การตลาด
การนำเข้า
ไตรมาส 4 ปี 2548 การนำเข้าเคมีภัณฑ์อนินทรีย์มีมูลค่า 9,692 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.16 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 18.59 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่าการนำเข้า 20,471 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.57 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 26.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปุ๋ยมีมูลค่านำเข้า 3,613 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 67.73 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว ลดลงร้อยละ 38.68 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเครื่องสำอางมีมูลค่านำเข้า 4,486 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.91 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.97 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
สำหรับปุ๋ยในไตรมาสที่ 4 มีการนำเข้าลดลงถึงร้อยละ 67.73 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากพ้นฤดูกาลในช่วงทำนา ภาวะเศรษฐกิจกำลังชะลอตัว และปุ๋ยเคมี มีราคาแพงขึ้นจากตันละ 6,000 บาทเป็นตันละ 10,000 บาท เป็นการปรับตัวตามราคาน้ำมัน ดังนั้นเกษตรกรจึงหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทดแทนปุ๋ยเคมีเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากราคาถูก แหล่งนำเข้าที่สำคัญได้แก่ ซาอุดิอาระเบีย มาเลเซีย และกาตาร์
อุตสาหกรรมเครื่องสำอางในไตรมาสที่ 4 มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.91 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลปีใหม่มีการซื้อเครื่องสำอางฝากเป็นของขวัญปีใหม่กันเพิ่มสูงขึ้น แหล่งนำเข้าที่สำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น อเมริกา และสิงคโปร์
การส่งออก
ไตรมาส 4 ปี 2548 การส่งออกเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่า 5,199 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.75 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.39 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์อนินทรีย์มีมูลค่าส่งออก 1,864 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.91 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.73 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเครื่องสำอางหรือสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกายมีมูลค่าส่งออก 6,566 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 14.30 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.61 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
อุตสาหกรรมปุ๋ยในไตรมาสที่ 4 มีมูลค่าการส่งออก 841 ล้านบาทลดลงร้อยละ 13.21 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากพ้นฤดูกาลในช่วงทำนา นอกจากนี้ราคาปุ๋ยในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น สาเหตุมาจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น มีผลให้ปริมาณการสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง ประเทศส่งออกที่สำคัญได้แก่ กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย
อุตสาหกรรมเครื่องสำอางในไตรมาสที่ 4 มีมูลค่าการส่งออก 6,566 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 14.30 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากปริมาณคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อนมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 20.61 เนื่องจากผู้ประกอบการสินค้าเครื่องสำอางไทยได้มีการพัฒนาคุณภาพ มาตรฐาน และรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ ( packaging ) ทำให้ต่างประเทศเริ่มรู้จักและยอมรับในคุณภาพสินค้าแบรนด์ของไทยมากขึ้น มีการสั่งซื้อเพิ่มสูงขึ้น แต่ปัญหาที่สำคัญของการส่งออกเครื่องสำอางไทย คือ ภาษีนำเข้าวัตถุดิบในการผลิตเครื่องสำอางสูง ดังนั้นภาครัฐจึงควรสนับสนุนในเรื่องโครงสร้างภาษีให้มีเอื้ออำนวยต่อการส่งออกในอนาคต ประเทศส่งออกที่สำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
แนวโน้ม
ในช่วงที่ผ่านมา อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ในตลาดโลกมีการแข่งขันค่อนข้างสูง และคาดว่าในอนาคตจะมีความรุนแรงมากขึ้นโดยเฉพาะจีนซึ่งมีความได้เปรียบด้านการผลิตและมีต้นทุนที่ต่ำกว่าไทย นอกจากนี้คู่แข่งที่สำคัญของไทยได้แก่ สิงค์โปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเกาหลี ซึ่งประเทศเหล่านี้มีความได้เปรียบในด้านเทคโนโลยีการผลิตมีโครงสร้างพื้นฐานทางด้านวัตถุดิบที่เอื้ออำนวยต่อการผลิต ในขณะที่ประเทศไทยมีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในตลาดโลกอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้นประเทศไทยจึงควรหันมาใช้กลยุทธ์ทางด้านอื่นอาทิเช่น การลดอัตราภาษีนำเข้าวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต การส่งมอบสินค้า และ ขยายการส่งออกไปยังตลาดใหม่ ๆ เป็นต้น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
