กรุงเทพ--3 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ผลการหารือในการประชุมเชิงปฏิบัติการ ระหว่างเอกอัครราชทูตและผู้ว่าราชการจังหวัด ในหัวข้อ "การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว โดยใช้เส้นทางเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจแนว ตะวันออก-ตะวันตก (EWEC)" 29-30 มิถุนายน 2549 ที่โรงแรมโซฟิเทล ราชาออคิด จังหวัดขอนแก่น
เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2549 ในการประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างเอกอัครราชทูตไทยและกงสุลใหญ่ไทยในระบบบูรณาการ (ซีอีโอ) ประจำประเทศเพื่อนบ้านในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง 5 ประเทศ (กัมพูชา พม่า ลาว เวียดนาม จีน) กับผู้ว่าราชการจังหวัดในระบบบูรณาการ (ซีอีโอ) ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือตอนล่าง 24 จังหวัด ที่โรงแรมโซฟิเทล ราชาออคิด ขอนแก่น นายเจตน์ ธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ได้สรุปผลการหารือระหว่างสถานทูตสถานกงสุลไทยต่างๆ กับจังหวัดต่างๆ ดังกล่าวเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2549 รายงานต่อ ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นประธานในการประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าว ดังนี้
"กราบเรียน ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ท่านปลัดกระทรวงมหาดไทย
ท่านเลขาธิการ กพร.
ท่านรองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
เพื่อนข้าราชการ และผู้มีเกียรติทุกท่าน
กระผม นายเจตน์ ธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ได้รับมอบหมายจากที่ประชุมให้นำเสนอผลสรุปและข้อเสนอแนะจากการหารือเมื่อวานนี้ (29 มิถุนายน) ดังต่อไปนี้
1. ที่ประชุมได้รับทราบผลการศึกษาทางวิชาการเกี่ยวกับศักยภาพของเส้นทาง EWEC จากคณาจารย์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งทำหน้าที่เป็น Think Tank ในการทำงานระหว่างผู้ว่าราชการจังหวัด CEO และเอกอัครราชทูต CEO และได้รับทราบแนวนโยบายและศักยภาพของเส้นทาง EWEC จากผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวเป็นประโยชน์มากในการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและเป็นพื้นฐานในการนำเสนอประเด็นสำหรับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของที่ประชุม
ที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น สร้างความเข้าใจในกระบวนการและวิธีการทำงานของผู้ว่าซีอีโอและทูตซีอีโอ ทั้งนี้ บรรยากาศของการหารือมีความเป็นกันเองและตรงไปตรงมาซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อความร่วมมือของซีอีโอทั้งสอง
2. ในการผลักดันยุทธศาสตร์ด้านการค้าการลงทุน และการท่องเที่ยวโดยใช้เส้นทางเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก (East West Economic Corridor) ที่ประชุมเห็นว่า
2.1 ยุทธศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับเส้นทางเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก (EWEC) ต้องมองในภาพกว้างที่เป็นเส้นทางในการเชื่อมกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและเอเชีย กับภูมิภาคอื่นๆ ของโลก โดยเฉพาะเกี่ยวข้องกับประเทศที่มีศักยภาพสูง เช่นจีน และอินเดีย
2.2 ผู้ว่าซีอีโอต้องมองภาพรวมเชื่อมโยงจากท้องถิ่น สู่ระดับสากล (Local Link to Global Reach) ทั้งนี้ จังหวัดและกลุ่มจังหวัดจะมองภาพศักยภาพของตนเองเพื่อเชื่อมโยงกับระดับสากลและปฏิบัติในระดับพื้นที่ (Think Globally Act Locally) ในขณะที่ทูตซีอีโอจะปฏิบัติงานในระดับสากลโดยมุ่งเน้นมุมมองจากระดับสากลเชื่อมโยงสู่พื้นที่
2.3 จังหวัดและกลุ่มจังหวัดต้องวิเคราะห์ศักยภาพและกำหนดบทบาทของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดให้ชัดเจน
