เดือนเมษายน 2549 เศรษฐกิจภาคเหนือโดยรวมชะลอตัวจากเดือนก่อน ด้านอุปสงค์ การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคชะลอตัวลงแต่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี ภาวะการลงทุนภาคเอกชนลดลงตามภาคก่อสร้าง ขณะที่มูลค่าการส่งออกและนำเข้าลดลง ด้านอุปทาน รายได้เกษตรกรขยายตัวในเกณฑ์ดีจากผลผลิตที่เร่งตัวขึ้น การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ภาคบริการปรับตัวดีขึ้น ดัชนีราคาผู้บริโภคเร่งตัวขึ้นตามราคาน้ำมันเป็นสำคัญ ส่วนเงินฝากและสินเชื่อขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจ มีดังนี้
1. ภาคเกษตร เดือนเมษายน 2549 รายได้เกษตรกรขยายตัวในเกณฑ์ดีโดยเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 10.8 แต่ชะลอลงเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.3 เดือนก่อนหน้า โดยผลผลิตพืชผลสำคัญเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 เร่งตัวจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน ตามผลผลิตข้าวนาปรังและมันสำปะหลังที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 และร้อยละ 16.3 ตามลำดับ เนื่องจากราคาปีก่อนจูงใจประกอบกับสภาพอากาศเอื้ออำนวย ขณะที่ถั่วเหลืองเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 จากความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์ ส่วนกระเทียมลดลงร้อยละ 13.1 ตามนโยบายการปรับลดพื้นที่ปลูกของภาครัฐเป็นสำคัญ ด้านราคาพืชผล เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากราคาพืชสำคัญปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ อ้อยโรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.8 ตามราคาน้ำตาลในตลาดโลกและราคาอ้อยขั้นต้น กระเทียมแห้งใหญ่คละเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.8 จากปริมาณผลผลิตที่ลดลง และหอมแดงแห้งใหญ่คละมีราคาเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวตามความต้องการใช้ทั้งในและต่างประเทศ ขณะที่ราคาข้าวนาปรังใกล้เคียงกันกับระยะเดียวกันปีก่อน
2. ภาคอุตสาหกรรม เดือนเมษายน 2549 การผลิตภาคอุตสาหกรรมในภาคเหนือขยายตัวในอัตราชะลอลง โดยอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อส่งออกในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.2 เหลือ 145.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการลดลงของสินค้าประเภทเครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้าและเครื่องจักรกล ส่วนทรานฟอร์เมอร์และมอเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทสื่อบันทึก และอัญมณียังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี สำหรับการผลิตวัสดุก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 11.0 เร่งตัวจากที่ลดลงร้อยละ 11.3 เดือนก่อน เนื่องจากลูกค้าเร่งสั่งซื้อล่วงหน้าเพื่อสต็อกไว้เพราะคาดว่าราคาสินค้าวัสดุก่อสร้างจะปรับเพิ่มขึ้น การผลิตน้ำตาลเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนกว่า 4 เท่าตัว เป็น 6.0 พันเมตริกตัน เป็นผลจากโรงงานน้ำตาลปิดหีบล่าช้ากว่าปีก่อน อย่างไรก็ตาม ผลผลิตน้ำตาลรวมของฤดูกาลนี้ลดลงร้อยละ 1.1 เหลือ 1,420.4 พันเมตริกตัน เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 21.6 ปีก่อน
3. ภาคบริการ เดือนเมษายน 2549 ภาคบริการปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลสงกรานต์ เครื่องชี้สำคัญของภาคบริการ ได้แก่ จำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 เป็น 335,800 คน ชะลอลงเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7 ระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการลดเที่ยวบินของสายการบินไปจังหวัดแม่ฮ่องสอนและพิษณุโลก ทางด้านอัตราการเข้าพักเฉลี่ยร้อยละ 45.8 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเทียบกับอัตราเฉลี่ยร้อยละ 45.1 ระยะเดียวกันปีก่อน สำหรับราคาห้องพักเฉลี่ยของโรงแรมเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนเพียงร้อยละ 1.0 เป็น 981.5 บาทต่อคืน อย่างไรก็ดี นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศบางส่วนเลื่อนการเดินทางมาไทย เนื่องจากความกังวลในสถานการณ์การเมืองช่วงก่อนหน้า ขณะที่นักท่องเที่ยวชาวไทยระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้นจากผลกระทบของราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน เดือนเมษายน 2549 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนของภาคเหนือขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดีแต่ชะลอลงจากเดือนก่อน ตามปริมาณการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.0 ชะลอลงเทียบกับเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.2 เดือนก่อน ตามการเพิ่มขึ้นของภาษีหมวดค้าส่งค้าปลีกและหมวดอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ สำหรับเครื่องชี้ทางด้านยานพาหนะลดลงตามปริมาณการจดทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.2 และรถจักรยานยนต์มียอดจดทะเบียนลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.9 เป็นผลจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องประกอบกับผู้บริโภคมีการระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น
5. การลงทุนภาคเอกชน เดือนเมษายน 2549 การลงทุนภาคเอกชนลดลงจากเดือนก่อนและระยะเดียวกัน ปีก่อน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มลดลง ประกอบกับผู้ประกอบการมีความกังวลทางด้านต้นทุนที่ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาวัสดุก่อสร้าง และความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมือง โดยเฉพาะการลงทุนเพื่อการก่อสร้างซึ่งลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน พิจารณาจากพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลลดลงร้อยละ 34.1 เทียบกับลดลงร้อยละ 18.5 เดือนก่อน สอดคล้องกับเครื่องชี้ทางด้านธุรกรรมการซื้อขายที่ดินได้แก่ ค่าธรรมเนียมขายและขายฝากที่ดินซึ่งลดลงร้อยละ 16.6 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 7.9 เดือนก่อน แม้ว่ายอดจำหน่ายวัสดุก่อสร้างจะเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนก็ตาม ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเร่ง สต็อกสินค้าเนื่องจากราคาวัสดุก่อสร้างมีแนวโน้มปรับขึ้นตามต้นทุนที่สูงขึ้น ส่วนการลงทุนเพื่อการผลิต มูลค่าการนำเข้าเครื่องจักรและส่วนประกอบลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 43.0 อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการลงทุนในโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนกลับเพิ่มขึ้นในเกณฑ์สูงเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นการขอขยายการลงทุนในโครงการเดิมเป็นสำคัญ
6. การค้าต่างประเทศ เดือนเมษายน 2549 มูลค่าการส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.6 เหลือ 200.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการลดลงของมูลค่าการส่งออกผ่านด่านศุลกากรลำพูน เป็นสำคัญ โดยลดลงร้อยละ 2.2 เหลือ 145.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. สินค้าส่งออกสำคัญที่ลดลงได้แก่ แผงวงจรสำเร็จรูป แผ่นดิสก์ที่ยังไม่ได้บันทึก และวงจรดิจิตัล ส่วนอัญมณีและทรานฟอร์เมอร์และมอเตอร์ มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น ทางด้านมูลค่าการส่งออกผ่านด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 17.7 เป็น 17.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอลงจากเดือนก่อนตามการส่งออกสินค้าสำคัญ ได้แก่ ชุดสายไฟหัวจานจ่าย มะเขือดอง และเครื่องประดับเงิน สำหรับมูลค่าการส่งออกผ่านด่านศุลกากรตามแนวชายแดนลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.0 เหลือ 37.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนหนึ่งเป็นผลจากกำลังซื้อของพม่าลดลงเนื่องจากอัตราเงินเฟ้ออยู่ในเกณฑ์สูงประกอบกับค่าเงินจัตอ่อนตัวเมื่อเทียบกับเงินบาท โดยมูลค่าสินค้าส่งออกไปพม่าและจีนตอนใต้ลดลงร้อยละ 6.9 และร้อยละ 51.2 ตามลำดับ ตามการลดลงของสินค้าประเภท ผลิตภัณฑ์ยาง(ยางรถยนต์) ผลิตภัณฑ์พืชสวน น้ำมันพืช ผลิตภัณฑ์พลาสติกและเรซิน ส่วนการส่งออกไปลาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 49.7 เป็น 2.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการส่งออกวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ก่อสร้างถนน
