สศข. 5 เผยจังหวัดอุบลราชธานีปิ๊งไอเดีย จับมือกรมการค้าต่างประเทศจัดทำเครื่องหมายรับรองคุณภาพข้าวหอมมะลิไทย เพื่อรองรับผลผลิตกว่า 8 แสนตันต่อปี คาดเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าอีกทางหนึ่ง พร้อมยกระดับคุณภาพและมาตรฐานข้าวหอมมะลิของจังหวัด
นางอัญชลี อุไรกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยหลังได้รับรายงานจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 (สศข.5) ว่า พื้นที่เพาะปลูกข้าวหอมมะลิในแต่ละปีนั้น จะมีพื้นที่ปลูกประมาณ 2 ล้านไร่ ได้ผลผลิตประมาณ 8 แสนตันต่อปี เป็นข้าวที่มีคุณภาพ ซึ่งเมื่อแปรสภาพเป็นข้าวสารจะได้ต้นข้าวประมาณ 40 % ขึ้นไป โดยจะมีพื้นที่ปลูกมากในเขตอำเภอเดชอุดม , พิบูลมังสาหาร , ม่วงสามสิบ , บุณฑริก , ตระการพืชผล , ศรีเมืองใหม่ , เขื่องใน , เขมราฐ และวารินชำราบ
ดังนั้น เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าข้าวหอมมะลิพร้อมทั้งสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าจังหวัดอุบลราชธานีจึงได้ร่วมมือกับกรมการค้าต่างประเทศจัดสร้างสัญลักษณ์ (BRAND NAME) ขึ้นมา เพื่อรับรองสินค้าข้าวหอมมะลิของจังหวัด โดยตราสัญลักษณ์ดังกล่าวนั้น จะประกอบไปด้วย รวงข้าวสีทองที่มีรูปทรงอันอ่อนช้อยสีเขียวและแม่น้ำสองสี พร้อมทั้งมีข้อความอักษรภาษาไทยและภาษาอังกฤษว่า “ข้าวหอมมะลิอุบลราชธานี” THAI HOM MALI RICE , ORIGINATED IN UBONRATCHATHANI THAILAND ซึ่งดอกบัวนั้นเป็นสัญลักษณ์แห่งเมืองอุบลราชธานี รวงข้าวสีทองนั้นหมายถึงข้าวที่มีคุณภาพมีคุณค่าทางโภชนาการ สำหรับรูปทรงข้าวที่อ่อนช้อยสีเขียวนั้นหมายถึงความอุดมสมบูรณ์และความอ่อนน้อมถ่อมตนของคนไทย ส่วนรูปทรงคลื่นน้ำด้านล่างหมายถึงสายธารที่หล่อเลี้ยงชาวอุบลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันซึ่งหมายถึงแม่น้ำโขงและแม่น้ำมูลนั่นเอง
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นางอัญชลี อุไรกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยหลังได้รับรายงานจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 (สศข.5) ว่า พื้นที่เพาะปลูกข้าวหอมมะลิในแต่ละปีนั้น จะมีพื้นที่ปลูกประมาณ 2 ล้านไร่ ได้ผลผลิตประมาณ 8 แสนตันต่อปี เป็นข้าวที่มีคุณภาพ ซึ่งเมื่อแปรสภาพเป็นข้าวสารจะได้ต้นข้าวประมาณ 40 % ขึ้นไป โดยจะมีพื้นที่ปลูกมากในเขตอำเภอเดชอุดม , พิบูลมังสาหาร , ม่วงสามสิบ , บุณฑริก , ตระการพืชผล , ศรีเมืองใหม่ , เขื่องใน , เขมราฐ และวารินชำราบ
ดังนั้น เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าข้าวหอมมะลิพร้อมทั้งสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าจังหวัดอุบลราชธานีจึงได้ร่วมมือกับกรมการค้าต่างประเทศจัดสร้างสัญลักษณ์ (BRAND NAME) ขึ้นมา เพื่อรับรองสินค้าข้าวหอมมะลิของจังหวัด โดยตราสัญลักษณ์ดังกล่าวนั้น จะประกอบไปด้วย รวงข้าวสีทองที่มีรูปทรงอันอ่อนช้อยสีเขียวและแม่น้ำสองสี พร้อมทั้งมีข้อความอักษรภาษาไทยและภาษาอังกฤษว่า “ข้าวหอมมะลิอุบลราชธานี” THAI HOM MALI RICE , ORIGINATED IN UBONRATCHATHANI THAILAND ซึ่งดอกบัวนั้นเป็นสัญลักษณ์แห่งเมืองอุบลราชธานี รวงข้าวสีทองนั้นหมายถึงข้าวที่มีคุณภาพมีคุณค่าทางโภชนาการ สำหรับรูปทรงข้าวที่อ่อนช้อยสีเขียวนั้นหมายถึงความอุดมสมบูรณ์และความอ่อนน้อมถ่อมตนของคนไทย ส่วนรูปทรงคลื่นน้ำด้านล่างหมายถึงสายธารที่หล่อเลี้ยงชาวอุบลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันซึ่งหมายถึงแม่น้ำโขงและแม่น้ำมูลนั่นเอง
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-