3. สำหรับการผลักดันยุทธศาสตร์ EWEC ให้ประสบผลสำเร็จ ที่ประชุมเห็นว่า
3.1 การเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกับประเทศเพื่อนบ้านแต่ละประเทศมีลักษณะที่แตกต่างกัน ดังนั้น ผู้ปฏิบัติจึงต้องมีความเข้าใจในประเด็นที่ละเอียดอ่อนของแต่ละประเทศ และ การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใขต้องทำในทุกระดับทั้งในภาครัฐ เอกชน ประชาชนและสื่อมวลชน ทั้งนี้ต้องพิสูจน์ด้วยการกระทำ มิใช่พูดแต่ทฤษฎี และเมื่อดำเนินการแล้ว ก็ต้องมีความสมดุลย์ อย่าให้ประเด็นความไว้เนื้อเชื่อใจกลายเป็นนายเราในการดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน
3.2 ควรเน้นความสำคัญของ mutual benefits (ผลประโยชน์ร่วมกัน) ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ในการเยือนประเทศเพื่อนบ้านนอกจากจะมุ่งขายสินค้าไทยแล้ว ขอให้พิจารณาเสนอซื้อสินค้าของเพื่อนบ้านด้วย ซึ่งนอกจากจะเป็นการยกระดับประเทศไทยแล้ว ยังเป็นการเพิ่มโอกาสและเอื้อประโยชน์กับเศรษฐกิจกับคนไทยด้วย รวมทั้งแสดงให้เพื่อนบ้านเห็นว่า ไทยไม่คิดที่จะเอาเปรียบฝ่ายเดียว
3.3 ควรกำหนดแนวทางการปฏิบัติและจัดทำคู่มือการติดต่อกับต่างประเทศ
3.4 ควรพัฒนาระบบข้อมูลเกี่ยวกับเพื่อนบ้านไว้ที่ ROC
3.5 การใช้ประโยชน์จากเส้นทาง EWEC ควรมุ่งเป้าหมายในการมีผลประโยชน์เกื้อหนุนกันกับประเทศเพื่อนบ้านในลักษณะ win-win ทั้งนี้ จังหวัดต่างๆ ที่เส้นทาง EWEC พาดผ่านจะต้องหันกลับมาวิเคราะห์ศักยภาพของตนเองในการใช้ประโยชน์จาก EWEC ให้ได้มากที่สุด ทั้งในด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยวและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
3.6 เตรียมความพร้อมของบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจตามเส้นทาง EWEC และความเชื่อมโยงของ EWEC กับศักยภาพของพื้นที่ และการสร้างท้องถิ่นให้เข้มแข็ง
3.7 เพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าที่จะผ่านทาง EWEC ปรับปรุงขั้นตอนศุลกากร ณ จุดชายแดนต่างๆ ให้เป็น One Stop Service โดยอาจจะเริ่มที่จังหวัดหนองคายและขยายผลไปยังจุดชายแดนอื่นๆ
3.8 แม้เส้นทาง EWEC จะมีศักยภาพและประโยชน์ในด้านการค้าการลงทุน อย่างไรก็ดี ก็มีข้อสังเกตว่าภาคกลางของเวียดนามซึ่งเป็นจุดเชื่อมโยงสำคัญของ EWEC ยังเป็นภาคที่ยากจนที่สุด ดังนั้น การค้าการลงทุนจึงควรพิจารณาในลักษณะเชื่อมโยงกับศักยภาพของภาคเหนือและภาคใต้ด้วย
4. สำหรับกลไกการประสานงานร่วมระหว่างผู้ว่าซีอีโอและทูตซีอีโอ (ศูนย์ ROC) ที่ประชุมมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบทบาทของ ROC ว่า ROC จะมีส่วนช่วยอย่างมากในการส่งเสริมการทำงานเป็นเนื้อเดียวกันของเอกอัครราชทูตและผู้ว่าราชการจังหวัดในหลายลักษณะ เช่น
- เป็นศูนย์ประสานงานระหว่างผู้ว่าซีอีโอกับทูตซีอีโอ ในลักษณะสำนักงานการต่างประเทศของกลุ่มจังหวัด/จังหวัด
- เป็นศูนย์สารสนเทศเกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน
- เสริมสร้างความเข้าใจและช่วยเหลือในการดำเนินงานของผู้ว่าซีอีโอที่เกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน
- เป็นศูนย์ประสานงานและจัดทำปฏิทินรวมของแผนงานและกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับประเทศเพื่อนบ้านของกลุ่มจังหวัด/จังหวัด
- ช่วยพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรของจังหวัดในด้านเกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน
5. อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมเห็นว่า การที่ ROC จะทำงานได้ประสบความสำเร็จ จะต้องได้รับการสนับสนุนอย่างน้อย 3 ประการ (1) มีกฏหมายรองรับ เช่น มติ ครม. (2) มีงบประมาณรองรับที่ชัดเจน (3) มีการพัฒนาตัวชี้วัดผลงานของจังหวัด CEO และสถานเอกอัครราชทูต CEO โดยให้ความสำคัญกับกิจกรรมที่มีส่วนในการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ
