วันนี้(12 สค. 49) ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคได้ออกมาขอเรียกร้องให้รัฐบาลรักษาการยุติการให้การสัมปทานแหล่งก๊าซและน้ำมันในอ่าวไทย และให้กระทรวงพลังงานรอการพิจารณาหลังการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 15 ตุลาคม เพื่อให้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลใหม่ ในการปรับโครงสร้างสัมปทานแหล่งก๊าซและน้ำมันซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ
นายอลงกรณ์กล่าวว่า หากพรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นรัฐบาลจะทำการปฏิรูปโครงสร้างกิจการพลังงานของประเทศครั้งใหญ่ รวมไปถึงระบบสัมปทาน โดยที่ผ่านมานั้น ไทยเสียเปรียบมาโดยตลอด และทำให้เกิดเป็นต้นทุนของประชาชนและประเทศชาติจากราคาของพลังงาน กล่าวคือพรรคประชาธิปัตย์จะนำระบบ โปรดักส์ชั่นแชร์ริ่ง มาเป็นหลักในการให้สัมปทานไม่ว่าจะเป็นบริษัทต่างชาติ หรือบริษัทคนไทยก็ตาม ซึ่งแตกต่างจากระบบปัจจุบัน ซึ่งใช้ระบบรอยัลตี้ หรือระบบข้าภาคหลวง ซึ่งให้ผลตอบแทนเพียง 12.5 % ทำให้เราต้องซื้อก๊าซและน้ำมันจากบ่อหรือแหล่งน้ำมันและแก๊สของเราเองในราคาสัญญาซื้อขายตามสัมปทานเดิม ซึ่งไม่ต่างจากการซื้อจากต่างประเทศ
ส่วนระบบ โปรดักส์ชั่นแชร์ริ่ง คือการแบ่ง 50/50 เพื่อให้ก๊าซและน้ำมันที่ได้มาไม่ต่ำกว่าครึ่งหนึ่งถูกใช้เป็นทรัพยากรภายในประเทศ และผลประโยชน์จะเป็นของประชาชนและประเทศชาติ มากกว่าตกอยู่กับกลุ่มทุนโดยเฉพาะกลุ่มทุนต่างชาติ โดยในปัจจุบัน ปรากฏว่าบริษัทต่างชาติยักษ์ใหญ่เป็นผู้ถือครองสัมปทานส่วนใหญ่ของประเทศ และเชื่อว่าระบบดังกล่าวนั้นจะเป็นระบบที่เป็นธรรมทั้งนักลงทุนต่างประเทศและเป็นธรรมต่อประเทศของเรา นายอลงกรณ์กล่าว
ทั้งนี้รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า รัฐบาลไม่ควรไม่ฉวยโอกาสในช่วงของการผลัดเปลี่ยนรัฐบาลที่จะมีการเลือกตั้งในเร็ววันนี้ ด้วยการเร่งรัดการออกสัมปทานใหม่ๆ นอกจากนี้เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายวาระประชาชน แก้ไขปัญหาความยากจน ของประชาชนและประเทศชาติทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งมีนโยบายในการลดค่าไฟ ค่าน้ำมันและค่าก๊าซหุงต้มนั้น พรรคประชาธิปัตย์จะดำเนินการทันทีที่เข้าเป็นรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขกฏหมายหลายฉบับซึ่งได้เตรียมพร้อมเอาไว้แล้ว เช่น พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ.2514 และฉบับแก้ไขที่ 2,3,4,5 ล่าสุดปี 2534 นั้น จะแก้ไขเพื่อให้การให้สัมปทานรองรับหลักการของนโยบายพรรคในการคำนึงถึงแหล่งก๊าซ น้ำมันอันเป็นทรัพยากรของชาติ ซึ่งประชาชนคนไทยจะต้องได้รับผลประโยชน์สูงสุด
นอกจากนี้ยังมีแนวคิดในการสร้างเศรษฐกิจใหม่บนพื้นฐานของเศรษฐกิจพลังงาน ที่ยึดการส่งเสริมพลังงานทดแทน พลังงานทางเลือกเป็นทางรอดและเป็นอนาคตใหม่ของประเทศไม่ว่าจะเป็น โครงการ เอทานอล ซึ่งเป็นความสืบเนื่องตั้งแต่สมัยรัฐบาลชวน 2 โครงการไบโอดีเซล โครงการพลังงานแสงอาทิตย์ โครงการพลังงานลม โครงการ NGV โครงการ LPG และรวมไปถึงการลงทุนใหม่ๆ การลงทุน R&D ในเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านพลังงานทดแทน และจะมีเขตเศรษฐกิจใหม่ ในการสนับสนุนพลังงานทดแทนทุกจังหวัดทั่วทั้งประเทศ เชื่อว่าจะเกิดการจ้างงาน สร้างฐานรายได้ รวมไปถึงการสร้างอนาคตใหม่ ให้กับเกษตรกรให้มีทางเลือกในการประกอบอาชีพมาสู่อาชีพใหม่คือ เกษตรกรเอทานอล เกษตรกรไบโอดีเชล รวมทั้งการที่จะมีการปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้าและพลังงานครั้งใหญ่ตั้งแต่ Up stream จนถึง Down stream รองหัวหน้าพรรคกล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 12 ส.ค. 2549--จบ--
