รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร) ได้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย เข้าร่วมการประชุมคณะมนตรีเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA Council) ครั้งที่ 19 เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2547 ณ กรุงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อรับทราบและพิจารณานโยบายเกี่ยวกับการดำเนินการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา โดยมีสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากรภายใต้ AISP แก่ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน
ไทยได้ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากร (ASEAN Integration System of Preferences: AISP) แก่ประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่ 4 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม สำหรับปี 2548 รวมทั้งสิ้น 1,624 รายการ ซึ่งมากที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศสมาชิกอาเซียนเดิมอื่นๆ ทั้งนี้ การให้ AISP ดังกล่าวจะช่วยลดช่องว่างในการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกเดิมกับประเทศสมาชิกใหม่ ในขณะเดียวกันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการไทยในการนำเข้าวัตถุดิบราคาถูกจากประเทศเหล่านี้ เพื่อใช้ในการผลิต ต่อไป
2. จัดตั้งกลไกระงับข้อพิพาทและหน่วยงานกำกับดูแลแก้ไขปัญหาการค้าการลงทุนของอาเซียน (ASEAN Consultation to Solve Trade and Investment Issues: ACT) ประเทศสมาชิกอาเซียนได้จัดตั้งกลไกระงับข้อพิพาทและหน่วยงานกำกับดูแลแก้ไขปัญหาการค้าการลงทุนของอาเซียน (ASEAN Consultation to Solve Trade and Investment Issues: ACT) ตามมติของที่ประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 9 ณ เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อปี 2546 เพื่อประสานและให้คำปรึกษาแก่ภาคเอกชนและภาครัฐในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการค้าภายในอาเซียน โดยขณะนี้ บุคคลทั่วไปสามารถใช้ระบบ ACT ดังกล่าวได้แล้วทางเว็บไซด์ http://act.aseansec.org และสามารถติดต่อหน่วยงาน ACT ของไทย ซึ่งตั้งอยู่ที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลังได้ทาง Thailand_act@mof.go.th
3. การทบทวนรายการสินค้าในบัญชียกเว้นการลดภาษีทั่วไป
ประเทศสมาชิกอาเซียนอยู่ในระหว่างการดำเนินการทบทวนรายการสินค้าในบัญชียกเว้นลดภาษีทั่วไป (General Exclusion List) เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา 9 B ของความตกลงว่าด้วยการใช้อัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน (CEPT) นอกจากนี้ ที่ประชุมได้รับรองแนวทางการลดภาษีสำหรับสินค้าที่จะโอนย้ายออกจากบัญชียกเว้นลดภาษีทั่วไปมายังบัญชีลดภาษี และได้เร่งรัดให้เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียน (Senior Economic Officials Meeting: SEOM) ดำเนินการทบทวนรายการสินค้าดังกล่าวให้เป็นไปตามกำหนดเวลา ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยมากที่สุด เนื่องจากไทยไม่มีสินค้าอยู่ในบัญชียกเว้นลดภาษีทั่วไป ในขณะที่ประเทศสมาชิกอื่นที่มีสินค้าอยู่ในบัญชีดังกล่าวฯ จะต้องโอนย้ายสินค้าบางรายการมายังบัญชีลดภาษี ทำให้ไทยมีโอกาสส่งออกภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียนได้มากขึ้น
4. หลักเกณฑ์การยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษี
คณะมนตรีเขตการค้าเสรีอาเซียนได้รับรองหลักเกณฑ์การพิจารณามาตรการที่มิใช่ภาษี (Non-Tariff Measures: NTMs) ซึ่งได้แบ่ง NTMs ออกเป็น 3 กล่อง ได้แก่ (1) กล่องสีแดง (มาตรการที่ยกเลิกทันที) (2) กล่องสีเหลือง (มาตรการที่ไม่เป็นการกีดกันอย่างชัดเจน การยกเลิกจะขึ้นอยู่กับการเจรจา) และ (3) กล่องสีเขียว (สามารถคงไว้ได้) และได้มอบหมายให้ SEOM พิจารณากำหนดแผนการดำเนินการยกเลิก NTBs ที่ชัดเจนโดยเร็ว ซึ่งการยกเลิกมาตรการดังกล่าวจะช่วยเปิดตลาดให้แก่สินค้าไทยในประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นให้มากขึ้น
5. การใช้หลักการพิจารณาได้แหล่งกำเนิดสินค้าโดยวิธีแปรสภาพอย่างเพียงพอ
คณะมนตรีเขตการค้าเสรีอาเซียนได้รับรองการใช้หลักการแปรสภาพอย่างเพียงพอ (Substantial Transformation: ST) ซึ่งจะเป็นทางเลือกในการได้แหล่งกำเนิดสินค้าสำหรับสินค้าแป้งข้าว (ประเภทที่ 11.01) อลูมิเนียม (ตอนที่ 76) สินค้าเหล็กบางรายการ (ตอนที่ 72) และสินค้าที่ทำจากไม้ (ตอนที่ 44 ประเภทที่ 94.01-94.03 และ 94.06) ซึ่งกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าใหม่นี้จะช่วยส่งเสริมให้มีการผลิตและการลงทุน โดยจะเพิ่มโอกาสให้แก่ผู้ประกอบการไทยในการส่งออกสินค้าไปยังประเทศสมาชิกอาเซียนและได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 85/2548 28 กันยายน 48--
1. การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากรภายใต้ AISP แก่ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน
ไทยได้ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากร (ASEAN Integration System of Preferences: AISP) แก่ประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่ 4 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม สำหรับปี 2548 รวมทั้งสิ้น 1,624 รายการ ซึ่งมากที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศสมาชิกอาเซียนเดิมอื่นๆ ทั้งนี้ การให้ AISP ดังกล่าวจะช่วยลดช่องว่างในการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกเดิมกับประเทศสมาชิกใหม่ ในขณะเดียวกันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการไทยในการนำเข้าวัตถุดิบราคาถูกจากประเทศเหล่านี้ เพื่อใช้ในการผลิต ต่อไป
2. จัดตั้งกลไกระงับข้อพิพาทและหน่วยงานกำกับดูแลแก้ไขปัญหาการค้าการลงทุนของอาเซียน (ASEAN Consultation to Solve Trade and Investment Issues: ACT) ประเทศสมาชิกอาเซียนได้จัดตั้งกลไกระงับข้อพิพาทและหน่วยงานกำกับดูแลแก้ไขปัญหาการค้าการลงทุนของอาเซียน (ASEAN Consultation to Solve Trade and Investment Issues: ACT) ตามมติของที่ประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 9 ณ เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อปี 2546 เพื่อประสานและให้คำปรึกษาแก่ภาคเอกชนและภาครัฐในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการค้าภายในอาเซียน โดยขณะนี้ บุคคลทั่วไปสามารถใช้ระบบ ACT ดังกล่าวได้แล้วทางเว็บไซด์ http://act.aseansec.org และสามารถติดต่อหน่วยงาน ACT ของไทย ซึ่งตั้งอยู่ที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลังได้ทาง Thailand_act@mof.go.th
3. การทบทวนรายการสินค้าในบัญชียกเว้นการลดภาษีทั่วไป
ประเทศสมาชิกอาเซียนอยู่ในระหว่างการดำเนินการทบทวนรายการสินค้าในบัญชียกเว้นลดภาษีทั่วไป (General Exclusion List) เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา 9 B ของความตกลงว่าด้วยการใช้อัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน (CEPT) นอกจากนี้ ที่ประชุมได้รับรองแนวทางการลดภาษีสำหรับสินค้าที่จะโอนย้ายออกจากบัญชียกเว้นลดภาษีทั่วไปมายังบัญชีลดภาษี และได้เร่งรัดให้เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียน (Senior Economic Officials Meeting: SEOM) ดำเนินการทบทวนรายการสินค้าดังกล่าวให้เป็นไปตามกำหนดเวลา ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยมากที่สุด เนื่องจากไทยไม่มีสินค้าอยู่ในบัญชียกเว้นลดภาษีทั่วไป ในขณะที่ประเทศสมาชิกอื่นที่มีสินค้าอยู่ในบัญชีดังกล่าวฯ จะต้องโอนย้ายสินค้าบางรายการมายังบัญชีลดภาษี ทำให้ไทยมีโอกาสส่งออกภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียนได้มากขึ้น
4. หลักเกณฑ์การยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษี
คณะมนตรีเขตการค้าเสรีอาเซียนได้รับรองหลักเกณฑ์การพิจารณามาตรการที่มิใช่ภาษี (Non-Tariff Measures: NTMs) ซึ่งได้แบ่ง NTMs ออกเป็น 3 กล่อง ได้แก่ (1) กล่องสีแดง (มาตรการที่ยกเลิกทันที) (2) กล่องสีเหลือง (มาตรการที่ไม่เป็นการกีดกันอย่างชัดเจน การยกเลิกจะขึ้นอยู่กับการเจรจา) และ (3) กล่องสีเขียว (สามารถคงไว้ได้) และได้มอบหมายให้ SEOM พิจารณากำหนดแผนการดำเนินการยกเลิก NTBs ที่ชัดเจนโดยเร็ว ซึ่งการยกเลิกมาตรการดังกล่าวจะช่วยเปิดตลาดให้แก่สินค้าไทยในประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นให้มากขึ้น
5. การใช้หลักการพิจารณาได้แหล่งกำเนิดสินค้าโดยวิธีแปรสภาพอย่างเพียงพอ
คณะมนตรีเขตการค้าเสรีอาเซียนได้รับรองการใช้หลักการแปรสภาพอย่างเพียงพอ (Substantial Transformation: ST) ซึ่งจะเป็นทางเลือกในการได้แหล่งกำเนิดสินค้าสำหรับสินค้าแป้งข้าว (ประเภทที่ 11.01) อลูมิเนียม (ตอนที่ 76) สินค้าเหล็กบางรายการ (ตอนที่ 72) และสินค้าที่ทำจากไม้ (ตอนที่ 44 ประเภทที่ 94.01-94.03 และ 94.06) ซึ่งกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าใหม่นี้จะช่วยส่งเสริมให้มีการผลิตและการลงทุน โดยจะเพิ่มโอกาสให้แก่ผู้ประกอบการไทยในการส่งออกสินค้าไปยังประเทศสมาชิกอาเซียนและได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 85/2548 28 กันยายน 48--