มูลค่าการนำเข้าผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.7 เหลือ 128.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. มูลค่าการนำเข้าผ่านด่านศุลกากรลำพูน ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.8 เหลือ 115.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้าสินค้าประเภทวัตถุดิบลดลง ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ และชิ้นส่วนแผงวงจรไฟฟ้า โดยลดลงร้อยละ 11.6 และร้อยละ 14.1 ตามลำดับ ส่วนการนำเข้า เพชรพลอย และอัญมณียังเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.5 ตามการผลิตเพื่อการส่งออกที่ขยายตัวในเกณฑ์ดี ขณะที่มูลค่าการนำเข้าผ่านด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัว เป็น 6.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. แต่ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า สินค้าสำคัญที่นำเข้าได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องเพชรพลอย และเครื่องใช้ในครัวเรือน สำหรับมูลค่าการนำเข้าด่านศุลกากรตามแนวชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.9 เป็น 6.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยนำเข้าเพิ่มขึ้นทั้งจากพม่า ลาว และจีนตอนใต้ โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.3 ร้อยละ 32.4 และร้อยละ 48.6 ตามลำดับ ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของสินค้าประเภทไม้และเฟอร์นิเจอร์ ผลิตภัณฑ์พืชสวน และผลิตภัณฑ์สิ่งทอ เป็นสำคัญ
ดุลการค้า ในเดือนเมษายน 2549 เกินดุล 72.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อนที่เกินดุล 90 ล้านดอลลาร์ สรอ.และ 76.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามลำดับ
7. ระดับราคา เดือนเมษายน 2549 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 เร่งตัวขึ้นเทียบกับเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 เดือนก่อน เนื่องจากการสูงขึ้นของราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 7.2 ตามการปรับเพิ่มขึ้นของราคาผักสด ผลไม้ เป็ดไก่สำเร็จรูป น้ำตาลทราย และอาหารสำเร็จรูป สำหรับหมวดอื่นๆไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ราคาสูงขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.2 สินค้าและบริการสำคัญที่มีราคาสูงขึ้นได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิงราคาสูงขึ้นร้อยละ 25.6 ส่งผลให้ค่าโดยสารสาธารณะเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 24.3 และค่ากระแสไฟฟ้าสูงขึ้นร้อยละ 9.5 ทางด้านดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 เทียบกับเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 เดือนก่อนหน้าและเร่งตัวขึ้นเทียบกับเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.7 ระยะเดียวกันปีก่อน
8. การจ้างงาน ในเดือนมีนาคม 2549 ภาคเหนือมีกำลังแรงงานรวม 6.52 ล้านคน ขณะที่มีอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.2 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงเทียบกับร้อยละ 2.0 ระยะเดียวกันปีก่อน โดยการจ้างงานในภาคเกษตรขยายตัวร้อยละ 5.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากอยู่ในฤดูเก็บเกี่ยวพืชผลประกอบกับภาคเกษตรไม่ได้ประสบภาวะแห้งแล้งเช่นปีก่อน ส่วนการจ้างงานนอกภาคเกษตรลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.3 ตามการลดลงของการจ้างงานในสาขาโรงแรมและภัตตาคาร อุตสาหกรรม และการขายส่งและขายปลีก
9. การเงิน เงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2549 มียอดคงค้างทั้งสิ้น 320,860 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.1 เร่งตัวขึ้นเทียบกับเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 เดือนก่อน (ไม่รวมธนาคารพาณิชย์ใหม่ขยายตัวร้อยละ 4.8) ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของเงินฝากส่วนราชการ ประกอบกับธนาคารพาณิชย์ใช้กลยุทธ์การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพื่อจูงใจให้มีการฝากเงินมากขึ้น โดยเงินฝากเพิ่มขึ้นมากในจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง กำแพงเพชรและเพชรบูรณ์ ทางด้านสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ มียอดค้าง 255,412 ล้านบาท ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.5 (ไม่รวมธนาคารพาณิชย์ใหม่ขยายตัวร้อยละ 6.9) ทั้งนี้เป็นการให้สินเชื่อประเภท เช่าซื้อ โครงการบ้านจัดสรร อพาร์ตเมนท์ รีสอร์ทและสปา พืชผลเกษตร สหกรณ์ออมทรัพย์ครู โรงสีข้าว โครงการก่อสร้างหอพักในจังหวัดเชียงใหม่ นครสวรรค์ พิษณุโลกและพิจิตร
สำหรับสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ระดับร้อยละ 79.6 สูงขึ้นเทียบกับร้อยละ 74.5 ระยะเดียวกันปีก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจ มีดังนี้
1. ภาคเกษตร เดือนเมษายน 2549 รายได้เกษตรกรขยายตัวในเกณฑ์ดีโดยเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 10.8 แต่ชะลอลงเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.3 เดือนก่อนหน้า โดยผลผลิตพืชผลสำคัญเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 เร่งตัวจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน ตามผลผลิตข้าวนาปรังและมันสำปะหลังที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 และร้อยละ 16.3 ตามลำดับ เนื่องจากราคาปีก่อนจูงใจประกอบกับสภาพอากาศเอื้ออำนวย ขณะที่ถั่วเหลืองเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 จากความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์ ส่วนกระเทียมลดลงร้อยละ 13.1 ตามนโยบายการปรับลดพื้นที่ปลูกของภาครัฐเป็นสำคัญ ด้านราคาพืชผล เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากราคาพืชสำคัญปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ อ้อยโรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.8 ตามราคาน้ำตาลในตลาดโลกและราคาอ้อยขั้นต้น กระเทียมแห้งใหญ่คละเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.8 จากปริมาณผลผลิตที่ลดลง และหอมแดงแห้งใหญ่คละมีราคาเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวตามความต้องการใช้ทั้งในและต่างประเทศ ขณะที่ราคาข้าวนาปรังใกล้เคียงกันกับระยะเดียวกันปีก่อน
2. ภาคอุตสาหกรรม เดือนเมษายน 2549 การผลิตภาคอุตสาหกรรมในภาคเหนือขยายตัวในอัตราชะลอลง โดยอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อส่งออกในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.2 เหลือ 145.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการลดลงของสินค้าประเภทเครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้าและเครื่องจักรกล ส่วนทรานฟอร์เมอร์และมอเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทสื่อบันทึก และอัญมณียังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี สำหรับการผลิตวัสดุก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 11.0 เร่งตัวจากที่ลดลงร้อยละ 11.3 เดือนก่อน เนื่องจากลูกค้าเร่งสั่งซื้อล่วงหน้าเพื่อสต็อกไว้เพราะคาดว่าราคาสินค้าวัสดุก่อสร้างจะปรับเพิ่มขึ้น การผลิตน้ำตาลเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนกว่า 4 เท่าตัว เป็น 6.0 พันเมตริกตัน เป็นผลจากโรงงานน้ำตาลปิดหีบล่าช้ากว่าปีก่อน อย่างไรก็ตาม ผลผลิตน้ำตาลรวมของฤดูกาลนี้ลดลงร้อยละ 1.1 เหลือ 1,420.4 พันเมตริกตัน เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 21.6 ปีก่อน
3. ภาคบริการ เดือนเมษายน 2549 ภาคบริการปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลสงกรานต์ เครื่องชี้สำคัญของภาคบริการ ได้แก่ จำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 เป็น 335,800 คน ชะลอลงเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7 ระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการลดเที่ยวบินของสายการบินไปจังหวัดแม่ฮ่องสอนและพิษณุโลก ทางด้านอัตราการเข้าพักเฉลี่ยร้อยละ 45.8 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเทียบกับอัตราเฉลี่ยร้อยละ 45.1 ระยะเดียวกันปีก่อน สำหรับราคาห้องพักเฉลี่ยของโรงแรมเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนเพียงร้อยละ 1.0 เป็น 981.5 บาทต่อคืน อย่างไรก็ดี นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศบางส่วนเลื่อนการเดินทางมาไทย เนื่องจากความกังวลในสถานการณ์การเมืองช่วงก่อนหน้า ขณะที่นักท่องเที่ยวชาวไทยระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้นจากผลกระทบของราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน เดือนเมษายน 2549 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนของภาคเหนือขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดีแต่ชะลอลงจากเดือนก่อน ตามปริมาณการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.0 ชะลอลงเทียบกับเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.2 เดือนก่อน ตามการเพิ่มขึ้นของภาษีหมวดค้าส่งค้าปลีกและหมวดอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ สำหรับเครื่องชี้ทางด้านยานพาหนะลดลงตามปริมาณการจดทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.2 และรถจักรยานยนต์มียอดจดทะเบียนลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.9 เป็นผลจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องประกอบกับผู้บริโภคมีการระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น