นายอลงกรณ์กล่าวว่า หากพรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นรัฐบาลจะทำการปฏิรูปโครงสร้างกิจการพลังงานของประเทศครั้งใหญ่ รวมไปถึงระบบสัมปทาน โดยที่ผ่านมานั้น ไทยเสียเปรียบมาโดยตลอด และทำให้เกิดเป็นต้นทุนของประชาชนและประเทศชาติจากราคาของพลังงาน กล่าวคือพรรคประชาธิปัตย์จะนำระบบ โปรดักส์ชั่นแชร์ริ่ง มาเป็นหลักในการให้สัมปทานไม่ว่าจะเป็นบริษัทต่างชาติ หรือบริษัทคนไทยก็ตาม ซึ่งแตกต่างจากระบบปัจจุบัน ซึ่งใช้ระบบรอยัลตี้ หรือระบบข้าภาคหลวง ซึ่งให้ผลตอบแทนเพียง 12.5 % ทำให้เราต้องซื้อก๊าซและน้ำมันจากบ่อหรือแหล่งน้ำมันและแก๊สของเราเองในราคาสัญญาซื้อขายตามสัมปทานเดิม ซึ่งไม่ต่างจากการซื้อจากต่างประเทศ
ส่วนระบบ โปรดักส์ชั่นแชร์ริ่ง คือการแบ่ง 50/50 เพื่อให้ก๊าซและน้ำมันที่ได้มาไม่ต่ำกว่าครึ่งหนึ่งถูกใช้เป็นทรัพยากรภายในประเทศ และผลประโยชน์จะเป็นของประชาชนและประเทศชาติ มากกว่าตกอยู่กับกลุ่มทุนโดยเฉพาะกลุ่มทุนต่างชาติ โดยในปัจจุบัน ปรากฏว่าบริษัทต่างชาติยักษ์ใหญ่เป็นผู้ถือครองสัมปทานส่วนใหญ่ของประเทศ และเชื่อว่าระบบดังกล่าวนั้นจะเป็นระบบที่เป็นธรรมทั้งนักลงทุนต่างประเทศและเป็นธรรมต่อประเทศของเรา นายอลงกรณ์กล่าว
ทั้งนี้รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า รัฐบาลไม่ควรไม่ฉวยโอกาสในช่วงของการผลัดเปลี่ยนรัฐบาลที่จะมีการเลือกตั้งในเร็ววันนี้ ด้วยการเร่งรัดการออกสัมปทานใหม่ๆ นอกจากนี้เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายวาระประชาชน แก้ไขปัญหาความยากจน ของประชาชนและประเทศชาติทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งมีนโยบายในการลดค่าไฟ ค่าน้ำมันและค่าก๊าซหุงต้มนั้น พรรคประชาธิปัตย์จะดำเนินการทันทีที่เข้าเป็นรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขกฏหมายหลายฉบับซึ่งได้เตรียมพร้อมเอาไว้แล้ว เช่น พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ.2514 และฉบับแก้ไขที่ 2,3,4,5 ล่าสุดปี 2534 นั้น จะแก้ไขเพื่อให้การให้สัมปทานรองรับหลักการของนโยบายพรรคในการคำนึงถึงแหล่งก๊าซ น้ำมันอันเป็นทรัพยากรของชาติ ซึ่งประชาชนคนไทยจะต้องได้รับผลประโยชน์สูงสุด
นอกจากนี้ยังมีแนวคิดในการสร้างเศรษฐกิจใหม่บนพื้นฐานของเศรษฐกิจพลังงาน ที่ยึดการส่งเสริมพลังงานทดแทน พลังงานทางเลือกเป็นทางรอดและเป็นอนาคตใหม่ของประเทศไม่ว่าจะเป็น โครงการ เอทานอล ซึ่งเป็นความสืบเนื่องตั้งแต่สมัยรัฐบาลชวน 2 โครงการไบโอดีเซล โครงการพลังงานแสงอาทิตย์ โครงการพลังงานลม โครงการ NGV โครงการ LPG และรวมไปถึงการลงทุนใหม่ๆ การลงทุน R&D ในเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านพลังงานทดแทน และจะมีเขตเศรษฐกิจใหม่ ในการสนับสนุนพลังงานทดแทนทุกจังหวัดทั่วทั้งประเทศ เชื่อว่าจะเกิดการจ้างงาน สร้างฐานรายได้ รวมไปถึงการสร้างอนาคตใหม่ ให้กับเกษตรกรให้มีทางเลือกในการประกอบอาชีพมาสู่อาชีพใหม่คือ เกษตรกรเอทานอล เกษตรกรไบโอดีเชล รวมทั้งการที่จะมีการปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้าและพลังงานครั้งใหญ่ตั้งแต่ Up stream จนถึง Down stream รองหัวหน้าพรรคกล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 12 ส.ค. 2549--จบ--