วันนี้ (29 ต.ค.49) นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ที่พรรคประชาธิปัตย์ ถึงเรื่องการแต่งตั้งบุคคลเข้ารับผิดชอบในเรื่อง ศอ.บต. เพื่อแก้ไขปัญหาความรุนแรงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่า ไม่ว่าจะเป็นนายพระนาย สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี หรือผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา นายสมพร ใช้บางยาง ก็ตาม ถือว่าเป็นจะผู้ที่เคยสัมผัสกับงานการแก้ไขปัญหาในภาคใต้มาพอสมควร และก็มีคุณวุฒิ มีประสบการณ์ในการทำงานที่น่าจะรับผิดชอบงานของ ศอ.บต. อย่างไรก็ดี ความเป็นจริงที่กำลังเกิดขึ้นใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในขณะนี้ พี่น้องประชาชนยังมีความรู้สึกหวั่นไหวและวิตกกังวลต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ โดยต้องยอมรับความจริงว่าถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลไปแล้วก็ตาม แต่สิ่งที่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นก็ยังไม่มีความเปลี่ยนแปลงอะไรมากนัก เพราะฉะนั้นก็หวังว่าการฟื้น ศอ.บต. ขึ้นมาใหม่ก็ดี น่าจะมีส่วนเข้ามาช่วยบรรเทาความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้
นายองอาจได้แสดงความเห็นว่า ปัญหาสำคัญที่ก่อให้เกิดความรุนแรงมาอย่างยาวนานในช่วง 5 — 6 ปี ที่ผ่านมา ภายใต้รัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ นั้น ก็คือความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนั้นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าคือต้องพยายามเร่งให้เกิดความยุติธรรมให้เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เงื่อนไขใด ๆ ก็ตามที่นำไปสู่ความไม่เป็นธรรม ความอยุติธรรมนั้น ต้องถูกขจัดออกไป และทำให้พี่น้องประชาชนรู้สึกว่าขณะนี้พวกเขาได้รับความยุติธรรมกลับคืนมา
ส่วนอีกเรื่องหนึ่งนั้นนายองอาจเห็นว่าจะต้องยอมรับว่า 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีวัฒนธรรมที่แตกต่างไปจากหลาย ๆ ภาคของประเทศไทย เพราะฉะนั้นการยอมรับความแตกต่างทางวัฒนธรรม จะมีส่วนช่วยทำให้การแก้ไขปัญหานี้คลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น
“อย่างไรก็ดีต้องยอมรับความจริงว่าสิ่งที่เกิดขึ้น ความรุนแรงที่เกิดขึ้น 5 — 6 ปี ที่ผ่านมาจะทำให้ทุกอย่างมันเบาบางลงในระยะอันสั้น ไม่กี่วัน ไม่กี่เดือน ผมคิดว่าไม่สามารถเกิดขึ้นได้ง่าย คงต้องใช้เวลาพอสมควร แต่ผมเชื่อว่าถ้ามีนโยบายที่ถูกต้อง และมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องแล้ว ก็น่าจะนำไปสู่การคลี่คลายที่ดีกว่าเดิมได้” นายองอาจกล่าว
