สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ตั้งกองเรือประมงทูน่า 3.5 พันล้าน
แหล่งข่าวจากกรมประมงเปิดเผยถึงความคืบหน้าการดำเนินงานโครงการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนกองเรือประมงทูน่า เพื่อแก้ไขปัญหาแหล่งวัตถุดิบว่า เมื่อวันที่ 30 สิงหาคมที่ผ่านมา กรมประมงได้รายงานข้อมูลการจัดตั้งกองเรือประมงทูน่าต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีว่าจะเป็นรูปแบบบริษัทร่วมทุน โดยภาครัฐจะลงทุนในสัดส่วน 30% และเอกชน 70% เพื่อจัดหางบประมาณจำนวน 3,500 ล้านบาท มาจัดซื้อเรือประมง 5 ลำ ลำละประมาณ 600 ล้านบาท สำหรับการออกหาปลาทูน่าในเขตน่านน้ำลึก ทั้งนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้ตั้งข้อสังเกตโครงการนี้ อาจจะส่งผลให้ภาครัฐถูกโจมตีว่าจะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการ เพื่อทำธุรกิจมากเกินไป เนื่องจากวัตถุประสงค์ของโครงการ คือ การจัดหาเรือประมงขึ้นมาหาปลาเท่านั้น ดังนั้นเอกชนในฐานะผู้ที่จะได้รับผลประโยชน์ควรลงทุนดำเนินการโครงการเป็นหลัก ในระหว่างการหารือที่ปรึกษาด้านการจัดหาแหล่งเงินทุนกู้ยืม ยังได้แสดงความเห็นเพิ่มเติมว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับโครงการนี้ มีผลกำไรจากสินค้าประเภทอาหารกระป๋องจำนวนมากอยู่แล้ว น่าจะสามารถจัดหาแหล่งเงินทุนมาดำเนินการได้ด้วยตนเอง
นายจรัลธาดา กรรณสูต อธิบดีกรมประมงกล่าวยอมรับว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว เนื่องจากไม่ต้องการให้รัฐบาลถูกมองในภาพที่ไม่ดี โดยเฉพาะการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของเอกชน อย่างไรก็ตาม นายจรัลธาดา เห็นว่าการจัดตั้งกองเรือประมงทูน่ายังมีความจำเป็นต่อประเทศไทย โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาที่ประเทศคู่ค้าอย่างสหภาพยุโรป (อียู) กำลังนำกฎระเบียบว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า (Rules of Origin) ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการส่งออกสินค้าปลาทูน่าของไทย เนื่องจากที่ ผ่านมาไทยมีการส่งออกสินค้าชนิดนี้จำนวนมาก แต่ไทยไม่ได้มีการจับปลาประเภทนี้เอง
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ( 24 - 31 ส.ค. 49) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,639.98 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 798.85 ตัน สัตว์น้ำจืด 841.13 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.72 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.35 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 140.54 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 69.92 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 52.84 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.79 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 30.20 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.41 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.91 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 58.04 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.13 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 92.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 95.83 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.33 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 139.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 145.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 140.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 117.74 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 120.13 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.39 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 119.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.25 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 50.17 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.08 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.37 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 5.93 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.56 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 4 — 8 ก.ย. 2549) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.60 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 29.30 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.70 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 35 ประจำวันที่ 4 - 10 กันยายน 2549--
-พห-
การผลิต
ตั้งกองเรือประมงทูน่า 3.5 พันล้าน
แหล่งข่าวจากกรมประมงเปิดเผยถึงความคืบหน้าการดำเนินงานโครงการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนกองเรือประมงทูน่า เพื่อแก้ไขปัญหาแหล่งวัตถุดิบว่า เมื่อวันที่ 30 สิงหาคมที่ผ่านมา กรมประมงได้รายงานข้อมูลการจัดตั้งกองเรือประมงทูน่าต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีว่าจะเป็นรูปแบบบริษัทร่วมทุน โดยภาครัฐจะลงทุนในสัดส่วน 30% และเอกชน 70% เพื่อจัดหางบประมาณจำนวน 3,500 ล้านบาท มาจัดซื้อเรือประมง 5 ลำ ลำละประมาณ 600 ล้านบาท สำหรับการออกหาปลาทูน่าในเขตน่านน้ำลึก ทั้งนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้ตั้งข้อสังเกตโครงการนี้ อาจจะส่งผลให้ภาครัฐถูกโจมตีว่าจะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการ เพื่อทำธุรกิจมากเกินไป เนื่องจากวัตถุประสงค์ของโครงการ คือ การจัดหาเรือประมงขึ้นมาหาปลาเท่านั้น ดังนั้นเอกชนในฐานะผู้ที่จะได้รับผลประโยชน์ควรลงทุนดำเนินการโครงการเป็นหลัก ในระหว่างการหารือที่ปรึกษาด้านการจัดหาแหล่งเงินทุนกู้ยืม ยังได้แสดงความเห็นเพิ่มเติมว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับโครงการนี้ มีผลกำไรจากสินค้าประเภทอาหารกระป๋องจำนวนมากอยู่แล้ว น่าจะสามารถจัดหาแหล่งเงินทุนมาดำเนินการได้ด้วยตนเอง
นายจรัลธาดา กรรณสูต อธิบดีกรมประมงกล่าวยอมรับว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว เนื่องจากไม่ต้องการให้รัฐบาลถูกมองในภาพที่ไม่ดี โดยเฉพาะการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของเอกชน อย่างไรก็ตาม นายจรัลธาดา เห็นว่าการจัดตั้งกองเรือประมงทูน่ายังมีความจำเป็นต่อประเทศไทย โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาที่ประเทศคู่ค้าอย่างสหภาพยุโรป (อียู) กำลังนำกฎระเบียบว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า (Rules of Origin) ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการส่งออกสินค้าปลาทูน่าของไทย เนื่องจากที่ ผ่านมาไทยมีการส่งออกสินค้าชนิดนี้จำนวนมาก แต่ไทยไม่ได้มีการจับปลาประเภทนี้เอง
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ( 24 - 31 ส.ค. 49) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,639.98 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 798.85 ตัน สัตว์น้ำจืด 841.13 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.72 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.35 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 140.54 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 69.92 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 52.84 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.79 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 30.20 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.41 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.91 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 58.04 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.13 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 92.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 95.83 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.33 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 139.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 145.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 140.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 117.74 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 120.13 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.39 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 119.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.25 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 50.17 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.08 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.37 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 5.93 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.56 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 4 — 8 ก.ย. 2549) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.60 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 29.30 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.70 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 35 ประจำวันที่ 4 - 10 กันยายน 2549--
-พห-