การนำเข้า
ไตรมาส 4 ปี 2548 การนำเข้าเคมีภัณฑ์อนินทรีย์มีมูลค่า 9,692 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.16 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 18.59 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่าการนำเข้า 20,471 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.57 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 26.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปุ๋ยมีมูลค่านำเข้า 3,613 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 67.73 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว ลดลงร้อยละ 38.68 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเครื่องสำอางมีมูลค่านำเข้า 4,486 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.91 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.97 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
สำหรับปุ๋ยในไตรมาสที่ 4 มีการนำเข้าลดลงถึงร้อยละ 67.73 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากพ้นฤดูกาลในช่วงทำนา ภาวะเศรษฐกิจกำลังชะลอตัว และปุ๋ยเคมี มีราคาแพงขึ้นจากตันละ 6,000 บาทเป็นตันละ 10,000 บาท เป็นการปรับตัวตามราคาน้ำมัน ดังนั้นเกษตรกรจึงหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทดแทนปุ๋ยเคมีเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากราคาถูก แหล่งนำเข้าที่สำคัญได้แก่ ซาอุดิอาระเบีย มาเลเซีย และกาตาร์
อุตสาหกรรมเครื่องสำอางในไตรมาสที่ 4 มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.91 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลปีใหม่มีการซื้อเครื่องสำอางฝากเป็นของขวัญปีใหม่กันเพิ่มสูงขึ้น แหล่งนำเข้าที่สำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น อเมริกา และสิงคโปร์
การส่งออก
ไตรมาส 4 ปี 2548 การส่งออกเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่า 5,199 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.75 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.39 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์อนินทรีย์มีมูลค่าส่งออก 1,864 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.91 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.73 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเครื่องสำอางหรือสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกายมีมูลค่าส่งออก 6,566 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 14.30 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.61 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
อุตสาหกรรมปุ๋ยในไตรมาสที่ 4 มีมูลค่าการส่งออก 841 ล้านบาทลดลงร้อยละ 13.21 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากพ้นฤดูกาลในช่วงทำนา นอกจากนี้ราคาปุ๋ยในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น สาเหตุมาจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น มีผลให้ปริมาณการสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง ประเทศส่งออกที่สำคัญได้แก่ กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย
อุตสาหกรรมเครื่องสำอางในไตรมาสที่ 4 มีมูลค่าการส่งออก 6,566 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 14.30 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากปริมาณคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อนมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 20.61 เนื่องจากผู้ประกอบการสินค้าเครื่องสำอางไทยได้มีการพัฒนาคุณภาพ มาตรฐาน และรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ ( packaging ) ทำให้ต่างประเทศเริ่มรู้จักและยอมรับในคุณภาพสินค้าแบรนด์ของไทยมากขึ้น มีการสั่งซื้อเพิ่มสูงขึ้น แต่ปัญหาที่สำคัญของการส่งออกเครื่องสำอางไทย คือ ภาษีนำเข้าวัตถุดิบในการผลิตเครื่องสำอางสูง ดังนั้นภาครัฐจึงควรสนับสนุนในเรื่องโครงสร้างภาษีให้มีเอื้ออำนวยต่อการส่งออกในอนาคต ประเทศส่งออกที่สำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
แนวโน้ม
ในช่วงที่ผ่านมา อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ในตลาดโลกมีการแข่งขันค่อนข้างสูง และคาดว่าในอนาคตจะมีความรุนแรงมากขึ้นโดยเฉพาะจีนซึ่งมีความได้เปรียบด้านการผลิตและมีต้นทุนที่ต่ำกว่าไทย นอกจากนี้คู่แข่งที่สำคัญของไทยได้แก่ สิงค์โปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเกาหลี ซึ่งประเทศเหล่านี้มีความได้เปรียบในด้านเทคโนโลยีการผลิตมีโครงสร้างพื้นฐานทางด้านวัตถุดิบที่เอื้ออำนวยต่อการผลิต ในขณะที่ประเทศไทยมีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในตลาดโลกอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้นประเทศไทยจึงควรหันมาใช้กลยุทธ์ทางด้านอื่นอาทิเช่น การลดอัตราภาษีนำเข้าวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต การส่งมอบสินค้า และ ขยายการส่งออกไปยังตลาดใหม่ ๆ เป็นต้น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-