือนของ ฯพณฯ เลขาธิการองค์การสหประชาชาติและการทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในครั้งนี้ ได้แสดงถึงการยอมรับของ ๑๙๑ ประเทศที่เป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ ในความสำเร็จของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในด้านการพัฒนามนุษย์ ทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และ ระดับระหว่างประเทศ ทั้งนี้ ประชาชนทั่วประเทศไทยรู้สึกซาบซึ้ง และเป็นพระมหากรุณาธิคุณยิ่งนัก
ท่านผู้มีเกียรติทั้งหลาย
ตลอดระยะเวลาครองราชย์ ๖๐ ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จด้วยระยะทางยาวไกลทั่วแผ่นดิน พระองค์ท่านทรงเห็นความยากลำบากของพสกนิกรไทยที่ยังมีความทุกข์ยากในการดำรงชีพ ไม่มีใครในประเทศที่จะรู้จักทุกตารางนิ้วของแผ่นดินได้เทียบเท่ากับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์เอง และไม่มีใครทราบประเด็นปัญหาในเบื้องต้นและการแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสมได้เท่ากับพระองค์ท่าน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงสละเวลาโดยมิทรงเหน็ดเหนื่อย ที่จะส่งเสริมความอยู่ดีกินดีให้กับประชาชนชาวไทย โดยไม่ถือความต่างในเชื้อชาติและศาสนา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงชนะใจของพสกนิกรไทย ด้วยพระราชกรณียกิจของพระองค์ในด้านการพัฒนามนุษย์ ระบอบการปกครอง ด้านความสงบสุข และการประสานใจชาวไทยทุกหมู่เหล่าให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน พระราชกรณีกิจต่าง ๆ แสดงให้เห็นถึงความผูกพันและความริเริ่มต่าง ๆ ของพระองค์ นับตั้งแต่เรื่องการรักษาสุขอนามัย การศึกษา ตลอดจนถึงการพัฒนาชนบท เสริมสร้างศักยภาพของประชาชนอย่างเต็มที่ ซึ่งประชาชนนับล้านได้รับประโยชน์จากโครงการในพระราชดำริของพระองค์
ตลอดระยะเวลาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทดลองและพัฒนาเพื่อความก้าวหน้านี้ พระองค์ได้พระราชทานปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งใช้เป็นแนวทางการดำเนินชีวิตอย่างสมดุล “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญา โดยหลักการ การเดินสายกลาง ซี่งเป็นส่วนหนึ่งที่ผสมผสานเข้ากับการพัฒนามนุษย์ในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน และประเทศ “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นรูปแบบของการพัฒนาแบบใหม่ ที่จะส่งเสริมศักยภาพของคนให้สามารถเผชิญสิ่งท้าทายอันเกิดจากกระแสโลกาภิวัตน์ และสามารถทำให้การพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นจริงขึ้นมาได้
จากแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระองค์ท่าน รัฐบาลไทยได้ใช้เป็นแนวคิด
ในการพัฒนามนุษย์และการพัฒนาคนเป็นศูนย์กลาง สู่ประชาชนตลอดจนระดับรากหญ้า แนวทางนี้ได้ช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งฐานรากของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเพิ่มโอกาสในการเสริมสร้างงานและรายได้ และยังส่งเสริมทักษะ เทคโนโลยีของภูมิปัญญาท้องถิ่น การฟื้นฟูกลับมาและความแข็งแกร่งด้านเศรษฐกิจสังคม ที่ถักทอเป็นหนึ่งเดียวกันนี้ ส่วนมากได้มาจากการใช้แนวทางปรัชญาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน
พระปรีชาสามารถในด้านการพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนี้ มิได้เป็นที่ยอมรับและชื่นชมเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น หากแต่ยังเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศอีกด้วย ในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ องค์การอังค์ถัดได้มาประชุมครั้งที่สิบในกรุงเทพฯ ได้กำหนดแนวทางยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจสำหรับสหัสวรรษใหม่ และเป็นการเทิดพระเกียรติคุณในองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และการประชุมในครั้งนี้ได้นำแนวทางการพัฒนาของพระองค์ท่าน มาเป็นกลยุทธ์ใหม่ในการพัฒนามาใช้ในสหัสวรรษใหม่นี้
ในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ อังค์ถัดได้มีการประชุมการประเมินผลการดำเนินงานครึ่งโครงการอีกครั้งในกรุงเทพฯ ซึ่งข้าพเจ้าได้เป็นประธานในการประชุมครั้งนี้ ปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” ได้ถูกประกาศให้เป็นแนวทางในการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาอย่างยั่งยืน
สองสามปีที่ผ่านมานี้ ประเทศกำลังพัฒนาต่าง ๆ หลายประเทศได้ส่งผู้แทนมาศึกษาโครงการพัฒนาทางเลือกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๗ ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมระดับรัฐมนตรีในเรื่องการพัฒนาทางเลือก - เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีผู้เข้าประชุมครั้งนี้จำนวน ๑๙ ประเทศจาก ๓ ทวีป ได้แก่ เอเซีย แอฟริกา และอเมริกาใต้ ในการประชุมครั้งนั้น ได้มีการนำเสนอโครงการพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้เป็นโครงการตัวอย่าง
โดยแท้จริงแล้ว โครงการพัฒนาชนบทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังสามารถใช้ได้กับผู้ที่มาจากประเทศกำลังพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการชลประทาน การพัฒนาชนบท การปลูกพืชทดแทนการปลูกฝิ่น สาธารณสุข และการศึกษา เมื่อไม่นานมานี้ ความพยายามในการช่วยเหลือมนุษย์ชาติระหว่างประเทศ ยังได้นำแนวทางพระราชดำริเข้ามาประยุกต์ใช้เป็นประโยชน์ด้วย ดังตัวอย่างเช่น ในประเทศติมอร์-เลสเต้ ได้มีการใช้พระราชดำรินี้ในการเชื่อมโยงการปฏิบัติการรักษาสันติภาพกับการพัฒนาที่ยั่งยืนเข้าด้วยกัน ในประเทศอัฟกานิสถาน โครงการหลวงได้ถูกนำมาเป็นตัวอย่างในการทดแทนการปลูกฝิ่น เพื่อการดำรงชีวิตที่ยั่งยืนของผู้คน หลังจากที่ความขัดแย้งในประเทศได้สิ้นสุดลงแล้ว
ท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน
ในการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชกรณียกิจในเรื่องการพัฒนามากยิ่งนัก และในโอกาสที่เลขาธิการองค์การสหประชาชาติได้มาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ รัฐบาลไทยและองค์การสหประชาชาติซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น จึงได้ร่วมกันจัดการอภิปรายโดยผู้ทรงคุณวุฒิระดับสูง เกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการพัฒนามนุษย์ และยังได้จัดแสดงนิทรรศการ ณ โถงด้านหน้าห้องการประชุม แสดงโครงการพัฒนาและรางวัลต่างๆ ที่องค์การสหประชาชาติ ได้ถวายแด่พระองค์สำหรับความสำเร็จในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น
ผู้เข้าร่วมการอภิปรายระดับสูงนี้ จะได้มีโอกาสถ่ายทอดประสบการณ์และความซาบซึ้งในแนวทางการพัฒนา และพระวิสัยทัศน์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เป็นอย่างดี ท่านผู้ทรงคุณวุฒิในการร่วมอภิปรายครั้งนี้ เราได้รับเกียรติเป็นอย่างสูงจาก ฯพณฯ จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา รองราชเลขาธิการ และผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มาเป็นผู้ร่วมอภิปรายด้วย ฯพณฯ จิรายุฯ เป็นท่านหนึ่งในเพียงไม่กี่ท่านที่จะสามารถพูดได้ถึงพระราชดำริและพระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รวมทั้งเรื่องปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งท่านผู้ร่วมประชุม
จะได้ประโยชน์และความรู้ จากการนำเสนอเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตจริงของประชาชนในระดับรากหญ้า