6.สำหรับตัวอย่างกิจกรรมร่วมระหว่างผู้ว่าซีอีโอและทูตซีอีโอ เช่น
6.1 การรวบรวม ส่งผ่าน และพัฒนาระบบข้อมูลเกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านต่างๆ ที่ผู้ว่าซีอีโอต้องใช้ประกอบในการกำหนดกิจกรรมร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ข้อมูลเศรษฐกิจ การค้าสินค้า บริการ ที่ประเทศนั้นๆ ต้องการจากประเทศไทย และความคาดหวังที่ประเทศเหล่านั้นต้องการจากประเทศไทย
6.2 การสร้างความรู้ความเข้าใจในหลักสากลของการตจิดต่อค้าขาย และวัฒนธรรมของระบบการค้าการลงทุนของประเทศเพื่อนบ้าน
6.3 การพัฒนาระบบการติดต่อค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่ออำนวยความสะดวกและสร้างความมั่นใจให้กับภาคเอกชนในทางปฏิบัติ
6.4 การพัฒนาบุคลากรด้านวิเทศสัมพันธ์ของจังหวัด
7. ที่ประชุมมีข้อเสนอเกี่ยวกับสาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การท่องเที่ยวและการค้าการลงทุนในกรอบ EWEC ดังนี้
การผลักดันยุทธศาสตร์หลักที่เชื่อมโยงกับ EWEC ควรเริ่มต้นจากยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งรวมถึงการศึกษาและวัฒนธรรม โดยใช้ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวและบริการเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และถ่ายทอดวัฒนธรรมระหว่างกัน ซึ่งการศึกษาและวัฒนธรรมที่แน่นแฟ้นจะเป็นตัวเชื่อมโยงไปถึงการผลักดันยุทธศาสตร์ด้านการค้า การลงทุน ได้ง่ายขึ้น
ในด้านยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนมนุษย์ ควรมุ่งเน้นการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจโดยอาศัยกิจกรรมดังต่อไปนี้
- ส่งเสริมให้มีการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาเกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านในสถาบันการศึกษาระดับสูง เช่น หลักสูตรภาษาและวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง โดยให้สถาบันการศึกษาที่มีศักยภาพรับผิดชอบพัฒนหลักสูตร โดยรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนในเรื่องของทุนการศึกษา สำหรับการแลกเปลี่ยนนักศึกษา และอาจารย์ บุคลากร ระหว่างมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนและสถาบันการศึกษาในประเทศที่เป็นเจ้าของภาษา
- ผลักดันให้กระทรวงศึกษาธิการบรรจุหลักสูตรการเรียนการสอนเกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และส่งเสริมให้นักเรียนนักศึกษาได้เรียนภาษาเพื่อนบ้านเป็นภาษาที่สอง
- รัฐบาลควรจัดให้มีทุนการศึกษาเพื่อสนับสนุนให้บุคลากรไปศึกษาต่อ หรือทำวิจัยในประเทศเพื่อนบ้าน และให้ทุนบุคลากรในประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาศึกษาวิจัยในประเทศไทย
- ผลักดันให้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมภาคประชาชนระหว่างประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ทั้งนี้ โดยมองว่าความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดระหว่างประชาชนจะนำมาสู่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ดี
- ส่งเสริมกิจกรรมกีฬาและนันทนาการระหว่างบุคลากรทุกระดับของประเทศในอนุภูมิภาคฯ เพื่อมิตรภาพและความเข้าใจอันดีระหว่างกัน
ในด้านยุทธศาสตร์ท่องเที่ยว ควรมุ่งเน้นด้านการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ วัฒนธรรม และความเข้าใจอันดีผ่านกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยการ
- พัฒนาบุคลากร เช่น มัคคุเทศก์ ควรมีความรู้ในภาษาเพื่อนบ้าน
- พัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพพิธีการและเอกสารผ่านแดน โดยการมี One Stop Service