ส่วนกรณีที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กรณีคุณหญิงพจมานเดินทางเข้าพบพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ถึงผลได้ ผลเสียในการเข้าพบครั้งนี้ นายองอาจได้แสดงความเห็นว่า ในสถานการณ์การเมืองหลังจากการยึดอำนาจไม่นาน การเข้าพบของภรรยาผู้ที่ถูกยึดอำนาจไปนั้นย่อมถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างแน่นอน โดยเฉพาะการเข้าพบกับพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งถือว่าเป็นผู้ใหญ่ของบ้านเมือง และเป็นผู้ที่ได้รับความเคารพนับถืออย่างมาก อย่างไรก็ดีในส่วนตัว นายองอาจ เห็นว่า พล.อ.เปรม นั้นคงไม่ได้มีเจตนาเป็นอย่างอื่น ในการให้เข้าพบในครั้งนี้ ท่านคงมีเจตนาเช่นเดียวกับ ผู้ใหญ่ท่านหนึ่งที่มีความหวังดีต่อประเทศชาติบ้านเมือง และมีจิตใจเมตตาอารีย์ เมื่อมีการขอเข้าพบ ท่านก็มีความเมตตาให้เข้าพบตามปกติ และสอบถามสารทุกข์สุกดิบทั่ว ๆ ไป คงไม่ได้มีเจตนาที่จะให้มีเหตุผลในทางการเมืองแต่อย่างใด
แต่แน่นอนที่สุดนายองอาจยังเห็นว่าการเข้าพบในลักษณะนี้ ย่อมจะไปปิดกั้นหรือไปห้ามไม่ให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์คงไม่ได้ อย่างไรก็ดีการคาดการณ์ถึงจุดประสงค์ของการเข้าพบครั้งนี้ คงยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ชัดเจน ดังนั้นกาลเวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ในอนาคตว่าการเข้าพบครั้งนี้มีผลประโยชน์ทางการเมืองแอบแฝงอย่างใด หรือไม่ หรือเป็นการเข้าพบเพื่อเยี่ยมเยียนผู้ใหญ่ของบ้านเมืองกันตามปกติในฐานะผู้น้อย
ส่วนการที่มีการวิตกว่าการเข้าพบนี้จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของ คตส. ปปช. หรือหน่วยงานอื่น ๆ จะทำงานในการตรวจสอบได้ไม่เต็มที่นั้น นายองอาจเห็นว่า คตส.ก็ดี ปปช.ก็ดี ยังคงทำงานเต็มที่อยู่เหมือนเดิม ไม่มีเหตุผลใด ๆ เลยที่หน่วยงานในการตรวจสอบการทุจริตต่าง ๆ จะต้องไปคำนึงถึงการเข้าพบของคุณหญิงพจมานกับ พล.อ.เปรมแต่อย่างใด น่าจะเป็นคนละส่วน คนละเรื่องกัน
สำหรับความเห็นเกี่ยวกับการทำงานของ คมช. ในตลอดระยะเวลา 1 เดือนกว่า ที่ผ่านมาหลังการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง นายองอาจเห็นว่า คมช. ได้แสดงให้เห็นถึง 3 เรื่องใหญ่ ๆ ประกอบด้วย การรักษาความมั่นสัญญาในหลาย ๆ เรื่อง และยังคงรักษาคำมั่นสัญญาอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ระยะเวลาในการจัดตั้งรัฐบาลก็ดี รวมทั้งยังไม่มีการส่งสัญญาณใด ๆ ในการที่จะเข้ามาเพื่อแสวงหาอำนาจ หรือสืบทอดอำนาจในขณะนี้ และที่สำคัญ คณะรัฐประหารชุดนี้แตกต่างจากหลาย ๆ ชุดที่ผ่านมาก็คือ ยอมให้มีบรรยากาศประชาธิปไตยระดับหนึ่งภายในสถานการณ์รัฐประหาร
“แต่จุดสำคัญที่สังคมยังมีความรู้สึกว่า คมช. ยังทำได้ไม่สะเด็ดน้ำ ก็คือข้อกล่าวหาทั้ง 4 ข้อ ที่คมช.อ้างในการทำรัฐประหารในช่วงที่ผ่านมา สิ่งที่เราเห็นมีความพยายามที่ดำเนินการอยู่บ้างคือเรื่องของการทุจริต ผ่าน คตส. แต่ข้อกล่าวหา 4 ข้อ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นข้อกล่าวหาที่สำคัญ ๆ ของบ้านเมืองนั้น ยังไม่มีความชัดเจนอะไรจะทำให้เรามั่นใจได้ว่า คมช. จะได้ดำเนินการในสิ่งเหล่านี้ตามข้อกล่าวหาที่มีต่อระบอบทักษิณ ในช่วงที่ผ่านมา”