ในส่วนขององค์การสหประชาชาติ เราได้รับเกียรติเป็นอย่างยิ่งจากผู้แทนระดับภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค ของสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นดีพี) ที่จะมาเพิ่มเติมสิ่งที่ได้ประจักษ์ การค้นพบ และวิเคราะห์ เกี่ยวกับการส่งเสริมการพัฒนามนุษย์โดยใช้แนวทางปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งจะเป็นห้วข้อเรื่องของรายงานของยูเอ็นดีพีในประเทศไทย ในรายงานการพัฒนาคนของประเทศไทย ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ รายงานฉบับนี้จะเผยแพร่แนวคิดและการปฏิบัติตามหลักปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนแก่ประเทศอื่น ๆ รวมทั้งการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหสวรรษ
ท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน
ในโอกาสนี้ ข้าพเจ้าขอเรียนเชิญ ฯพณฯ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ให้เกียรติกล่าวเปิดประชุม ณ บัดนี้
ขอขอบพระคุณอย่างสูง
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
กราบเรียน ฯพณฯ องคมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ
ฯพณฯ นายโคฟี อันนัน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ
ท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน
เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระเกียรติในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เหล่าพสกนิกรทุกหมู่เหล่าทั่วราชอาณาจักรไทย มีความภูมิใจและปลาบปลื้มที่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เป็นพระองค์แรกที่ได้รับ “รางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์” รัฐบาลไทยและประชาชนชาวไทยรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ท่านเลขาธิการองค์การสหประชาชาติจะได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลนี้แด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วยตนเองในบ่ายวันนี้
ในฐานะรองนายกรัฐมนตรีที่ดูแลเกี่ยวกับการมาเยือนของท่านเลขาธิการองค์การสหประชาชาติเพื่อทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลแด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ท่านประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้ให้เกียรติมาร่วมงานในวันนี้
โดยแท้จริงแล้ว มีประชาชนน้อยนักที่จะได้ใกล้ชิดและซาบซึ้งถึงพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการส่งเสริมและพัฒนามนุษย์ได้เท่ากับ ฯพณฯ ประธานองคมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ฯพณฯ ท่านได้บันดาลใจให้พวกเราได้เข้าถึงพระราชดำริ การแนะนำและคำสอนเกี่ยวกับการพัฒนามนุษย์ ข้าพเจ้าขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงต่อ ฯพณฯ ประธานองคมนตรีที่ได้ให้เกียรติมาเปิดงานอภิปรายระดับสูงของผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการพัฒนามนุษย์เช่นเดียวกับที่ ฯพณฯ เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ โคฟี อันนัน ที่ได้ให้เกียรติมาให้คำกล่าวสุนทรพจน์ในการอภิปรายระดับสูงนี้ด้วย
เนื่องในวโรกาสอันเป็นมหามงคลสมัยนี้ รัฐบาลไทยและประชาชนชาวไทย ได้เป็นเจ้าภาพในกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเฉลิมพระเกียรติในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จุดเด่นของงานเฉลิมฉลองนี้จะเป็นการที่พระราชวงค์ต่าง ๆ จากหลายประเทศจะให้เกียรติมาทรงร่วมงานของรัฐบาลและประชาชนชาวไทยที่จะมีขึ้นในเดือนหน้านี้
นอกจากนี้ การเยือนของ ฯพณฯ เลขาธิการองค์การสหประชาชาติและการทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในครั้งนี้ ได้แสดงถึงการยอมรับของ ๑๙๑ ประเทศที่เป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ ในความสำเร็จของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในด้านการพัฒนามนุษย์ ทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และ ระดับระหว่างประเทศ ทั้งนี้ ประชาชนทั่วประเทศไทยรู้สึกซาบซึ้ง และเป็นพระมหากรุณาธิคุณยิ่งนัก
ท่านผู้มีเกียรติทั้งหลาย