- สร้างแรงดึงดูดทางการท่องเที่ยวโดยการเชื่อมดยงทรัพยากรการท่องเที่ยวร่วมกันในกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขงทั้งในเชิงนิเวศน์ มรดกโลก ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและศาสนาให้อยู่ในวงจรเดียวกัน
- ผลักดันความร่วมมือในกรอบสามเหลี่ยมมรกต ให้มีผลชัดเจนในลักษณะ Three Countries One Destination อย่างแท้จริง
ในด้านยุทธศาสตร์การค้า การลงทุน มุ่งเน้นผลประโยชน์ร่วมกัน ที่ประชุมเห็นควรให้
- มีการพัฒนาระบบข้อมูลด้านการค้าโดย "รู้เขา รู้เรา"
- อำนวยความสะดวกและเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการด้านการเจรจาธุรกิจระหว่างประเทศ รวมทั้งทำความเข้าใจกับขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้าน
- ส่งเสริมและอำนวยความสะดวกให้ภาคเอกชนดำเนินการค้าในลักษณะของการส่งออกและนำเข้าสินค้าที่มีศักยภาพ
- ส่งเสริมให้เกิดควมเข้าใจในกฏเกณฑ์ และข้อตกลงต่างๆ ของ Contract Farming
- ส่งเสริมการย้ายฐานการผลิตสำหรับสินค้าที่ประเทศเพื่อนบ้านผลิตได้ในต้นทุนที่ต่ำกว่า
สำหรับประเด็นอื่นๆ ได้แก่ การสร้างความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านในลักษณะของเมืองคู่แฝด ทั้งนี้ ควรเน้นให้มีกิจกรรมอย่างต่อเนื่องหลังจากที่ได้มีการลงนามในความตกลงแล้ว รวมทั้งจัดทำแผนงานและงบประมาณ รองรับกิจกรรม/โครงการที่เป็นความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ภายหลังจากการทำข้อตกลงร่วมกัน
8. ในการประชุมครั้งนี้ ได้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน โดยภาคเอกชนได้มีข้อเสนอแนะดังนี้
8.1 ให้มีการปรับปรุงกฏระเบียบและแนวทางปฏิบัติของส่วนราชการต่างๆ ที่ยังไม่เอื้ออำนวยต่อการค้าการลงทุน เช่น contract farming และให้ภาครัฐทำงานอย่างบูรณาการไปในทิศทางเดียวกัน
8.2 เสนอให้รวมกลุ่มภาคเอกชนเป็น cluster และจัดทำ company profile ของสมาชิกสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมของแต่ละจังหวัดให้เป็นแบบแผนเดียวกัน และเชื่อมโยงกัน
8.3 สร้างเครือข่ายองค์การและข้อมูลของภาคเอกชน/ผู้ประกอบการภายในประเทศ
8.4 จัดทำแผนยุทธศาสตร์การค้าของแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกันในการค้าขายกับต่างประเทศและสร้างจุดเด่นของสินค้าที่มีศักยภาพในการส่งออก โดยต้องประสานกับเอกอัครราชทูตในประเทศเพื่อนบ้าน
8.5 ภาครัฐควรให้การสนับสนุนด้านระบบ logistics และการปรับปรุงระบบ infrastructure
8.6 ควรจัดทำแผนรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจาก EWEC เช่น อาชญากรรมข้ามชาติ ยาเสพติด โรคระบาด
9. ที่ประชุมเห็นประโยชน์จากการเดินทางไปดูงานของจังหวัดในประเทศเพื่อนบ้าน อย่างไรก็ตาม เห็นว่า ควรมีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างจังหวัดกับสถานเอกอัครราชทูต ทั้งนี้ สถานเอกอัครราชทูตและกระทรวงการต่างประเทศสามารถช่วยเหลือในการเตรียมการด้านข้อมูลก่อนออกเดินทาง การจัดทำนัดหมาย เพื่อให้คณะสามารถดำเนินการตามกำหนดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยสรุป การประชุมร่วมกันระหว่างผู้ว่าฯ ซีอีโอ กับทูตซีอีโอ มีประโยชน์อย่างยิ่ง ซีอีโอทั้งสองเห็นร่วมกันว่า ควรมีการประชุมอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ในลักษณะ Retreat (การพบปะหรือการประชุมที่ไม่เป็นทางการ) และอาจจัดกิจกรรมร่วมกัน เช่น กีฬา
กระผมในนามของผู้เข้าร่วมประชุม จึงขอกราบเรียน ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเพื่อทราบ และขอรับแนวนโยบายจากท่านรัฐมนตรีต่อไปด้วย ทั้งนี้ ท่านเอกอัครราชทูต ท่านกงสุลใหญ่ และผู้ว่าราชการจังหวัด พร้อมที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นตามแต่ท่านรัฐมนตรีจะเห็นเหมาะสม"