5. การลงทุนภาคเอกชน เดือนเมษายน 2549 การลงทุนภาคเอกชนลดลงจากเดือนก่อนและระยะเดียวกัน ปีก่อน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มลดลง ประกอบกับผู้ประกอบการมีความกังวลทางด้านต้นทุนที่ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาวัสดุก่อสร้าง และความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมือง โดยเฉพาะการลงทุนเพื่อการก่อสร้างซึ่งลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน พิจารณาจากพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลลดลงร้อยละ 34.1 เทียบกับลดลงร้อยละ 18.5 เดือนก่อน สอดคล้องกับเครื่องชี้ทางด้านธุรกรรมการซื้อขายที่ดินได้แก่ ค่าธรรมเนียมขายและขายฝากที่ดินซึ่งลดลงร้อยละ 16.6 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 7.9 เดือนก่อน แม้ว่ายอดจำหน่ายวัสดุก่อสร้างจะเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนก็ตาม ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเร่ง สต็อกสินค้าเนื่องจากราคาวัสดุก่อสร้างมีแนวโน้มปรับขึ้นตามต้นทุนที่สูงขึ้น ส่วนการลงทุนเพื่อการผลิต มูลค่าการนำเข้าเครื่องจักรและส่วนประกอบลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 43.0 อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการลงทุนในโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนกลับเพิ่มขึ้นในเกณฑ์สูงเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นการขอขยายการลงทุนในโครงการเดิมเป็นสำคัญ
6. การค้าต่างประเทศ เดือนเมษายน 2549 มูลค่าการส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.6 เหลือ 200.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการลดลงของมูลค่าการส่งออกผ่านด่านศุลกากรลำพูน เป็นสำคัญ โดยลดลงร้อยละ 2.2 เหลือ 145.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. สินค้าส่งออกสำคัญที่ลดลงได้แก่ แผงวงจรสำเร็จรูป แผ่นดิสก์ที่ยังไม่ได้บันทึก และวงจรดิจิตัล ส่วนอัญมณีและทรานฟอร์เมอร์และมอเตอร์ มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น ทางด้านมูลค่าการส่งออกผ่านด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 17.7 เป็น 17.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอลงจากเดือนก่อนตามการส่งออกสินค้าสำคัญ ได้แก่ ชุดสายไฟหัวจานจ่าย มะเขือดอง และเครื่องประดับเงิน สำหรับมูลค่าการส่งออกผ่านด่านศุลกากรตามแนวชายแดนลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.0 เหลือ 37.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนหนึ่งเป็นผลจากกำลังซื้อของพม่าลดลงเนื่องจากอัตราเงินเฟ้ออยู่ในเกณฑ์สูงประกอบกับค่าเงินจัตอ่อนตัวเมื่อเทียบกับเงินบาท โดยมูลค่าสินค้าส่งออกไปพม่าและจีนตอนใต้ลดลงร้อยละ 6.9 และร้อยละ 51.2 ตามลำดับ ตามการลดลงของสินค้าประเภท ผลิตภัณฑ์ยาง(ยางรถยนต์) ผลิตภัณฑ์พืชสวน น้ำมันพืช ผลิตภัณฑ์พลาสติกและเรซิน ส่วนการส่งออกไปลาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 49.7 เป็น 2.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการส่งออกวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ก่อสร้างถนน