ตลอดระยะเวลาครองราชย์ ๖๐ ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จด้วยระยะทางยาวไกลทั่วแผ่นดิน พระองค์ท่านทรงเห็นความยากลำบากของพสกนิกรไทยที่ยังมีความทุกข์ยากในการดำรงชีพ ไม่มีใครในประเทศที่จะรู้จักทุกตารางนิ้วของแผ่นดินได้เทียบเท่ากับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์เอง และไม่มีใครทราบประเด็นปัญหาในเบื้องต้นและการแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสมได้เท่ากับพระองค์ท่าน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงสละเวลาโดยมิทรงเหน็ดเหนื่อย ที่จะส่งเสริมความอยู่ดีกินดีให้กับประชาชนชาวไทย โดยไม่ถือความต่างในเชื้อชาติและศาสนา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงชนะใจของพสกนิกรไทย ด้วยพระราชกรณียกิจของพระองค์ในด้านการพัฒนามนุษย์ ระบอบการปกครอง ด้านความสงบสุข และการประสานใจชาวไทยทุกหมู่เหล่าให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน พระราชกรณีกิจต่าง ๆ แสดงให้เห็นถึงความผูกพันและความริเริ่มต่าง ๆ ของพระองค์ นับตั้งแต่เรื่องการรักษาสุขอนามัย การศึกษา ตลอดจนถึงการพัฒนาชนบท เสริมสร้างศักยภาพของประชาชนอย่างเต็มที่ ซึ่งประชาชนนับล้านได้รับประโยชน์จากโครงการในพระราชดำริของพระองค์
ตลอดระยะเวลาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทดลองและพัฒนาเพื่อความก้าวหน้านี้ พระองค์ได้พระราชทานปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งใช้เป็นแนวทางการดำเนินชีวิตอย่างสมดุล “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญา โดยหลักการ การเดินสายกลาง ซี่งเป็นส่วนหนึ่งที่ผสมผสานเข้ากับการพัฒนามนุษย์ในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน และประเทศ “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นรูปแบบของการพัฒนาแบบใหม่ ที่จะส่งเสริมศักยภาพของคนให้สามารถเผชิญสิ่งท้าทายอันเกิดจากกระแสโลกาภิวัตน์ และสามารถทำให้การพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นจริงขึ้นมาได้
จากแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระองค์ท่าน รัฐบาลไทยได้ใช้เป็นแนวคิด
ในการพัฒนามนุษย์และการพัฒนาคนเป็นศูนย์กลาง สู่ประชาชนตลอดจนระดับรากหญ้า แนวทางนี้ได้ช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งฐานรากของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเพิ่มโอกาสในการเสริมสร้างงานและรายได้ และยังส่งเสริมทักษะ เทคโนโลยีของภูมิปัญญาท้องถิ่น การฟื้นฟูกลับมาและความแข็งแกร่งด้านเศรษฐกิจสังคม ที่ถักทอเป็นหนึ่งเดียวกันนี้ ส่วนมากได้มาจากการใช้แนวทางปรัชญาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน
พระปรีชาสามารถในด้านการพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนี้ มิได้เป็นที่ยอมรับและชื่นชมเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น หากแต่ยังเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศอีกด้วย ในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ องค์การอังค์ถัดได้มาประชุมครั้งที่สิบในกรุงเทพฯ ได้กำหนดแนวทางยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจสำหรับสหัสวรรษใหม่ และเป็นการเทิดพระเกียรติคุณในองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และการประชุมในครั้งนี้ได้นำแนวทางการพัฒนาของพระองค์ท่าน มาเป็นกลยุทธ์ใหม่ในการพัฒนามาใช้ในสหัสวรรษใหม่นี้
ในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ อังค์ถัดได้มีการประชุมการประเมินผลการดำเนินงานครึ่งโครงการอีกครั้งในกรุงเทพฯ ซึ่งข้าพเจ้าได้เป็นประธานในการประชุมครั้งนี้ ปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” ได้ถูกประกาศให้เป็นแนวทางในการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาอย่างยั่งยืน
