ข้อตกลงว่าด้วยการค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ( Multifibre Arrangement:MFA ) ขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO ) ซึ่งกำหนดให้ประเทศสมาชิกต้องยกเลิกโควต้านำเข้าสิ่งทอ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 ส่งผลให้การค้าสิ่งทอโลกมีแนวโน้มเปิดกว้างและมีความเป็นเสรีมากขึ้น ทำให้ประเทศสมาชิก WTO หลายประเทศซึ่งเป็นผู้ส่งออกสิ่งทอรายสำคัญเริ่มวิตกถึงการแข่งขันที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะคู่แข่งอย่างประเทศจีนที่มีความสามารถในการแข่งขันสูงทั้งด้านต้นทุนการผลิตที่อยู่ในระดับต่ำและคุณภาพของสินค้าที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นลำดับ
ในบรรดาประเทศที่พึ่งพิงการส่งออก สิ่งทอเป็นรายได้หลักของประเทศ กัมพูชา เป็นประเทศหนึ่งที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบค่อนข้างรุนแรงจากการยกเลิกโควตานำเข้าสิ่งทอทั้งนี้ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมามูลค่าส่งออกสิ่งทอของกัมพูชาขยายตัวเฉลี่ยสูงขึ้น 11% ต่อปี ขณะที่ผลผลิตสิ่งทอคิดเป็น 12% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(Gross Domestic Product:GDP) และแรงงานในอุตสาหกรรมสิ่งทอมีสัดส่วนสูงถึง 65% ของแรงงานทั้งหมดในภาคอุตสาหกรรม
เป็นที่น่าสังเกตว่ามูลค่าส่งออกสิ่งทอของกัมพูชาที่ขยายตัวในระดับที่น่าพอใจในช่วงที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยภายนอก โดยเฉพาะการที่สหรัฐฯ และ EU ใช้มาตรการปกป้องตลาดกับสิ่งทอของจีน ดังนั้น เมื่อมาตรการดังกล่าวสิ้นสุดลงในช่วงสิ้นปี 2551 สิ่งทอของกัมพูชาจะต้องเผชิญกับการแข่งขัน อย่างเต็มรูปแบบกับสิ่งทอของจีน ซึ่งจัดเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวเป็นลำดับต้นๆ ของกัมพูชานอกจากนี้ การเข้าเป็นสมาชิก WTO ของเวียดนามอาจทำให้สิ่งทอของกัมพูชาต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงและลำบากยิ่งขึ้น เนื่องจากปัจจุบันอุตสาหกรรมสิ่งทอของกัมพูชา ยังมีความล้าหลังอยู่มาก เห็นได้จากสัดส่วน โรงงานสิ่งทอในกัมพูชาที่มีประสิทธิภาพในการผลิตและมีระบบการจัดการที่เป็นสากลมีเพียง 7% ของโรงงานสิ่งทอทั้งหมด นอกจากนี้ แม้ค่าจ้างแรงงานในกัมพูชา จะมีราคาถูกแต่ต้นทุนปัจจัยการผลิตพื้นฐานอื่นๆ อาทิ ค่าไฟฟ้าและค่าขนส่งกลับอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ อีกทั้งขั้นตอนการส่งออกของกัมพูชายังล้าสมัยและมีความซับซ้อน ส่งผลให้ผู้ส่งออกมีค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกราว 5% ของมูลค่าส่งออกทั้งหมด ปัญหาเหล่านี้ล้วนเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการส่งออกสิ่งทอของกัมพูชาซึ่งจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนเพื่อให้อุตสาหกรรมสิ่งทอของกัมพูชาสามารถแข่งขันได้กับประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะหลังจากที่มาตรการปกป้องตลาดสิ่งทอของสหรัฐฯ และ EU ต่อสิ่งทอของจีนสิ้นสุดลงในปี 2551 ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น จะเป็นบทพิสูจน์ความสำเร็จของอุตสาหกรรม สิ่งทอของกัมพูชาอย่างแท้จริง
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธันวาคม 2549--
-พห-
ในบรรดาประเทศที่พึ่งพิงการส่งออก สิ่งทอเป็นรายได้หลักของประเทศ กัมพูชา เป็นประเทศหนึ่งที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบค่อนข้างรุนแรงจากการยกเลิกโควตานำเข้าสิ่งทอทั้งนี้ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมามูลค่าส่งออกสิ่งทอของกัมพูชาขยายตัวเฉลี่ยสูงขึ้น 11% ต่อปี ขณะที่ผลผลิตสิ่งทอคิดเป็น 12% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(Gross Domestic Product:GDP) และแรงงานในอุตสาหกรรมสิ่งทอมีสัดส่วนสูงถึง 65% ของแรงงานทั้งหมดในภาคอุตสาหกรรม
เป็นที่น่าสังเกตว่ามูลค่าส่งออกสิ่งทอของกัมพูชาที่ขยายตัวในระดับที่น่าพอใจในช่วงที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยภายนอก โดยเฉพาะการที่สหรัฐฯ และ EU ใช้มาตรการปกป้องตลาดกับสิ่งทอของจีน ดังนั้น เมื่อมาตรการดังกล่าวสิ้นสุดลงในช่วงสิ้นปี 2551 สิ่งทอของกัมพูชาจะต้องเผชิญกับการแข่งขัน อย่างเต็มรูปแบบกับสิ่งทอของจีน ซึ่งจัดเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวเป็นลำดับต้นๆ ของกัมพูชานอกจากนี้ การเข้าเป็นสมาชิก WTO ของเวียดนามอาจทำให้สิ่งทอของกัมพูชาต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงและลำบากยิ่งขึ้น เนื่องจากปัจจุบันอุตสาหกรรมสิ่งทอของกัมพูชา ยังมีความล้าหลังอยู่มาก เห็นได้จากสัดส่วน โรงงานสิ่งทอในกัมพูชาที่มีประสิทธิภาพในการผลิตและมีระบบการจัดการที่เป็นสากลมีเพียง 7% ของโรงงานสิ่งทอทั้งหมด นอกจากนี้ แม้ค่าจ้างแรงงานในกัมพูชา จะมีราคาถูกแต่ต้นทุนปัจจัยการผลิตพื้นฐานอื่นๆ อาทิ ค่าไฟฟ้าและค่าขนส่งกลับอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ อีกทั้งขั้นตอนการส่งออกของกัมพูชายังล้าสมัยและมีความซับซ้อน ส่งผลให้ผู้ส่งออกมีค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกราว 5% ของมูลค่าส่งออกทั้งหมด ปัญหาเหล่านี้ล้วนเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการส่งออกสิ่งทอของกัมพูชาซึ่งจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนเพื่อให้อุตสาหกรรมสิ่งทอของกัมพูชาสามารถแข่งขันได้กับประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะหลังจากที่มาตรการปกป้องตลาดสิ่งทอของสหรัฐฯ และ EU ต่อสิ่งทอของจีนสิ้นสุดลงในปี 2551 ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น จะเป็นบทพิสูจน์ความสำเร็จของอุตสาหกรรม สิ่งทอของกัมพูชาอย่างแท้จริง
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธันวาคม 2549--
-พห-