มูลค่าการนำเข้าผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.7 เหลือ 128.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. มูลค่าการนำเข้าผ่านด่านศุลกากรลำพูน ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.8 เหลือ 115.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้าสินค้าประเภทวัตถุดิบลดลง ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ และชิ้นส่วนแผงวงจรไฟฟ้า โดยลดลงร้อยละ 11.6 และร้อยละ 14.1 ตามลำดับ ส่วนการนำเข้า เพชรพลอย และอัญมณียังเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.5 ตามการผลิตเพื่อการส่งออกที่ขยายตัวในเกณฑ์ดี ขณะที่มูลค่าการนำเข้าผ่านด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัว เป็น 6.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. แต่ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า สินค้าสำคัญที่นำเข้าได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องเพชรพลอย และเครื่องใช้ในครัวเรือน สำหรับมูลค่าการนำเข้าด่านศุลกากรตามแนวชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.9 เป็น 6.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยนำเข้าเพิ่มขึ้นทั้งจากพม่า ลาว และจีนตอนใต้ โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.3 ร้อยละ 32.4 และร้อยละ 48.6 ตามลำดับ ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของสินค้าประเภทไม้และเฟอร์นิเจอร์ ผลิตภัณฑ์พืชสวน และผลิตภัณฑ์สิ่งทอ เป็นสำคัญ
ดุลการค้า ในเดือนเมษายน 2549 เกินดุล 72.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อนที่เกินดุล 90 ล้านดอลลาร์ สรอ.และ 76.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามลำดับ
7. ระดับราคา เดือนเมษายน 2549 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 เร่งตัวขึ้นเทียบกับเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 เดือนก่อน เนื่องจากการสูงขึ้นของราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 7.2 ตามการปรับเพิ่มขึ้นของราคาผักสด ผลไม้ เป็ดไก่สำเร็จรูป น้ำตาลทราย และอาหารสำเร็จรูป สำหรับหมวดอื่นๆไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ราคาสูงขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.2 สินค้าและบริการสำคัญที่มีราคาสูงขึ้นได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิงราคาสูงขึ้นร้อยละ 25.6 ส่งผลให้ค่าโดยสารสาธารณะเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 24.3 และค่ากระแสไฟฟ้าสูงขึ้นร้อยละ 9.5 ทางด้านดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 เทียบกับเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 เดือนก่อนหน้าและเร่งตัวขึ้นเทียบกับเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.7 ระยะเดียวกันปีก่อน
8. การจ้างงาน ในเดือนมีนาคม 2549 ภาคเหนือมีกำลังแรงงานรวม 6.52 ล้านคน ขณะที่มีอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.2 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงเทียบกับร้อยละ 2.0 ระยะเดียวกันปีก่อน โดยการจ้างงานในภาคเกษตรขยายตัวร้อยละ 5.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากอยู่ในฤดูเก็บเกี่ยวพืชผลประกอบกับภาคเกษตรไม่ได้ประสบภาวะแห้งแล้งเช่นปีก่อน ส่วนการจ้างงานนอกภาคเกษตรลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.3 ตามการลดลงของการจ้างงานในสาขาโรงแรมและภัตตาคาร อุตสาหกรรม และการขายส่งและขายปลีก
9. การเงิน เงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2549 มียอดคงค้างทั้งสิ้น 320,860 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.1 เร่งตัวขึ้นเทียบกับเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 เดือนก่อน (ไม่รวมธนาคารพาณิชย์ใหม่ขยายตัวร้อยละ 4.8) ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของเงินฝากส่วนราชการ ประกอบกับธนาคารพาณิชย์ใช้กลยุทธ์การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพื่อจูงใจให้มีการฝากเงินมากขึ้น โดยเงินฝากเพิ่มขึ้นมากในจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง กำแพงเพชรและเพชรบูรณ์ ทางด้านสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ มียอดค้าง 255,412 ล้านบาท ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.5 (ไม่รวมธนาคารพาณิชย์ใหม่ขยายตัวร้อยละ 6.9) ทั้งนี้เป็นการให้สินเชื่อประเภท เช่าซื้อ โครงการบ้านจัดสรร อพาร์ตเมนท์ รีสอร์ทและสปา พืชผลเกษตร สหกรณ์ออมทรัพย์ครู โรงสีข้าว โครงการก่อสร้างหอพักในจังหวัดเชียงใหม่ นครสวรรค์ พิษณุโลกและพิจิตร
สำหรับสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ระดับร้อยละ 79.6 สูงขึ้นเทียบกับร้อยละ 74.5 ระยะเดียวกันปีก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--