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ผลการหารือในการประชุมเชิงปฏิบัติการ ระหว่างเอกอัครราชทูตและผู้ว่าราชการจังหวัด ในหัวข้อ "การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว โดยใช้เส้นทางเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจแนว ตะวันออก-ตะวันตก (EWEC)" 29-30 มิถุนายน 2549 ที่โรงแรมโซฟิเทล ราชาออคิด จังหวัดขอนแก่น
เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2549 ในการประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างเอกอัครราชทูตไทยและกงสุลใหญ่ไทยในระบบบูรณาการ (ซีอีโอ) ประจำประเทศเพื่อนบ้านในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง 5 ประเทศ (กัมพูชา พม่า ลาว เวียดนาม จีน) กับผู้ว่าราชการจังหวัดในระบบบูรณาการ (ซีอีโอ) ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือตอนล่าง 24 จังหวัด ที่โรงแรมโซฟิเทล ราชาออคิด ขอนแก่น นายเจตน์ ธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ได้สรุปผลการหารือระหว่างสถานทูตสถานกงสุลไทยต่างๆ กับจังหวัดต่างๆ ดังกล่าวเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2549 รายงานต่อ ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นประธานในการประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าว ดังนี้
"กราบเรียน ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ท่านปลัดกระทรวงมหาดไทย
ท่านเลขาธิการ กพร.
ท่านรองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
เพื่อนข้าราชการ และผู้มีเกียรติทุกท่าน
กระผม นายเจตน์ ธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ได้รับมอบหมายจากที่ประชุมให้นำเสนอผลสรุปและข้อเสนอแนะจากการหารือเมื่อวานนี้ (29 มิถุนายน) ดังต่อไปนี้
1. ที่ประชุมได้รับทราบผลการศึกษาทางวิชาการเกี่ยวกับศักยภาพของเส้นทาง EWEC จากคณาจารย์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งทำหน้าที่เป็น Think Tank ในการทำงานระหว่างผู้ว่าราชการจังหวัด CEO และเอกอัครราชทูต CEO และได้รับทราบแนวนโยบายและศักยภาพของเส้นทาง EWEC จากผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวเป็นประโยชน์มากในการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและเป็นพื้นฐานในการนำเสนอประเด็นสำหรับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของที่ประชุม
ที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น สร้างความเข้าใจในกระบวนการและวิธีการทำงานของผู้ว่าซีอีโอและทูตซีอีโอ ทั้งนี้ บรรยากาศของการหารือมีความเป็นกันเองและตรงไปตรงมาซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อความร่วมมือของซีอีโอทั้งสอง
2. ในการผลักดันยุทธศาสตร์ด้านการค้าการลงทุน และการท่องเที่ยวโดยใช้เส้นทางเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก (East West Economic Corridor) ที่ประชุมเห็นว่า
2.1 ยุทธศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับเส้นทางเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก (EWEC) ต้องมองในภาพกว้างที่เป็นเส้นทางในการเชื่อมกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและเอเชีย กับภูมิภาคอื่นๆ ของโลก โดยเฉพาะเกี่ยวข้องกับประเทศที่มีศักยภาพสูง เช่นจีน และอินเดีย
2.2 ผู้ว่าซีอีโอต้องมองภาพรวมเชื่อมโยงจากท้องถิ่น สู่ระดับสากล (Local Link to Global Reach) ทั้งนี้ จังหวัดและกลุ่มจังหวัดจะมองภาพศักยภาพของตนเองเพื่อเชื่อมโยงกับระดับสากลและปฏิบัติในระดับพื้นที่ (Think Globally Act Locally) ในขณะที่ทูตซีอีโอจะปฏิบัติงานในระดับสากลโดยมุ่งเน้นมุมมองจากระดับสากลเชื่อมโยงสู่พื้นที่
2.3 จังหวัดและกลุ่มจังหวัดต้องวิเคราะห์ศักยภาพและกำหนดบทบาทของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดให้ชัดเจน