นอกเหนือจากนั้น นายองอาจชี้ว่า สิ่งที่รัฐบาลยังขาดอยู่ คือการสร้างความเข้าใจกับพี่น้องคนไทยทั้งประเทศ ถึงเหตุผลในการที่จะต้องเข้ามาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เมื่อรัฐบาลยังไม่สามารถสร้างความเข้าใจให้กับพี่น้องประชาชนจำนวนมากได้ จึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ที่อาจจะก่อให้เกิดภาวะคลื่นใต้น้ำขึ้น ดังนั้น คมช. และรัฐบาลควรตระหนักอยู่ตลอดเวลาว่า การที่จะดำเนินการบริหารราชการแผ่นดินให้เดินหน้าต่อไปได้นั้น จะต้องเป็นการบริหารราชการแผ่นดินที่ได้รับการยินยอมพร้อมใจจากพี่น้องประชาชนของประเทศ ไม่ใช่เกิดจากความยินยอมพร้อมใจจากอาวุธที่มีอยู่ในมือของผู้มีอำนาจเท่านั้น
“มาถึงวันนี้ คมช. และรัฐบาล จะต้องพยายามสื่อสารเชิงรุก ปลุกความเข้าใจกับพี่น้องประชาชนคนไทย ทั้งประเทศให้เกิดขึ้น ถึงเหตุผล ถึงความจำเป็นในการเข้ามาเปลี่ยนแปลงการปกครองชั่วคราวเพียง 1 ปีครั้งนี้ เพื่อนำไปสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ที่มั่นคงยั่งยื่นกว่าที่เป็นมา” นายองอาจกล่าว
นอกจากนี้ในวันเดียวกัน นายสาธิต ปิตุเตชะ รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ได้ให้สัมภาษณ์ว่า จะติดตามคดีที่ได้แจ้งความดำเนินคดีกับ พล.ต.ต.พีระพันธุ์ เปรมภูติ อดีตเลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง) ในข้อหาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งความคืบหน้าในคดีนี้พนักงานสอบสวนได้สรุปสำนวนและนำส่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) แล้ว โดยในสัปดาห์หน้านายสาธิต จะได้เดินทางเข้าพบนายวิชา มหาคุณ กรรมการ ปปช. เพื่อยื่นพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับคดีเพิ่มเติม และขอให้ ปปช. ดำเนินการสรุปคดีเพื่อดำเนินการสั่งฟ้องตามขั้นตอนต่อไป
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 29 ต.ค. 2549--จบ--
นายองอาจได้แสดงความเห็นว่า ปัญหาสำคัญที่ก่อให้เกิดความรุนแรงมาอย่างยาวนานในช่วง 5 — 6 ปี ที่ผ่านมา ภายใต้รัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ นั้น ก็คือความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนั้นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าคือต้องพยายามเร่งให้เกิดความยุติธรรมให้เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เงื่อนไขใด ๆ ก็ตามที่นำไปสู่ความไม่เป็นธรรม ความอยุติธรรมนั้น ต้องถูกขจัดออกไป และทำให้พี่น้องประชาชนรู้สึกว่าขณะนี้พวกเขาได้รับความยุติธรรมกลับคืนมา
ส่วนอีกเรื่องหนึ่งนั้นนายองอาจเห็นว่าจะต้องยอมรับว่า 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีวัฒนธรรมที่แตกต่างไปจากหลาย ๆ ภาคของประเทศไทย เพราะฉะนั้นการยอมรับความแตกต่างทางวัฒนธรรม จะมีส่วนช่วยทำให้การแก้ไขปัญหานี้คลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น
