1. การผลิต
1.1 ปริมาณการผลิต
การผลิตปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 4 ปี 2548 มีปริมาณการผลิตรวม 19.45 ล้านตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงร้อยละ 3.57 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.07 โดยเป็นการผลิตปูนเม็ด 9.63 ล้านตัน และการผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 9.82 ล้านตัน สำหรับปริมาณการผลิตปูนซีเมนต์ ปี 2548 มีปริมาณการผลิต 80.30 ล้านตัน เมื่อเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.16 โดยเป็นการผลิตปูนเม็ด 39.87 ล้านตัน และการผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 40.43 ล้านตัน
ปริมาณการผลิตปูนซีเมนต์ในไตรมาสนี้และปริมาณการผลิตรวมในปี 2548 มีอัตราการเติบโตแบบชะลอตัว ทั้งนี้เนื่องจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ซบเซา โดยเฉพาะการลงทุนของภาคเอกชนในตลาดที่อยู่อาศัยมีการชะลอตัวลง ในขณะที่การลงทุนของภาครัฐก็ชะลอตัวลงด้วยเช่นเดียวกัน
1.2 อัตราการใช้กำลังการผลิต
อัตราการใช้กำลังการผลิตปูนเม็ด ไตรมาสที่ 4 ปี 2548 คิดเป็นร้อยละ 83.00 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงร้อยละ 1.66 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.33 สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) คิดเป็นร้อยละ 67.70 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 2.31 และ1.02 ตามลำดับ
ในปี 2548 อัตราการใช้กำลังการผลิตปูนเม็ด คิดเป็นร้อยละ 85.60 เมื่อเทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.88 ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) คิดเป็นร้อยละ 69.10 เมื่อเทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.07 ซึ่งอัตราการใช้กำลังการผลิตยังเพียงพอที่จะรองรับความต้องการของตลาดในประเทศ จึงยังไม่มีบริษัทผู้ผลิตลงทุนขยายกำลังการผลิตเพิ่ม
2. การตลาด
2.1 การจำหน่ายในประเทศ
การจำหน่ายปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 4 ปี 2548 มีปริมาณ 7.45 ล้านตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 1.72 และ 4.36 ตามลำดับ โดยเป็นการจำหน่ายปูนเม็ด 0.12 ล้านตัน และปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 7.33 ล้านตัน สำหรับปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศตลอดปี 2548 มีปริมาณ 31.51 ล้านตัน เมื่อเทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.10 โดยเป็นการจำหน่ายปูนเม็ด 0.19 ล้านตัน และปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 31.32 ล้านตัน
ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในไตรมาสนี้ และปริมาณการจำหน่ายรวมในปี 2548
มีอัตราการเติบโตแบบชะลอตัว ทั้งนี้เนื่องจากภาวะธุรกิจก่อสร้างและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัว
ทั้งการลงทุนในภาคเอกชนและการลงทุนในโครงการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของรัฐ
2.2 การส่งออก
การส่งออกปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 4 ปี 2548 มีปริมาณการส่งออก 3.84 ล้านตัน คิดเป็น
มูลค่า 5,111.04 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนปริมาณและมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 1.03 และ 3.43 ตามลำดับ และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปริมาณและมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 64.81 และ 84.34 ตามลำดับ โดยเป็นการส่งออกปูนเม็ด จำนวน 2.02 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 2,395.29 ล้านบาท และปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 1.82 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 2,715.75 ล้านบาท
สำหรับการส่งออกปูนซีเมนต์ปี 2548 มีปริมาณการส่งออกรวม 15.73 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 18,544.55 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีก่อนปริมาณและมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.52 และ 48.00 ตามลำดับ โดยเป็นการส่งออกปูนเม็ด จำนวน 9.46 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 9,423.63 ล้านบาท และ
ปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 6.27 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 9,120.92 ล้านบาท
การส่งออกที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในตลาดหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนและเอเซียใต้เพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งมีการขยายตลาดใหม่ เช่น ในตะวันออกกลางและละตินอเมริกา สำหรับตลาดส่งออกปูนซีเมนต์ที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เวียดนาม กัมพูชา และบังคลาเทศ
2.3 การนำเข้า
ปูนซีเมนต์เป็นสินค้าที่มีปริมาณการนำเข้าไม่มากนัก การนำเข้าปูนซีเมนต์ไตรมาสที่ 4
ปี 2548 มีจำนวน 738.80 ตัน คิดเป็นมูลค่า 15.85 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ปริมาณและมูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 56.39 และ 3.35 ตามลำดับ และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปริมาณและ
มูลค่าการนำเข้าปูนซีเมนต์ลดลง ร้อยละ 77.52 และ 34.50 ตามลำดับ โดยเป็นการนำเข้าปูนเม็ด จำนวน 2.27 ตัน คิดเป็นมูลค่า 0.03 ล้านบาท ปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 736.53 ตัน คิดเป็นมูลค่า 15.82 ล้านบาท
สำหรับการนำเข้าปูนซีเมนต์ในปี 2548 มีปริมาณ 8,150.56 ตัน คิดเป็นมูลค่า 79.79 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปริมาณและมูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 40.53 และ 35.53 ตามลำดับ โดยเป็นการนำเข้าปูนเม็ดจำนวน 8.71 ตัน คิดเป็นมูลค่า 0.20 ล้านบาท และปูนซีเมนต์
(ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 8,141.85 ตัน คิดเป็นมูลค่า 79.59 ล้านบาท ทั้งนี้การนำเข้าส่วนใหญ่คืออะลูมินัสซีเมนต์ ซึ่งไม่สามารถผลิตในประเทศได้ และบางส่วนเป็นการนำเข้าซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ตลาด
3. สรุป
การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2548 มีการขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ในขณะที่ภาพรวมปริมาณการผลิตปูนซีเมนต์ในปี 2548 มีอัตราการเติบโตแบบชะลอตัว ทั้งนี้เนื่องจากการลงทุนในการก่อสร้างของภาคเอกชนชะลอตัวตามภาวะธุกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะการลงทุนในการก่อสร้างประเภทที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นผลจากการชะลอตัวของความต้องการที่อยู่อาศัย
ที่ได้รับผลกระทบจากภาระรายจ่ายที่เพิ่มสูงขึ้นตามค่าครองชีพและราคาน้ำมัน ประกอบกับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง ส่งผลให้ผู้บริโภคใช้เวลาในการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยนานขึ้น ในขณะที่การลงทุนในโครงการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของภาครัฐก็ชะลอตัวลงด้วย
สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในปี 2549 คาดว่าตัวแปรหลักอยู่ที่การดำเนินการโครงการลงทุนของภาครัฐ ในกรณีที่การดำเนินการโครงการต่าง ๆ คืบหน้าได้ตามแผนการลงทุนที่วางไว้
จะส่งผลให้ธุรกิจการก่อสร้างโดยรวมขยายตัวสูงขึ้น และทำให้ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ส่วนการก่อสร้างในภาคเอกชนอาจชะลอตัวเล็กน้อยเนื่องจากภาวะความต้องการที่อยู่อาศัยอาจยังเผชิญปัจจัยลบจากอุปสงค์ที่อ่อนตัวลง
สำหรับตลาดต่างประเทศ การส่งออกปูนซีเมนต์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2548 ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การส่งออกปูนซีเมนต์เพิ่มสูงมาก เนื่องความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในตลาดหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนและเอเซียใต้เพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งมีการขยายตลาดใหม่ เช่น ในตะวันออกกลางและละตินอเมริกา สำหรับการส่งออกในปี 2549 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นไม่มากนัก เมื่อเทียบกับฐานที่สูงมากในปีที่ผ่านมา และถ้าหากตลาดในประเทศเติบโตได้ดี ผู้ประกอบการอาจลดน้ำหนักการส่งออกลง ตลาดส่งออกปูนซีเมนต์ที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เวียดนาม สหรัฐอเมริกา กัมพูชา และบังคลาเทศ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