3. สำหรับการผลักดันยุทธศาสตร์ EWEC ให้ประสบผลสำเร็จ ที่ประชุมเห็นว่า
3.1 การเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกับประเทศเพื่อนบ้านแต่ละประเทศมีลักษณะที่แตกต่างกัน ดังนั้น ผู้ปฏิบัติจึงต้องมีความเข้าใจในประเด็นที่ละเอียดอ่อนของแต่ละประเทศ และ การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใขต้องทำในทุกระดับทั้งในภาครัฐ เอกชน ประชาชนและสื่อมวลชน ทั้งนี้ต้องพิสูจน์ด้วยการกระทำ มิใช่พูดแต่ทฤษฎี และเมื่อดำเนินการแล้ว ก็ต้องมีความสมดุลย์ อย่าให้ประเด็นความไว้เนื้อเชื่อใจกลายเป็นนายเราในการดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน
3.2 ควรเน้นความสำคัญของ mutual benefits (ผลประโยชน์ร่วมกัน) ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ในการเยือนประเทศเพื่อนบ้านนอกจากจะมุ่งขายสินค้าไทยแล้ว ขอให้พิจารณาเสนอซื้อสินค้าของเพื่อนบ้านด้วย ซึ่งนอกจากจะเป็นการยกระดับประเทศไทยแล้ว ยังเป็นการเพิ่มโอกาสและเอื้อประโยชน์กับเศรษฐกิจกับคนไทยด้วย รวมทั้งแสดงให้เพื่อนบ้านเห็นว่า ไทยไม่คิดที่จะเอาเปรียบฝ่ายเดียว
3.3 ควรกำหนดแนวทางการปฏิบัติและจัดทำคู่มือการติดต่อกับต่างประเทศ
3.4 ควรพัฒนาระบบข้อมูลเกี่ยวกับเพื่อนบ้านไว้ที่ ROC
3.5 การใช้ประโยชน์จากเส้นทาง EWEC ควรมุ่งเป้าหมายในการมีผลประโยชน์เกื้อหนุนกันกับประเทศเพื่อนบ้านในลักษณะ win-win ทั้งนี้ จังหวัดต่างๆ ที่เส้นทาง EWEC พาดผ่านจะต้องหันกลับมาวิเคราะห์ศักยภาพของตนเองในการใช้ประโยชน์จาก EWEC ให้ได้มากที่สุด ทั้งในด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยวและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
3.6 เตรียมความพร้อมของบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจตามเส้นทาง EWEC และความเชื่อมโยงของ EWEC กับศักยภาพของพื้นที่ และการสร้างท้องถิ่นให้เข้มแข็ง
3.7 เพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าที่จะผ่านทาง EWEC ปรับปรุงขั้นตอนศุลกากร ณ จุดชายแดนต่างๆ ให้เป็น One Stop Service โดยอาจจะเริ่มที่จังหวัดหนองคายและขยายผลไปยังจุดชายแดนอื่นๆ
3.8 แม้เส้นทาง EWEC จะมีศักยภาพและประโยชน์ในด้านการค้าการลงทุน อย่างไรก็ดี ก็มีข้อสังเกตว่าภาคกลางของเวียดนามซึ่งเป็นจุดเชื่อมโยงสำคัญของ EWEC ยังเป็นภาคที่ยากจนที่สุด ดังนั้น การค้าการลงทุนจึงควรพิจารณาในลักษณะเชื่อมโยงกับศักยภาพของภาคเหนือและภาคใต้ด้วย
4. สำหรับกลไกการประสานงานร่วมระหว่างผู้ว่าซีอีโอและทูตซีอีโอ (ศูนย์ ROC) ที่ประชุมมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบทบาทของ ROC ว่า ROC จะมีส่วนช่วยอย่างมากในการส่งเสริมการทำงานเป็นเนื้อเดียวกันของเอกอัครราชทูตและผู้ว่าราชการจังหวัดในหลายลักษณะ เช่น
- เป็นศูนย์ประสานงานระหว่างผู้ว่าซีอีโอกับทูตซีอีโอ ในลักษณะสำนักงานการต่างประเทศของกลุ่มจังหวัด/จังหวัด
- เป็นศูนย์สารสนเทศเกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน
- เสริมสร้างความเข้าใจและช่วยเหลือในการดำเนินงานของผู้ว่าซีอีโอที่เกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน
- เป็นศูนย์ประสานงานและจัดทำปฏิทินรวมของแผนงานและกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับประเทศเพื่อนบ้านของกลุ่มจังหวัด/จังหวัด
- ช่วยพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรของจังหวัดในด้านเกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน
5. อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมเห็นว่า การที่ ROC จะทำงานได้ประสบความสำเร็จ จะต้องได้รับการสนับสนุนอย่างน้อย 3 ประการ (1) มีกฏหมายรองรับ เช่น มติ ครม. (2) มีงบประมาณรองรับที่ชัดเจน (3) มีการพัฒนาตัวชี้วัดผลงานของจังหวัด CEO และสถานเอกอัครราชทูต CEO โดยให้ความสำคัญกับกิจกรรมที่มีส่วนในการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ
6.สำหรับตัวอย่างกิจกรรมร่วมระหว่างผู้ว่าซีอีโอและทูตซีอีโอ เช่น
6.1 การรวบรวม ส่งผ่าน และพัฒนาระบบข้อมูลเกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านต่างๆ ที่ผู้ว่าซีอีโอต้องใช้ประกอบในการกำหนดกิจกรรมร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ข้อมูลเศรษฐกิจ การค้าสินค้า บริการ ที่ประเทศนั้นๆ ต้องการจากประเทศไทย และความคาดหวังที่ประเทศเหล่านั้นต้องการจากประเทศไทย
6.2 การสร้างความรู้ความเข้าใจในหลักสากลของการตจิดต่อค้าขาย และวัฒนธรรมของระบบการค้าการลงทุนของประเทศเพื่อนบ้าน
6.3 การพัฒนาระบบการติดต่อค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่ออำนวยความสะดวกและสร้างความมั่นใจให้กับภาคเอกชนในทางปฏิบัติ
6.4 การพัฒนาบุคลากรด้านวิเทศสัมพันธ์ของจังหวัด
7. ที่ประชุมมีข้อเสนอเกี่ยวกับสาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การท่องเที่ยวและการค้าการลงทุนในกรอบ EWEC ดังนี้
การผลักดันยุทธศาสตร์หลักที่เชื่อมโยงกับ EWEC ควรเริ่มต้นจากยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งรวมถึงการศึกษาและวัฒนธรรม โดยใช้ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวและบริการเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และถ่ายทอดวัฒนธรรมระหว่างกัน ซึ่งการศึกษาและวัฒนธรรมที่แน่นแฟ้นจะเป็นตัวเชื่อมโยงไปถึงการผลักดันยุทธศาสตร์ด้านการค้า การลงทุน ได้ง่ายขึ้น
ในด้านยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนมนุษย์ ควรมุ่งเน้นการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจโดยอาศัยกิจกรรมดังต่อไปนี้
- ส่งเสริมให้มีการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาเกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านในสถาบันการศึกษาระดับสูง เช่น หลักสูตรภาษาและวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง โดยให้สถาบันการศึกษาที่มีศักยภาพรับผิดชอบพัฒนหลักสูตร โดยรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนในเรื่องของทุนการศึกษา สำหรับการแลกเปลี่ยนนักศึกษา และอาจารย์ บุคลากร ระหว่างมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนและสถาบันการศึกษาในประเทศที่เป็นเจ้าของภาษา
- ผลักดันให้กระทรวงศึกษาธิการบรรจุหลักสูตรการเรียนการสอนเกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และส่งเสริมให้นักเรียนนักศึกษาได้เรียนภาษาเพื่อนบ้านเป็นภาษาที่สอง
- รัฐบาลควรจัดให้มีทุนการศึกษาเพื่อสนับสนุนให้บุคลากรไปศึกษาต่อ หรือทำวิจัยในประเทศเพื่อนบ้าน และให้ทุนบุคลากรในประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาศึกษาวิจัยในประเทศไทย
- ผลักดันให้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมภาคประชาชนระหว่างประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ทั้งนี้ โดยมองว่าความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดระหว่างประชาชนจะนำมาสู่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ดี
- ส่งเสริมกิจกรรมกีฬาและนันทนาการระหว่างบุคลากรทุกระดับของประเทศในอนุภูมิภาคฯ เพื่อมิตรภาพและความเข้าใจอันดีระหว่างกัน
ในด้านยุทธศาสตร์ท่องเที่ยว ควรมุ่งเน้นด้านการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ วัฒนธรรม และความเข้าใจอันดีผ่านกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยการ
- พัฒนาบุคลากร เช่น มัคคุเทศก์ ควรมีความรู้ในภาษาเพื่อนบ้าน
- พัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพพิธีการและเอกสารผ่านแดน โดยการมี One Stop Service