“อย่างไรก็ดีต้องยอมรับความจริงว่าสิ่งที่เกิดขึ้น ความรุนแรงที่เกิดขึ้น 5 — 6 ปี ที่ผ่านมาจะทำให้ทุกอย่างมันเบาบางลงในระยะอันสั้น ไม่กี่วัน ไม่กี่เดือน ผมคิดว่าไม่สามารถเกิดขึ้นได้ง่าย คงต้องใช้เวลาพอสมควร แต่ผมเชื่อว่าถ้ามีนโยบายที่ถูกต้อง และมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องแล้ว ก็น่าจะนำไปสู่การคลี่คลายที่ดีกว่าเดิมได้” นายองอาจกล่าว
ส่วนกรณีที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กรณีคุณหญิงพจมานเดินทางเข้าพบพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ถึงผลได้ ผลเสียในการเข้าพบครั้งนี้ นายองอาจได้แสดงความเห็นว่า ในสถานการณ์การเมืองหลังจากการยึดอำนาจไม่นาน การเข้าพบของภรรยาผู้ที่ถูกยึดอำนาจไปนั้นย่อมถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างแน่นอน โดยเฉพาะการเข้าพบกับพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งถือว่าเป็นผู้ใหญ่ของบ้านเมือง และเป็นผู้ที่ได้รับความเคารพนับถืออย่างมาก อย่างไรก็ดีในส่วนตัว นายองอาจ เห็นว่า พล.อ.เปรม นั้นคงไม่ได้มีเจตนาเป็นอย่างอื่น ในการให้เข้าพบในครั้งนี้ ท่านคงมีเจตนาเช่นเดียวกับ ผู้ใหญ่ท่านหนึ่งที่มีความหวังดีต่อประเทศชาติบ้านเมือง และมีจิตใจเมตตาอารีย์ เมื่อมีการขอเข้าพบ ท่านก็มีความเมตตาให้เข้าพบตามปกติ และสอบถามสารทุกข์สุกดิบทั่ว ๆ ไป คงไม่ได้มีเจตนาที่จะให้มีเหตุผลในทางการเมืองแต่อย่างใด
แต่แน่นอนที่สุดนายองอาจยังเห็นว่าการเข้าพบในลักษณะนี้ ย่อมจะไปปิดกั้นหรือไปห้ามไม่ให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์คงไม่ได้ อย่างไรก็ดีการคาดการณ์ถึงจุดประสงค์ของการเข้าพบครั้งนี้ คงยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ชัดเจน ดังนั้นกาลเวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ในอนาคตว่าการเข้าพบครั้งนี้มีผลประโยชน์ทางการเมืองแอบแฝงอย่างใด หรือไม่ หรือเป็นการเข้าพบเพื่อเยี่ยมเยียนผู้ใหญ่ของบ้านเมืองกันตามปกติในฐานะผู้น้อย
ส่วนการที่มีการวิตกว่าการเข้าพบนี้จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของ คตส. ปปช. หรือหน่วยงานอื่น ๆ จะทำงานในการตรวจสอบได้ไม่เต็มที่นั้น นายองอาจเห็นว่า คตส.ก็ดี ปปช.ก็ดี ยังคงทำงานเต็มที่อยู่เหมือนเดิม ไม่มีเหตุผลใด ๆ เลยที่หน่วยงานในการตรวจสอบการทุจริตต่าง ๆ จะต้องไปคำนึงถึงการเข้าพบของคุณหญิงพจมานกับ พล.อ.เปรมแต่อย่างใด น่าจะเป็นคนละส่วน คนละเรื่องกัน
