สศอ.จับมือสถาบันอาหาร เร่งสร้างฐานข้อมูลเชิงลึกอุตฯ อาหาร หวังเป็นคลังสมองหลักช่วยวางนโยบายพัฒนาตรงจุดยิ่งขึ้น และช่วยเสริมความแข็งแกร่งของการส่งออกในสินค้าอุตฯอาหาร ที่มูลค่ากว่า 5 แสนล้าน เมื่อปี 48 ให้ขยายตัวได้ต่อ
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ สศอ.ได้ร่วมมือกับสถาบันอาหารเร่งจัดทำ “โครงการศูนย์สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์อุตสาหกรรมอาหาร” โดยจะเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลในเชิงลึกของอุตสาหกรรมอาหารของไทยทั้งระบบ ซึ่งในปี 2549 จะเริ่มในสินค้ากุ้ง ไก่ ข้าว และปลาทูน่า ซึ่งเป็นสินค้าหลักในการส่งออก เพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูลสำหรับใช้ในการศึกษาวิเคราะห์และวางนโยบายการพัฒนาอย่างเป็นระบบ มีกลยุทธ์ที่ชัดเจน สามารถแข่งขันกับคู่แข่งจากทั่วโลกได้อย่างมีทิศทาง นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างฐานข้อมูลของประเทศให้แข็งแกร่งช่วยวิเคราะห์และตัดสินใจในการวางกลยุทธ์ที่แตกต่าง เหนือคู่แข่งอย่างมีชั้นเชิง
“อุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทยแม้จะมีทิศทางในการขยายตัวไม่สูงนักในแต่ละปี เนื่องจากต้องเผชิญกับปัญหารุมเร้าหลายด้าน ทั้งปัจจัยภายนอกและภายใน แต่ก็ยังมีบางประเภทสินค้าในกลุ่มสามารถขยายตัวได้ดี เช่น ทูน่ากระป๋องและทูน่าแปรรูป เนื้อไก่แปรรูป กุ้งแช่แข็งและกุ้งแปรรูป ฯลฯ โดยเมื่อปี 2548 มีมูลค่าการส่งออกรวมของอุตสาหกรรมอาหาร สูงถึง 519,816 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 2.53 ซึ่งถือเป็นปัจจัยหนุนสำคัญอีกด้านหนึ่งที่ส่งผลต่ออัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ จึงจำเป็นจะต้องสร้างฐานข้อมูลในเชิงลึกเพื่อช่วยในการวิเคราะห์และวางนโยบายการพัฒนาอย่างเป็นระบบต่อไป”
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวอีกว่า ในอนาคตอันใกล้นี้โลกของการแข่งขันทางด้านธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจอุตสาหกรรมจะต่อสู้กันที่ฐานข้อมูล และแข่งขันกันในเชิงความรู้อย่างเข้มข้น ซึ่งหากประเทศใดไม่มีการปรับตัวด้านฐานข้อมูล หรือมีข้อมูลที่ล้าสมัยจะเป็นจุดอ่อน และเสียเปรียบคู่แข่งในที่สุด แต่ในทางกลับกันหากประเทศใดเร่งสร้างฐานความรู้ โดยมีข้อมูลเชิงลึกและเผยแพร่การรับรู้ได้อย่างทั่วถึงก็สามารถจะรู้ทิศทางในการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการเตรียมตัวเพื่อวางแผนการทางธุรกิจเชิงรุก เพื่อหนีคู่แข่งอย่างมีชั้นเชิงและจะมีความได้เปรียบอย่างยิ่งสำหรับการแข่งขันในเวทีโลก สศอ.จึงเน้นให้ความสำคัญกับการสร้างฐานความรู้เชิงลึกในอุตสาหกรรมอาหารในครั้งนี้ และจะได้ขยายให้ครอบคลุมทุกอุตสาหกรรมโดยเร็วที่สุด รวมทั้งจะสร้างความเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ให้สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลอุตสาหกรรม เพื่อประโยชน์ต่อการกำหนดนโยบาย รวมทั้งแผนงานทางธุรกิจให้สอดคล้องต่อความเปลี่ยนแปลงที่มีขึ้นอย่างรวดเร็วซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนา เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ให้กับอุตสาหกรรมอาหารของไทยต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ สศอ.