- สร้างแรงดึงดูดทางการท่องเที่ยวโดยการเชื่อมดยงทรัพยากรการท่องเที่ยวร่วมกันในกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขงทั้งในเชิงนิเวศน์ มรดกโลก ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและศาสนาให้อยู่ในวงจรเดียวกัน
- ผลักดันความร่วมมือในกรอบสามเหลี่ยมมรกต ให้มีผลชัดเจนในลักษณะ Three Countries One Destination อย่างแท้จริง
ในด้านยุทธศาสตร์การค้า การลงทุน มุ่งเน้นผลประโยชน์ร่วมกัน ที่ประชุมเห็นควรให้
- มีการพัฒนาระบบข้อมูลด้านการค้าโดย "รู้เขา รู้เรา"
- อำนวยความสะดวกและเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการด้านการเจรจาธุรกิจระหว่างประเทศ รวมทั้งทำความเข้าใจกับขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้าน
- ส่งเสริมและอำนวยความสะดวกให้ภาคเอกชนดำเนินการค้าในลักษณะของการส่งออกและนำเข้าสินค้าที่มีศักยภาพ
- ส่งเสริมให้เกิดควมเข้าใจในกฏเกณฑ์ และข้อตกลงต่างๆ ของ Contract Farming
- ส่งเสริมการย้ายฐานการผลิตสำหรับสินค้าที่ประเทศเพื่อนบ้านผลิตได้ในต้นทุนที่ต่ำกว่า
สำหรับประเด็นอื่นๆ ได้แก่ การสร้างความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านในลักษณะของเมืองคู่แฝด ทั้งนี้ ควรเน้นให้มีกิจกรรมอย่างต่อเนื่องหลังจากที่ได้มีการลงนามในความตกลงแล้ว รวมทั้งจัดทำแผนงานและงบประมาณ รองรับกิจกรรม/โครงการที่เป็นความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ภายหลังจากการทำข้อตกลงร่วมกัน
8. ในการประชุมครั้งนี้ ได้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน โดยภาคเอกชนได้มีข้อเสนอแนะดังนี้
8.1 ให้มีการปรับปรุงกฏระเบียบและแนวทางปฏิบัติของส่วนราชการต่างๆ ที่ยังไม่เอื้ออำนวยต่อการค้าการลงทุน เช่น contract farming และให้ภาครัฐทำงานอย่างบูรณาการไปในทิศทางเดียวกัน
8.2 เสนอให้รวมกลุ่มภาคเอกชนเป็น cluster และจัดทำ company profile ของสมาชิกสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมของแต่ละจังหวัดให้เป็นแบบแผนเดียวกัน และเชื่อมโยงกัน
8.3 สร้างเครือข่ายองค์การและข้อมูลของภาคเอกชน/ผู้ประกอบการภายในประเทศ
8.4 จัดทำแผนยุทธศาสตร์การค้าของแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกันในการค้าขายกับต่างประเทศและสร้างจุดเด่นของสินค้าที่มีศักยภาพในการส่งออก โดยต้องประสานกับเอกอัครราชทูตในประเทศเพื่อนบ้าน
8.5 ภาครัฐควรให้การสนับสนุนด้านระบบ logistics และการปรับปรุงระบบ infrastructure
8.6 ควรจัดทำแผนรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจาก EWEC เช่น อาชญากรรมข้ามชาติ ยาเสพติด โรคระบาด
9. ที่ประชุมเห็นประโยชน์จากการเดินทางไปดูงานของจังหวัดในประเทศเพื่อนบ้าน อย่างไรก็ตาม เห็นว่า ควรมีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างจังหวัดกับสถานเอกอัครราชทูต ทั้งนี้ สถานเอกอัครราชทูตและกระทรวงการต่างประเทศสามารถช่วยเหลือในการเตรียมการด้านข้อมูลก่อนออกเดินทาง การจัดทำนัดหมาย เพื่อให้คณะสามารถดำเนินการตามกำหนดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยสรุป การประชุมร่วมกันระหว่างผู้ว่าฯ ซีอีโอ กับทูตซีอีโอ มีประโยชน์อย่างยิ่ง ซีอีโอทั้งสองเห็นร่วมกันว่า ควรมีการประชุมอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ในลักษณะ Retreat (การพบปะหรือการประชุมที่ไม่เป็นทางการ) และอาจจัดกิจกรรมร่วมกัน เช่น กีฬา
กระผมในนามของผู้เข้าร่วมประชุม จึงขอกราบเรียน ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเพื่อทราบ และขอรับแนวนโยบายจากท่านรัฐมนตรีต่อไปด้วย ทั้งนี้ ท่านเอกอัครราชทูต ท่านกงสุลใหญ่ และผู้ว่าราชการจังหวัด พร้อมที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นตามแต่ท่านรัฐมนตรีจะเห็นเหมาะสม"
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-