สำหรับความเห็นเกี่ยวกับการทำงานของ คมช. ในตลอดระยะเวลา 1 เดือนกว่า ที่ผ่านมาหลังการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง นายองอาจเห็นว่า คมช. ได้แสดงให้เห็นถึง 3 เรื่องใหญ่ ๆ ประกอบด้วย การรักษาความมั่นสัญญาในหลาย ๆ เรื่อง และยังคงรักษาคำมั่นสัญญาอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ระยะเวลาในการจัดตั้งรัฐบาลก็ดี รวมทั้งยังไม่มีการส่งสัญญาณใด ๆ ในการที่จะเข้ามาเพื่อแสวงหาอำนาจ หรือสืบทอดอำนาจในขณะนี้ และที่สำคัญ คณะรัฐประหารชุดนี้แตกต่างจากหลาย ๆ ชุดที่ผ่านมาก็คือ ยอมให้มีบรรยากาศประชาธิปไตยระดับหนึ่งภายในสถานการณ์รัฐประหาร
“แต่จุดสำคัญที่สังคมยังมีความรู้สึกว่า คมช. ยังทำได้ไม่สะเด็ดน้ำ ก็คือข้อกล่าวหาทั้ง 4 ข้อ ที่คมช.อ้างในการทำรัฐประหารในช่วงที่ผ่านมา สิ่งที่เราเห็นมีความพยายามที่ดำเนินการอยู่บ้างคือเรื่องของการทุจริต ผ่าน คตส. แต่ข้อกล่าวหา 4 ข้อ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นข้อกล่าวหาที่สำคัญ ๆ ของบ้านเมืองนั้น ยังไม่มีความชัดเจนอะไรจะทำให้เรามั่นใจได้ว่า คมช. จะได้ดำเนินการในสิ่งเหล่านี้ตามข้อกล่าวหาที่มีต่อระบอบทักษิณ ในช่วงที่ผ่านมา”
นอกเหนือจากนั้น นายองอาจชี้ว่า สิ่งที่รัฐบาลยังขาดอยู่ คือการสร้างความเข้าใจกับพี่น้องคนไทยทั้งประเทศ ถึงเหตุผลในการที่จะต้องเข้ามาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เมื่อรัฐบาลยังไม่สามารถสร้างความเข้าใจให้กับพี่น้องประชาชนจำนวนมากได้ จึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ที่อาจจะก่อให้เกิดภาวะคลื่นใต้น้ำขึ้น ดังนั้น คมช. และรัฐบาลควรตระหนักอยู่ตลอดเวลาว่า การที่จะดำเนินการบริหารราชการแผ่นดินให้เดินหน้าต่อไปได้นั้น จะต้องเป็นการบริหารราชการแผ่นดินที่ได้รับการยินยอมพร้อมใจจากพี่น้องประชาชนของประเทศ ไม่ใช่เกิดจากความยินยอมพร้อมใจจากอาวุธที่มีอยู่ในมือของผู้มีอำนาจเท่านั้น
“มาถึงวันนี้ คมช. และรัฐบาล จะต้องพยายามสื่อสารเชิงรุก ปลุกความเข้าใจกับพี่น้องประชาชนคนไทย ทั้งประเทศให้เกิดขึ้น ถึงเหตุผล ถึงความจำเป็นในการเข้ามาเปลี่ยนแปลงการปกครองชั่วคราวเพียง 1 ปีครั้งนี้ เพื่อนำไปสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ที่มั่นคงยั่งยื่นกว่าที่เป็นมา” นายองอาจกล่าว
นอกจากนี้ในวันเดียวกัน นายสาธิต ปิตุเตชะ รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ได้ให้สัมภาษณ์ว่า จะติดตามคดีที่ได้แจ้งความดำเนินคดีกับ พล.ต.ต.พีระพันธุ์ เปรมภูติ อดีตเลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง) ในข้อหาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งความคืบหน้าในคดีนี้พนักงานสอบสวนได้สรุปสำนวนและนำส่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) แล้ว โดยในสัปดาห์หน้านายสาธิต จะได้เดินทางเข้าพบนายวิชา มหาคุณ กรรมการ ปปช. เพื่อยื่นพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับคดีเพิ่มเติม และขอให้ ปปช. ดำเนินการสรุปคดีเพื่อดำเนินการสั่งฟ้องตามขั้นตอนต่อไป
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 29 ต.ค. 2549--จบ--