ได้ร่วมมือกับสถาบันอาหารเร่งจัดทำ “โครงการศูนย์สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์อุตสาหกรรมอาหาร” โดยจะเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลในเชิงลึกของอุตสาหกรรมอาหารของไทยทั้งระบบ ซึ่งในปี 2549 จะเริ่มในสินค้ากุ้ง ไก่ ข้าว และปลาทูน่า ซึ่งเป็นสินค้าหลักในการส่งออก เพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูลสำหรับใช้ในการศึกษาวิเคราะห์และวางนโยบายการพัฒนาอย่างเป็นระบบ มีกลยุทธ์ที่ชัดเจน สามารถแข่งขันกับคู่แข่งจากทั่วโลกได้อย่างมีทิศทาง นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างฐานข้อมูลของประเทศให้แข็งแกร่งช่วยวิเคราะห์และตัดสินใจในการวางกลยุทธ์ที่แตกต่าง เหนือคู่แข่งอย่างมีชั้นเชิง
“อุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทยแม้จะมีทิศทางในการขยายตัวไม่สูงนักในแต่ละปี เนื่องจากต้องเผชิญกับปัญหารุมเร้าหลายด้าน ทั้งปัจจัยภายนอกและภายใน แต่ก็ยังมีบางประเภทสินค้าในกลุ่มสามารถขยายตัวได้ดี เช่น ทูน่ากระป๋องและทูน่าแปรรูป เนื้อไก่แปรรูป กุ้งแช่แข็งและกุ้งแปรรูป ฯลฯ โดยเมื่อปี 2548 มีมูลค่าการส่งออกรวมของอุตสาหกรรมอาหาร สูงถึง 519,816 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 2.53 ซึ่งถือเป็นปัจจัยหนุนสำคัญอีกด้านหนึ่งที่ส่งผลต่ออัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ จึงจำเป็นจะต้องสร้างฐานข้อมูลในเชิงลึกเพื่อช่วยในการวิเคราะห์และวางนโยบายการพัฒนาอย่างเป็นระบบต่อไป”
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวอีกว่า ในอนาคตอันใกล้นี้โลกของการแข่งขันทางด้านธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจอุตสาหกรรมจะต่อสู้กันที่ฐานข้อมูล และแข่งขันกันในเชิงความรู้อย่างเข้มข้น ซึ่งหากประเทศใดไม่มีการปรับตัวด้านฐานข้อมูล หรือมีข้อมูลที่ล้าสมัยจะเป็นจุดอ่อน และเสียเปรียบคู่แข่งในที่สุด แต่ในทางกลับกันหากประเทศใดเร่งสร้างฐานความรู้ โดยมีข้อมูลเชิงลึกและเผยแพร่การรับรู้ได้อย่างทั่วถึงก็สามารถจะรู้ทิศทางในการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการเตรียมตัวเพื่อวางแผนการทางธุรกิจเชิงรุก เพื่อหนีคู่แข่งอย่างมีชั้นเชิงและจะมีความได้เปรียบอย่างยิ่งสำหรับการแข่งขันในเวทีโลก สศอ.จึงเน้นให้ความสำคัญกับการสร้างฐานความรู้เชิงลึกในอุตสาหกรรมอาหารในครั้งนี้ และจะได้ขยายให้ครอบคลุมทุกอุตสาหกรรมโดยเร็วที่สุด รวมทั้งจะสร้างความเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ให้สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลอุตสาหกรรม เพื่อประโยชน์ต่อการกำหนดนโยบาย รวมทั้งแผนงานทางธุรกิจให้สอดคล้องต่อความเปลี่ยนแปลงที่มีขึ้นอย่างรวดเร็วซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนา เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ให้กับอุตสาหกรรมอาหารของไทยต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-