1.1 ปริมาณการผลิต
การผลิตปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 4 ปี 2548 มีปริมาณการผลิตรวม 19.45 ล้านตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงร้อยละ 3.57 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.07 โดยเป็นการผลิตปูนเม็ด 9.63 ล้านตัน และการผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 9.82 ล้านตัน สำหรับปริมาณการผลิตปูนซีเมนต์ ปี 2548 มีปริมาณการผลิต 80.30 ล้านตัน เมื่อเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.16 โดยเป็นการผลิตปูนเม็ด 39.87 ล้านตัน และการผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 40.43 ล้านตัน
ปริมาณการผลิตปูนซีเมนต์ในไตรมาสนี้และปริมาณการผลิตรวมในปี 2548 มีอัตราการเติบโตแบบชะลอตัว ทั้งนี้เนื่องจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ซบเซา โดยเฉพาะการลงทุนของภาคเอกชนในตลาดที่อยู่อาศัยมีการชะลอตัวลง ในขณะที่การลงทุนของภาครัฐก็ชะลอตัวลงด้วยเช่นเดียวกัน
1.2 อัตราการใช้กำลังการผลิต
อัตราการใช้กำลังการผลิตปูนเม็ด ไตรมาสที่ 4 ปี 2548 คิดเป็นร้อยละ 83.00 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงร้อยละ 1.66 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.33 สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) คิดเป็นร้อยละ 67.70 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 2.31 และ1.02 ตามลำดับ
ในปี 2548 อัตราการใช้กำลังการผลิตปูนเม็ด คิดเป็นร้อยละ 85.60 เมื่อเทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.88 ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) คิดเป็นร้อยละ 69.10 เมื่อเทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.07 ซึ่งอัตราการใช้กำลังการผลิตยังเพียงพอที่จะรองรับความต้องการของตลาดในประเทศ จึงยังไม่มีบริษัทผู้ผลิตลงทุนขยายกำลังการผลิตเพิ่ม
2. การตลาด
2.1 การจำหน่ายในประเทศ
การจำหน่ายปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 4 ปี 2548 มีปริมาณ 7.45 ล้านตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 1.72 และ 4.36 ตามลำดับ โดยเป็นการจำหน่ายปูนเม็ด 0.12 ล้านตัน และปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 7.33 ล้านตัน สำหรับปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศตลอดปี 2548 มีปริมาณ 31.51 ล้านตัน เมื่อเทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.10 โดยเป็นการจำหน่ายปูนเม็ด 0.19 ล้านตัน และปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 31.32 ล้านตัน
ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในไตรมาสนี้ และปริมาณการจำหน่ายรวมในปี 2548
มีอัตราการเติบโตแบบชะลอตัว ทั้งนี้เนื่องจากภาวะธุรกิจก่อสร้างและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัว
ทั้งการลงทุนในภาคเอกชนและการลงทุนในโครงการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของรัฐ
2.2 การส่งออก
การส่งออกปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 4 ปี 2548 มีปริมาณการส่งออก 3.84 ล้านตัน คิดเป็น
มูลค่า 5,111.04 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนปริมาณและมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 1.03 และ 3.43 ตามลำดับ และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปริมาณและมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 64.81 และ 84.34 ตามลำดับ โดยเป็นการส่งออกปูนเม็ด จำนวน 2.02 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 2,395.29 ล้านบาท และปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 1.82 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 2,715.75 ล้านบาท
สำหรับการส่งออกปูนซีเมนต์ปี 2548 มีปริมาณการส่งออกรวม 15.73 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 18,544.55 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีก่อนปริมาณและมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.52 และ 48.00 ตามลำดับ โดยเป็นการส่งออกปูนเม็ด จำนวน 9.46 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 9,423.63 ล้านบาท และ
ปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 6.27 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 9,120.92 ล้านบาท
การส่งออกที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในตลาดหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนและเอเซียใต้เพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งมีการขยายตลาดใหม่ เช่น ในตะวันออกกลางและละตินอเมริกา สำหรับตลาดส่งออกปูนซีเมนต์ที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เวียดนาม กัมพูชา และบังคลาเทศ
2.3 การนำเข้า
ปูนซีเมนต์เป็นสินค้าที่มีปริมาณการนำเข้าไม่มากนัก การนำเข้าปูนซีเมนต์ไตรมาสที่ 4
ปี 2548 มีจำนวน 738.80 ตัน คิดเป็นมูลค่า 15.85 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ปริมาณและมูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 56.39 และ 3.35 ตามลำดับ และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปริมาณและ
มูลค่าการนำเข้าปูนซีเมนต์ลดลง ร้อยละ 77.52 และ 34.50 ตามลำดับ โดยเป็นการนำเข้าปูนเม็ด จำนวน 2.27 ตัน คิดเป็นมูลค่า 0.03 ล้านบาท ปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 736.53 ตัน คิดเป็นมูลค่า 15.82 ล้านบาท
สำหรับการนำเข้าปูนซีเมนต์ในปี 2548 มีปริมาณ 8,150.56 ตัน คิดเป็นมูลค่า 79.79 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปริมาณและมูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 40.53 และ 35.53 ตามลำดับ โดยเป็นการนำเข้าปูนเม็ดจำนวน 8.71 ตัน คิดเป็นมูลค่า 0.20 ล้านบาท และปูนซีเมนต์
(ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 8,141.85 ตัน คิดเป็นมูลค่า 79.59 ล้านบาท ทั้งนี้การนำเข้าส่วนใหญ่คืออะลูมินัสซีเมนต์ ซึ่งไม่สามารถผลิตในประเทศได้ และบางส่วนเป็นการนำเข้าซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ตลาด
3. สรุป
การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2548 มีการขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ในขณะที่ภาพรวมปริมาณการผลิตปูนซีเมนต์ในปี 2548 มีอัตราการเติบโตแบบชะลอตัว ทั้งนี้เนื่องจากการลงทุนในการก่อสร้างของภาคเอกชนชะลอตัวตามภาวะธุกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะการลงทุนในการก่อสร้างประเภทที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นผลจากการชะลอตัวของความต้องการที่อยู่อาศัย
ที่ได้รับผลกระทบจากภาระรายจ่ายที่เพิ่มสูงขึ้นตามค่าครองชีพและราคาน้ำมัน ประกอบกับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง ส่งผลให้ผู้บริโภคใช้เวลาในการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยนานขึ้น ในขณะที่การลงทุนในโครงการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของภาครัฐก็ชะลอตัวลงด้วย
สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในปี 2549 คาดว่าตัวแปรหลักอยู่ที่การดำเนินการโครงการลงทุนของภาครัฐ ในกรณีที่การดำเนินการโครงการต่าง ๆ คืบหน้าได้ตามแผนการลงทุนที่วางไว้
จะส่งผลให้ธุรกิจการก่อสร้างโดยรวมขยายตัวสูงขึ้น และทำให้ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ส่วนการก่อสร้างในภาคเอกชนอาจชะลอตัวเล็กน้อยเนื่องจากภาวะความต้องการที่อยู่อาศัยอาจยังเผชิญปัจจัยลบจากอุปสงค์ที่อ่อนตัวลง
สำหรับตลาดต่างประเทศ การส่งออกปูนซีเมนต์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2548 ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การส่งออกปูนซีเมนต์เพิ่มสูงมาก เนื่องความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในตลาดหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนและเอเซียใต้เพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งมีการขยายตลาดใหม่ เช่น ในตะวันออกกลางและละตินอเมริกา สำหรับการส่งออกในปี 2549 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นไม่มากนัก เมื่อเทียบกับฐานที่สูงมากในปีที่ผ่านมา และถ้าหากตลาดในประเทศเติบโตได้ดี ผู้ประกอบการอาจลดน้ำหนักการส่งออกลง ตลาดส่งออกปูนซีเมนต์ที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เวียดนาม สหรัฐอเมริกา กัมพูชา และบังคลาเทศ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-