สองสามปีที่ผ่านมานี้ ประเทศกำลังพัฒนาต่าง ๆ หลายประเทศได้ส่งผู้แทนมาศึกษาโครงการพัฒนาทางเลือกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๗ ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมระดับรัฐมนตรีในเรื่องการพัฒนาทางเลือก - เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีผู้เข้าประชุมครั้งนี้จำนวน ๑๙ ประเทศจาก ๓ ทวีป ได้แก่ เอเซีย แอฟริกา และอเมริกาใต้ ในการประชุมครั้งนั้น ได้มีการนำเสนอโครงการพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้เป็นโครงการตัวอย่าง
โดยแท้จริงแล้ว โครงการพัฒนาชนบทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังสามารถใช้ได้กับผู้ที่มาจากประเทศกำลังพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการชลประทาน การพัฒนาชนบท การปลูกพืชทดแทนการปลูกฝิ่น สาธารณสุข และการศึกษา เมื่อไม่นานมานี้ ความพยายามในการช่วยเหลือมนุษย์ชาติระหว่างประเทศ ยังได้นำแนวทางพระราชดำริเข้ามาประยุกต์ใช้เป็นประโยชน์ด้วย ดังตัวอย่างเช่น ในประเทศติมอร์-เลสเต้ ได้มีการใช้พระราชดำรินี้ในการเชื่อมโยงการปฏิบัติการรักษาสันติภาพกับการพัฒนาที่ยั่งยืนเข้าด้วยกัน ในประเทศอัฟกานิสถาน โครงการหลวงได้ถูกนำมาเป็นตัวอย่างในการทดแทนการปลูกฝิ่น เพื่อการดำรงชีวิตที่ยั่งยืนของผู้คน หลังจากที่ความขัดแย้งในประเทศได้สิ้นสุดลงแล้ว
ท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน
ในการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชกรณียกิจในเรื่องการพัฒนามากยิ่งนัก และในโอกาสที่เลขาธิการองค์การสหประชาชาติได้มาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ รัฐบาลไทยและองค์การสหประชาชาติซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น จึงได้ร่วมกันจัดการอภิปรายโดยผู้ทรงคุณวุฒิระดับสูง เกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการพัฒนามนุษย์ และยังได้จัดแสดงนิทรรศการ ณ โถงด้านหน้าห้องการประชุม แสดงโครงการพัฒนาและรางวัลต่างๆ ที่องค์การสหประชาชาติ ได้ถวายแด่พระองค์สำหรับความสำเร็จในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น
ผู้เข้าร่วมการอภิปรายระดับสูงนี้ จะได้มีโอกาสถ่ายทอดประสบการณ์และความซาบซึ้งในแนวทางการพัฒนา และพระวิสัยทัศน์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เป็นอย่างดี ท่านผู้ทรงคุณวุฒิในการร่วมอภิปรายครั้งนี้ เราได้รับเกียรติเป็นอย่างสูงจาก ฯพณฯ จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา รองราชเลขาธิการ และผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มาเป็นผู้ร่วมอภิปรายด้วย ฯพณฯ จิรายุฯ เป็นท่านหนึ่งในเพียงไม่กี่ท่านที่จะสามารถพูดได้ถึงพระราชดำริและพระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รวมทั้งเรื่องปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งท่านผู้ร่วมประชุม
จะได้ประโยชน์และความรู้ จากการนำเสนอเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตจริงของประชาชนในระดับรากหญ้า
ในส่วนขององค์การสหประชาชาติ เราได้รับเกียรติเป็นอย่างยิ่งจากผู้แทนระดับภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค ของสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นดีพี) ที่จะมาเพิ่มเติมสิ่งที่ได้ประจักษ์ การค้นพบ และวิเคราะห์ เกี่ยวกับการส่งเสริมการพัฒนามนุษย์โดยใช้แนวทางปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งจะเป็นห้วข้อเรื่องของรายงานของยูเอ็นดีพีในประเทศไทย ในรายงานการพัฒนาคนของประเทศไทย ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ รายงานฉบับนี้จะเผยแพร่แนวคิดและการปฏิบัติตามหลักปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนแก่ประเทศอื่น ๆ รวมทั้งการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหสวรรษ
ท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน
ในโอกาสนี้ ข้าพเจ้าขอเรียนเชิญ ฯพณฯ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ให้เกียรติกล่าวเปิดประชุม ณ บัดนี้
ขอขอบพระคุณอย่างสูง
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-